เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สักกปัญหสูตร ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาค 495
 



ท้าวสักกะจอมเทพ ทูลถามปัญหา

พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีพยาบาท แล้วอะไรเป็นเครื่องผูกพันใจสัตว์เหล่านั้นไว้
ดูกรจอมเทพ : ผู้มีเวร มีความพยาบาท เพราะความตระหนี่ ความริษยา เป็นเครื่องผูกพันใจสัตว์ไว้

ความริษยาและความตระหนี่ มีอะไรเป็นเหตุ
ดูกรจอมเทพ : มีอารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นแดนเกิด

อารมณ์อันเป็นที่รัก-ไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นแดนเกิด
ดูกรจอมเทพ: มีความพอใจ เป็นเหตุ

ความพอใจมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
ดูกรจอมเทพ :ความพอใจ มีความตรึกเป็นเหตุ

ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัยมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
ดูกรจอมเทพ: ความตรึกมีส่วนแห่ง สัญญาอันประกอบด้วย ปปัญจธรรม (ความเนิ่นช้า) เป็นเหตุ

- ผู้มีเวร มีความจองเวร มีความพยาบาท อะไรเป็นเหตุ - เพราะริษยาและความตระหนี่
- ความริษยาและความตระหนี่มีอะไรเป็นเหตุ -
เพราะมีอารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก
- อารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ -
เพราะมีความพอใจ และไม่พอใจ
- ความพอใจ และไม่พอใจ มีอะไรเป็นเหตุ -
เพราะมีความตรึกเป็นเหตุ
- ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ -
เพราะสัญญาอันประกอบด้วย ปปัญจธรรม(ความเนิ่นช้า)
- ปฏิปทาเข้าถึงความดับของสัญญา - โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
 
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค


สักกปัญหสูตร
ท้าวสักกะจอมเทพ(เทวดาชั้นดาวดึงส์) ได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาค


          [๒๕๕] ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคทรงให้โอกาสแล้ว ได้ทูลถามปัญหา ข้อแรก กะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
1.
พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่อง ผูกพันใจไว้ อนึ่งชน เป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มี ความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามี ความปรารถนา อยู่ดังนี้ ก็ไฉน เขายังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวร กันอยู่

ท้าวสักกะจอมเทพได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคด้วยประการฉะนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคอัน ท้าวสักกะ จอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ดูกรจอมเทพ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีความริษยา และความตระหนี่ เป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวรไม่มี อาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เถิด ก็และพวกเขามี ความปรารถนาอยู่ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะ จอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ

          [๒๕๖] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหา พยากรณ์ข้อแรกดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า
2. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ความริษยาและความตระหนี่ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความริษยาและความตระหนี่จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี ฯ
ภ. ดูกรจอมเทพ ความริษยาและความตระหนี่ มีอารมณ์เป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่ เป็นที่รัก เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด อันเป็นแดนเกิด เมื่ออารมณ์อันเป็นที่รัก และ อารมณ์อันไม่เป็นที่รักมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่จึงมี เมื่ออารมณ์อันเป็น ที่รัก และอารมณ์อันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี ฯ

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
3. อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดเมื่ออะไรมี อารมณ์อันเป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่ เป็นที่รักจึงมี เมื่ออะไรไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่เป็น ที่รักจึงไม่มีฯ
ดูกรจอมเทพ อารมณ์อันเป็นที่รัก และอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก มีความพอใจเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความพอใจมี อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์ อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก จึงไม่มี ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
4. ความพอใจมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความพอใจจึงไม่มี ฯ
ดูกรจอมเทพ ความพอใจมีความตรึกเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิดเป็นแดนเกิด เมื่อความตรึกมี ความพอใจจึงมี เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจจึงไม่มีฯ

ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์
5. ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัยมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี เมื่ออะไรไม่มีความตรึกจึงไม่มีฯ
ดูกรจอมเทพ ความตรึกมีส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรมเป็นเหตุ เป็น สมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วย ปปัญจธรรมมี ความตรึกจึงมี เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรมไม่มี ความตรึกจึงไม่มีฯ

          [๒๕๗] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
6. ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าดำเนิน ปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึงความดับส่วน แห่งสัญญา อันประกอบด้วยปปัญจธรรม ฯ
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
โสมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี
โทมนัส ก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี และ
อุเบกขา ก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
.........................................................................................................................................................

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
โสมนัส
โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น
       บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้นกุศลธรรมเสื่อม โสมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
        บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โสมนัสเห็นปานนั้น ควรเสพ
        ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโสมนัสอันใดมีวิตก มีวิจาร อันใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึง โสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
.........................................................................................................................................................

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
โทมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโทมนัสทั้ง ๒นั้น
        บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม โทมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
        บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่าเมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โทมนัสเห็นปานนั้น ควรเสพ
        ในโทมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโทมนัสอันใด มีวิตก มีวิจาร อันใด ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โทมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึง โทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
.........................................................................................................................................................

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
อุเบกขา
โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงอุเบกขา ดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในอุเบกขาทั้ง ๒ นั้น
        บุคคลพึงทราบอุเบกขาอันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม อุเบกขาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
        บุคคลพึงทราบอุเบกขาอันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น อุเบกขาเห็นปานนี้ ควรเสพ
        ในอุเบกขาทั้ง ๒ นั้น ถ้าอุเบกขาอันใด มีวิตกมีวิจาร อันใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่วิตก ไม่มีวิจารประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว อุเบกขา แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงอุเบกขา ดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่า ดำเนินปฏิปทา อันสมควรที่จะให้ถึงความดับ แห่งส่วน สัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม ฯ

พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพ ทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ด้วย ประการฉะนี้ฯ
.........................................................................................................................................................

ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ

          [๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น ไปว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
6.
ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อความสำรวมในปาติโมกข์ ฯ


ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
กายสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
วจีสมาจาร ก็แยก เป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี และ
การแสวงหา ก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มีฯ

.........................................................................................................................................................

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
กายสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในกายสมาจารทั้ง ๒ นั้น
        บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า มื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
       
บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว กายสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แลที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ฯ

.........................................................................................................................................................

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
วจีสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในวจีสมาจารทั้ง ๒ นั้น
        บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรม เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม วจีสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
        บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น วจีสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว วจีสมาจาร โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ฯ

.........................................................................................................................................................

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
การแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในการแสวงหาทั้ง ๒ นั้น
        บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม การแสวงหาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
        บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญขึ้น การแสวงหาเห็นปานนี้ ควรเสพ

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว การแสวงหา โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แลที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อสำรวมในปาติโมกข์ฯ

- ผู้มีเวร มีความจองเวร มีความพยาบาท อะไรเป็นเหตุ - เพราะริษยาและความตระหนี่
- ความริษยาและความตระหนี่มีอะไรเป็นเหตุ - เพราะมีอารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก
- อารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ - เพราะมีความพอใจและไม่พอใจ
- ความพอใจ และไม่พอใจ มีอะไรเป็นเหตุ - เพราะมีความตรึกเป็นเหตุ
- ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ - เพราะสัญญาอันประกอบด้วย ปปัญจธรรม(ความเนิ่นช้า)
- ปฏิปทาเข้าถึงความดับของสัญญา - โสมนัส โทมนัส อุเบกขา


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์