เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1010
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยคนพาล

๑. เรื่องชายคนใดคนหนึ่ง
(ตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล และชายคนหนึ่ง)
ราตรีหนึ่ง ยาวนานสำหรับคนผู้ตื่นอยู่
ระยะทางโยชน์หนึ่ง ยาวไกลสำหรับคนผู้เมื่อยล้า
สังสารวัฏ๒- ยาวนานสำหรับคนพาลผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม

๒. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ (ตรัสแก่ภิกษุผู้อยู่ในกรุงราชคฤห์)
หากบุคคลเที่ยวหาคนดีกว่าตน หรือเสมอกับตนไม่ได้
ก็ควรถือการเที่ยวไปคนเดียวให้มั่นคง
เพราะจะหาความเป็นเพื่อน ในคนพาลไม่ได้เลย

๓. เรื่องอานันทเศรษฐี (ตรัสแก่เศรษฐีชื่อมูลสิริบุตรของอานันทเศรษฐี)
คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า “เรามีบุตร เรามีทรัพย์”
แท้จริง ตัวตนก็ไม่มี บุตรและทรัพย์ จักมีแต่ที่ไหน

๔. เรื่องโจรผู้ทำลายปม (ตรัสแก่โจรผู้ทำลายปมและชนทั้งหลาย)
คนพาลที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาล
ยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง
แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
นั่นแหละ เรียกว่า คนพาลแท้

๕. เรื่องพระอุทายีเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนพาล แม้จะอยู่ใกล้บัณฑิตชั่วชีวิต
ก็ไม่รู้แจ้งธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง ฉะนั้น

๖. เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
วิญญูชน แม้จะอยู่ใกล้บัณฑิตเพียงชั่วครู่
ก็รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นรู้รสแกง ฉะนั้น

๗. เรื่องนายสุปปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนพาลผู้มีปัญญาทราม
ทำตนให้เป็นดุจข้าศึก
เที่ยวทำบาปกรรมที่ให้ผลเผ็ดร้อน

๘. เรื่องชาวนา (ตรัสแก่ชาวนาคนหนึ่ง)
บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ย่อมเดือดร้อนใจในภายหลัง
ร้องไห้น้ำตานองหน้า
เสวยผลกรรมอยู่
กรรมนั้นชื่อว่า เป็นกรรมไม่ดี

๙. เรื่องช่างดอกไม้ชื่อสุมนะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง
อิ่มเอิบ ดีใจ เสวยผลกรรมอยู่
กรรมนั้นชื่อว่า เป็นกรรมดี

๑๐. เรื่องพระอุบลวัณณาเถรี (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล
คนพาลย่อมสำคัญบาปดุจน้ำผึ้ง
แต่เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นคนพาลย่อมประสบทุกข์

๑๑. เรื่องอาชีวกชื่อชัมพุกะ (ตรัสแก่มหาชนชาวแคว้นอังคะและมคธ)
คนพาลถึงใช้ปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกินทุกๆ เดือน
เขาก็ไม่ได้รับผลแห่งการปฏิบัติเช่นนั้น
เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ องผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว

๑๒. เรื่องเปรตผู้มีรูปร่างเหมือนงู (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บาปกรรมที่บุคคลทำแล้วยังไม่ให้ผลทันที
เหมือนน้ำนมที่รีดในวันนี้
บาปกรรมนั้นจะค่อยๆ เผาผลาญคนพาล
เหมือนไฟที่ถูกเถ้ากลบไว้ ฉะนั้น

๑๓. เรื่องเปรตถูกฆ้อนต่อยศีรษะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ความรู้ เกิดแก่คนพาลเพียงเพื่อทำลายถ่ายเดียว
ความรู้ของคนพาลนั้น กำจัดคุณงามความดี
ทำปัญญาของเขาให้ตกต่ำ

๑๔. วัตถุเรื่องพระสุธัมมเถระ (ตรัสแก่พระสุธัมมเถระ)
ภิกษุพาลปรารถนาการยกย่องที่ตนไม่มี
ปรารถนาให้ภิกษุทั้งหลายตามแวดล้อมตน
ปรารถนาความเป็นใหญ่ในอาวาส
และปรารถนาเครื่องบูชาจากชาวบ้านทั้งหลาย

ภิกษุพาลเกิดความดำริว่า
“ขอให้คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้ง ๒ ฝ่าย จงเข้าใจว่า
เราผู้เดียวทำกิจนี้ เราผู้เดียวพึงมีอำนาจในการงาน
ไม่ว่ากิจการใหญ่หรือเล็ก”
ความริษยา และความถือตัว จึงเกิดพอกพูนขึ้น

๑๕ เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้ได้ลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงนิพพานเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
รู้ชัดข้อปฏิบัติทั้งสองนี้แล้ว ไม่พึงยินดีสักการะ๑-
แต่พึงเพิ่มพูนวิเวก๒- (ให้ต่อเนื่อง)



หมวดว่าด้วยบัณฑิต

๑. เรื่องพระราธเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญามักชี้โทษมักพูดปรามไว้
เหมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ (และ) พึงคบผู้ที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้น
เพราะเมื่อคบคนเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความเจริญ
ไม่มีความเสื่อมเลย

๑. เรื่องพระราธเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญามักชี้โทษ
มักพูดปรามไว้ เหมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์
(และ) พึงคบผู้ที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้น
เพราะเมื่อคบคนเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความเจริญ
ไม่มีความเสื่อมเลย

๒. เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดพึงกล่าวสอน พร่ำสอน
และห้ามจากความชั่ว
ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย
แต่ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษทั้งหลาย

๓. เรื่องพระฉันนเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลไม่พึงคบมิตรชั่ว ไม่พึงคบคนต่ำช้า
พึงคบแต่กัลยาณมิตร พึงคบแต่สัตบุรุษ

๔. เรื่องพระมหากัปปินเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข
บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยะประกาศแล้วทุกเมื่อ

๕. เรื่องบัณฑิตสามเณร (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนไขน้ำ ย่อมไขน้ำ
ช่างศร ย่อมดัดลูกศร
ช่างไม้ ย่อมถากไม้
บัณฑิต ย่อมฝึกตน

๖. เรื่องพระลกุณฑกภัททิยเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภูเขาศิลาล้วน เป็นแท่งทึบ ย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะนินทา
หรือสรรเสริญ ฉันนั้น

๗. เรื่องมารดาของนางกาณา (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส
ดุจห้วงน้ำที่ลึก ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น

๘. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเว้นในธรรมทั้งปวง
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่พร่ำเพ้อเพราะกามคุณเป็นเหตุ
บัณฑิตทั้งหลายจะประสบสุขหรือทุกข์
ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง๒-

๙. เรื่องพระธัมมิกเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะตนเป็นเหตุ
หรือเพราะผู้อื่นเป็นเหตุ
บุคคลไม่พึงปรารถนาบุตร ทรัพย์ แว่นแคว้น
หรือความสำเร็จเพื่อตน โดยไม่ชอบธรรม
พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และยึดมั่นอยู่ในธรรม

๑๐. เรื่องการฟังธรรม (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้น มีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ ทั้งนั้น

ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก ไปถึงฝั่งโน้นได้

๑๑. เรื่องภิกษุอาคันตุกะ ๕๐๐ รูป (ตรัสแก่ภิกษุอาคันตุกะผู้อยู่ในแคว้นโกศล)
บัณฑิตละธรรมดำ แล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากวัฏฏะ มาสู่ วิวัฏฏะ

ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนายินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
พึงชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย

บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์