เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1018
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด



๑. เรื่องบุพกรรมของพระองค์(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ถ้าเห็นว่าจะได้สุขอันยิ่งใหญ่
ด้วยการเสียสละสุขอันเล็กน้อย
นักปราชญ์พึงเสียสละสุขอันเล็กน้อย
เพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่

๒. เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ (ตรัสแก่นางยักษิณีและนางกุลธิดา)
ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์ให้คนอื่น
ผู้นั้นต้องเกี่ยวพันกับเวร ไม่พ้นจากเวรไปได้

๓. เรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะ (ตรัสแก่ภิกษุชาวเมืองภัททิยะ ผู้ขวนขวายในการประดับเขียงเท้า)
ภิกษุเหล่าใดละทิ้งกิจที่ควรทำ
แต่กลับทำกิจที่ไม่ควรทำ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น
ผู้ถือตัวจัด มัวแต่ประมาท

ส่วนภิกษุเหล่าใดมีสติตั้งมั่นในกาย เป็นนิตย์
ภิกษุเหล่านั้นหมั่นทำความเพียรในกิจที่ควรทำ
ไม่ทำกิจที่ไม่ควรทำ
อาสวะทั้งหลายของเธอผู้มีสติสัมปชัญญะ
ย่อมถึงการสูญสิ้นไป

๔. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่ากษัตราธิราชทั้ง ๒ พระองค์ได้
ฆ่าชาวแว่นแคว้น พร้อมเจ้าพนักงาน แล้ว
ดำเนินชีวิตเป็นพราหมณ์ อยู่อย่างไร้ทุกข์

บุคคลฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่ากษัตราธิราชทั้ง ๒ พระองค์ได้
ทำลายทางเสือผ่านที่ ๕ ได้
ดำเนินชีวิตเป็นพราหมณ์อยู่อย่างไร้ทุกข์

๕. นายทารุสากฏิกะ (ตรัสพระคาถานี้แก่พระราชา และนายทารุสากฏิกะ พร้อมครอบครัว)
เหล่าพระสาวกของพระโคดม
มีสติตั้งมั่นในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ

เหล่าพระสาวกของพระโคดม
มีสติตั้งมั่นในพระธรรมเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ

เหล่าพระสาวกของพระโคดม
มีสติตั้งมั่นในพระสงฆ์เป็นนิตย์
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ

เหล่าพระสาวกของพระโคดม
มีสติตั้งมั่นในกายเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ

เหล่าพระสาวกของพระโคดม
มีใจยินดีในความไม่เบียดเบียน
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ

เหล่าพระสาวกของพระโคดม
มีใจยินดีในการเจริญภาวนา
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ

๖. เรื่องภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชี (ตรัสแก่ภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชี)
การบวชเป็นของยาก
ความยินดีในการบำเพ็ญธรรมก็เป็นของยาก
เรือนที่ครอบครองไม่ดี ก่อให้เกิดทุกข์
การอยู่ร่วมกับคนเสมอกันเป็นทุกข์
การเดินทางไกล ก็เป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเป็นผู้เดินทางไกล
และไม่ควรให้ทุกข์ติดตามได้

๗. เรื่องจิตตคหบด (ตรัสแก่พระอานนทเถระ)
คนมีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
เพียบพร้อมด้วยยศ และโภคทรัพย์
จะไปสู่ถิ่นใดๆ ย่อมได้รับการบูชาในถิ่นนั้นๆ

๘. เรื่องนางจูฬสุภัททา (ตรัสแก่บริษัท ๔)
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล
เหมือนภูเขาหิมพานต์ ฉะนั้น
อสัตบุรุษทั้งหลาย ณ ที่นี้ย่อมไม่ปรากฏ
เหมือนลูกศรที่ยิงไปในเวลากลางคืน ฉะนั้น๕-

๙. เรื่องพระเถระผู้อยู่รูปเดียว (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุพึงยินดีการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว
ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไปตามลำพัง
ฝึกฝนอยู่ผู้เดียว และยินดีการอยู่ป่า



หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก

๑. เรื่องปริพาชิกาชื่อสุนทรี (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง
หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า
‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก
คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว
ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า

๒. เรื่องสัตว์ถูกทุกข์เบียดเบียน
ภิกษุชั่วจำนวนมากมีผ้ากาสาวะพันที่คอ
มีธรรมเลวทราม ไม่สำรวม
ย่อมตกนรกเพราะบาปกรรมทั้งหลาย

๓. เรื่องภิกษุอยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา (ทรงปรารภภิกษุผู้อยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา พูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนของกันและกัน แก่คฤหัสถ์เพื่อปากท้อง)
การกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนดุจเปลวเพลิง
ยังดีกว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม
บริโภคอาหารที่ชาวบ้านเขาถวาย

๔. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ (ตรัสแก่นายเขมกะผู้ชอบเป็นชู้กับภรรยาของคนอื่นดังนี้)
นรชนที่ประมาท ชอบเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น
ย่อมถึงฐานะ ๔ ประการ คือ
(๑) ได้บาป (๒) นอนไม่เป็นสุข
(๓) ถูกนินทา (๔) ตกนรก

เพราะการได้บาป ๑ การได้คติที่เลว ๑
หญิงชายที่ต่างสะดุ้งกลัวมีความสนุกนิดหน่อย ๑
ถูกพระราชาลงพระอาชญาอย่างหนัก ๑
นรชนจึงไม่ควรเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น

๕. ภิกษุผู้ว่ายาก (ตรัสแก่ภิกษุผู้ว่ายาก)
หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือได้ ฉันใด
ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี
ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น

กรรมที่ย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรที่เศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย
ทั้ง ๓ นั้น ไม่มีผลมาก

หากภิกษุพึงทำกรรมใด ก็ควรทำกรรมนั้นให้จริงจัง
ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่นคง
เพราะธรรมเครื่องละเว้น๓- ที่ประพฤติอย่างย่อหย่อน
รังแต่จะเกลี่ยธุลี ลงใส่ตัว

๖. เรื่องหญิงขี้หึง (ตรัสแก่หญิงขี้หึงและแก่บริษัท ๔)
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า
เพราะระลึกถึงความชั่ว บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ส่วนความดี ทำไว้เถิดดีกว่า
เพราะทำแล้วระลึกถึงภายหลังบุคคลย่อมไม่เดือดร้อน

๗. เรื่องภิกษุอาคันตุกะ (ตรัสแก่ภิกษุอาคันตุกะผู้อยู่ในเมืองชายแดน)
เมืองชายแดนได้รับการคุ้มครองทั้งภายในและภายนอก ฉันใด
เธอทั้งหลายจงคุ้มครองตนให้ได้ ฉันนั้น
ขณะ อย่าได้ล่วงเลยเธอทั้งหลายไปเสีย
เพราะเหล่าชนที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป
ย่อมเศร้าโศก แออัดอยู่ในนรก

๘. เรื่องนิครนถ์ (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
สัตว์ทั้งหลายผู้ละอายในสิ่งที่ไม่ควรละอาย
และไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย
ชื่อว่าถือมั่นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ

สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นสิ่งที่ไม่ควรกลัวว่าควรกลัว
และเห็นสิ่งที่ควรกลัวว่าไม่ควรกลัว
ชื่อว่าถือมั่นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ

๙. เรื่องสาวกเดียรถีย์ (ตรัสพระคาถานี้แก่สาวกของเดียรถีย์)
สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ
และเห็นสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ
ชื่อว่าถือมั่นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ

สัตว์ทั้งหลายผู้รู้สิ่งที่มีโทษว่ามีโทษ
และรู้สิ่งที่ไม่มีโทษว่าไม่มีโทษ
ชื่อว่าถือมั่นสัมมาทิฏฐิ ย่อมไปสู่สุคติ

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์