เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1013
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยความชรา

๑. เรื่องหญิงสหายของนางวิสาขา (ตรัสแก่หญิงประมาณ ๕๐๐ คน)
เมื่อโลกลุกเป็นไฟ อยู่เป็นนิตย์
ทำไมจึงมัวหัวเราะร่าเริงกันอยู่เล่า
เธอทั้งหลายถูกความมืด ปกคลุม
ไฉนไม่แสวงหาดวงประทีป กันเล่า

๒. เรื่องนางสิริมา (ตรัสแก่บริษัท ๔ ที่มุงดูศพนางสิริมา)
จงดูอัตภาพที่ตกแต่งอย่างสวยงาม
แต่มีกายเป็นแผล๔- มีกระดูกเป็นโครงร่าง
อันกระสับกระส่าย ที่มหาชนดำริหวังกันมาก
ซึ่งไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น

๓. พระอุตตราเถรี (ตรัสแก่พระอุตตราเถรีผู้มีอายุ ๑๒๐ ปี)
ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว
เป็นรังของโรค มีแต่จะทรุดโทรมลงไป
ร่างกายที่เน่าเปื่อยนี้ก็จะแตกดับไป
เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด

๔. เรื่องภิกษุผู้เข้าใจว่าตนสำเร็จ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่กำลังดูซากศพในป่าช้า)
กระดูกเหล่านี้มีสีเหมือนสีนกพิราบ
ถูกเขาทิ้งไว้เกลื่อนกลาด
เหมือนน้ำเต้าที่ร่วงเกลื่อนกลาดในสารทกาล
ความยินดีอะไรเล่าจะเกิด เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น

๕. เรื่องพระรูปนันทาเถรีผู้งามในรัฐ (ตรัสแก่พระรูปนันทาเถรีผู้สำคัญตนว่างาม)
ร่างกายนี้ถูกสร้างให้เป็นนครแห่งกระดูก
ฉาบด้วยเนื้อและเลือด เป็นที่สถิตแห่งความแก่
ความตาย ความถือตัว และความลบหลู่กัน

๖. พระนางมัลลิกาเทวี (ตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้เสียพระทัยเพราะการจากไปของ พระนางมัลลิกาเทวี)
ราชรถอันวิจิตรงดงาม ยังชำรุดได้
แม้แต่ร่างกายนี้ ก็ยังเข้าถึงชราได้
แต่ธรรมของสัตบุรุษ หาเข้าถึงชราไม่
สัตบุรุษกับสัตบุรุษรู้กันได้อย่างนี้

๗. เรื่องพระโลลุทายีเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนที่มีการศึกษาน้อยนี้
ย่อมแก่ไปเปล่าเหมือนโคพลิพัท
เขาเจริญแต่เนื้อหนัง ส่วนปัญญาหาเจริญไม่

๘. เรื่องเหตุการณ์คราวแรกตรัสรู้ (พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทาน)
เราตามหานายช่าง ผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ
จึงท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ
เพราะการเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

นายช่างเอ๋ย เราพบท่านแล้ว
ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก
ซี่โครง ทุกซี่ของท่าน เราหักแล้ว
ยอดเรือน เราก็รื้อแล้ว
จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว
เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว

๙. เรื่องบุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก (ทรงปรารภบุตรเศรษฐีผู้ใช้สอยทรัพย์สมบัติ จนหมดจึงตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนท์)
พวกคนโง่เขลาไม่ประพฤติตนให้เป็นคนดี
ในวัยหนุ่มสาวก็ไม่ได้หาทรัพย์ไว้ ย่อมซบเซา
เหมือนนกกระเรียนแก่ซบเซาอยู่ที่เปือกตมไร้ปลา ฉะนั้น

พวกคนโง่เขลาไม่ประพฤติตนให้เป็นคนดี
ในวัยหนุ่มสาวก็ไม่ได้หาทรัพย์ไว้
ย่อมนอนรำพึงถึงความหลัง
ดุจลูกธนูที่พ้นจากแล่ง ฉะนั้น



หมวดว่าด้วยตน

๑. เรื่องโพธิราชกุมาร (ตรัสแก่โพธิราชกุมาร)
ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นไว้ให้ดี
บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ให้ได้
อย่างน้อยยามใดยามหนึ่งใน ๓ ยาม

๒. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรเถระ (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุหนุ่ม ๒ รูป)
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณธรรมที่เหมาะสมก่อน
แล้วสอนคนอื่นในภายหลัง จึงจะไม่มัวหมอง

๓. เรื่องพระปธานิกติสสเถระ (ตรัสนี้แก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป)
บุคคลสอนผู้อื่นอย่างไร ก็พึงทำตนอย่างนั้น
ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว จึงควรฝึก(ผู้อื่น)
เพราะตนนั่นแลฝึกได้ยากยิ่ง

๔. เรื่องมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่า จะเป็นที่พึ่งได้
เพราะบุคคลที่ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก

๕. เรื่องมหากาลอุบาสก (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บาปที่ตนเองทำ เกิดในตน มีตนเป็นแดนเกิด
ย่อมทำลายคนมีปัญญาทราม
เหมือนเพชรที่เกิดจากหินทำลายแก้วมณี ฉะนั้น

๖. เรื่องพระเทวทัต (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ความทุศีลโดยสิ้นเชิง
ย่อมรึงรัดอัตภาพของบุคคลผู้ทุศีลไว้
ดุจเถาวัลย์ที่รึงรัดต้นสาละไว้
เขาย่อมทำตนให้วิบัติดุจโจรปรารถนาให้เขาวิบัติ ฉะนั้น

๗. เรื่องความพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ (ตรัสแก่พระอานนท์ปรารภถึงพระเทวทัต)
กรรมที่ไม่ดี และไม่มีประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
ส่วนกรรมที่ดี และมีประโยชน์ ทำได้ยากอย่างยิ่ง

๘. เรื่องพระกาลเถระ (ตรัสแก่พระกาลเถระและชนทั้งหลาย)
ผู้มีปัญญาทราม อาศัยทิฏฐิชั่ว
คัดค้านคำสอนของพระอริยะ
ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ดำรงอยู่โดยธรรม
การคัดค้านและทิฏฐิชั่วนั้น
เกิดขึ้นมาเพื่อทำลายตนเอง
เหมือนขุยไผ่ทำลายต้นไผ่ ฉะนั้น

๙. เรื่องจูฬกาลอุบาสก (ตรัสพระคาถานี้แก่จูฬกาลอุบาสก)
ตนทำบาปกรรมเอง ก็เศร้าหมองเอง
ตนไม่ทำบาปกรรมเอง ก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้

๑๐. เรื่องพระอัตตทัตถเถระ (ตรัสพระคาถานี้แก่พระอัตตทัตถเถระ)
บุคคลไม่ควรให้ประโยชน์ตน เสียไป
เพราะประโยชน์คนอื่นแม้มาก
เมื่อรู้ประโยชน์ตนแล้ว
ก็ควรขวนขวายในประโยชน์ตน

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์