เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1016
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยความโกรธ

๑. เรื่องเจ้าหญิงโรหิณี
(ตรัสแก่เจ้าหญิงโรหิณี)
บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ
ก้าวล่วงสังโยชน์ได้หมดทุกอย่าง
ความทุกข์ย่อมไม่รุมเร้าคนนั้นผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป
ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล

๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (ตรัสแก่เทวดา)
ผู้ใดอดกลั้นความโกรธที่เกิดขึ้นไว้ได้
เหมือนนายสารถีหยุดรถที่กำลังแล่นอยู่ได้
เราเรียกผู้นั้นว่า นายสารถี
คนนอกจากนี้ เป็นเพียงผู้ถือเชือกเท่านั้น

๓. เรื่องนางอุตตราอุบาสิกา (ทรงชมเชยนางอุตตรา ที่อดกลั้นความโกรธ ต่อนางสิริมา)
บุคคลพึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
พึงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำสัตย์

๔. เรื่องปัญหาของพระมหาโมคคัลลานเถระ (ตรัสแก่พระมหาโมคคัลลานเถระ)
บุคคลควรพูดคำจริง ไม่ควรโกรธ
แม้เขาขอเพียงเล็กน้อยก็ควรให้
ด้วยเหตุ ๓ อย่างนี้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) บุคคลพึงไปเทวโลกได้

๕. เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
มุนี ผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมกายอยู่เป็นนิตย์
ย่อมไปสู่ที่ที่ไม่จุติที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก

๖. เรื่องนางปุณณทาสี (ตรัสแก่นางทาสของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ชื่อปุณณา)
สำหรับบุคคลผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา
หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน
น้อมจิตเข้าหานิพพาน
อาสวะทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้

๗. เรื่องอตุลอุบาสก (ตรัสแก่อตุลอุบาสกพร้อมบริวาร ๕๐๐ คน)
อตุละเอ๋ย การนินทาและสรรเสริญนี้มีมานานแล้ว
มิใช่เพิ่งมีในวันนี้เท่านั้น
คนนั่งอยู่เฉยๆ เขาก็นินทา
คนพูดมาก เขาก็นินทา
แม้คนพูดน้อย เขาก็นินทา
ไม่มีใครเลยในโลกนี้ไม่ถูกนินทา

ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน
ก็ไม่มีใครเลยที่จะถูกนินทาอย่างเดียว
หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว

แต่วิญญูชนพิจารณาทุกวันๆ
ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ดำเนินชีวิตหาข้อตำหนิมิได้
ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้มีปัญญาและศีลมั่นคง

ใครเล่าจะควรตำหนิผู้นั้น
ผู้เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุท
ผู้เช่นนั้น แม้เทวดาและมนุษย์ก็ชื่นชม
ถึงพรหมก็สรรเสริญ

๘. เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ตรัสพระคาถานี้แก่พระฉัพพัคคีย์)
บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางกาย
พึงสำรวมกาย ละกายทุจริตแล้ว
พึงประพฤติกายสุจริต

บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางวาจา
พึงสำรวมวาจา ละวจีทุจริตแล้ว
พึงประพฤติวจีสุจริต

บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางใจ
พึงสำรวมใจ ละมโนทุจริตแล้ว
พึงประพฤติมโนสุจริต

นักปราชญ์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ
ชื่อว่าเป็นผู้สำรวมดีแท้


หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ

๑. เรื่องบุตรของคนฆ่าโค (ตรัสพระคาถานี้แก่บุตรของคนฆ่าโคผู้แก่เฒ่า)
บัดนี้ ท่านเปรียบเหมือนใบไม้เหลือง
ทั้งยมทูต มาปรากฏแก่ท่านแล้ว
ท่านอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม
และแม้แต่เสบียงเดินทาง ของท่านก็ยังไม่มีเลย

ท่านนั้นจงทำที่พึ่ง แก่ตนเอง
จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
ท่านขจัดมลทินได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
จะเข้าถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์

บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยถูกนำเข้าไปแล้ว
เตรียมจะไปสำนักพระยายม
ที่พักระหว่างทางของท่านยังไม่มี
และแม้แต่เสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มีเลย

ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตนเอง
จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
ท่านขจัดมลทินได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ก็จะไม่ต้องเข้าถึงชาติ และชราอีกต่อไป

๒. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง (ตรัสแก่พราหมณ์ผู้ทำกุศลอยู่บ่อยๆ)
ผู้มีปัญญา พึงกำจัดมลทิน ของตน
ทีละน้อย ทุกขณะ โดยลำดับ
เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง ฉะนั้น

๓. เรื่องพระติสสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
สนิมเกิดขึ้นจากเหล็ก
ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด
กรรมทั้งหลายของตน ย่อมนำคนผู้ประพฤติล่วงโธนา
ไปสู่ทุคติ ฉันนั้น

๔. เรื่องพระโลลุทายี (ทรงปรารภพระโลลุทายี ผู้เล่าเรียนธรรมเพียงเล็กน้อยและไม่ท่องบ่น)
มนตร์ มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
เรือนมีความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นมลทิน
ผิวพรรณมีความเกียจคร้าน เป็นมลทิน
ผู้รักษามีความประมาท เป็นมลทิน

๕. เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง (ตรัสแก่กุลบุตรคนหนึ่ง ซึ่งมีภรรยามักนอกใจ)
สตรีมีความประพฤติชั่ว เป็นมลทิน
ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน
บาปธรรม เป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา๓-
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมลทินนั้นให้ได้
แล้วเป็นอยู่อย่างผู้ปราศจากมลทินเถิด

๖. เรื่องจูฬสารีภิกษุ (ทรงตำหนิพระจูฬสารผู้เป็นหมอปรุงยาเพื่อแลกกับโภชนะ)
ผู้ไม่มีความละอาย กล้าเหมือนกา
ชอบทำลายคนอื่น ชอบเอาหน้า
มีความคะนอง มีพฤติกรรมสกปรก เป็นอยู่สบาย

ส่วนผู้มีความละอาย
แสวงหาความบริสุทธิ์เป็นนิตย์
ไม่เกียจคร้าน ไม่มีความคะนอง
มีอาชีพบริสุทธิ์ และมีปัญญา เป็นอยู่ลำบาก

๗. เรื่องอุบาสก ๕ คน(ตรัสพระคาถานี้แก่อุบาสก ๕ คน)
นรชนใดในโลก ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ

และหมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย
นรชนนั้นชื่อว่า ขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุน ของตนในโลกนี้

ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้มีบาปธรรมทั้งหลาย มักไม่สำรวม
ขอโลภะและอธรรม อย่าย่ำยีท่านให้เป็นทุกข์ตลอดกาลนานเลย

๘. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ (ทรงปรารภพระติสสะ เที่ยวติเตียนทานของคนอื่น)
บุคคลย่อมให้ทานตามความเชื่อตามความเลื่อมใส
ภิกษุไม่พอใจในข้าวและน้ำที่เป็นทานของคนอื่นนั้น
ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ในเวลากลางวันหรือกลางคืน

ส่วนภิกษุผู้ตัดอกุศลจิตนี้ได้
ถอนขึ้นทำให้รากขาดแล้ว
ย่อมบรรลุสมาธิในเวลากลางวันหรือกลางคืน

๙. เรื่องอุบาสก ๕ คน (ตรัสแก่อุบาสกคนหนึ่ง ในจำนวน ๕ คน)
ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี
ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี
ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี

๑๐. เรื่องเมณฑกเศรษฐี (ตรัสแก่เมณฑกเศรษฐี)
โทษ ของคนอื่นเห็นได้ง่าย
ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก
เพราะคนนั้นชอบโปรยโทษของผู้อื่น
เหมือนคนโปรยแกลบ
แต่กลับปกปิดโทษของตนไว้
เหมือนพรานนกปกปิดร่างพรางกายตนไว้ ฉะนั้น

๑๑.เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ (ทรงปรารภพระอุชฌานสัญญี ผู้เที่ยวจับผิด)
ผู้ที่คอยแต่สอดส่ายหาโทษคนอื่น
คอยเพ่งโทษอยู่เนืองนิตย์
จะมีอาสวะพอกพูนยิ่งขึ้น
และห่างไกลจากความสิ้นอาสวะโดยแท้

๑๒. เรื่องสุภัททปริพาชก (ตรัสตอบปัญหาของสุภัททปริพาชก)
ไม่มีรอยเท้าในอากาศ ไม่มีสมณะภายนอก
หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดีในปปัญจธรรม
แต่พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีปปัญจธรรม

ไม่มีรอยเท้าในอากาศ ไม่มีสมณะภายนอก
ไม่มีสังขาร ที่เที่ยงแท้
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความหวั่นไหว

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์