เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก 1135
ธรรม ๑๐ อย่าง
มีอุปการะมาก
ธรรม
อย่างหนึ่ง

1131
ธรรม
๒ อย่าง

1132
ธรรม
๓ อย่าง

1133
ธรรม
๔ อย่าง

1134
ธรรม
๕ อย่าง

1135
ธรรม
๖ อย่าง

1136
ธรรม
๗ อย่าง

1137
ธรรม
๘ อย่าง

1138
ธรรม
๙ อย่าง

1139
ธรรม
๑๐ อย่าง

1140


"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๕๖ - ๒๖๐

ทสุตตรสูตร

ธรรม ๕ อย่างมีอุปการะมาก

ข้อ [๔๑๐]-[๔๒๐]

         [๔๑๐] ธรรม ๕ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๕ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๕ อย่างควร กำหนดให้รู้ ธรรม ๕ อย่างควรละ ธรรม ๕ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๕ อย่างเป็นไป ในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๕ อย่างแทงตลอดได้ยากธรรม ๕ อย่างควรให้ บังเกิดขึ้น ธรรม๕ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๕ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรม ๕ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่ง ความเพียร ๕ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑) เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของพระตถาคต ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
๒) เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุมีผลสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การตั้ง ความเพียร
๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา กระทำตนให้แจ้งตามเป็นจริง ในพระศาสดา หรือเพื่อน สพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู
๔) เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมมีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
๕) เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับเป็นอริยะ เป็นไปเพื่อ ความแทงตลอดอันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ

ธรรม ๕ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสัมมาสมาธิ อันประกอบ ด้วยองค์ ๕ได้แก่
๑) ปีติแผ่ไป
๒) สุขแผ่ไป
๓) การกำหนดใจผู้อื่นแผ่ไป
๔) แสงสว่างแผ่ไป
๕) นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา

ธรรม ๕ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
(๑) อุปาทานขันธ์คือรูป
(๒) อุปาทานขันธ์คือเวทนา
(๓) อุปาทานขันธ์คือสัญญา
(๔) อุปาทานขันธ์คือ สังขาร
(๕) อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ

ธรรม ๕ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือนิวรณ์ ๕ ได้แก่
(๑) กามฉันทนิวรณ์
(๒) พยาปาทนิวรณ์
(๓) ถีนมิทธนิวรณ์
(๔) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
(๕) วิจิกิจฉานิวรณ์

ธรรม ๕ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือ เจโตขีลธรรม ๕ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจไปไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความเพียร ไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น
(๑) ภิกษุใดย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมไป ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา
จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียร ไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของภิกษุใดย่อมไม่น้อมไป เพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียร ไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น อันนี้เป็นเจโตขีลธรรม ข้อที่หนึ่ง ฯ
(๒) ภิกษุย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจไป ไม่เลื่อมใสใน พระธรรม ...
(๓) ภิกษุย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจไป ไม่เลื่อมใสใน
พระสงฆ์ ...
(๔)
ภิกษุย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจไป ไม่เลื่อมใสใน
ความศึกษา ...
(๕) ภิกษุเป็นผู้โกรธ มีใจไม่แช่มชื่น ขัดใจ มีใจกระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์
ภิกษุใดเป็น ผู้โกรธ มีใจไม่แช่มชื่น ขัดใจ ขัดใจ มีใจกระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ จิตของ ภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียร ไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของภิกษุใดย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น

ธรรม ๕ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉนคืออินทรีย์ ๕  ได้แก่
(๑) อินทรีย์คือศรัทธา
(๒) อินทรีย์คือวิริยะ
(๓) อินทรีย์ คือสติ
(๔) อินทรีย์คือสมาธิ
(๕) อินทรีย์คือ ปัญญา

ธรรม ๕ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความ ถ่ายถอน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
๑) เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่ง กาม ทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำ ไว้ในใจซึ่ง เนกขัมมะ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่น้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอ ดำเนินไป ดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไป ดีแล้วพ้นดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย อาสวะ เหล่าใด บังเกิดขึ้นเพราะกาม เป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวย เวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนกามทั้งหลาย

(๒) เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจ ซึ่งความพยาบาท จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความพยาบาท แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความไม่พยาบาท จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่พยาบาทจิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาทอาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะความพยาบาทเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นจากอาสวะ เหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอน ความพยาบาทฯ

(๓) เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจ ซึ่งความเบียดเบียน จิตย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความเบียดเบียน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความ ไม่เบียดเบียน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่เบียดเบียน จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจากความ เบียดเบียน อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะความเบียดเบียนเป็นปัจจัย มีความทุกข์ และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนความเบียดเบียน

(๔) เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจ ซึ่งรูปทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งอรูป จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะรูปเป็นปัจจัย มีความทุกข์ และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นที่ถ่ายถอนรูปทั้งหลาย ฯ

(๕) เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจ ซึ่งกายของตน จิตย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกายของตน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความดบกายของตน จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความดับกายของตน จิตของเธอดำเนิน ไปดีแล้ว อบรมดีแล้วออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจากกายของตน อาสวะเหล่าใด บังเกิดขึ้นเพราะกายของตน เป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจาก อาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้นอันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนกาย ของตน  ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้รู้ได้ยาก

ธรรม ๕ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือสัมมาสมาธิประกอบด้วยญาณ ๕ ได้แก่
(๑) ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก ต่อไป
(๒) ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้เป็นอริยะไม่มีอามิส
(๓) ญาณบังเกิดขึ้น เฉพาะตน ว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้ไม่ต่ำช้าเสพแล้ว
(๔) ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ สงบ ประณีต มีปฏิปัสสัทธิอันได้แล้ว
     ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่ข่มขี่ห้าม ด้วยจิต เป็นสสังขาร
(๕) ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้น มีสติ เข้าสมาธินี้ และมีสติ ออกจากสมาธินี้

ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือวิมุตตายตนะ ๕ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
(๑) พระศาสดา หรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง แสดงธรรมแก่ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ท่านแสดง เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อ มีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบกายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น วิมุตตายตนะ ข้อที่หนึ่ง ฯ

(๒) พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง  มิได้แสดง ธรรม แก่ภิกษุเลย แต่ว่าภิกษุอื่น แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุแสดงธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิดเมื่อมีใจกอปรด้วยปีติกายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สอง ฯ

(๓) พระศาสดาหรือสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง  มิได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ว่า กระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดารเธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุกระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา โดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติกายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สาม ฯ

(๔) พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง  มิได้แสดง ธรรม แก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย พิสดาร และมิได้ กระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ว่า เธอตรึก ตามตรองตาม เพ่งตามซึ่งธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาด้วยจิต เพ่งตาม ด้วยใจ เธอ ย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่เธอตรึกตาม ตรองตาม ซึ่งธรรมตาม ที่ได้ฟังได้เรียนมาด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจเมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรม ทั่วถึง ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อม สงบ กายสงบ ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สี่ ฯ

(๕) พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรม แก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร และ มิได้กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร และเธอมิได้ตรึก ตาม ตรองตาม ซึ่งธรรมที่ได้ฟังได้เรียนมาด้วยจิต มิได้เพ่งตามด้วยใจ แต่ว่าสมาธิ นิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอด ดีแล้ว ด้วยปัญญา เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึงรู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น โดยประการที่สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งที่เธอเรียนดีแล้วกระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบกายสงบ ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ห้า

ธรรม ๕ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่
๑) สีลขันธ์
๒) สมาธิขันธ์
๓) ปัญญาขันธ์
๔) วิมุตติขันธ์
๕) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

ธรรมทั้ง ๕๐ อย่างดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอนไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์