เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1011
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หมวดว่าด้วยพระอรหันต์

๑. เรื่องหมอชีวก (ตรัสแก่หมอชีวก)
ผู้บรรลุจุดหมายปลายทางแล้ว
ไร้ความโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง
ละกิเลสเครื่องร้อยรัด ได้หมด ย่อมไม่มีความเร่าร้อน

๒. เรื่องพระมหากัสสปเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้มีสติ หมั่นประกอบความเพียร
ไม่ติดในที่อยู่ ละความห่วงอาลัยไป
เหมือนหงส์ละเปือกตมไป ฉะนั้น

๓. เรื่องพระเพฬัฏฐสีสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ไม่มีการสั่งสม กำหนดรู้อาหารก่อนแล้วจึงบริโภค
มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นอารมณ์
ไม่ทิ้งทางไว้ให้เป็นที่รู้ได้ เหมือนนกไม่ทิ้งทางไว้ในอากาศ ฉะนั้น

๔. เรื่องพระอนุรุทธเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ไม่ติดในอาหาร
มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นอารมณ์
ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้เป็นที่รู้ได้
เหมือนนกไม่ทิ้งร่องรอยไว้ในอากาศ ฉะนั้น

๕. เรื่องพระมหากัจจายนเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดฝึกอินทรีย์๒- ให้สงบได้
เหมือนม้าที่นายสารถีฝึกดีแล้ว
ผู้นั้นย่อมละมานะได้ ไม่มีอาสวะ คงที่
แม้ทวยเทพทั้งหลายก็รักใคร่

๖. สารีปุตตเถรวัตถุเรื่องพระสารีบุตรเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุผู้คงที่ มีวัตรงาม
ไม่ยินดียินร้าย เสมอด้วยแผ่นดิน
เปรียบด้วยเสาเขื่อน
(มีใจผ่องใส) เหมือนห้วงน้ำไร้เปือกตม
สังสารวัฏย่อมไม่มีแก่ผู้เช่นนั้น

๗. เรื่องสามเณร ของพระติสสเถระ ชาวเมืองโกสัมพี
(ตรัสแก่พระติสสเถระชาวเมืองโกสัมพี)
ผู้หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ผู้สงบ ผู้คงที่
ย่อมมีมโนกรรมที่สงบ วจีกรรมที่สงบ กายกรรมที่สงบ

๘. เรื่องพระสารีบุตรเถระ (ตรัสแก่ภิกษุผู้อยู่ในป่า ๓๐ รูป)
[๙๗] นรชนใด ผู้ไม่ต้องเชื่อใคร๑-
รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้
ตัดรอยต่อ๑- แห่งการเกิดใหม่
ทำลายโอกาส๒- แห่งการท่องเที่ยวไปในสงสาร
คายความหวังแล้ว นรชนนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด๓-

๙. เรื่องพระเรวตเถระผู้อยู่ในป่าไม้ตะเคียน (ตรัสแก่นางวิสาขามิคารมาตา)
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่สถานที่ใด
คือ จะเป็นบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม
สถานที่นั้น เป็นรมณียสถาน

๑๐. เรื่องหญิงคนใดคนหนึ่ง (ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง )
ท่านผู้ปราศจากราคะทั้งหลาย
จะยินดีป่าทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์
ที่ชนผู้แสวงหากามไม่ยินดี
เพราะท่านเหล่านั้นไม่แสวงหากาม๕-



หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน

๑. เรื่องเพชฌฆาตโจรเคราแดง (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คำพูดที่มีประโยชน์คำเดียว
ที่คนฟังแล้วสงบระงับได้
ย่อมดีกว่าคำพูดที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คำ

๒. เรื่องพระพาหิยทารุจีริยเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คาถาที่มีประโยชน์คาถาเดียว
ที่คนฟังแล้วสงบระงับได้
ย่อมดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา

๓. เรื่องพระกุณฑลเกสีเถรี (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ธรรมะบทหนึ่ง๑- ที่คนฟังแล้วสงบระงับได้
ย่อมดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑๐๐ คาถา

ผู้ชนะข้าศึกจำนวนพันคูณด้วยพันในสงคราม
หาชื่อว่าผู้ชนะที่ยอดเยี่ยมไม่
แต่ผู้ชนะตน๒- ได้ จึงชื่อว่า ผู้ชนะที่ยอดเยี่ยม

๔. เรื่องอนัตถปุจฉกพราหมณ์ (ตรัสแก่พราหมณ์)
การชนะตนของบุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ประพฤติสำรวมเป็นนิตย์นั่นแล
ประเสริฐกว่าการชนะผู้อื่น

เทวดา คนธรรพ์ มาร หรือพรหม
ไม่อาจทำชัยชนะของบุคคลเช่นนั้นให้กลับแพ้ได้เลย

๕. เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นลุง ของพระสารีบุตรเถระ (ตรัสแก่พราหมณ์ผู้เป็นลุงของ พระสารีบุตรเถระ )
การบูชาของบุคคลผู้บูชาท่านที่อบรมตนดี แล้ว
คนเดียว แม้เพียงครู่เดียว ประเสริฐกว่าการบูชา ของบุคคลผู้บูชายัญ ด้วยทรัพย์จำนวน ๑,๐๐๐ กหาปณะ
ทุกๆ เดือน ตลอด ๑๐๐ ปี

๖. เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ(ตรัสแก่พราหมณ์ผู้เป็นหลาน ของพระสารีบุตรเถระ)
การบูชาของบุคคลผู้บูชาท่านที่อบรมตนดีแล้ว
คนเดียว แม้เพียงครู่เดียว ประเสริฐกว่าการบูชา ของบุคคลผู้บูชาไฟในป่าเป็นเวลา ๑๐๐ ปี

๗. เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นเพื่อน ของพระสารีบุตรเถระ (ตรัสแก่พราหมณ์ผู้เป็นเพื่อนของพระสารีบุตรเถร )
การไหว้ท่านผู้ปฏิบัติตรง
ประเสริฐกว่าการบูชายัญและการบวงสรวงใดๆ ในโลก
ที่ผู้หวังบุญทำอยู่ตลอดปี
เพราะการบูชายัญและการบวงสรวงทั้งหมดนั้น
มีค่าไม่ถึงหนึ่งในสี่

๘. เรื่องอายุวัฒนกุมาร (ตรัสแก่อายุวัฒนกุมารและอุบาสก ๕๐๐ คน)
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่ผู้กราบไหว้ ผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เป็นนิตย์

๙. เรื่องสังกิจจสามเณร (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป)
ผู้มีศีล เพ่งพินิจ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าคนทุศีล ไม่มีจิตตั้งมั่น
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี

๑๐. เรื่องพระขาณุโกณฑัญญเถระ (ตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้เป็นศิษย์พระขาณุ โกณฑัญญ เถระ )
ผู้มีปัญญา เพ่งพินิจ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้มีปัญญาทราม ไม่มีจิตตั้งมั่น
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี

๑๑. สัปปทาสเถรวัตถุเรื่องพระสัปปทาสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้มีความเพียรมั่นคง แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้เกียจคร้าน ไม่มีความเพียร
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี

๑๒. เรื่องพระปฏาจาราเถรี (ตรัสแก่พระปฏาจาราเถรี)
ผู้เห็นความเกิดและความดับ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นความเกิดและความดับ
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี

๑๓. เรื่องนางกิสาโคตมี (ตรัสแก่นางกิสาโคตมี)
ผู้เห็นทางอมตะ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นทางอมตะ
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี

๑๔. เรื่องพระพหุปุตติกาเถรี (ตรัสแก่พระพหุปุตติกาเถรี)
ผู้เห็นธรรมอันสูงสุด แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรมอันสูงสุด
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์