เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

3/5 พระสูตรเรื่องขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ (ขันธ์๕) ฉบับหลวง 1533
  P1531 P1532 P1533 P1534 P1535
รวมพระสูตร ขันธ์๕
ฉบับหลวง เล่ม ๑๗
1 การละขันธ์ ๕ อันไม่ใช่ของใคร รูปไม่ใช่ของเธอ เธอจงละเสีย รูปอันละได้แล้ว จักเป็นประโยชน์ เกื้อกูลเพื่อสุข เพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ตน
2 การละขันธ์ ๕ อันไม่ใช่ของใคร สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละเสีย รูปไม่ใช่ของเธอ เธอจงละเสีย
3 เหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองลุ่มหลง บุคคลย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น
4 เหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคือง บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมหมกมุ่นสิ่งนั้น
5 ความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล.. ความเกิดขึ้น ความเสื่อม ความเป็นอย่างอื่น แห่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร ... ปรากฎ
6 ความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล รูปใดแลที่ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรไปแล้ว ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น ความเสื่อมแห่งรูปนั้น ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปนั้น ปรากฏแล้ว
7 ความหน่ายในขันธ์ ๕ เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อมหลุดพ้น จากรูป.. ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
8 การพิจารณา เห็นอนิจจังในขันธ์ ๕ พึงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อม หลุดพ้นจากรูป ..ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
9 การพิจารณาเห็นทุกข์ในขันธ์ ๕ พึงพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อมหลุดพ้นจากรูป .. ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
10 การพิจารณา เห็นอนัตตาในขันธ์ ๘ พึงพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อมหลุดพ้น จากรูป.. ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
  รวมพระสูตรเรื่องขันธ์๕ จากหนังสือพุทธวจน และ อริยสัจจากพระโอษฐ์ (P1101)
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๓๓

(1)
ว่าด้วยการละขันธ์ ๕ อันไม่ใช่ของใคร (๑. นตุมหากสูตรที่ ๑)
(รูปไม่ใช่ของเธอ เธอจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุข เพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ตน หรือสิ่งที่นับเนื่องในตน )

            [๗๑] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใด ไม่ใช่ ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย
รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสุข

       เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละ วิญญาณ นั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูลเพื่อสุข

            [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชนพึงนำไป พึงเผา หรือพึงกระทำ ตามปัจจัย ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ในเชตวันวิหารนี้ ก็เธอทั้งหลาย พึงคิด อย่างนี้ หรือว่า ชนย่อมนำไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทำตามปัจจัยซึ่งเรา ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสิ่งนั้น ไม่ใช่ตน หรือสิ่งที่นับเนื่องในตน ของข้าพระองค์ ทั้งหลาย

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข

เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละวิญญาณ นั้นเสีย วิญญาณนั้น อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุข




(2)
ว่าด้วยการละขันธ์ ๕ อันไม่ใช่ของใคร (๒. นตุมหากสูตรที่ ๒)
(สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละสิ่งนั้นเสีย รูปไม่ใช่ของเธอ เธอจงละรูปนั้นเสีย)

            [๗๓] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.

       เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละวิญญาณ นั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้วจักเป็นไป เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุข.

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้น อันเธอทั้งหลาย ละได้ จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข




(3)
ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง
(๓. ภิกขุสูตรที่ ๑)
(บุคคลย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมถึงการนับ เพราะสิ่งนั้น บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึง สิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น)


            [๗๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้มี พระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมถึงการนับ เพราะสิ่งนั้น บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น

       ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ เข้าใจแล้ว

       พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าว โดยย่อได้โดยพิสดาร อย่างไร?
       ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น

       ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิด ถึงวิญญาณ ย่อมถึงการนับเพราะ วิญญาณนั้น

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่น คิดถึง เวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯถ้าไม่ ครุ่นคิด ถึงวิญญาณ ก็ไม่ถึงการนับ เพราะวิญญาณนั้น

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิต ที่พระผู้มี พระภาค ตรัสแล้วโดยย่อได้ โดยพิสดารอย่างนี้แล

            [๗๕] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าว โดยย่อ ได้โดยพิสดาร ดีนักแล. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมถึงการนับ เพราะรูปนั้น ถ้าบุคคล ครุ่นคิด ถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น

       ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึง เวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯถ้าไม่ครุ่นคิดถึง วิญญาณ ก็ย่อมไม่ถึงการนับ เพราะวิญญาณนั้น

       ดูกรภิกษุ เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล

            [๗๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้น เพลิดเพลินอนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มี พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายบังคม กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป

       ครั้งนั้นแล เธอได้เป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ มั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไร ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญา อันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

        ก็ภิกษุนั้นได้เป็น พระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย




(4)
ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง
(๔. ภิกขุสูตรที่ ๒)
(บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมหมกมุ่นสิ่งนั้น ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่น รูปนั้น ไม่หมกมุ่นรูปใด ย่อมไม่ถึงการนับ เพราะรูปนั้น)

            [๗๗] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมหมกมุ่นสิ่งนั้น หมกมุ่น สิ่งใด ย่อมถึงการนับ เพราะสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่หมกมุ่นสิ่งนั้น ไม่หมกมุ่น สิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น

       ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ เข้าใจแล้ว
       พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้ โดยพิสดาร อย่างไร?

       ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปใด ย่อมถึงการ นับ เพราะรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึง สังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการนับ เพราะวิญญาณนั้น

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่น รูปใด. ย่อมไม่ถึงการนับ เพราะรูปนั้น. ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ

       ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึง วิญญาณ ย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณนั้น ไม่หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมไม่ถึงการนับ เพราะวิญญาณนั้น

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อได้ โดยพิสดารอย่างนี้แล

            [๗๘] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าว โดยย่อได้โดยพิสดารดีนักแล. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปนั้น หมกมุ่นรูปใด ย่อมถึง การนับเพราะรูปนั้น

       ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึง วิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการนับ เพราะวิญญาณนั้น

       ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่นรูปใด ย่อมไม่ถึง การนับ เพราะรูปนั้น. ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่น คิดถึง สังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณ นั้น ไม่หมกมุ่น วิญญาณใด ย่อมไม่ถึงการนับเ พราะวิญญาณนั้น

       ดูกรภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำนี้ ที่เรากล่าวแล้วโดยย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้ ฯลฯ ก็ภิกษุรูปนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย




(5)
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ (๕. อานันทสูตรที่ ๑)
ความเกิดขึ้น ความเสื่อม ความเป็นอย่างอื่น แห่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร . ปรากฎ


            [๗๙] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ออกจากที่พักผ่อน ในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า

       ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้น แห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหน ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่าไหน ที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏดังนี้ไซร้

เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?

       ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯลฯ ข้าพระองค์ถูกถาม อย่างนี้ พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งรูป แล ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งรูปย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

       ความบังเกิดขึ้นแห่งเวทนาสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณ ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งวิญญาณ ย่อมปรากฏ

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเสื่อม แห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้แล

            [๘๐] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์
ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปแล ย่อมปรากฏ
ความเสื่อม แห่งรูปแล ย่อมปรากฏ
ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

ความบังเกิดขึ้นแห่ง เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณย่อมปรากฏ ความเป็นไป อย่างอื่น แห่งวิญญาณที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

       ดูกรอานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่ง ธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่านี้ที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

        ดูกรอานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้




(6)
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล
(๖. อานันทสูตรที่ ๒)
(รูปใดแลที่ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรไปแล้ว ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น ความเสื่อมแห่ง รูปนั้น ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปนั้น ปรากฏแล้ว

            [๘๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะ ท่านพระอานนท์ ว่าดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมเหล่าไหน ปรากฏแล้ว
ความเสื่อมแห่ง ธรรมเหล่าไหน ปรากฏแล้ว
ความเป็นอย่างอื่น แห่งธรรมเหล่าไหนที่ตั้งอยู่ ปรากฏแล้ว

ความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมเหล่าไหน จักปรากฏ
ความเสื่อม แห่งธรรมเหล่าไหน จักปรากฏ
ความเป็นอย่างอื่น แห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่าไหน จักปรากฏ


       ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหน ย่อมปรากฏความเป็นอย่างอื่น แห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่าไหนย่อมปรากฏ

       ดูกรอานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างไร? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯลฯ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย รูปใดแลที่ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรไปแล้ว
ความบังเกิดขึ้น
แห่งรูป นั้น ปรากฏแล้ว
ความเสื่อม
แห่งรูป นั้น ปรากฏแล้ว
ความเป็นอย่างอื่น
แห่งรูป ที่ตั้งอยู่แล้วนั้น ปรากฏแล้ว

       เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใดที่ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรไปแล้ว ความบังเกิดขึ้น แห่งวิญญาณนั้น ปรากฏแล้ว ความเสื่อมแห่งวิญญาณนั้น ปรากฏแล้ว ความเป็นอย่างอื่นแห่งวิญญาณ ที่ตั้งอยู่แล้วนั้นปรากฏแล้ว

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แล ปรากฏแล้ว
ความเสื่อมแห่ง ธรรมเหล่านี้แล ปรากฏแล้ว ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่านี้แล ปรากฏแล้ว

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย รูปใดแลยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ
ความบังเกิดขึ้น
แห่งรูป นั้น จักปรากฏ
ความเสื่อม
แห่งรูป นั้น จักปรากฏ
ความเป็นอย่างอื่น
แห่งรูป ที่ตั้งอยู่แล้วนั้น จักปรากฏ

       เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความบังเกิดขึ้น แห่งวิญญาณนั้น จักปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งวิญญาณ ที่ตั้งอยู่แล้วนั้นจักปรากฏ

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แล จักปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แล จักปรากฏความเป็นอย่างอื่น แห่งธรรมเหล่านี้ ที่ตั้งอยู่แล้วแลจักปรากฏ

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย รูปใดแลที่เกิดที่ปรากฏ ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น ย่อม ปรากฏความเสื่อมแห่งรูปนั้น ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่น แห่งรูปที่ตั้งอยู่แล้ว นั้น ย่อมปรากฏ

       เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใดที่เกิด ที่ปรากฏ ความบังเกิดขึ้น แห่งวิญญาณนั้น ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณนั้น ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่น แห่งวิญญาณที่ตั้งอยู่แล้วนั้น ย่อมปรากฏ

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่ง ธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรม ที่ตั้งอยู่แล้ว เหล่านี้แลย่อมปรากฏ

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้แล.

            [๘๒] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ รูปใดที่ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรไปแล้ว ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น ปรากฏแล้ว ฯลฯ ดูกรอานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรม เหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรม เหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่น แห่งธรรม ที่ตั้งอยู่เหล่านี้แลย่อมปรากฏ

       ดูกรอานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้




(7)
ว่าด้วยความหน่ายในขันธ์ ๕ (๗. อนุธัมมสูตรที่ ๑)
(เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อมหลุดพ้นจากรูป เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์)

            [๘๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควร แก่ธรรม ย่อมมีธรรม อันเหมาะสม คือ
พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในรูปอยู่
พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในเวทนาอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในสัญญาอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในสังขารอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในวิญญาณอยู่.

       ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้น จากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจาก วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์




(8)

ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอนิจจังในขันธ์ ๕ (๘. อนุธัมมสูตรที่ ๒)
(พึงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อมหลุดพ้นจากรูป เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์)

            [๘๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ย่อมมีธรรมอัน เหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณา เห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญาในสังขาร ในวิญญาณอยู่

        เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์




(9)

ว่าด้วยการพิจารณาเห็นทุกข์ในขันธ์ ๕ (๙. อนุธัมมสูตรที่ ๓)
(พึงพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อมหลุดพ้นจากรูป เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์)

            [๘๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณา เห็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่


        เมื่อเธอพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป
ในเวทนา ใน สัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจาก เวทนา ย่อมหลุดพ้น จากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์




(10)
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอนัตตาในขันธ์ ๘ (๑๐. อนุธัมมสูตรที่ ๔)
(พึงพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ย่อมกำหนดรู้รูป ย่อมหลุดพ้นจากรูป เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์)

            [๘๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณา เห็น อนัตตาในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่

        เมื่อเธอพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ในเวทนาในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อเธอกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้น จาก สัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจาก วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์