เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมเรื่องท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตอนที่ 1) 1645
  P1645 P1646 P1647 P1648 P1649 P1650
รวมเรื่องท้าวสักกะจอมเทพ
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
ท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
-----------------------------------------------------------------------------
(1)
1. ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เข้าเฝ้าฯ เพื่อฟังธรรม ในสำนักของชฏิล
2. ท้าวสักกะจอมเทพขุดสระโบกขรณี ให้พระผู้มีพระภาคซักผ้าบังสุกุล
3. ท้าวสักกะแปลงร่างเป็นมนุษย์ ชาวบ้านเห็นแแล้วชมว่ารูปงามยิ่งนัก
4. เทวดาดาวดึงส์ถามท้าวสักกะว่ามหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน
5. ท้าวสักกะกับเทวดาหวงแหนที่ในปาฏลิคาม จิตของพระราชา ก็น้อมไปสร้างนิเวศน์ ณ ที่นั่น
6. ท้าวสักกะตรัสพระคาถา ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา
7. ท้าวสักกะจอมเทพ เนรมิตรปราสาทหลังใหญ่ ให้กับพระเจ้ามหาสุทัสสะ
8. สนังกุมารพรหม นั่งบนบัลลังก์ของท้าวสักกะ ..อิทธิบาท ๔ ในธรรมของตถาคต เป็นไฉน
9. ท้าวสักกะจอมเทพ กล่าวองค์คุณ ๘ ประการของพระผู้มีพระภาค แก่เทวดาชั้นดาวดึงส์
10. ท้าวสักกะตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า นิมิตปรากฏแสงสว่างฉันใด พรหมจักปรากฏฉันนั้น
11. ท้าวสักกะจอมเทพ กล่าวองค์คุณ ๘ ประการของพระผู้มีพระภาค แก่ สนังกุมารพรหม
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๔๐

1

ปาฏิหาริย์ที่ ๓ (เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง)
( ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เข้าเฝ้าฯเพื่อฟังธรรม ในสำนักของชฏิล)

           [๔๑] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว จึงถวายบังคม พระผู้มีพระภาคได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและ ประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน. ต่อมา ชฎิลอุรุเวลกัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค โดยผ่าน ราตรีนั้น

ครั้นถึงแล้วได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว มหาสมณะ ภัตตาหาร เสร็จแล้ว ผู้นั้นคือใครกันหนอ เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาท่าน ครั้นถึงแล้วอภิวาทท่าน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ผู้นั้น คือ ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เข้ามาหาเรา เพื่อฟังธรรม

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุกัสสป ได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ ถึงกับ ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์ เหมือนเราแน่

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้วประทับอยู่ใน ไพรสณฑ์ ตำบลนั้นแล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๔๒

2

ผ้าบังสุกุล
(ท้าวสักกะจอมเทพขุดสระโบกขรณี ให้พระผู้มีพระภาคซักผ้าบังสุกุล)

           [๔๔] ก็โดยสมัยนั้น ผ้าบังสุกุลบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาค. จึงพระองค์ได้ทรงพระดำริว่าเราจะพึงซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ. ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาค ด้วยพระทัย ของพระองค์ จึงขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดซักผ้าบังสุกุลในสระนี้. ที่นั้นพระผู้มีพระภาค ได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงขยำผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาค ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางพลางทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงขยำผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงพาดผ้าบังสุกุลไว้ ณที่ไหนหนอ. ครั้งนั้น เทพยดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มบก ทราบพระดำริในพระหทัยของ พระผู้มีพระภาค ด้วยใจของตน จึงน้อมกิ่งกุ่มลงมา พลางกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงพาดผ้าบังสุกุลไว้ที่กิ่งกุ่มนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงพระดำริว่า เราจะผึ่งผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบพระดำริในพระหทัยของพระผู้มีพระภาค ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ยกแผ่นศิลาใหญ่มาวางไว้ พลางกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงผึ่งผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้.

หลังจากนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคโดยล่วงราตรีนั้น ครั้นถึงแล้ว
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว มหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว เพราะเหตุไรหนอ มหาสมณะ เมื่อก่อนสระนี้ไม่มีที่นี้ เดี๋ยวนี้มีสระอยู่ที่นี้ เมื่อก่อน ศิลาเหล่านี้ ไม่มีวางอยู่ ใครยกศิลาเหล่านี้มาวางไว้ เมื่อก่อนกิ่งกุ่มบกต้นนี้ ไม่น้อมลง เดี๋ยวนี้กิ่งนั้นน้อมลง?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ผ้าบังสุกุลบังเกิดแก่เรา ณ ที่นี้ เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบความ ดำริในจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว จึงขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ แล้วตรัสบอกแก่เราว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงซักผ้าบังสุกุล ในสระนี้ สระนี้อันผู้มิใช่มนุษย์ได้ขุดแล้วด้วยมือ

ดูกรกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงขยำผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทราบความดำริในจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ทรงยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางไว้ โดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงขยำผ้าบังสุกุล บนศิลาแผ่นนี้ ศิลาแผ่นนี้อันผู้มิใช่มนุษย์ได้ยกมาวางไว้

ดูกรกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงพาดผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้น เทพดาที่ สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มบก ทราบความดำริในจิตของเราด้วยใจของตนแล้ว จึงน้อมกิ่ง กุ่มลงมาโดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงพาดผ้าบังสุกุลไว้ บนกิ่งกุ่มนี้ ต้นกุ่มบกนี้นั้น ประหนึ่งจะกราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงนำพระหัตถ์ มาแล้วน้อมลง

ดูกรกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงผึ่งผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบความดำริแห่งจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์ แล้วได้ยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางไว้ โดยทูลว่า พระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงผึ่งผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้ ศิลาแผ่นนี้อันผู้มิใช่มนุษย์ได้ยกมาวางไว้.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ถึงกับ ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ได้ทำการช่วยเหลือ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสวยภัตตาหารของ ชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้วประทับอยู่ใน ไพรสณฑ์ ตำบลนั้นแล.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๕๔

3

ความปรารถนา ๕ อย่าง
(ท้าวสักกะแปลงร่างเป็นมนุษย์ ชาวบ้านเห็นแแล้วชมว่ารูปงามยิ่งนัก)

           [๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงนิรมิตเพศเป็นมาณพ เสด็จพระดำเนินนำหน้าภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พลางขับคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-

คาถาสดุดีพระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาค มีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงฝึกอินทรีย์แล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้ฝึกอินทรีย์แล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาคมีพระฉวี เสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงพ้นแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาคมีพระฉวี เสมอด้วยลิ่มทองสิงคีทรงข้ามแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้วผู้พ้น วิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาคมีพระฉวี เสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงสงบแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้สงบแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีอริยวาสธรรม ๑๐ ประการเป็นเครื่องอยู่ ทรงประกอบด้วยพระกำลัง ๑๐ ทรงทราบธรรม คือ กรรมบถ ๑๐ และทรงประกอบด้วย ธรรม อันเป็นองค์ของพระอเสขะ ๑๐ มีภิกษุบริวารพันหนึ่ง เสด็จประเวศสู่พระนคร ราชคฤห์

           [๖๒] ประชาชนได้เห็นท้าวสักกะจอมทวยเทพ แล้ว พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พ่อหนุ่มนี้ มีรูปงามยิ่งนัก น่าดูนัก น่าชมนัก พ่อหนุ่มนี้ของใครหนอ. เมื่อประชาชน กล่าว อย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมทวยเทพได้กล่าวตอบประชาชนพวกนั้นด้วยคาถา ว่าดังนี้:-

พระผู้มีพระภาค พระองค์ใดเป็นนักปราชญ์ ทรงฝึกอินทรีย์ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ผ่องแผ้ว หาบุคคลเปรียบมิได้ ไกลจากกิเลส เสด็จไปดีแล้วในโลก ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๓๒๖

4

เรื่องภิกษุแสวงหามหาภูต
(เทวดาดาวดึงส์ถามท้าวสักกะว่ามหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน )

           [๓๔๓] ดูกรเกวัฏฏ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุนี้เอง ได้เกิดความ ปริวิตก อย่างนี้ว่า มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ไหนหนอ. ลำดับนั้น เธอได้เข้าสมาธิ ชนิดที่เมื่อจิต ตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่เทวโลกปรากฏได้.

ครั้นแล้ว เธอได้เข้าไปหาพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชถึงที่อยู่ แล้วถามว่าท่านทั้งหลาย มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ไหน?

เมื่อเธอถามอย่างนี้แล้ว เทวดาชั้นจาตุมหาราชจึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้า ก็ไม่ทราบ ที่ดับไม่มิเหลือ แห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ เหล่านี้เหมือนกัน แต่ยังมี ท้าวมหาราชอยู่ ๔ องค์ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้า ท้าวเธอคงจะทราบ.

ลำดับนั้นภิกษุนั้น จึงไปหาท้าวมหาราชทั้ง ๔ แล้วถามว่า ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุเหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน? เมื่อเธอถามอย่างนี้แล้ว

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์จึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่ยังมีพวกเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งดีกว่าประณีตกว่าพวกข้าพเจ้าอยู่อีก เทวดาเหล่านั้น คงจะทราบ

ภิกษุนั้นจึงเข้าไปหาเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วถามว่า ท่านทั้งหลายมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน?

เมื่อเธอถามอย่างนี้แล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่ยังมี ท้าวสักกะจอมเทพ ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่า พวกข้าพเจ้าอยู่อีก ท้าวเธอคงจะทราบ.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้น ได้ไปหา ท้าวสักกะจอมเทพ แล้วถามว่า ท่าน มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุวาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน?

ดูกรเกวัฏฏ์ เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสตอบว่า แม้ข้าพเจ้า ก็ไม่รู้จัก ที่ดับไม่มีเหลือ แห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นั้นแต่ยังมีเทวดาชั้น ยามะ ... ท้าวสุยามะ ... เทวดาชั้นดุสิต ... ท้าวสันดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ...ท้าวสุนิมมิต ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... ท้าวปรนิมมิตวสวดี ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าข้าพเจ้า อยู่อีก ท้าวเธอคงทราบที่ดับไม่มีเหลือ แห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุวาโยธาตุ เหล่านี้ได้.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๗๗

5

(ท้าวสักกะกับเทวดาชั้นดาวดึงส์หวงแหนที่ในปาฏลิคาม จิตของพระราชา ก็น้อมไปสร้างนิเวศน์ ณ ที่นั่น)

           [๘๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงยังพวกอุบาสก ชาวปาฏลิคามให้เห็น แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ตลอดราตรีแล้ว ทรงส่ง ไปด้วยพระดำรัสว่า

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ราตรีสว่างแล้ว พวกท่านจงทราบกาลอันควร ในบัดนี้เถิด พวกอุบาสก ชาวปาฏลิคาม ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ลำดับนั้น เมื่ออุบาสก ชาวปาฏลิคามหลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่สุญญา คารแล้ว

           [๘๒] ก็สมัยนั้น สุนีธะ และวัสสการะ อำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ สร้างเมืองใน ปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี ก็สมัยนั้นเทวดาเป็นอันมากนับเป็น พันๆ หวงแหน ที่ในปาฏลิคาม เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชา และ ราชมหาอำมาตย์ ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ก็น้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดาชั้นกลาง หวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและพระราชมหาอำมาตย์ ชั้นกลาง ก็น้อมไป เพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดาชั้นต่ำหวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชา และ ราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำ ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น

พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นนับเป็นพันๆ หวงแหนที่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นในเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี ตรัสเรียกพระ อานนท์ มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุนีธะและวัสสการะอำมาตย์ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ จะสร้างเมือง ปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี

ดูกรอานนท์ สุนีธะและวัสสการะ อำมาตย์ผู้ใหญ่ ในมคธรัฐจะสร้างเมือง ในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชชี ก็เปรียบเหมือน ท้าวสักกะ ทรงปรึกษา กับพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ในที่นี้เราได้เห็นเทวดาเป็นอันมากนับเป็นพันๆ หวงแหนที่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

เทวดาผู้มี ศักดิ์ใหญ่หวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดาชั้นกลางหวงแหน ที่ใน ส่วนใด จิต ของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ชั้นกลาง ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ ในส่วนนั้น เทวดาชั้นต่ำหวงแหนที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ ชั้นต่ำ ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น

ดูกรอานนท์ ที่นี้จักเป็นที่อยู่อันประเสริฐ เป็นทางค้าขาย เป็นนครอันเลิศ ชื่อว่า


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๕

6

(หลังปรินิพพาน ท้าวสักกะตรัสพระคาถา ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง หนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา)

           [๑๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง หนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ความเข้าไปสง บสังขาร เหล่านั้น เป็นสุข


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๒

7

(ท้าวสักกะจอมเทพ เนรมิตรปราสาทหลังใหญ่ ให้กับพระเจ้ามหาสุทัสสะ )

           [๑๗๗] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงทราบ พระดำริ ของ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ จึงมีเทวโองการตรัสเรียก วิศวกรรมเทพบุตร มาสั่งว่า เพื่อนวิศวกรรม เธอจงมานี่เถิด เธอจงไปสร้างนิเวศน์ชื่อว่าธรรมปราสาท เพื่อพระเจ้า มหาสุทัสสนะ ดูกรอานนท์ วิศวกรรมเทวบุตรรับสนองเทวบัญชาแล้ว อันตรธานไปจาก ดาวดึงสเทวโลก ได้ปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้ามหา สุทัสสนะ เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ออกหรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น วิศวกรรมเทวบุตร ได้กราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตนิเวศน์ ชื่อธรรมปราสาทถวายพระองค์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงรับด้วยดุษณีภาพ

ดูกรอานนท์ วิศวกรรมเทวบุตรได้นิรมิตนิเวศน์ชื่อธรรมปราสาท แด่ พระเจ้ามหา สุทัสสนะ ธรรมปราสาทได้มีปริมาณโดย ยาวหนึ่งโยชน์ ด้านปุรัตถิม ทิศและ ปัจจิมทิศ โดย กว้างกึ่งโยชน์ ด้านอุตตรทิศและทักษิณทิศ

ดูกรอานนท์ ธรรมปราสาทมีวัตถุที่ก่อด้วยอิฐ ๔ ชนิด โดยส่วนสูงกว่าสามชั่วบุรุษ คือ อิฐ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก

ธรรมปราสาทมีเสาแปดหมื่นสี่พันต้น แบ่งเป็นสี่ชนิด เสาชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก

ธรรมปราสาทปูลาดด้วยแผ่นกระดาน ๔ ชนิด กระดาน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก

ธรรมปราสาทมีบันได ๒๔ บันได แบ่งเป็น ๔ ชนิด
บันไดชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง
ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน
ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์
ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก
บันไดที่แล้วด้วยทอง
แม่บันไดแล้วด้วยทอง ลูก บันได และพนักแล้วด้วยเงิน
บันไดที่แล้วด้วยเงิน แม่บันไดแล้วด้วยเงิน
ลูก บันไดและพนักแล้วด้วยทอง
บันไดที่แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์
แม่บันไดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยแก้วผลึก บันไดที่แล้วด้วยแก้วผลึก แม่บันไดแล้วด้วยแก้วผลึก ลูกบันได และ พนักแล้ว ด้วยแก้วไพฑูรย์ ในธรรม

ปราสาทมีเรือนยอดแปดหมื่นสี่พัน แบ่งเป็น ๔ ชนิด เรือนยอดชนิดหนึ่งแล้ว ด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้ว ด้วยแก้วผลึก

ในเรือนยอดแล้วด้วยทอง แต่งตั้งบัลลังก์เงินไว้ ในเรือนยอด แล้วด้วยเงิน แต่งตั้งบัลลังก์ทองไว้

ในเรือนยอดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ แต่งตั้งบัลลังก์งาไว้

ในเรือนยอดแล้วด้วยแก้วผลึก แต่งตั้งบัลลังก์แล้วด้วยแก้วบุษราคัมไว้

ที่ประตูเรือนยอดแล้วด้วยทอง มีต้นตาลแล้วด้วยเงินตั้งอยู่ ลำต้นของต้นตาล นั้นแล้วด้วยเงิน ใบและผลแล้วด้วยทอง

ที่ประตูเรือนยอดแล้วด้วยเงิน มี ต้นตาลแล้วด้วยทองตั้งอยู่ ลำต้นของต้นตาลนั้นแล้ว ด้วยทอง ใบและผลแล้วด้วยเงิน

ที่ประตูเรือนยอดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ มีต้นตาลแล้วด้วยแก้วผลึกตั้งอยู่ลำต้น ของ ต้นตาลนั้นแล้วด้วยแก้วผลึก ใบและผลแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์

ที่ประตู เรือนยอดแล้วด้วยแก้วผลึก มีต้นตาลแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ตั้งอยู่ ลำต้นของ ต้นตาลนั้นแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ใบและผลแล้วด้วยแก้วผลึก


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๒

8

(สนังกุมารพรหมนั่งบนบัลลังก์ของท้าวสักกะ ถามเทวดาดาวดึงส์ว่า อิทธิบาท ๔ ในธรรมของตถาคตเพื่อความมีฤทธิ์มากเป็นไฉน)

           [๒๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหม กลับคืนตน เป็นผู้เดียว แล้วนั่งบนบัลลังก์ของ ท้าวสักกะจอมเทพ แล้วเรียกเหล่าเทวดาชั้นดาว ดึงส์มากล่าวว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์จะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้แล้ว เพื่อความทำฤทธิ์ให้มาก เพื่อความทำฤทธิ์ให้วิเศษ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิริยสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบ ด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิมังสาสมาธิ และ ปธานสังขาร อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้แล้ว เพื่อความทำฤทธิ์ให้มาก เพื่อ ความทำฤทธิ์ให้วิเศษ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ทำได้ เพราะเจริญ เพราะให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมดจักทำได้ เพราะเจริญ เพราะทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันกาล แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ทำได้เพราะเจริญ เพราะทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลาย ไม่เห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ ของเรา ดอกหรือ ฯ เห็นแล้ว

ท่านมหาพรหม ฯ แม้เรา มีฤทธิ์มากอย่างนี้มี อานุภาพมากอย่างนี้ ก็เพราะเจริญ เพราะทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

           [๒๐๑] สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้ ครั้นแล้วเรียกเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มากล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ จะสำคัญความ ข้อนั้น เป็นไหน การบรรลุโอกาส๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึงความสุข การบรรลุโอกาส ๓ ประการ เป็นไฉน

           [๒๐๒] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังเกี่ยวข้อง ด้วย กาม คลุกคลีด้วยอกุศลธรรมอยู่ สมัยอื่น เขาฟังธรรมของพระอริยเจ้า มนสิการโดย แยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรมของ พระอริยเจ้าและการ มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลี ด้วยอกุศลธรรมอยู่ สุขย่อมเกิดแก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลีด้วย อกุศลธรรม โสมนัสอันยิ่งกว่าสุขก็เกิดขึ้น ดุจความปราโมทย์ เกิดต่อจากความ บันเทิงใจฉะนั้น

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการ ที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้วเพื่อบรรลุถึงความสุข

           [๒๐๓] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ส่วนหยาบ ของคนบางคนในโลกนี้ ยังไม่สงบระงับ สมัยอื่น เขาฟังธรรม ของพระอริยเจ้ามนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อเขาอาศัย การฟังธรรมของพระอริยเจ้า มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรมอยู่ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่หยาบๆ ย่อมสงบระงับ เพราะกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่หยาบๆ สงบระงับ สุขย่อมเกิดแก่เขา โสมนัสอันยิ่งกว่าสุข ก็เกิดขึ้น ดุจความปราโมทย์ เกิดต่อจากความบันเทิงใจฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึง ความสุข

           [๒๐๔] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้กุศล นี้อกุศล นี้มีโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีตนี้เป็นส่วนธรรมดำและธรรมขาว สมัยอื่น เขาฟังธรรมของพระ อริยเจ้า มนสิการโดยแยบคายปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรม ของ พระอริยเจ้า มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้กุศล นี้อกุศล นี้มีโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้เป็นส่วนธรรมดำและธรรมขาว เมื่อเขารู้เห็นอย่างนี้


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๙


9

(มหาโควินทสูตร)
(ท้าวสักกะจอมเทพ กล่าวองค์คุณ ๘ ประการของพระผู้มีพระภาค แก่เทวดาชั้นดาวดึงส์)

           ข้าแต่พระผู้เจริญ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ทราบความเบิกบานใจของ เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วบันเทิงตามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

           [๒๑๐] ดูกรท่านผู้เจริญ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ ย่อมบันเทิง ใจ ถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เห็นเทวดาผู้ใหม่ๆ มีวรรณะมียศประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสุคตแล้ว มาในที่นี้ เทวดาเหล่านั้นเป็นสาวก ของ พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระ ปัญญากว้างขวาง บรรลุคุณวิเศษแล้ว รุ่งเรืองล่วงเทวดา เหล่าอื่น ณ ที่นี้ ด้วยวรรณะ ด้วยยศ และอายุ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ เห็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดี ถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี

           [๒๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า เพราะเหตุนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติและโสมนัสโดยยิ่งกว่าประมาณว่า ดูกรท่านผู้เจริญ กายทิพย์ย่อมบริบูรณ์หนอ อสุรกายย่อมเสื่อมไป

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงทราบความเบิกบาน ใจของ เทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายปรารถนาจะฟังพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น หรือ เทวดาชั้นดาวดึงส์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ ทั้งหลายปรารถนาจะฟังพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงยกพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาค ขึ้นแสดงแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดา ชั้นดาวดึงส์ จะสำคัญความข้อนี้นั้นเป็นไฉน

1) พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูล แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่ชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเพียงไร เราไม่เคยเห็น พระศาสดา ผู้ประกอบด้วย องค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ ก็ไม่เห็น นอกจาก พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

2) อนึ่ง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็น เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะ ตน เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วย องค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงแสดงธรรม อันควร น้อมเข้ามาในตน อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

3) อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่านี้กุศล นี้มีโทษ นี้ไม่มี โทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้มีส่วนเทียบ ด้วยธรรมดำ และ ธรรมขาว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติธรรม อันเป็นกุศล อกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ ควรเสพ ไม่ควรเสพ เลว ประณีต มีส่วนเทียบ ด้วย ธรรมดำ และธรรมขาว อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

4) อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทา เพื่อพระสาวก ทั้งหลาย ไว้ดีแล้ว พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเทียบเคียงกันได้ ดุจน้ำในแม่น้ำคงคา กับน้ำในแม่น้ำยมุนา ย่อมไหลคลุกคละกันได้ฉะนั้น เราไม่เคย เห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ในอดีตกาล เลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

5) อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะผู้ดำรงอยู่ในปฏิปทา และพระ ขีณาสพ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์เป็นสหาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเบา พระทัย ประกอบความเป็นผู้ยินดี อยู่พระองค์เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ ประกอบด้วย องค์คุณเช่นนี้ ทรงประกอบความ เป็นผู้ยินดีอยู่พระองค์เดียวอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

6) อนึ่ง ลาภ ความสรรเสริญ เกิดแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเห็นจะ ตลอดถึง กษัตริย์ ทั้งหลายที่ยินดีอยู่ แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นปราศจากความเมา เสวยพระกระยา หารเราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ปราศจาก ความเมา เสวย พระกระยาหาร อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

7) อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีปรกติตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น เหตุนั้น พระองค์จึงเชื่อว่า ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

8) อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจาก ความ คลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัยเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราไม่เคยเห็น พระศาสดาผู้ประกอบด้วย องค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความ คลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด ด้วย พระอัธยาศัยเป็นเบื้อง ต้นแห่ง พรหมจรรย์อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็นนอกจาก พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงยกพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการนี้แล ของพระผู้มี พระภาค ขึ้นแสดงแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์

           [๒๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า เพราะเหตุนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้สดับพระคุณ ตามที่มีจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคจึงปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติ และโสมนัสยิ่งกว่าประมาณ ในเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โอหนอการที่ พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ พึงอุบัติ ในโลก พึงทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาคข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ยกไว้เถิด การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ พึง อุบัติในโลก พึงทรง แสดงธรรมเหมือน พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลายพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ยกไว้เถิด การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึง อุบัติในโลก พึงทรง แสดงธรรม เหมือน พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสกะ เทวดาชั้น ดาวดึงส์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติ ในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังนี้ ไม่ใช่ ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอให้สมความหวัง ขอพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง พึงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ นั่งประชุมกันใน สุธรรมาสภา ด้วยความประสงค์ อันใด ท้าวจาตุมหาราช แม้อันเทวดาชั้นดาวดึงส์ คิดความนั้น ปรึกษาความนั้นแล้วทูลให้ทราบ ก็มีอยู่ในข้อประสงค์นั้น แม้จะรับคำสั่งกำชับแล้ว ก็มีอยู่ในข้อประสงค์นั้น ประทับอยู่บนอาสนะ ของตนๆ ยัง ไม่ไป

           [๒๑๓] ท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้นรับคำแล้ว รับคำพร่ำสอนแล้ว มีใจ ผ่องใส ประทับ สงบอยู่บนอาสนะของตนๆ



10

(ท้าวสักกะตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า นิมิตปรากฏแสงสว่างฉันใด พรหมจักปรากฏฉันนั้น )

           [๒๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น แสงสว่างอย่างมากปรากฏใน ทิศอุดร โอภาส ปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพจึง ตรัสเรียกเทวดา ชั้น ดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นิมิต ปรากฏแสงสว่าง เกิดโอภาสปรากฏ ฉันใดพรหม จักปรากฏ ฉันนั้น การที่แสงสว่างเกิดโอภาสปรากฏนี้ เป็ นบุพพนิมิตที่พรหมจะปรากฏ

           [๒๑๕] นิมิตปรากฏ ฉันใด พรหมจักปรากฏ ฉันนั้นการที่ โอภาสอันไพบูลย์ มากปรากฏนี้ เป็นบุพพนิมิตที่พรหมจะปรากฏ

           [๒๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์นั่งบนอาสนะ ตามที่ ของตนๆ ด้วยความหวังว่า เราทั้งหลายจักรู้โอภาสนี้ วิบากอันใดจักมี เราทั้งหลาย จักทำวิบากนั้นให้แจ้ง เสียก่อน แล้วจึงจะไป แม้ท้าวจาตุมหาราชก็นั่ง อยู่บนอาสนะ ตามที่ของตนๆ ด้วยความหวังว่าเรา ทั้งหลายจักรู้โอภาสนี้ วิบากอันใดจักมี เราทั้งหลาย จักทำวิบากนั้นให้แจ้งเสียก่อน แล้วจึงจะไป เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฟังความข้อนี้แล้วไม่ระส่ำระสาย สงบอยู่ ด้วยหวังกันว่า เราทั้งหลาย รู้โอภาสนี้ วิบากอันใดจักมี เราทั้งหลายจักทำวิบากนั้นให้แจ้งเสียก่อนแล้ว จึงจะไป

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใดสนังกุมารพรหม ปรากฏแก่เทวดา ชั้นดาวดึงส์ เมื่อนั้น สนังกุมาร พรหม นิรมิตอัตตภาพ อันยิ่งใหญ่ปรากฏ ก็วรรณปรกติของพรหม อันเทวดา เหล่าอื่นไม่พึงถึง ปรากฏในคลองจักษุของเทวดาชั้นดาวดึงส์

เมื่อสนังกุมาร พรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์นั้น ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น ด้วยวรรณ และยศ เหมือนกายเทวดา ย่อมรุ่งเรืองล่วงกายมนุษย์ ฉะนั้น

เมื่อสนังกุมาร พรหม ปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ นั้นเทวดาไหนๆ ในบริษัทนั้น ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ และไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ เทวดาทั้งหมด นั่งประณมมือนิ่งอยู่ บนบัลลังก์ ด้วยความดำริว่า บัดนี้ สนังกุมารพรหม ปรารถนาบัลลังก์ของเทวดาผู้ใด จักนั่งบนบัลลังก์ของเทวดาผู้นั้น ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมนั่งบนบัลลังก์ ของเทวดาใด เทวดาผู้นั้นย่อมได้ความยินดี ได้โสมนัส อย่างยิ่ง ดังพระราชาผู้ กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว เสวยราชสมบัติใหม่ๆ ย่อม ได้ความยินดี ได้ความ โสมนัสอย่างยิ่งฉะนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมทราบความเบิกบานใจ ของเทวดาชั้น ดาวดึงส์ หายไปแล้ว บันเทิงตามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

           [๒๑๗] ดูกรท่านผู้เจริญ เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยพระอินทร์ย่อม บันเทิงใจ ถวาย นมัสการพระตถาคตและความที่พระธรรม เป็นธรรมดี เห็นเทวดา ผู้ใหม่ๆ มีวรรณ มียศ ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสุคตแล้วมาในที่นี้ เทวดาเหล่านั้น เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญา กว้างขวาง บรรลุคุณวิเศษ แล้วย่อม รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น ณ ที่นี้ ด้วยวรรณด้วยยศ และอายุ เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยพระอินทร์ เห็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีถวายนมัสการพระตถาคต และความที่ พระธรรม เป็นธรรมดี

           [๒๑๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความข้อนี้ สนังกุมารพรหมได้กล่าว แล้วเสียงของ สนังกุมารพรหม ผู้กล่าวเนื้อความนี้ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ แจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑ ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑ สนังกุมารพรหมย่อมให้บริษัทประมาณเท่าใด ทราบความด้วยเสียง กระแสเสียง ก็ไม่แพร่ไปในภายนอกบริษัทเท่านั้น ก็ผู้ใดมีเสียงประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ อย่างนี้ ผู้นั้นท่านกล่าวกันว่า มีเสียงดังเสียงพรหม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้กล่าวกะ สนังกุมารพรหม ว่าข้าแต่ ท้าวมหาพรหม ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบเนื้อความนั้นแล้ว ขอโมทนา มีอยู่พระคุณ ตามที่เป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ที่ ท้าวสักกะจอมเทพภาษิตแล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบแล้วขอโมทนา



11

(ท้าวสักกะจอมเทพ กล่าวองค์คุณ ๘ ประการของพระผู้มีพระภาค แก่ สนังกุมารพรหม)

ครั้งนั้น สนังกุมารพรหม ได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ว่า ดูกรท่านผู้จอมเทพ ขอโอกาสเถิด แม้เราทั้งหลายก็พึงฟังพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ท้าวสักกะจอมเทพ รับคำสนังกุมารพรหมแล้ว ทรงยกพระคุณ ตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคขึ้น แสดงว่า ท่านมหาพรหมจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เพียงไร

ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

อนึ่ง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ผู้ทรงแสดงธรรมันควร น้อมเข้ามาในตนอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่ เห็นนอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า นี้กุศล นี้ อกุศล นี้มีโทษนี้ ไม่มีโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้มี ส่วนเทียบด้วยธรรมดำ และ ธรรมขาว ข้าพเจ้าไม่เคย เห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงบัญญัติธรรม อันเป็นกุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ ควรเสพ ไม่ควรเสพ เลว ประณีต มีส่วนเทียบด้วยธรรมดำและธรรมขาวอย่างนี้ ใน อดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทาเพื่อ พระสาวก ทั้งหลาย ไว้ดีแล้ว พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเทียบเคียงกันได้ ดุจน้ำในแม่น้ำคงคา กับน้ำในแม่น้ำยมุนา ย่อมไหล คลุกคละกันได้ ฉะนั้น ข้าพเจ้าไม่ เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบองค์คุณเช่นนี้ ทรงบัญญัตินิพพาน คามินีปฏิปทาอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะผู้ดำรงอยู่ในปฏิปทา และพระ ขีณาสพ ผู้อยู่จบ พรหมจรรย์ เป็นสหาย เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคทรงเบาพระทัย ประกอบความเป็นผู้ยินดีอยู่ พระองค์เดียว ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วย องค์คุณเช่นนี้ ทรงประกอบความเป็นผู้ ยินดีอยู่พระองค์เดียวอย่างนี้ ในอดีตกาลเลยถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

อนึ่ง ลาภ ความสรรเสริญ เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เห็นจะตลอดถึง กษัตริย์ ทั้งหลาย ที่ยินดีอยู่ แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ปราศจากความเมา เสวยพระกระยาหารข้าพเจ้า ไม่เคย เห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์ คุณเช่นนี้ ผู้ปราศจากความเมา เสวยพระกระยาหารอย่างนี้ ในอดีตกาลเลยถึงใน บัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคองค์นั้น

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีปรกติตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำ อย่างใด ตรัส อย่างนั้น เหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้นทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณ เช่นนี้ ทรงปฏิบัติธรรมสมควร แก่ ธรรมอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่ เห็นนอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความคลาง แคลง มีความ ดำริ ถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัยเ ป็นเบื้องต้นแห่งพรหม จรรย์ ข้าพเจ้า ไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณเช่นนี้ ทรงข้ามความ สงสัยได้แล้ว ปราศจากความคลางแคลง มีความดำริ ถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัย เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ก็ไม่เห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงยกพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการนี้ แลของ พระผู้มีพระภาค ขึ้นแสดงแก่สนังกุมารพรหม

         [๒๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า เพราะเหตุนั้น สนังกุมารพรหม จึงปลื้มใจเบิกบาน เกิดปีติและโสมนัส เพราะได้สดับพระคุณตามที่มีจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาค
....ฯลฯ....

 



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์