พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๘
1
๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)
(ท้าวสักกะ และเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เสด็จมา ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ)
[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต ด้านทิศอุดร แห่ง พราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระ นครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ
ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้บังเกิดความขวนขวาย เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงพระดำริว่า บัดนี้ พระผู้มีพระผู้มีภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงเห็น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต ด้านทิศอุดร แห่งพราหมณคามชื่อ อัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีนแห่งพระนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ครั้นแล้ว จึงตรัสเรียกพวก เทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยก บรรพต ด้านทิศอุดร แห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีนแห่ง พระนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ถ้ากระไร พวกเราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ทูลรับ ท้าวสักกะจอมเทพ แล้ว
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพบุตร (เทพแห่งคนธรรพ์) มาตรัสว่า ดูกรพ่อปัญจสิขะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต ด้านทิศอุดรแห่ง พราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระนคร ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ พวกเราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลรับ ท้าวสักกะจอมเทพ แล้ว ถือเอา พิณ มีสีเหลืองดังผลมะตูม คอยตามเสด็จ ท้าวสักกะจอมเทพ
2
(ท้าวสักกะแวดล้อมด้วยเทวดาชั้นดาวดึงส์หายไปปรากฎที่เวทิยกบรรพต พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ)
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ แวดล้อมไปด้วยพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีปัญจสิข คันธรรพบุตร นำเสด็จ ได้หายไปในชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏ ณ เวทิยกบรรพต ด้าน ทิศอุดรแห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระนคร ราชคฤห์ ในแคว้นมคธเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่ เหยียดออกเข้า ฉะนั้น
ก็สมัยนั้น เวทิยกบรรพต และพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์สว่างไสวยิ่งนัก ด้วย เทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย และได้ยินว่าพวกมนุษย์ในหมู่บ้านโดยรอบพา กันกล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ไฟติดเวทิยกบรรพตเข้าแล้ว วันนี้ไฟไหม้เวทิยกบรรพต วันนี้ เวทิยกบรรพต ไฟลุกโพลงเพราะเหตุไรเล่า วันนี้ เวทิยกบรรพตและ พราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ จึงสว่างไสวยิ่งนักมนุษย์พวกนั้นพากันตกใจ ขนพองสยองเกล้า
3
(ปัญจสิขคันธรรพบุตร บรรเลงเสียงพิณพร้อมขับคาถา ให้พระผู้มีพระภาค ได้ยินก่อนเข้าเฝ้า)
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ รับสั่งกะ ปัญจสิขคันธรรพบุตรว่า ดูกรพ่อปัญจสิขะ พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้เพ่งฌาน ทรงยินดีในฌาน ในระหว่างนั้น ทรงเร้นอยู่ อันผู้เช่นเรายากที่จะเข้าเฝ้า ถ้ากระไร พ่อควรจะให้พระผู้มีพระภาค ทรงพอพระหฤทัย ก่อน พ่อให้พระองค์ทรงพอพระหฤทัยก่อนแล้ว ภายหลัง พวกเราจึงควรเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปัญจสิขคันธรรพบุตร ทูลรับท้าวสักกะจอมเทพแล้ว จึงถือเอาพิณมีสีเหลือง* ดังผล มะตูมเข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ครั้นแล้วประมาณดูว่า เพียงนี้ พระผู้มีพระภาคจะประทับ อยู่ไม่ไกล ไม่ใกล้เรานัก และจักทรงได้ยินเสียงเราแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ปัญจสิขคันธรรพบุตร ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ถือพิณมีสีเหลืองดังผล มะตูมบรรเลงขึ้น และได้กล่าวคาถาเหล่านี้อันเกี่ยวด้วย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม ว่า
*คนธรรพ์ดีดพิณเพื่อความบันเทิงของเหล่าเทวดา
[๒๔๘] ดูกรแม่ภัททาสุริยวัจฉสา ฉันขอไหว้ท้าวติมพรุบิดาเธอ โดยเหตุที่เธอ เกิดเป็นนางงาม ปลูกความปลื้มให้แก่ฉัน เหมือนลม เป็นที่ปรารถนาของผู้มีเหงื่อ หรือน้ำดื่มเป็นที่ปรารถนาของผู้ ระหาย เธอผู้จำรัสโฉม เป็นที่รักของฉัน คล้ายกัน กับ ธรรม เป็นที่รักของเหล่าพระอรหันต์ฉะนั้น ขอเธอช่วยดับความเร่าร้อน เหมือนช่วย วางยาคนไข้ผู้กระสับกระส่าย หรือให้โภชนะแก่ผู้หิว หรือดับไฟที่ลุกอยู่ด้วยน้ำ ขอให้ฉันซบลงจด ณ ถัน(นม) และอุทร(ท้อง) ของเธอ* เหมือนช้างผู้ร้อนจัด ในหน้าร้อน หยั่งลง สระโบกขรณี มีน้ำเย็นประกอบด้วยละอองแห่งเกสรดอกปทุม ฉะนั้น
* เทวดาเกิดความกำหนัดทางเพศ และปฏิบัติการไม่ต่างกับมนุษย์
ฉันมึนเมาแล้ว* เพราะช่วงขาอันสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ไม่รู้สึกถึงเหตุการณ์ เหมือน ช้างเหลือขอ ไม่ยอมรับรู้แหลน และหอกซัด ด้วยถือว่าตนชนะแล้ว ฉะนั้นฉันมีใจ จดจ่อในเธอ ฉันไม่อาจกลับดวงจิตที่แปรปรวนไปแล้ว เหมือนปลาที่กลืนเบ็ดเสียแล้ว ฉะนั้น นางผู้เจริญ ขอเธอเอาขาซ้ายกระหวัด ฉันไว้ขอเธอผู้มีดวงตา อันอ่อนหวาน จงกระหวัดฉันไว้ ขอเธอผู้งดงามจง สวมกอดฉัน* นั่นเป็นข้อที่ฉันปรารถนายิ่งนัก ความใคร่ของฉันในเธอ ผู้มีผมเป็นลูกคลื่น ถึงจะมีน้อยก็เกิดผลมาก เหมือนทักษิณา ที่ถวายในพระอรหันต์ ฉะนั้น บุญอันใดที่ฉันได้ทำไว้ แล้วในพระอรหันต์ผู้คงที่ มีอยู่
* เทวดาเสวยน้ำจันท์จนเมา
* เทวดากอดกัน /เกิดความกำหนัด
ดูกรนางผู้งามทั่วสรรพางค์ ขอบุญอันนั้นของฉัน จงอำนวยผลแก่ฉัน พร้อมกับด้วยเธอ บุญอันใดที่ฉันได้ทำไว้ในปฐพีมณฑลนี้ มีอยู่ ดูกรนางผู้งามพร้อม ขอบุญอันนั้น ของฉัน จงอำนวยผลแก่ฉัน พร้อมกับด้วยเธอ ดูกรแม่สุริยวัจฉสา ฉันปรารถนาเธอ เหมือน พระศากย บุตรพุทธเจ้า ทรงเข้าฌานอยู่พระองค์เดียว มีพระปัญญารักษา พระองค์ ทรงมีพระสติ เป็นมุนีทรงแสวงหาอมตะ พระผู้จอมปราชญ์ได้บรรลุ พระสัมโพธิญาณ อันสูงสุดแล้ว พึงชื่นชมฉันใด เธอผู้งดงาม ถ้าฉันได้อยู่ร่วมกับเธอ ก็จะพึงชื่นชมฉันนั้น
ถ้า ท้าวสักกะ ผู้เป็นอิสระ ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จะประทานพรแก่ฉันไซร้ ฉันจะพึงเลือกเอาเธอเป็นแท้ ความอยากได้ของฉันมั่นคงถึงเพียงนี้ ดูกรแม่ผู้ เฉลียวฉลาด ท่านผู้ใดมีธิดาเช่นนี้ ฉันขอน้อมไหว้ท่านผู้นั้น ซึ่งเป็นบิดาของเธอ ซึ่งเป็นประดุจสาลพฤกษ์เผล็ดดอกไม่นาน ฉะนั้น
4
(พระผู้มีพระภาคตรัสถาม ปัญจสิขคันธรรพบุตร ว่าเพลงขับอันเกี่ยวด้วย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม ท่านประพันธ์ขึ้นเมื่อไร)
[๒๔๙] เมื่อปัญจสิขคันธรรพบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสกะ ปัญจสิขคันธรรพบุตรว่า ดูกรปัญจสิขะ เสียงสายของท่านเทียบได้กับเสียงเพลงขับ และเสียงเพลงขับของท่านเทียบได้กับเสียงสาย ก็เสียงสายของท่านไม่เกิน เสียงเพลงขับ และเสียงเพลงขับ ไม่เกินเสียงสาย ก็คาถาเหล่านี้ อันเกี่ยวด้วย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์และกาม ท่านประพันธ์ขึ้นเมื่อไร
ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประพันธ์ ขึ้นเมื่อสมัย ที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ อชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ก็สมัยนั้นข้าพระองค์ได้รักใคร่ ธิดาของท้าว ติมพรุคันธรรพราช ผู้มีนามว่า ภัททาสุริยวัจฉสา แต่นางรักใคร่กับผู้อื่นเสีย คือรักใคร่บุตรของ มาตลีสังคาหกเทวบุตร นามว่า สิขัณฑิเมื่อข้าพระองค์ไม่ได้ นางนั้นโดยปริยาย อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จึงถือเอาพิณ มีสีเหลือง ดังผลมะตูมเข้า ไปยังนิเวศน์ของ ท้าวติมพรุคันธรรพราช ครั้นแล้วจึงถือพิณมีสีเหลือง ดังผลมะตูม บรรเลงขึ้น และ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ อันเกี่ยวด้วยพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม ว่า ดูกรแม่ภัททาสุริยวัจฉสา ฉันขอไหว้เท้าติมพรุบิดาเธอ โดยเหตุ ที่เธอ เกิดเป็นนางงาม ปลูกความปลื้มให้แก่ฉัน ฯลฯ ดูกรแม่ ผู้เฉลียวฉลาด ท่านผู้ใดมีธิดา เช่นนี้ ฉันขอ น้อมไหว้ท่านผู้นั้น ซึ่งเป็นบิดาของเธอ ซึ่งเป็นประดุจสาลพฤกษ์ เผล็ดดอกไม่นาน ฉะนั้น
[๒๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางภัททา สุริยวัจฉสา ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ฉันมิได้เห็นพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นในที่เฉพาะพระพักตร์เลย เป็นแต่ฉันเคยได้ยิน เมื่อเข้าไปฟ้อนใน สุธรรมาสภา ของเทวดาชั้นดาวดึงส์เท่านั้น เมื่อท่านแสดงพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ได้แล้ว วันนี้จงมาร่วมสมาคมกับพวกเราเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ก็ได้ร่วมสมาคมกับนางนั้น หลังจากนั้น ข้าพระองค์มิได้พูด
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงพระดำริว่า ปัญจสิขคันธรรพบุตร ได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค และพระผู้มีพระภาค ก็ทรงปราศรัยกับปัญจสิขคันธรรพบุตร ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพบุตรมาตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ พ่อจงถวายบังคมพระผู้มี พระภาค ตามคำของเราว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วย อำมาตย์ และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า
ปัญจสิขคันธรรพบุตร ทูลรับท้าวสักกะจอมเทพ แล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยอำมาตย์ และ บริษัท ขอถวายบังคม พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วย อำมาตย์ และ บริษัท จงมีความสุขอย่างนั้นเถิด เพราะว่าพวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และชนเป็นอันมากเหล่าอื่นใด ซึ่งปรารถนาสุขมีอยู่
[๒๕๑] ก็พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสประทานพรเทวดา ผู้มีศักดิ์ใหญ่ เห็นปานนั้น อย่างนี้แล ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาค ตรัสประทานพร แล้วเสด็จเข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ของพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เข้าไปยัง ถ้ำอินทสาละ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถึงปัญจสิขคันธรรพบุตร ก็เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สมัยนั้น ถ้ำอินทสาละ ซึ่งมีพื้นไม่สม่ำเสมอ ก็สม่ำเสมอ ซึ่งคับแคบ ก็กว้างขวางขึ้น ความมืดในถ้ำหายไป ความสว่างเกิด ขึ้น ด้วยเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
[๒๕๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพว่า นี้ เป็นของ น่าอัศจรรย์ของท่านท้าวโกสีย์ นี้เป็นเหตุไม่เคยมีของท่านท้าวโกสีย์ คือ การที่ พระองค์ ผู้มีกิจมากมีกรณียะมากเสด็จมาในที่นี้
ท้าวสักกะจอมเทพ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประสงค์จะ มาเฝ้าเยี่ยม พระผู้มีพระภาคตั้งแต่นานมาแล้ว แต่มัวสาละวนด้วยกิจกรณียะบาง อย่างของพวก เทวดา ชั้นดาวดึงส์ จึงมิสามารถมาเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สลฬาคาร ในพระนคร สาวัตถี
ครั้งนั้น ข้าพระองค์ ได้ไปยังพระนครสาวัตถี เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งอยู่ด้วยสมาธิบางอย่าง นางปริจาริกาของ ท้าวเวสวัณ มหาราช นามว่า ภุชคี เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค นางยืน ประนมมือนมัสการ อยู่ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะนางภุชคีว่า
ดูกรน้องหญิง ขอท่าน จงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ตามคำขอของเราว่า ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วย อำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของ พระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางภุชคีได้ตอบ ข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มิใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ทรงหลีกเร้น เสียแล้ว ข้าพระองค์ จึงสั่งไว้ว่า
ดูกรน้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเมื่อใด พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธิ แล้ว เมื่อนั้น ท่านจงกราบบังคมพระผู้มีพระภาค ตามคำของเราว่า ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วย อำมาตย์ และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ น้องหญิงนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ตามคำของข้าพระองค์ แล หรือ พระผู้มีพระภาค ยังทรงระลึกถึงคำของน้องหญิงนั้น ได้อยู่หรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรจอมเทพ น้องหญิงนั้นไหว้อาตมภาพแล้ว อาตมภาพ ระลึกได้ถึงคำของน้องหญิงนั้น และอาตมภาพออกจากสมาธิ เพราะเสียง กงรถ ของพระองค์
ท้าวสักกะจอมเทพ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาเหล่าใดที่เข้าถึง หมู่เทวดา ชั้นดาวดึงส์ ก่อนพวกข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินมา ได้รับมาต่อหน้า เทวดา เหล่านั้นว่า เมื่อใดพระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จ อุบัติในโลก เมื่อนั้น ทิพยกายย่อมบริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้เห็น พยาน แล้วว่า เมื่อพระตถาค ตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ อุบัติในโลก ทิพยกายย่อม บริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป
5
(โคปิกา ศากยธิดา เลื่อมใสในพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ หลังกายแตกได้มาเกิดเป็นบุตรของท้าวสักกะ นามว่า โคปกเทวบุตร )
ในเมืองกบิลพัสดุ์ นี้เอง ได้มีศากยธิดา นามว่า โคปิกา เป็นคนเลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ นางคลายจิตในความเป็นสตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของ ข้าพระองค์ พวกเทวดา ในดาวดึงส์นั้น รู้จักเธอ อย่างนี้ว่า โคปกเทวบุตรๆ
ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุอื่นสามรูป ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เข้าถึง หมู่คนธรรพ์อันต่ำ คนธรรพ์พวกนั้น เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ มาสู่ ที่บำรุง บำเรอของข้าพระองค์ โคปกเทวบุตรได้ตักเตือน คนธรรพ์พวกนั้น ผู้มาสู่ที่ บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ว่า
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เอาหน้าไปไว้ที่ไหน พวกท่านรวบรวมพระธรรมของ พระผู้มีพระภาคนั้นไว้ เราเป็นแต่สตรี เลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ คลายจิตในความเป็น สตรี อบรมจิตในความ เป็นบุรุษ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถึงความอยู่ร่วมกับ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของ ท้าวสักกะจอมเทพ แม้ในที่นี้ พวกเทวดา รู้จักเรา ว่า โคปกเทวบุตร
ส่วนพวกท่าน ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ พวกเราได้เห็น สหธรรมิก ที่เข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ นับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูแล้ว ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อคนธรรพ์พวกนั้น ถูกโคปกเทวบุตรตักเตือนแล้ว เทวดาสององค์กลับ ได้สติในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงกาย อันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต ส่วนเทวดาองค์หนึ่ง คงตกอยู่ในกามภพ
6
(โคปกเทวบุตร บุตรของท้าวสักกะ สมัยเป็นมนุษย์เลื่อมใสในธรรมของ พระผู้มีพระภาค หลังกายแตกเข้าถึงชั้นไตรทิพย์)
[๒๕๓] เราเป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ นามของเราได้ปรากฏ ว่า โคปิกา เราเลื่อมใสยิ่งแล้วในพระพุทธเจ้า พระธรรม และมีจิตเลื่อมใสบำรุงพระสงฆ์ เพราะความที่พระธรรมของ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแหละ เป็นธรรมดี เราได้เป็นบุตร ท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่หลวง เข้าถึงชั้นไตรทิพย์ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตร
7
(โคปกเทวบุตร กล่าวกะคนธรรพ์ว่า พวกมนุษย์ที่ไม่รับธรรมของพระองค์
หลังกายแตกจึงมีกายอันต่ำ มาเกิดในหมู่คนธรรพ์ เป็นผู้บำเรอเทวดา)
เราได้มาเห็นพวกภิกษุ ที่เป็นสาวกของพระโคดม ซึ่งเคยเห็นมา แล้วครั้งที่เรายังเป็น มนุษย์ และบำรุงด้วยข้าวน้ำ สงเคราะห์ด้วยการล้างเท้าและทาเท้าให้ในเรือนของตน มาเข้าถึงหมู่คนธรรพ์ อยู่ในหมู่คนธรรพ์ ท่านพวกนี้เอาหน้าไปไว้ไหน จึงไม่รับธรรม ของ พระพุทธเจ้า ก็ธรรมที่วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตัว อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงดีแล้วแม้ เราก็เข้าไปหาพวกท่าน ได้ฟังสุภาษิตของพระอริยะ ทั้งหลาย เราได้เป็นบุตรท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่หลวง เข้าถึงชั้น ไตรทิพย์(ดาวดึงส์) ส่วนพวกท่านเข้าไปนั่งใกล้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ประพฤติ พรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า ผู้ยอดเยี่ยม ยังมาเข้าถึง กายอันต่ำ การอุปบัติของ พวกท่าน ไม่สมควร เราได้มาเห็นสหธรรมิก เข้าถึงกายอันต่ำ นับว่าได้เห็นรูป ที่ไม่น่าดูแล้ว พวกท่าน ผู้เข้าถึงหมู่ คนธรรพ์ ต้องมาสู่ที่บำเรอของพวก เทวดา
ขอให้ท่านดูความวิเศษอันนี้ของเราผู้อยู่ ในเรือนเถิด เราเป็นสตรี วันนี้เป็นเทวบุตร ผู้พร้อมพรั่งไป ด้วยกามอันเป็นทิพย์ คนธรรพ์พวกนั้นมาพบ โคปกเทวบุตร อัน โคปกเทวบุตร ผู้สาวกพระโคดม ตักเตือนแล้ว ถึงความสลดใจ คิดว่าเอาเถิด พวกเรา จะพากเพียรพยายาม พวกเราจะไม่เป็นคนใช้ของผู้อื่น*
* คนธรรพ์เป็นคนใช้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์
บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น
คนธรรพ์ ๒ คนระลึกถึงคำสอนพระโคดม แล้วปรารภ ความเพียร คลายจิตในภพนี้ได้ เห็นโทษในกามแล้ว ตัดกามสังโยชน์ และ เครื่องผูก คือกามอันเป็นบ่วงของมาร ซึ่งยากที่จะล่วงไปได้ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งพวก เทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะตัดเสียได้ ซึ่งกามคุณ อันมีอยู่ ประดุจช้างตัดบ่วงบาสได้ ฉะนั้น
เทวดาทั้งหมด พร้อมทั้งพระอินทร์ พร้อมทั้งท้าวปชาบดี เข้าไปนั่งประชุมกัน ในสภา ชื่อ สุธรรมา ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า ปราศจากราคะ บำเพ็ญวิรชธรรมอยู่ ก็หาก้าวล่วง เทวดาพวกนั้นไม่ ท้าววาสพ ผู้เป็นใหญ่ยิ่งของเทวดา ทรงเห็น เทวดาเหล่านั้น ในท่ามกลางหมู่เทวดาแล้ว ได้ทรงสลดพระทัยว่า ก็เทวดาเหล่านี้ เข้าถึงกายอันต่ำ บัดนี้กลับก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์
เมื่อท้าวสักกะ เกิดสลดพระทัย เพราะทรงพิจารณาเทวดาเหล่านั้น โคปกเทวบุตร ได้ทูลท้าววาสพ ว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน มีอยู่ในมษุยโลก ทรงครอบงำกาม เสียได้ ปรากฏพระนามว่า พระศากยมุนีเทวดาพวกนั้นเป็น บุตรของพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น เป็นผู้เว้นจากสติแล้วอันข้าพระองค์ตักเตือน กลับได้สติ
บรรดาท่านทั้ง ๓ นั้น ท่านผู้หนึ่งคงเข้าถึงกายคนธรรพ์ อยู่ในภพนี้ อีก ๒ ท่านดำเนิน ตามทางตรัสรู้ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จะเย้ยพวกเทวดาก็ได้ การประกาศธรรมใน พระวินัย นี้เป็นเช่นนี้ บรรดาพระสาวก มิได้มีสาวกรูปไรสงสัยอะไรเลย
เราทั้งหลายขอนอบน้อม พระชินพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ทรงตัด ความสงสัยได้แล้ว บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คนธรรพ์ ๒ คน นั้น รู้ธรรมอันใดของ พระองค์แล้ว ถึงความเป็นผู้วิเศษ เข้า ถึงกายอันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต บรรลุ คุณวิเศษแล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานพระวโรกาส ถึงพวกข้าพระองค์ ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น หากพระองค์ทรงกระทำโอกาสแล้ว จะขอทูลถามปัญหา
[๒๕๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า ท้าวสักกะ นี้เป็นผู้บริสุทธิ์ สิ้นเวลานาน จักตรัสถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งกะเรา ท้าวเธอจักถามปัญหา นั้นทุกข้อ ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่ถามปัญหาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อนึ่ง เราอันท้าวเธอ ตรัสถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความใด ท้าวเธอจักทรงทราบ ข้อความนั้นได้พลันทีเดียว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะ ท้าวสักกะจอมเทพ ด้วยพระคาถาว่า ดูกรท้าววาสพ พระองค์ปรารถนาไว้ในพระทัย เพื่อจะตรัสถาม ปัญหาข้อไร ก็จงตรัสถามปัญหาข้อนั้น กะอาตมภาพเถิด อาตมภาพ จะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้นๆ แก่พระองค์
8
(ปัญหาของท้าวสักกะ) P495
[๒๕๕] ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคทรงให้โอกาสแล้ว ได้ ทูลถาม ปัญหา ข้อแรกกะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
(ปัญหาข้อ1) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไร เป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่น นั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามี ความปรารถนาอยู่ดังนี้ ก็ไฉน เขายังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ ท้าวสักกะ จอมเทพ ได้ทูลถามปัญหากะ พระผู้มี พระภาค ด้วยประการ ฉะนี้
พระผู้มีพระภาค อัน ท้าวสักกะจอมเทพ ทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ดูกรจอมเทพ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีความริษยาและ ความตระหนี่ เป็นเครื่องผูกพันใจไว้อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาทย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็น ผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามีความปรารถนาอยู่ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็น ผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาค อันท้าวสักกะจอมเทพ ทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ด้วยประการฉะนี้
ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค
[๒๕๖] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อแรกดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไป ว่า
(ปัญหาข้อ2) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ก็ความริษยาและความตระหนี่ มีอะไรเป็นเหตุ มี อะไร เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความริษยา และความ ตระหนี่จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี
ภ. ดูกรจอมเทพ ความริษยาและความตระหนี่ มีอารมณ์เป็นที่รักและ อารมณ์ อันไม่เป็นที่รัก เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด อันเป็นแดนเกิด เมื่ออารมณ์อันเป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่เป็นที่รักมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่ จึงมี เมื่ออารมณ์ อันเป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความ ตระหนี่จึงไม่มี
(ปัญหาข้อ3) ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อารมณ์อันเป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่เป็น ที่รัก มีอะไร เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไร มีอารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์ อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อารมณ์อันเป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี
ดูกรจอมเทพ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก มีความพอ ใจเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความพอใจมี อารมณ์ อันเป็นที่รักและ อารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี อารมณ์อันเป็น ที่รักและอารมณ์ อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี
(ปัญหาข้อ4) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความพอใจมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี เมื่ออะไร ไม่มี ความพอใจจึงไม่มี
ดูกรจอมเทพ ความพอใจมีความตรึกเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความตรึกมี ความพอใจจึงมี เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจ จึงไม่มี
(ปัญหาข้อ5) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความตรึกจึงไม่มี
ดูกรจอมเทพ ความตรึกมีส่วนแห่งสัญญา อันประกอบด้วย ปปัญจธรรม เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญา อันประกอบ ด้วยปปัญจธรรมมี ความตรึกจึงมี เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วย ปปัญจธรรม ไม่มี ความตรึกจึงไม่มี
[๒๕๗] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
(ปัญหาข้อ6) ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึง ความดับส่วนแห่งสัญญา อันประกอบด้วย ปปัญจธรรม
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ กล่าวโสมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควร เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี โทมนัสก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร เสพก็มี และอุเบกขาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร เสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น บุคคล พึงทราบโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม โสมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใดว่าเมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โสมนัสเห็น ปานนั้น ควรเสพ ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโสมนัสอันใดมีวิตก มีวิจาร อันใด ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัส ที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ ควรเสพ ก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโทมนัสทั้ง ๒ นั้น บุคคล พึงทราบโทมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้นกุศลธรรมเสื่อม โทมนัสเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โทมนัสเห็นปานนั้น ควรเสพ ในโทมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโทมนัสอันใด มีวิตก มีวิจาร อันใด ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โทมนัส ที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร เสพก็มีฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี ที่กล่าวถึงอุเบกขา ดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในอุเบกขา ทั้ง ๒ นั้น บุคคล พึงทราบอุเบกขาอันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรม เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม อุเบกขาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบอุเบกขา อันใดว่าเมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น อุเบกขา เห็นปานนี้ ควรเสพ ในอุเบกขาทั้ง ๒ นั้น ถ้าอุเบกขาอันใด มีวิตก มีวิจาร อันใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่วิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขา แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงอุเบกขาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้
ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่า ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึง ความดับ แห่งส่วนสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม
พระผู้มีพระภาคอัน ท้าวสักกะจอมเทพ ทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ ด้วยประการ ฉะนี้
ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค
9
(ท้าวสักกะถามปัญหาต่อมา)
(ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อความ สำรวมในปาติโมกข์)
[๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น ไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อความ สำรวมในปาติโมกข์
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว กายสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี วจีสมาจาร ก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี และ การแสวงหา ก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว กายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึง กายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ใน กายสมาจาร ทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมา จารนี้ อกุศลธรรม เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมกายสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบ กายสมาจาร อันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ กล่าว กายสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว วจีสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในวจี สมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมวจีสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคล พึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรม เจริญขึ้น วจีสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว วจีสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึง วจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว การแสวงหา โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในการแสวงหา ทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม การแสวงหาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคล พึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น การแสวงหาเห็นปานนี้ ควรเสพ
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ กล่าว การแสวงหา โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มีฉะนี้แล ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้
ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อสำรวมในปาติโมกข์
10
(ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า ปฏิบัติแล้ว เพื่อความสำรวมอินทรีย์)
[๒๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า ปฏิบัติแล้ว เพื่อความสำรวมอินทรีย์
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วย นัยน์ตา โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวเสียงที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยหู โดยแยกเป็น คือ ที่ควรเสพก็มีที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูก โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวรสที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยกาย โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ย่อมทราบเนื้อความแห่งภาษิต ที่ตรัสโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า
เมื่อบุคคลเสพรูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพรูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานนี้ ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพ เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู เห็นปานใด ...
เมื่อบุคคลเสพ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก เห็นปานใด ...
เมื่อบุคคลเสพ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เห็นปานใด...
เมื่อบุคคลเสพ โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย เห็นปานใด ...
เมื่อบุคคลเสพ ธรรม ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจเห็นปานนี้ ควรเสพ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่ง ภาษิต ที่ตรัสโดยย่อนี้ได้ โดยพิสดารอย่างนี้ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำ ที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการ พยากรณ์ปัญหาของ พระผู้มีพระภาค
11
(ถามให้ยิ่งขึ้นไปอีก..สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็น อย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน หรือหนอ)
[๒๖๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียว กัน มีศีลเป็น อย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็น อย่างเดียวกัน หรือหนอ
ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีล เป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน หามิได้
ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็น อย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็น อย่างเดียวกัน
โลกมีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุ ต่างกันนั้น สัตว์ทั้งหลายยึดธาตุใดๆ อยู่ ย่อมยึดมั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและความยึดถือ กล่าวว่าสิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะ เป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะ เป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนา เป็นอย่างเดียวกัน ...
12
(สมณพราหมณ์ทั้งหมดมีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หรือหนอ)
[๒๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมดมีความสำเร็จ ล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หรือหนอ
ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความ เกษม จากโยคะ ล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หามิได้
ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มีความเกษม จากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วนไม่มีที่สุดล่วงส่วน
ภิกษุเหล่าใดน้อมไปแล้วในธรรม เป็นที่สิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้น มีความสำเร็จ ล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุด ล่วงส่วน เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มีความเกษมจาก โยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน
[๒๖๒] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ พระผู้มี พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตัณหาเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ ไปเพื่อบังเกิด ในภพนั้นๆ เพราะฉะนั้นบุรุษนี้ย่อมถึงอาการขึ้นๆ ลงๆ
ปัญหาเหล่าใด ที่ข้าพระองค์ไม่ได้ แม้ซึ่งการกระทำโอกาสในสมณพราหมณ์เหล่าอื่น นอกพระธรรมวินัยนี้ ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นกาลไกลโปรด พยากรณ์แก่ข้าพระองค์แล้ว และลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงของข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคทรงถอนขึ้นแล้ว
ดูกรจอมเทพ พระองค์ยังทรงจำได้หรือว่า เคยตรัสถามปัญหาเหล่านี้กะ สมณพราหมณ์เหล่าอื่น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ว่า เคยถามปัญหาเหล่านี้กะ สมณพราหมณ์เหล่าอื่น
ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้าพระองค์ไม่หนักพระทัย ขอให้ตรัสบอกเถิด
ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจ ในสถานที่พระองค์ และท่านที่เป็นอย่าง พระองค์ ประทับนั่งอยู่แล้ว
ถ้าเช่นนั้น จงตรัสบอกเถิด
ข้าพระองค์เข้าใจสมณพราหมณ์เหล่าใดว่า เป็นสมณพราหมณ์ผู้อยู่ป่า มีเสนาสนะ อันสงัดแล้ว ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถามปัญหาเหล่านี้ ท่านเหล่านั้น ถูกข้าพระองค์ถามปัญหาแล้ว ย่อมไม่สบายใจ เมื่อไม่สบายใจ กลับย้อนถามข้าพระองค์ว่า ท่านชื่อไร
ข้าพระองค์ถูกท่านเหล่านั้นถามแล้ว จึงตอบว่า ข้าพเจ้าคือ ท้าวสักกะจอมเทพ ท่านเหล่านั้นยังสอบถามข้าพระองค์ ต่อไปว่า ท่านกระทำกรรมอะไรจึงลุถึงฐานะอันนี้ ข้าพระองค์จึงได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมา แก่ท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นดีใจด้วยเหตุเพียง เท่านี้ว่า พวกเราได้เห็น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเธอได้ตอบปัญหาที่พวกเรา ได้ถามแล้วเป็นของแน่นอนท่านเหล่านั้น กลับเป็นผู้รับฟังข้าพระองค์ แต่ ข้าพระองค์หาได้เป็นผู้รับฟังท่านเหล่านั้นไม่ ก็ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์ ชั้นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
พระองค์ยังทรงจำได้หรือ ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ก่อนแต่นี้
ข้าพระองค์ยังจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ก่อนแต่นี้
พระองค์ยังทรงจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ก่อนแต่นี้ อย่างไรเล่า
13
(สงครามระหว่างเทวดา และอสูรได้ประชิดกันแล้ว
)
[๒๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดา และอสูรได้ประชิดกันแล้ว ก็ในสงครามคราวนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ เมื่อข้าพระองค์ชนะสงครามนั้นแล้ว ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเทวดา ในเทวโลกนี้จักบริโภคโอชาทั้งสอง คือ ทิพย์โอชา และอสุรโอชา
การได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์ นั้นประกอบไปด้วย ทางมาแห่งอาชญา ประกอบไปด้วยทางมาแห่งศาตรา ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อพระนิพพาน
ส่วนการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้ฟัง ธรรม ของพระผู้มีพระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งอาชญา ไม่เป็นทางมาแห่งศาตรา ย่อมเป็นไป เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน
ดูกรจอมเทพ ก็พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์ อย่างไรเล่า จึงทรง ประกาศ การได้รับ ความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้
14
(อำนาจประโยชน์ ๖ ประการ แห่งการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส)
ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงประกาศการได้รับ ความยินดี การได้รับ ความโสมนัส เห็นปานนี้
[๒๖๔] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ประการที่หนึ่ง อย่างนี้ว่า เมื่อเราเกิด เป็นเทวดา ดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นี้ เรากลับได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ขอจงทรงทราบอย่างนี้เถิด ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับ ความโสมนัส เห็นปานนี้
[๒๖๕] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ประการที่สอง อย่างนี้ว่า เราจุติจาก ทิพยกายแล้ว ละอายุอันมิใช่ของมนุษย์แล้ว เป็นผู้ไม่หลง จักเข้าสู่ครรภ์ในตระกูล อันเป็นที่พอใจของเรา ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้
[๒๖๖] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ประการที่สาม อย่างนี้ว่าเรานั้น ยินดีแล้ว ในศาสนาของท่าน ที่มิได้หลง ปัญหา เรามีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง จักอยู่โดยธรรมดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้
[๒๖๗] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ประการที่สี่ อย่างนี้ว่า ถ้าความตรัส รู้จักมี แก่เราในภายหน้า โดยธรรมไซร้ เราจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ นั่นแหละจักเป็น ที่สุดของเรา ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้
[๒๖๘] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ประการที่ห้า อย่างนี้ว่าหากเราจุติ จากกายมนุษย์แล้ว ละอายุอันเป็นของ มนุษย์แล้ว จักกลับเป็นเทวดาอีกจักเป็น ผู้สูงสุด ในเทวโลก ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้
[๒๖๙] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ประการที่หก อย่างนี้ว่าพวกเทวดา ชั้นอกนิฏฐาเหล่านั้น เป็นผู้ประณีตกว่า มียศ เมื่อภพที่สุดเป็นไปอยู่ นิวาสนั้นจักเป็น ของเรา ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ หกประการนี้แล จึงประกาศ การได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ |