เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก 1132
ธรรม ๑๐ อย่าง
มีอุปการะมาก
ธรรม
อย่างหนึ่ง

1131
ธรรม
๒ อย่าง

1132
ธรรม
๓ อย่าง

1133
ธรรม
๔ อย่าง

1134
ธรรม
๕ อย่าง

1135
ธรรม
๖ อย่าง

1136
ธรรม
๗ อย่าง

1137
ธรรม
๘ อย่าง

1138
ธรรม
๙ อย่าง

1139
ธรรม
๑๐ อย่าง

1140


"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๕๑ - ๒๕๓


ทสุตตรสูตร

ธรรม ๒ อย่างมีอุปการะมาก

ข้อ [๓๗๗]-[๓๘๗]

        [๓๗๗] ธรรม ๒ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่างควรให้เจริญ ธรรม๒ อย่างควร กำหนดรู้ ธรรม ๒ อย่างควรละ ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๒ อย่างเป็นไป ในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๒ อย่างแทงตลอดได้ยากธรรม ๒ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรม ๒ อย่าง ที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน
คือ สติ และ สัมปชัญญะ

ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรให้เจริญ เป็นไฉน
คือ สมถะ และ วิปัสนา

ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน
คือ นาม และ รูป

ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรละ เป็นไฉน
คือ อวิชชา และ ภวตัณหา

ธรรม ๒ อย่าง ที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้ว่ายาก และ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

ธรรม ๒ อย่าง ที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ เป็นไฉน
คือความเป็นผู้ว่าง่าย และ ความเป็นผู้มีมิตรดี

ธรรม ๒ อย่าง ที่แทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน
คือ สิ่งใดเป็นเหตุปัจจัย เพื่อความเศร้า หมองของเหล่าสัตว์
และ สิ่งใดเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์ของ เหล่าสัตว์

ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรให้บังเกิดขึ้น เป็นไฉน คือ
ญาณ ๒ ได้แก่ญาณ ในความสิ้นไป และ ญาณในความไม่บังเกิดขึ้น

ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน
คือ ธาตุ ๒ ได้แก่ สังขตธาตุ และ อสังขตธาตุ

ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน
คือ วิชชา และ วิมุตติ

ธรรมทั้งยี่สิบ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาดไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์