เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้ (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1009
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยการฝึกจิต

๑. เรื่องพระเมฆิยเถร(ตรัสแก่พระเมฆิยเถระ)
จิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
ผู้มีปัญญาสามารถควบคุมให้ตรงได้
เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น

จิตนี้ย่อมดิ้นรนไปมา
เหมือนปลาที่ถูกยกขึ้นจากน้ำโยนไปบนบก ฉะนั้น
ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงควรละบ่วงแห่งมาร

๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (ตรัส แก่ภิกษุรูปหนึ่ง)
การฝึก จิตที่ควบคุมได้ยาก เปลี่ยนแปลงง่าย
ชอบใฝ่หาแต่อารมณ์ที่ปรารถนา จัดว่าเป็นความดี
เพราะจิตที่ฝึกแล้วย่อมนำสุขมาให้

๓. เรื่องภิกษุผู้กระสันจะสึก (ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้กระสันจะสึก)
ผู้มีปัญญาควรรักษาจิต
ที่เห็นได้ยากยิ่ง ละเอียดยิ่ง
ชอบใฝ่หาแต่อารมณ์ที่ปรารถนา
เพราะจิตที่คุ้มครองแล้วย่อมนำสุขมาให้

๔. เรื่องพระสังฆรักขิตเถระ (ตรัสแก่พระสังฆรักขิตเถระ)
คนเหล่าใดสำรวมจิต
ที่เที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว
ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำ
คนเหล่านั้นจักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร

๕. เรื่องพระจิตตหัตถเถระ (ตรัสแก่ แก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้แจ้งสัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย
ย่อมไม่มีปัญญาสมบูรณ์

ผู้มีจิตไม่ชุ่มด้วยราคะ ไม่ขุ่นมัวด้วยโทสะ
ละบุญและบาปได้แล้ว มีสติตื่นอยู่
ย่อมไม่มีภัย

๖. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป (ตรัสแก่ ภิกษุ ๕๐๐ รูป)
ภิกษุรู้ว่า ร่างกายนี้เปรียบเหมือนหม้อดิน
ควรป้องกันจิตนี้ เหมือนป้องกันพระนคร
แล้วใช้อาวุธ คือปัญญา รบกับมาร
และควรรักษาชัยชนะไว้ แต่ไม่ควรยินดียึดติด

๗. เรื่องพระติสสเถระผู้มีร่างกายเน่าเปื่อย(ตรัสแก่พระติสสเถระผู้มีร่างกายเน่าเปื่อย)
อีกไม่นานนัก ร่างกายนี้ก็จักปราศจากวิญญาณ
ถูกทอดทิ้งทับถมแผ่นดิน
เหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ ฉะนั้น

๘. เรื่องนายนันทะผู้เลี้ยงโค (ตรัส แก่ภิกษุทั้งหลาย)
จิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้ได้รับความเสียหาย
ยิ่งกว่าความเสียหายที่โจรเห็นโจร
หรือผู้จองเวรเห็นผู้จองเวร จะพึงทำให้แก่กัน

๙. เรื่องพระโสเรยยเถระ (ตรัสแก่ แก่ภิกษุทั้งหลาย)
จิตที่ตั้งไว้ชอบ ย่อมอำนวยให้ได้ผลที่ประเสริฐยิ่ง
ที่มารดาบิดาก็ทำให้ไม่ได้
หรือแม้ญาติเหล่าอื่นก็ให้ไม่ได้



หมวดว่าด้วยดอกไม้

๑.เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป (ตรัสแก่ แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป)
ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ยมโลก
และมนุษยโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
ใครจักเลือกบทธรรม ที่ตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนช่างดอกไม้ผู้ชาญฉลาดเลือกเก็บดอกไม้ ฉะนั้น

พระเสขะ จักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ยมโลก
และมนุษยโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
พระเสขะจักเลือกบทธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนช่างดอกไม้ผู้ชาญฉลาดเลือกเก็บดอกไม้ ฉะนั้น

๒. เรื่องภิกษุผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน(ตรัสแก่ภิกษุผู้เจริญกัมมัฏฐาน มีพยับแดดเป็นอารมณ์ )
ภิกษุผู้รู้แจ้งว่า ร่างกายนี้เปรียบเหมือนฟองน้ำ
รู้ชัดว่า ร่างกายนี้มีลักษณะดุจพยับแดด
ตัดพวงดอกไม้ของมาร ได้แล้ว
ก็จะไปถึงสถานที่ที่มัจจุราชหาไม่พบ

๓. เรื่องเจ้าชายวิฑูฑภะ (ตรัสแก่ แก่ภิกษุทั้งหลาย)
มฤตยู ย่อมฉุดคร่านรชนผู้มีใจติดข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
ผู้มัวแต่เลือกเก็บดอกไม้ อยู่
เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับไหลไป ฉะนั้น

๔. เรื่องนางปติปูชิกา (ตรัสแก่ แก่ภิกษุทั้งหลาย)
มฤตยูย่อมทำคนที่มีใจติดข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
ผู้มัวแต่เลือกเก็บดอกไม้อยู่
ผู้ไม่อิ่มในกามทั้งหลาย ให้ตกอยู่ในอำนาจ

๕. เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้ตระหนี่ (ตรัสแก่ แก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภมรไม่ทำลายดอก สี และกลิ่น
ดูดแต่น้ำหวานไป ฉันใด
มุนีพึงเที่ยวไปในหมู่บ้าน ฉันนั้น

๖.เรื่องอาชีวกชื่อปาฏิกะ (ตรัสแก่อุบาสิกา ผู้รับใช้อาชีวกชื่อปาฏิกะ)
บุคคลไม่พึงใส่ใจถ้อยคำแสลงหูของคนอื่น
ไม่พึงเพ่งเล็งกิจที่คนอื่นทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ
แต่พึงตรวจดูกิจที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น

๗. เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก (ตรัสแก่พระอานนทเถระ)
วาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม
เหมือนดอกไม้งาม มีสีสวย (แต่) ไม่มีกลิ่น

วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี
เหมือนดอกไม้งาม มีทั้งสีและมีกลิ่น ฉะนั้น

๘. เรื่องนางวิสาขา (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
สัตว์ผู้มีอันจะต้องตาย เมื่อเกิดมาแล้ว
ควรสร้างกุศลไว้ให้มาก
เหมือนช่างดอกไม้ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก
จากกองดอกไม้ ฉะนั้น

๙. เรื่องพระอานนทเถระ (ตรัสแก่พระอานนทเถระ)
กลิ่นดอกไม้ลอยไปทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา
หรือกลิ่นกระลำพักก็ลอยไปทวนลมไม่ได้
ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ ลอยไปทวนลมได้
เพราะสัตบุรุษขจรไปทั่วทุกทิศ

กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นหอมเหล่านี้ คือ
กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่นดอกอุบล และกลิ่นดอกมะลิ

๑๐. เรื่องพระมหากัสสปเถระ (ตรัสแก่ แก่ภิกษุทั้งหลาย)
กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นจันทน์นี้ หอมเพียงเล็กน้อย
แต่กลิ่นของท่านผู้มีศีล หอมมากที่สุด
หอมฟุ้งไปทั่วทั้งเทวโลกและมนุษยโลก

๑๑. เรื่องพระโคธิกเถระ (ตรัสแก่ แก่ภิกษุทั้งหลาย)
มารย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์
ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นปกติ
ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ

๑๒. เรื่องนายครหทินน์ (ตรัสแก่นายครหทินน์ และนายสิริคุตต์)
ในกองขยะที่เขาทิ้งไว้ข้างทางใหญ่
ยังมีดอกบัวมีกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจเกิดขึ้นมาได้ ฉันใด

ในหมู่ปุถุชนผู้มืดมนซึ่งเปรียบได้กับกองขยะ
ก็ยังมีสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญรุ่งเรือง
อยู่ด้วยปัญญา ฉันนั้น

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์