เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์ (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1020
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยภิกษุ

๑. เรื่องภิกษุ ๕ รูป (ตรัสแก่ภิกษุ ๕ รูป ผู้สำรวมทวาร รูปละทวาร)
การสำรวมตา เป็นการดี
การสำรวมหู เป็นการดี
การสำรวมจมูก เป็นการดี
การสำรวมลิ้น เป็นการดี
การสำรวมกาย เป็นการดี
การสำรวมวาจา เป็นการดี
การสำรวมใจ เป็นการดี
การสำรวมทวารทั้งปวง เป็นการดี
ภิกษุผู้สำรวมทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

๒. เรื่องภิกษุฆ่าหงส์ (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้ฆ่าหงส์)
บุคคลผู้สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน
ยินดีธรรมภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ภิกษุ

๓. เรื่องพระโกกาลิกะ (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุรูปใดสำรวมปาก พูดโดยใช้มันตา เสมอ
ไม่ฟุ้งซ่าน แสดงแต่อรรถ และธรรม เท่านั้น
ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ

๔. เรื่องพระเถระผู้ยินดีในธรรม
ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี๔- ยินดีแล้วในธรรม
พิจารณาใคร่ครวญถึงธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม๕-

๕. เรื่องภิกษุผู้คบฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง (ตรัสแก่ภิกษุที่เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต)
ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของคนอื่น
เมื่อภิกษุปรารถนาลาภของคนอื่น
ย่อมไม่บรรลุสมาธิ

ถ้าภิกษุแม้จะมีลาภน้อย แต่ไม่ดูหมิ่นลาภของตน
เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญภิกษุนั้นแล
ว่าเป็นผู้มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน

๖. เรื่องพราหมณ์ถวายทานอันเลิศ ๕ อย่าง (ตรัสแก่พราหมณ์ และ นางพราหมณี ผู้ถวายทานอันเลิศ ๕ อย่าง)
ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป
ว่าเป็นของเรา โดยประการทั้งปวง
และไม่เศร้าโศก เพราะนามรูปแปรผันไป
ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ

๗. เรื่องภิกษุหลายรูป (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพุทธศาสนา
ก็จะพึงบรรลุสันตบท อันเป็นที่ระงับสังขารเป็นสุข
ภิกษุ เธอจงวิดเรือ นี้
เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว
เธอตัดราคะ โทสะได้แล้ว
ต่อจากนั้น ก็จักบรรลุนิพพาน

ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องสูง ๕
และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง ๕ ได้แล้ว
เราเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้

ภิกษุ เธอจงเพ่งพินิจ และอย่าประมาท
จงอย่าปล่อยจิตของเธอ ให้วนเวียนอยู่ในกามคุณ
อย่าเผลอกลืนก้อนเหล็กแดง(ในนรก)
อย่าเร่าร้อนคร่ำครวญอยู่ว่า นี่ทุกข์จริง

ฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ผู้มีทั้งฌานและปัญญานั่นแล
จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน

ภิกษุผู้เข้าไปยังเรือนว่าง๓-
มีจิตสงบ เห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
ย่อมเกิดความยินดีที่ไม่ใช่เป็นของคนทั่วไป

ขณะใด ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิด
และความเสื่อมของขันธ์ทั้งหลาย
ขณะนั้น เธอย่อมได้รับปีติปราโมทย์
ซึ่งเป็นอมตธรรมสำหรับผู้รู้ทั้งหลาย

ในอมตธรรมนั้น ธรรมนี้คือ
ความสำรวมอินทรีย์ ความสันโดษ
และความสำรวมในปาติโมกข์
เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญาในศาสนานี้

เธอจงคบภิกษุที่เป็นกัลยาณมิตร
มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน
ควรทำการปฏิสันถาร และฉลาดในเรื่องมารยาท
เพราะปฏิบัติตามคุณธรรมดังกล่าวนั้น
เธอก็จักมากด้วยความปราโมทย์
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

๘. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงสลัดราคะและโทสะทิ้งเสีย
เหมือนต้นมะลิสลัดดอกที่เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น

๙. เรื่องพระสันตกายเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ
มีใจสงบ มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
และเป็นผู้ละโลกามิสได้
เราเรียกว่าผู้สงบระงับ

๑๐. เรื่องพระนังคลกูฏเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุ เธอจงเตือนตนด้วยตนเอง
จงพิจารณาดูตนด้วยตนเอง
ถ้าเธอคุ้มครองตนเองได้แล้ว มีสติ
เธอก็จักอยู่เป็นสุข

ตนแล เป็นที่พึ่งของตน
ตนแล เป็นคติ ของตน
เพราะฉะนั้น เธอจงสงวนตน ให้ดี
เหมือนพ่อค้าม้าสงวนม้าพันธุ์ดี ฉะนั้น

๑๑. เรื่องพระวักกลิเถระ (ตรัสพระคาถานี้แก่พระวักกลิเถระ)
ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์
เลื่อมใสในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบท
อันเป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข

๑๒. สุมนสามเณร (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุใดแลยังหนุ่มแน่น
ย่อมประกอบขวนขวายในพุทธศาสนา
ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น



หมวดว่าด้วยพราหมณ์

๑. เรื่องพราหมณ์ผู้เลื่อมใสมาก (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
พราหมณ์ เธอจงพยายามตัดกระแส ให้ขาด
จงบรรเทากามทั้งหลายให้ได้
เธอรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว
ก็จะรู้แจ้งสภาวะที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้๕-

๒. เรื่องภิกษุหลายรูป (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ ๓๐ รูป)
เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้งสอง
เมื่อนั้น สังโยคะ ทั้งหมดของเขาผู้รู้อยู่
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

๓. เรื่องมาร (ตรัสพระคาถานี้แก่มารผู้ถามเรื่องฝั่ง)
ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ ไม่มีฝั่งโน้น หรือไม่มีทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น
เราเรียกผู้นั้นซึ่งปราศจากความกระวนกระวาย
ปลอดจากกิเลสแล้วว่า พราหมณ์

๔. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง (ตรัสแก่พราหมณ์)
ผู้เพ่งพินิจ ปราศจากธุลี
อยู่ตามลำพัง ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ
บรรลุประโยชน์สูงสุด
เราเรียกว่า พราหมณ์

๕. เรื่องพระอานนทเถระ (ตรัสแก่พระอานนทเถระ)
ดวงอาทิตย์ส่องสว่างเฉพาะกลางวัน
ดวงจันทร์ส่องสว่างเฉพาะกลางคืน
กษัตริย์ทรงเครื่องรบแล้ว จึงสง่างาม
พราหมณ์เพ่งพินิจ จึงสง่างาม
แต่พระพุทธเจ้าทรงสง่างามด้วยพระเดช๒-
ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน

๖. เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ท่านหนึ่ง ถาม เรื่องบรรพชิตพระองค์)
ผู้ที่ลอยบาปได้ เราเรียกว่า พราหมณ์
เพราะประพฤติสงบ เราเรียกว่า สมณะ
ฉะนั้น ผู้ที่กำจัดมลทิน ของตนให้หมดไปได้
เราจึงเรียกว่า บรรพชิต

๗. เรื่องพระสารีบุตรเถระ (ทรงปรารภพระสารีบุตร ซึ่งถูกพราหมณ์ทำร้าย)
พราหมณ์ไม่พึงทำร้ายพราหมณ์
ไม่พึงจองเวรพราหมณ์ผู้ทำร้ายนั้น
น่าตำหนิพราหมณ์ผู้ทำร้ายพราหมณ์
พราหมณ์ที่จองเวรตอบนั้น น่าตำหนิยิ่งกว่า

ข้อที่พราหมณ์ห้ามใจจากอารมณ์อันเป็นที่รัก ทั้งหลายได้
เป็นความประเสริฐไม่น้อยเลย
ใจที่มีความเบียดเบียน กลับจากวัตถุใดๆ
ความทุกข์ก็ย่อมสงบระงับจากวัตถุนั้นๆ

๘. เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี (ตรัสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย)
ผู้ไม่มีกรรมชั่ว ทางกาย วาจา และใจ
สำรวมระวังได้ครบทั้ง ทวาร
เราเรียกว่า พราหมณ์

๙. เรื่องพระสารีบุตรเถระ (ทรงปรารภพระสารีบุตร นอบน้อมทิศที่พระอัสสชิเถระ)
บุคคลรู้แจ้งธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
จากอาจารย์ใด
ควรนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ
เหมือนพราหมณ์ นอบน้อมไฟที่บูชา ฉะนั้น

๑๐. วัตถุเรื่องพราหมณ์ชฎิล (ตรัสแก่พราหมณ์ชฎิล)
คนเป็นพราหมณ์ ไม่ใช่เพราะเกล้าชฎา
ไม่ใช่เพราะโคตร ไม่ใช่เพราะชาติกำเนิด
แต่สัจจะ และธรรม มีอยู่ในผู้ใด
ผู้นั้น เป็นผู้สะอาด และผู้นั้น เป็นพราหมณ์

๑๑. เรื่องพราหมณ์โกหก (ทรงปรารภพราหมณ์โกหก มีวัตรดัง)
เจ้าคนมีปัญญาทราม การเกล้าชฎา การครองหนังเสือ
จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเจ้า
ภายนอกของเจ้าเปล่งปลั่งเกลี้ยงเกลา
แต่ภายในของเจ้ารกรุงรัง

๑๒. เรื่องนางกิสาโคตมี (ทรงปรารภนางกิสาโคตมี จึงตรัสแก่ท้าวสักกะ)
ผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
ซูบผอม มีเส้นเอ็นปรากฏทั่วร่าง
เพ่งพินิจอยู่ในป่าผู้เดียว
เราเรียกว่า พราหมณ์

๑๓. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง (ตรัสแก่พราหมณ์คนหนึ่ง)
เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกำเนิด
เกิดในครรภ์มารดาว่า พราหมณ์
ถ้าเขายังมีกิเลสเครื่องกังวลอยู่
เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่า โภวาที เท่านั้น
เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล
หมดความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นว่า พราหมณ์

๑๔. เรื่องนายอุคคเสน (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ตัดสังโยชน์ได้หมดสิ้น ไม่สะดุ้ง
ผู้ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้อง ได้
ผู้ปราศจากโยคะ
เราเรียกว่า พราหมณ์

๑๕. เรื่องพราหมณ์ ๒ คน (ตรัสแก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป)
ผู้ตัดชะเนาะ เชือกหนัง และเงื่อน
พร้อมทั้งสายรัดได้ ถอดลิ่มสลัก เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์

๑๖. เรื่องอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นคำด่า
การฆ่า และการจองจำได้
มีขันติเป็นพลัง มีขันติเป็นกำลังพล
เราเรียกว่า พราหมณ์

๑๗. เรื่องพระสารีบุตรเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ไม่มักโกรธ มีศีล มีวัตร
ไม่มีตัณหาเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนได้แล้ว
มีสรีระเป็นร่างกายสุดท้าย
เราเรียกว่า พราหมณ์

๑๘. เรื่องพระอุบลวัณณาเถรี (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดไม่ติดในกามทั้งหลาย
เหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว
เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลม
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๑๙. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง (ตรัสแก่พราหมณ์คนหนึ่ง)
ผู้ใดในศาสนานี้ รู้ชัดความสิ้นทุกข์ของตน
ปลงภาระได้แล้ว ปราศจากโยคะ
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๒๐. เรื่องพระเขมาภิกษุณี (ตรัสพระคาถานี้แก่ท้าวสักกะจอมเทพและเทวดา)
ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นปราชญ์
ฉลาดในทางและมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์สูงสุด
เราเรียกว่า พราหมณ์

๒๑. เรื่องพระติสสเถระผู้อยู่ที่เงื้อมเขา (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ไม่คลุกคลี กับคน ๒ จำพวก
คือ คฤหัสถ์ และบรรพชิต
ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป มีความปรารถนาน้อย
เราเรียกว่า พราหมณ์

๒๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดละวางโทษทัณฑ์ในสัตว์ทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ยังหวาดสะดุ้ง และสัตว์ที่มั่นคง
ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่า
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๒๓. เรื่องสามเณร (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ไม่มุ่งร้ายในหมู่คนผู้มุ่งร้าย
ผู้สงบในหมู่คนผู้ชอบหาเรื่องใส่ตน
ผู้ไม่ถือมั่นในหมู่คนผู้ถือมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์

๒๔. เรื่องพระมหาปันถกเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดทำราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะให้ตกไป
เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลม
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๒๕. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้กล่าวคำที่ไม่หยาบคาย สื่อความหมายได้
เป็นคำจริง ไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดเคือง
เราเรียกว่า พราหมณ์

๒๖. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดในโลกนี้ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้
ไม่ว่ายาวหรือสั้น เล็กหรือใหญ่ งามหรือไม่งาม
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๒๗. เรื่องพระสารีบุตรเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดไม่มีความหวัง ในโลกนี้และโลกหน้า
ปราศจากความหวัง ปราศจากโยคะ
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๒๘. เรื่องพระมหาโมคคัลลานะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดไม่มีความอาลัย หมดความสงสัยเพราะรู้ชัด
หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุแล้ว
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๒๙. เรื่องพระเรวตเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดในโลกนี้ ละบุญและบาปทั้งสองได้
พ้นจากกิเลสเครื่องข้องได้ ไม่เศร้าโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี เป็นผู้บริสุทธิ์
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๓๐. เรื่องพระจันทาภเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้บริสุทธิ์ดุจจันทร์แจ่ม
มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เป็นผู้สิ้นความเพลิดเพลินในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์

๓๑. เรื่องพระสีวลีเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดก้าวพ้นทางอ้อม ทางหล่ม
สงสาร และโมหะได้แล้ว
ข้ามไปถึงฝั่งแล้ว เจริญฌาน
ไม่หวั่นไหว หมดความสงสัย
ดับเย็น เพราะไม่ถือมั่น
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๓๒. เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดในโลกนี้ ละกามได้แล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิต
เป็นผู้สิ้นกามและภพ
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๓๓. เรื่องพระชฎิลเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดในโลกนี้ ละตัณหาได้ขาด
ออกบวชเป็นบรรพชิต
เป็นผู้สิ้นตัณหาและภพ
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๓๔. เรื่องพระโชติกเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดในโลกนี้ ละตัณหาได้ขาด
ออกบวชเป็นบรรพชิต
เป็นผู้สิ้นตัณหาและภพ
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๓๕. เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ละกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ได้
ล่วงพ้นกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากโยคะ ทั้งปวง
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

๓๖. เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๒ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ละทั้งความยินดี และความไม่ยินดี
เป็นผู้เยือกเย็น หมดอุปธิกิเลส
ครอบงำโลกทั้งหมด เป็นผู้แกล้วกล้า
เราเรียกว่า พราหมณ์

๓๗. เรื่องพระวังคีสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดรู้การจุติและการอุบัติ
ของสัตว์ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
เราเรียกผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้ไม่ติดข้อง
ไปดีแล้ว และตรัสรู้แล้วว่า พราหมณ์

ผู้ใดมีคติที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ ก็รู้ไม่ได้
เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นอรหันตขีณาสพว่า พราหมณ์

๓๘. เรื่องพระธัมมทินนาเถรี (ตรัสแก่วิสาขอุบาสก อดีตสามีของพระธัมมทินนาเถรี )
ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
หมดความยึดมั่นถือมั่นว่า พราหมณ์

๓๙. เรื่องพระองคุลิมาลเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ชำนะแล้ว
ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้ชำระแล้ว และตรัสรู้แล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์

๔๐. เรื่องเทวหิตพราหมณ์ (ตรัสแก่เทวหิตพราหมณ์)
ผู้ใดระลึกอดีตชาติได้ เห็นสวรรค์และอบาย
บรรลุภาวะที่สิ้นสุดการเกิด
หมดภารกิจ เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี
เป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

ธรรมบท จบ

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์