เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1017
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม

๑. เรื่องมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา
(ภิกษุทั้งหลายเห็นมหาอำมาตย์ ผู้พิพากษารับสินบนแล้ว ตัดสินคดีจึงกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระองค์ตรัสพระคาถา)
ผู้ที่ตัดสินคดีโดยผลีผลาม
ไม่ชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต วินิจฉัยคดี
เหตุแห่งคดีทั้งที่เป็นจริงและไม่เป็นจริงทั้งสอง

พิพากษาผู้อื่นโดยไม่ผลีผลาม
โดยเที่ยงธรรม โดยสม่ำเสมอ
ผู้มีปัญญา มีธรรมคุ้มครองนั้น
เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม

๒. เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเพียงเพราะพูดมาก
แต่ผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย จึงจะชื่อว่า เป็นบัณฑิต.

๓. เรื่องพระเอกุทานขีณาสพ (ตรัสแก่ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก ๒ รูป)
บุคคลไม่ชื่อว่าผู้ทรงธรรมเพียงเพราะพูดมาก
ส่วนผู้ใดได้สดับตรับฟังธรรมน้อย
แต่พิจารณาเห็นธรรมด้วยนามกาย
ทั้งไม่ประมาทธรรมนั้น
ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ทรงธรรม

๔. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ (ตรัสแก่ภิกษุผู้อยู่ป่า ๓๐ รูป ที่เห็นพระลกุณฑก-ภัททิยเถระรูปร่างเล็กเหมือนสามเณร)
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพียงเพราะมีผมหงอก
ผู้ที่แก่แต่วัยเท่านั้น เรียกว่า คนแก่เปล่า

ส่วนผู้มีสัจจะ มีธรรม
มีอหิงสา สัญญมะ และทมะ
คายมลทินได้แล้ว เป็นปราชญ์ ชื่อว่า เถระ

๕. เรื่องภิกษุหลายรูป(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่พูดจาคล่องแคล่ว)
เพราะเหตุเพียงการพูดจาคล่องแคล่ว
หรือเพราะมีผิวพรรณงดงาม
แต่ยังมีความริษยา ตระหนี่ และโอ้อวด
บุคคลก็หาชื่อว่าคนดีได้ไม่

ส่วนผู้ตัดความริษยาเป็นต้นนี้ได้
ถอนขึ้นทำให้รากขาดแล้ว
คายโทษได้แล้ว เป็นผู้มีปัญญา
จึงจะชื่อว่า คนดี

๖. เรื่องหัตถกภิกษุ (ตรัสแก่พระหัตถกะผู้พูดจาเหลาะแหละ)
ผู้ไม่มีวัตร พูดจาเหลาะแหละ
แม้มีศีรษะโล้น ก็ไม่ชื่อว่าสมณะ
ผู้เต็มไปด้วยความปรารถนา และความอยากได้
จะเป็นสมณะได้อย่างไร

ส่วนผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ลงได้โดยสิ้นเชิง
และเพราะเหตุที่ระงับบาปทั้งหลายได้นี้เอง
เขาจึงเรียกผู้นั้นว่า สมณะ

๗. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง  (พราหมณ์คนหนึ่งเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนาเที่ยวบิณฑบาตอย่างภิกษุวันหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคประสงค์จะให้พระองค์ตรัสเรียกว่าภิกษุ พระองค์จึงตรัสพระคาถา )
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพียงเพราะขอจากผู้อื่นเท่านั้น
ทั้งไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะยังสมาทานธรรมที่เป็นพิษอยู่

ในศาสนานี้ ผู้ที่ลอยบุญและบาปได้แล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์ อยู่ในโลกด้วยปัญญา
จึงจะชื่อว่า ภิกษุ

๘. เรื่องเดียรถีย์ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่งๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่
ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว

เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่า มุนีแท้
ผู้ที่รู้โลกทั้งสอง ก็เรียกว่า มุนี(เช่นกัน)

๙. เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ (ตรัสถามชื่อนายพรานเบ็ด นายพรานเบ็ดทูลตอบว่าชื่อ อริยะพระผู้มี พระภาคจึงตรัสพระคาถานี้แก่เขา)
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะยังเบียดเบียนสัตว์อยู่
แต่ชื่อว่า อริยะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง

๑๐. เรื่องภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น หลายรูป (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงมีศีล และวัตร
แม้ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยการได้สมาธิ
หรือด้วยการนอนในที่สงัด

หรือด้วยการรู้ประจักษ์ว่าเราได้สัมผัสเนกขัมมสุข
ที่ปุถุชนไม่เคยได้สัมผัส
แต่ถ้าเธอยังไม่บรรลุความสิ้นอาสวะ
ก็อย่าไว้วางใจ


หมวดว่าด้วยมรรค

๑. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป (ตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป)
บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะ อริยสัจ ๔ ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรม วิราคธรรม ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้า ตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐที่สุด

ทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ
คือทางนี้เท่านั้น มิใช่ทางอื่น
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แล
เพราะทางนี้เป็นทางลวงมารให้หลงด้วยว่า
เธอทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เรารู้วิธีถอนลูกศรคือกิเลสแล้ว
จึงชี้บอกทางนี้แก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายควรทำความเพียรเองเถิด
ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น
ผู้บำเพ็ญภาวนา ดำเนินตามทางนี้แล้ว เพ่งพินิจอยู่
จักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้

๒. เรื่องอนิจจลักษณะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา ว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

๓. เรื่องทุกขลักษณะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

๔. เรื่องอนัตตลักษณะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

๕. เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนที่ไม่ขยันในเวลาที่ควรขยัน
ทั้งที่ยังหนุ่มยังสาว มีกำลัง
แต่กลับเกียจคร้าน มีความคิดใฝ่ต่ำ ปราศจากความเพียร
เกียจคร้านมาก ย่อมไม่ประสบทาง ด้วยปัญญา

๖. เรื่องสูกรเปรต (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลพึงรักษาวาจา พึงสำรวมใจ
และไม่พึงทำความชั่วทางกาย
พึงชำระกรรมบถทั้ง ๓ ประการนี้ให้หมดจด
จะพึงพบทางที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้

๗. เรื่องพระโปฐิลเถระ (ตรัสพระคาถานี้แก่โปฐิลเถระ)
ปัญญา เกิดเพราะการประกอบ
และเสื่อมไปเพราะการไม่ประกอบ
เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญาทั้ง ๒ ทางนี้แล้ว
บุคคลพึงตั้งตนโดยวิธีที่ปัญญาจะเจริญยิ่งขึ้น

๘. เรื่องภิกษุแก่หลายรูป (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตัดป่า แต่อย่าตัดต้นไม้
เพราะภัย- ย่อมเกิดจากป่า
เธอทั้งหลายครั้นตัดป่า และหมู่ไม้ในป่าแล้ว
จงเป็นผู้ไม่มีป่าอยู่เถิด

ตราบใด บุรุษยังไม่ตัดหมู่ไม้ในป่า
แม้เพียงเล็กน้อยในสตรีทั้งหลาย
ตราบนั้น เขาย่อมมีใจผูกพัน
เหมือนลูกโคที่ยังดื่มนมมีใจผูกพันในแม่โค ฉะนั้น

๙. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ (ตรัสแก่ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของพระสารีบุตร)
เธอจงตัดความรักของตน
เหมือนตัดดอกบัวที่เกิดในสารทกาล
จงเพิ่มพูนทางแห่งสันติ เท่านั้น
เพราะพระสุคตเจ้าแสดงนิพพานไว้แล้ว

๑๐. เรื่องพ่อค้ามีทรัพย์มาก (ตรัสแก่พ่อค้าผ้าที่พักอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ)
คนพาลมักคิดเช่นนี้ว่า “เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูฝน
เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูหนาวและฤดูร้อน”
ชื่อว่าย่อมไม่รู้อันตราย ที่จะมาถึงตน

๑๑. เรื่องนางกิสาโคตมี (ตรัสพระคาถานี้แก่นางกิสาโคตมี)
นรชนผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์
มีใจเกี่ยวข้องในอารมณ์ต่างๆ
ย่อมถูกมฤตยูคร่าไป
เหมือนชาวบ้านผู้หลับไหลถูกห้วงน้ำพัดพาไป ฉะนั้น

๑๒. เรื่องนางปฏาจารา (ตรัสพระคาถานี้แก่นางปฏาจารา)
บุคคลเมื่อถึงคราวจะตาย
บุตรทั้งหลายก็ต้านทานไว้ไม่ได้
บิดาก็ต้านทานไว้ไม่ได้
พวกพ้องก็ต้านทานไว้ไม่ได้
แม้ญาติพี่น้องก็ต้านทานไว้ไม่ได้

บัณฑิตผู้สำรวมในศีล รู้ความจริงนี้แล้ว
พึงรีบเร่งชำระทางอันจะนำไปสู่นิพพาน

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์