เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1008
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 

(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

ธรรมบท-อุทาน

หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน


๑. เรื่องพระจักขุบาลเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ธรรมทั้งหลาย มีใจ เป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าคนมีใจชั่ว ก็จะพูดชั่วหรือทำชั่วตามไปด้วย
เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมติดตามเขาไป
เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น

๒. เรื่องนายมัฏฐกุณฑลี (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำดีตามไปด้วย
เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไป
เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น๑-

๓. เรื่องพระติสสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)

ชนเหล่าใด เข้าไปผูกเวรว่า
“คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป”
เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบระงับ

ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกเวรว่า

“คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป”
เวรของชนหล่านั้น ย่อมสงบระงับ

๔. เรื่องนางยักษ์ชื่อกาลี (ตรัสแก่นางยักษ์ ชื่อกาลีและหญิงคนหนึ่ง)
เพราะว่าในกาลไหนๆ
เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร
แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับ
ด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นธรรมเก่า

๕. เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี (ตรัสแก่ชาวเมืองโกสัมพีผู้ทะเลาะกัน)

ชนเหล่าอื่น ไม่รู้ชัดว่า
“พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้”
ส่วนชนเหล่าใด ในหมู่นั้น
รู้ชัด ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น

๖. เรื่องพระมหากาลเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)

มาร ย่อมครอบงำบุคคล
ผู้พิจารณาเห็นความงาม
ไม่สำรวมอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน
เหมือนพายุพัดต้นไม้ที่ไม่มั่นคง ให้หักโค่นลงได้ ฉะนั้น

มารย่อมไม่ครอบงำบุคคล
ผู้ไม่พิจารณาเห็นความงาม
สำรวมอินทรีย์ดีแล้ว รู้จักประมาณในการบริโภค
มีศรัทธา และปรารภความเพียร
เหมือนพายุพัดโค่นภูเขาศิลาไม่ได้ ฉะนั้น

๗. เรื่องพระเทวทัต (ทรงปรารภพระเทวทัตที่ได้ผ้ากาสาวะ มีราคามาก)

ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด
ปราศจากทมะและสัจจะ
จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
ผู้นั้นไม่ควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะเลย

ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาด
ตั้งมั่นดีแล้วในศีล
ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะได้

๘. เรื่องสัญชัยปริพาชก (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)

ชนเหล่าใดเห็นสิ่งที่ไม่มีสาระว่ามีสาระ
และเห็นสิ่งที่มีสาระว่าไม่มีสาระ
ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีความดำริผิดเป็นทางปฏิบัติ
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่มีสาระ

ส่วนชนเหล่าใดที่รู้สิ่งที่มีสาระว่ามีสาระ
และรู้สิ่งที่ไม่มีสาระว่าไม่มีสาระ
ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีความดำริชอบเป็นทางปฏิบัติ
ย่อมประสบสิ่งที่มีสาระ

๙. เรื่องพระนันทเถระ
(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ฝนย่อมรั่วรดเรือน ที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิต ที่ไม่ได้อบรม ได้ ฉันนั้น

ฝนย่อมรั่วรดเรือน ที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิต ที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น

๑๐. เรื่องนายจุนทะฆ่าสุกร
(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังเศร้าโศกในโลกหน้า
ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน
เพราะเห็นกรรมที่เศร้าหมองของตน

๑๑. เรื่องอุบาสกผู้ประพฤติธรรม (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)

ผู้ทำบุญไว้ ย่อมบันเทิงใจในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังบันเทิงใจในโลกหน้า
ชื่อว่าบันเทิงใจในโลกทั้งสอง
เขาย่อมบันเทิงรื่นเริงใจเพราะเห็นกรรมที่บริสุทธิ์ของตน

๑๒. เรื่องพระเทวทัต
(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังเดือดร้อนในโลกหน้า
ชื่อว่าเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
เขาย่อมเดือดร้อนใจว่า “เราได้ทำบาปไว้แล้ว”
ครั้นไปสู่ทุคติ เขายิ่งเดือดร้อนมากขึ้น

๑๓. เรื่องนางสุมนาเทวี (ทรงปรารภนางสุมนาเทวี ธิดาคนเล็กของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งเสียชีวิต)

ผู้ทำบุญไว้ ย่อมเพลิดเพลินใจในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังเพลิดเพลินใจในโลกหน้า
ชื่อว่าเพลิดเพลินใจในโลกทั้งสอง
เขาย่อมเพลิดเพลินใจว่า “เราได้ทำบุญไว้แล้ว”
ครั้นไปสู่สุคติ เขายิ่งเพลิดเพลินใจมากขึ้น

๑๔. เรื่องภิกษุสองสหาย
(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนที่กล่าวพุทธพจน์
แม้มากแต่มัวประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น
ย่อมไม่ได้รับผลแห่งความเป็นสมณะ
เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคได้แต่นับโคให้คนอื่น ฉะนั้น

คนที่กล่าวพุทธพจน์แม้น้อย
แต่ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นปกติ
ละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว
รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
ไม่ยึดติดในโลกนี้และโลกหน้า
เขาย่อมได้รับผลแห่งความเป็นสมณะ



หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท

๑. เรื่องพระนางสามาวดี
(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งอมตะ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
คนผู้ประมาทจึงเหมือนคนตายแล้ว

บัณฑิตทราบความต่างกัน
ระหว่างความไม่ประมาทกับความประมาทนั้น
แล้วตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ย่อมบันเทิงใจในความไม่ประมาท
ยินดีในทางปฏิบัติของพระอริยะทั้งหลาย

บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพินิจ
มีความเพียรต่อเนื่อง มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นสภาวะยอดเยี่ยม ปลอดจากโยคะ

๒. เรื่องนายกุมภโฆสก (ตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสารและนายกุมภโฆสก)

ยศ ย่อมเจริญแก่บุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร
มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญก่อนทำ
สำรวม ดำรงชีวิตโดยธรรม และไม่ประมาท

๓. เรื่องพระจูฬปันถก
(ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนมีปัญญาพึงทำที่พึ่งดุจเกาะที่น้ำท่วมไม่ถึง๒-
ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยการสำรวม และด้วยการฝึกฝน

๔. เรื่องนักษัตรของคนพาล (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)

คนพาลมีปัญญาทราม ประกอบความประมาทอยู่เสมอ
ส่วนบัณฑิตผู้มีปัญญา รักษาความไม่ประมาทไว้
เหมือนคนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ ฉะนั้น

ท่านทั้งหลาย อย่าประกอบความประมาท
อย่าประกอบความเชยชมยินดีในกามเลย
เพราะผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่
ย่อมได้รับความสุขอันไพบูลย์

๕. เรื่องพระมหากัสสปเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถา)
เมื่อใด บัณฑิตบรรเทาความประมาท ด้วยความไม่ประมาท
ขึ้นสู่ปัญญาดุจปราสาท๒- ไม่เศร้าโศก
พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความเศร้าโศก
เมื่อนั้น บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ ย่อมเห็นคนพาลได้
เหมือนคนที่ยืนอยู่บนภูเขาเห็นคนที่ภาคพื้นได้ ฉะนั้น

๖. เรื่องภิกษุสองสหาย
(ตรัสแก่ภิกษุ ๒ รูป)
ผู้มีปัญญาดี เป็นผู้ไม่ประมาท ในเมื่อผู้อื่นประมาท
เป็นผู้ตื่นอยู่โดยมาก ในเมื่อผู้อื่นหลับ
ย่อมละทิ้งคนมีปัญญาทรามไปไกล
เหมือนม้าฝีเท้าจัดวิ่งละทิ้งม้าที่หมดแรงไว้ ฉะนั้น

๗. มฆวัตถุ เรื่องท้าวมัฆวาน
(ตรัสแก่เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ)
ท้าวมัฆวานประเสริฐสุดในหมู่เทวดา เพราะความไม่ประมาท
บัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญความไม่ประมาท
และติเตียนความประมาททุกเมื่อ

๘. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
(ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง)
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท
หรือเห็นภัยในความประมาท
เผาสังโยชน์ น้อยใหญ่ได้หมด
เหมือนไฟเผาเชื้อน้อยใหญ่ให้หมดไป ฉะนั้น

๙. เรื่องพระติสสเถระผู้อยู่ในนิคม
(ตรัสแก่พระติสสเถระผู้อยู่ในนิคม)
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท
หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่เสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์