เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก 1140
ธรรม ๑๐ อย่าง
มีอุปการะมาก
ธรรม
อย่างหนึ่ง

1131
ธรรม
๒ อย่าง

1132
ธรรม
๓ อย่าง

1133
ธรรม
๔ อย่าง

1134
ธรรม
๕ อย่าง

1135
ธรรม
๖ อย่าง

1136
ธรรม
๗ อย่าง

1137
ธรรม
๘ อย่าง

1138
ธรรม
๙ อย่าง

1139
ธรรม
๑๐ อย่าง

1140


"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๕๑ - ๒๘๘


ทสุตตรสูตร

ธรรม ๑๐ อย่างมีอุปการะมาก

ข้อ [๔๖๕]-[๔๗๕]

         [๔๖๕] ธรรม ๑๐ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เจริญ  ธรรม ๑๐ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเจริญ ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม๑๐ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรม ๑๐ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่ธรรมกระทำที่พึ่ง ๑๐ อย่าง คือดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑) เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ มีปรกติ เห็นภัยในโทษ เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อม ด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ มีปรกติ เห็นภัยในโทษ แม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรม กระทำที่พึ่ง ฯ

๒) เป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้ สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้ง อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอ ได้สดับแล้ว มากทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น แม้ข้อที่ ภิกษุ เป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปาน นั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้วคล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

๓) เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีเพื่อนดี มีสหายดี นี้ก็เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ

๔) เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรม ที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับ อนุศาสนี โดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรม ที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นธรรม กระทำที่พึ่ง ฯ

๕) เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญา เป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบาย ในกึกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัด ในกึกรณียะกิจใหญ่น้อย ของเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายใ นกึกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกึกรณียะกิจ ใหญ่น้อย ของเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

๖) เป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย แม้ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรมเจรจาน่ารัก มีความ ปราโมทย์ ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย นี้ก็เป็น ธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

๗) เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็น ปัจจัยแก่ คนไข้ ตามมีตามได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ นี้ก็เป็นธรรม กระทำ ที่พึ่ง ฯ

๘) เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึง พร้อม อยู่ มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรม ที่เป็นกุศล นี้ก็เป็น ธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

๙) เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ และปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ ทำแล้ว นานแม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น ผู้มี สติประกอบด้วยสติ และปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้ว นาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ นี้ก็เป็นธรรม กระทำที่พึ่ง ฯ

๑๐) เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็น ความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มี ปัญญา ประกอบด้วยปัญญา ที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ


ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ได้แก่แดนแห่งกสิณ ๑๐ คือ ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวางตามลำดับหาประมาณมิได้
ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ...
ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ...
ผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณได้ ...
ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้...
ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ...
ผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณได้ ...
ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ...
ผู้หนึ่งย่อมจำ อากาสกสิณได้
ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณ มิได้

ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่อายตนะ ๑๐ คือ 
นัยน์ตา - รูป / หู- เสียง / จมูก - กลิ่น / ลิ้น- รส / กาย - โผฏฐัพพะ

ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ได้แก่มิจฉัตตะ ๑๐ คือ
๑) ความเห็นผิด
๒) ความดำริผิด
๓) เจรจาผิด
๔) การงานผิด
๕) เลี้ยงชีพผิด
๖) พยายามผิด
๗) ระลึกผิด 
๘) ตั้งใจผิด
๙) ความรู้ผิด
๑๐) ความพ้นผิด

ธรรม ๑๐ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ฆ่าสัตว์ - ลักทรัพย์ - ประพฤติผิดในกาม - พูดเท็จ - พูดส่อเสียด - พูดคำหยาบ - พูดเพ้อเจ้อ - อยากได้ของเขา - ปองร้ายเขา เห็นผิดธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้เป็นไปใน ส่วนข้างเสื่อม

ธรรม ๑๐ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเจริญเป็นไฉนด้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ - เว้นจากลักทรัพย์ - เว้นจากประพฤติผิดในกาม- เว้นจากพูดเท็จ - เว้นจากพูดส่อเสียด - เว้นจากพูดคำหยาบ - เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ - ไม่อยากได้ของเขา - ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วน ข้างเจริญ ฯ

ธรรม ๑๐ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่อริยวาส ๑๐ คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑) เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วประกอบด้วยองค์ ๖
๒) มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา
๓) มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน
๔) มีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทาแล้ว
๕) มีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ
๖) มีความดำริไม่ขุ่นมัว
๗) มีกายสังขารอันระงับแล้ว
๘) มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
๙ มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ฯ

๑.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว กามฉันทะ ยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นโทษ อันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละได้แล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว

๒.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๖ ภิกษุในพระศาสนานี้ เห็นรูปด้วย นัยน์ตา ... ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ... ไม่ยินดียินร้าย เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๖

๓.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ ประกอบแล้ว ด้วยใจมีสติเป็นเครื่องรักษา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่าง เดียว เป็นเครื่องรักษา

๔.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณา แล้ว เสพของ อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว เว้นของ อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่งอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรม เป็นพนักพิง ๔ ด้าน

๕.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทาแล้ว สัจจะเฉพาะอย่าง เป็นอันมาก ของสมณ พราหมณ์เป็นอันมาก เป็นของอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรเทาแล้ว บรรเทาดีแล้ว สละ คาย ปล่อย ละ สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว

๖.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ ภิกษุใน พระธรรม วินัยนี้ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหา พรหมจรรย์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ

๗.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว ความดำริในกาม ความดำริ ในความพยาบาท ความดำริในความเบียดเบียน เป็นโทษอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละได้แล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีความดำริ ไม่ขุ่นมัว

๘.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุขและดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว

๙.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว จิตของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พ้นแล้ว จากราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว

๑๐.๑) ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อม รู้ชัดว่า ราคะ ... โทสะ ... โมหะอันเราละแล้ว มีรากอันเราถอนขึ้นแล้วกระทำให้เป็น ดุจ ต้นตาลอันไม่มีที่ตั้ง กระทำไม่ให้มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาอันหลุดพ้นดีแล้ว ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แทงตลอด ได้ยาก

ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน ได้แก่สัญญา ๑๐ คือ
๑) ความกำหนดหมายว่า ไม่งาม
๒) ความกำหนดหมายในความตาย
๓) ความกำหนดหมาย ในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
๔) ความกำหนดหมาย
๕) ความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
๖) ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง
๗) ความกำหนดหมาย ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
๘) ความกำหนดหมายในทุกข์ว่า ไม่ใช่ตัวตน
๙) ความกำหนดหมายในการละ
๑๐) ความกำหนดหมาย ในวิราคธรรม
๑๑) ความกำหนดหมายในความดับ
ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ


ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่ นิชชิณวัตถุ ๑๐ คือ

๑) ความเห็นผิด อันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ อนึ่งแม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่ น้อย ที่บังเกิดเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย

๒) ความดำริผิด อันบุคคลผู้ดำริชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามก มิใช่น้อย ที่บังเกิดเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย

๓) การเจรจาผิด อันบุคคลผู้เจรจาชอบย่อมละได้ อนึ่งแม้อกุศลธรรมอันลามก มิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ เพราะเจรจาชอบเป็นปัจจัย

๔) การงานผิด อันบุคคลผู้ทำการงานชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามก มิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะการงานผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย

๕) การเลี้ยงชีพผิด อันบุคคลผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามก มิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะการเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย

๖) ความพยายามผิด อันบุคคลผู้พยายามชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอัน ลามกมิใช่น้อยที่บังเกิด เพราะความพยายามผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรม มิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย

๗) ความระลึกผิด อันบุคคลผู้ระลึกชอบย่อมละได้อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามก มิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัย

๘) ความตั้งใจผิด อันบุคคลผู้ตั้งใจชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามก มิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัย

๙) ความรู้ผิด อันบุคคลผู้รู้ชอบย่อมละได้ อนึ่งแม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่บังเกิดเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบ เป็นปัจจัย

๑๐) ความพ้นผิด อันบุคคลผู้พ้นชอบย่อมละได้ อนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่บังเกิดเพราะความพ้นผิดเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมเจริญ บริบูรณ์ เพราะความพ้นชอบเป็นปัจจัย

ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อเสขธรรม ๑๐ คือ
ความเห็นชอบเป็น ของพระอเสขะ ความดำริชอบ ... เจรจาชอบ ... การงานชอบ ...
เลี้ยงชีพชอบ ... พยายามชอบ ... ระลึกชอบ ... ตั้งใจชอบ ... ความรู้ชอบ ... ความพ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ

ธรรมร้อยหนึ่ง ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด  ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคต ตรัสรู้แล้ว โดยชอบ ฯ

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของ ท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล ฯ

จบ ทสุตตรสูตร ที่ ๑๑









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์