เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1014
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หมวดว่าด้วยเรื่องโลก

๑. เรื่องภิกษุหนุ่ม (ตรัสแก่ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง)
บุคคลไม่พึงเสพสิ่งต่ำทราม
ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท
ไม่พึงยึดถือความเห็นผิด
ไม่พึงเป็นคนรกโลก

๒. เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ (ตรัสแก่พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาของพระองค์)
ภิกษุไม่พึงประมาทบิณฑบาตที่ตนยืนรับ
พึงประพฤติสุจริตธรรม
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

พึงประพฤติสุจริตธรรม
ไม่พึงประพฤติทุจริตธรรม
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

๓. เรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ๕๐๐ รูป (ตรัสแก่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ๕๐๐ รูป)
มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก
เหมือนเห็นฟองน้ำ เหมือนเห็นพยับแดด

๔. เรื่องอภัยราชกุมาร (ตรัสพระคาถานี้แก่อภัยราชกุมาร)
ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ ที่วิจิตรดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกมุ่นอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่

๕. เรื่องพระสัมมัชชนเถระ (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน
ภายหลังไม่ประมาท
ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

๖. เรื่องพระองคุลิมาลเถระ (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล
ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

๗. เรื่องธิดานายช่างหูก (ตรัสพระคาถานี้แก่ธิดาของนายช่างหูก)
โลกนี้มืดมน คนในโลกนี้น้อยคนนักจักเห็นแจ้ง
น้อยคนนักจักไปสวรรค์
เหมือนนกติดข่าย น้อยตัวนักที่จะพ้นจากข่าย ฉะนั้น

๘. เรื่องภิกษุ ๓๐ รูป (ตรัสแก่พระอานนทเถร)
ฝูงหงส์บินไปทางดวงอาทิตย์ ได้
ท่านที่เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ไปทางอากาศด้วยฤทธิ์ได้
ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว
ย่อมออกไปจากโลกได้

๙. เรื่องนางจิญจมาณวิกา (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
[๑๗๖] บุคคลผู้ล่วงละเมิดธรรมอย่างหนึ่ง
ผู้มักกล่าวเท็จ ปฏิเสธปรโลก
จะไม่ทำบาปไม่มี

๑๐. เรื่องอสทิสทาน (ตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลและเหล่าอำมาตย์)
พวกคนตระหนี่ไปเทวโลกไม่ได้เลย
พวกคนพาลไม่สรรเสริญการให้ทาน
ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาการให้ทาน
เพราะเหตุนั้นแล เขาจึงได้รับสุขในปรโลก

๑๑. เรื่องนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (ตรัสพระคาถานี้แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี)
โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน
กว่าการไปสู่สวรรค์ หรือกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง



หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า


๑. เรื่องธิดามาร
(ตรัสแก่ธิดามาร ๓ นาง คือ นางตัณหา นางอรดีและนางราคา)
กิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว
พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก
กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู้ชนะได้แล้ว
พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า

ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา
ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหนๆ
พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า

๒. เรื่องยมกปาฏิหาริย์ (ตรัสแก่เทวดาและมนุษย์ที่ประตูสังกัสสนคร)
ท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่าใดใฝ่ใจในฌาน ยินดีในเนกขัมมะ
แม้ทวยเทพก็ชื่นชมท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่านั้น
ผู้มีสติ ตรัสรู้เองโดยชอบ

๓. เรื่องพญานาคชื่อเอรกปัตต(ตรัสพระคาถานี้แก่พญานาคชื่อเอรกปัตต์ )
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็นับว่ายาก
การดำรงชีวิตอยู่ของเหล่าสัตว์ก็นับว่ายาก
การที่จะได้ฟังสัทธรรมก็นับว่ายาก
การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จอุบัติขึ้นก็ยิ่งยาก

๔. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ (ตรัสแก่พระอานนทเถระ)
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่า เป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่า เป็นสมณะ

การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

๕. เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี (ตรัสแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์)
ความอิ่มในกามทั้งหลาย
มีไม่ได้ด้วยกหาปณะที่หลั่งมาดังห่าฝน
กามทั้งหลายมีสุขน้อย มีทุกข์มาก

บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ยินดีในกามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นผู้ยินดีในความสิ้นตัณหา

๖. เรื่องอัคคิทัตตปุโรหิต (ตรัสแก่อัคคิทัตตะผู้ออกบวชเป็นฤๅษีและบริวาร)
มนุษย์จำนวนมาก ผู้ถูกภัยคุกคาม
ต่างถึงภูเขา ป่าไม้ อาราม และรุกขเจดีย์เป็นสรณะ

นั่นมิใช่สรณะอันเกษม นั่นมิใช่สรณะอันสูงสุด
เพราะผู้อาศัยสรณะเช่นนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง

ส่วนผู้ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ
ย่อมใช้ปัญญาชอบพิจารณาเห็นอริยสัจ ๔ ประการ คือ

ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสงบระงับทุกข์

นั่นเป็นสรณะอันเกษม นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด
เพราะผู้อาศัยสรณะเช่นนั้น
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

๗. เรื่องพระอานนทเถระ (ตรัสแก่พระอานนทเถระ)
บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก เพราะว่าท่านไม่เกิดในที่ทั่วไป
ท่านเป็นนักปราชญ์ ไปเกิดในตระกูลใด
ตระกูลนั้นย่อมมีแต่ความสุข

๘. เรื่องภิกษุหลายรูป (ตรัสแก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป)
การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเหตุนำสุขมาให้
การแสดงสัทธรรม เป็นเหตุนำสุขมาให้
ความสามัคคีของหมู่ เป็นเหตุนำสุขมาให้
ความเพียรของคนที่สามัคคีกัน เป็นเหตุนำสุขมาให้

๙. เรื่องพระเจดีย์ทองของพระกัสสปทศพล (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุญของบุคคลผู้บูชาท่านผู้ควรบูชา
คือพระพุทธเจ้า หรือพระสาวก
ผู้ก้าวพ้นธรรมเครื่องเนิ่นช้า
ผู้ข้ามความโศกและความร่ำไรได้แล้ว

ผู้คงที่ ผู้ดับกิเลสได้แล้ว
ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน
ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า
บุญนี้มีประมาณเท่านี้

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์