"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๖๕ - ๒๖๙
ทสุตตรสูตร
ธรรม ๗ อย่างมีอุปการะมาก
[๔๓๒] - [๔๔๒]
[๔๓๒] ธรรม ๗ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๗ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๗ อย่างควร กำหนดรู้ ธรรม ๗ อย่างควรละ ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๗ อย่างเป็น ไปในส่วนข้างเจริญ ธรรม ๗ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๗ อย่างควร ให้บังเกิดขึ้น ธรรม๗ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๗ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธรรม ๗ อย่าง ที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน ฯ ได้แก่อริยทรัพย์ ๗ คือ
(๑) ทรัพย์ คือศรัทธา
(๒) ทรัพย์ คือศีล
(๓) ทรัพย์ คือหิริ
(๔) ทรัพย์ คือโอตตัปปะ
(๕) ทรัพย์ คือสุตะ
(๖) ทรัพย์ คือจาคะ
(๗) ทรัพย์ คือปัญญา
ธรรม ๗ อย่าง ที่ควรให้เจริญ เป็นไฉน ฯ ได้แก่โพชฌงค์ ๗ คือ
(๑) สติสัมโพชฌงค์
(๒) ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
(๓) วิริยสัมโพชฌงค์
(๔) ปีติสัมโพชฌงค์
(๕) ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์
(๖) สมาธิสัมโพชฌงค์
(๗)
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ธรรม ๗ อย่าง ที่ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ฯ ได้แก่วิญญาณฐิติ ๗ คือ
(๑) มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกเปรตบางหมู่ นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง (ไม่มีสัตว์เดรัจฉาน)
(๒) มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องใน พวก พรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน(จากการเจริญสมาธิ) นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง
(๓) มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ(ชั้นพรหม) นี้ วิญญาณฐิติ ข้อที่สาม
(๔) มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่า สุภกิณหะ(ชั้นพรหม) นี้วิญญาณฐิติ ข้อที่สี่
(๕) มีสัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ (เทวดาชั้นอรูป) ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง รูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำ ไว้ในใจ ซึ่ง นานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า
(๖) สัตว์เหล่าหนึ่ง เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ(เทวดาชั้นอรูป) ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะ ล่วงอากา สานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก
(๗) สัตว์เหล่าหนึ่ง เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (เทวดาชั้นอรูป) ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด
ธรรม ๗ อย่าง ที่ควรละ เป็นไฉน ฯ ได้แก่อนุสัย ๗ คือ
(๑) อนุสัยคือกามราคะ
(๒) ปฏิฆะ
(๓) ทิฐิ
(๔) วิจิกิจฉา
(๕) มานะ
(๖) ภวราคะ
(๗) อวิชชา
ธรรม ๗ อย่าง ที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ฯ ได้แก่อสัทธรรม ๗ คือ
(๑) เป็นผู้ไม่มีสัทธา
(๒)
ไม่มีหิริ
(๓)
ไม่มีโอตัปปะ
(๔)
มีสุตะน้อย
(๕)
เกียจคร้าน
(๖)
หลงลืมสติ
(๗)
มีปัญญาทราม
ธรรม ๗ อย่าง ที่เป็นไปในส่วนข้างเจริญ เป็นไฉน
ได้แก่สัทธรรม ๗ คือ
(๑) เป็นผู้มีสัทธา
(๒)
มีหิริ
(๓)
มีโอตัปปะ
(๔)
มีสุตะมาก
(๕)
ปรารภความเพียร
(๖)
เข้าไปตั้งสติไว้
(๗)
มีปัญญา
ธรรม ๗ อย่าง ที่แทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่สัปปุริสธรรม๗ คือ
(๑) เป็นผู้รู้เหตุ
(๒)
รู้ผล
(๓)
รู้จักตน
(๔)
รู้ประมาณ
(๕)
รู้กาลเวลา
(๖)
รู้บริษัท
(๗)
รู้จักเลือกบุคคล
ธรรม ๗ อย่าง ที่ควรให้บังเกิดขึ้น เป็นไฉน ได้แก่สัญญา ๗ คือ
(๑) อนิจจสัญญา
(๒) อนัตตสัญญา
(๓) อสุภสัญญา
(๔) อาทีนวสัญญา
(๕) ปหานสัญญา
(๖) วิราคสัญญา
(๗) นิโรธสัญญา
ธรรม ๗ อย่าง ที่ควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ฯ
ได้แก่นิเทสวัตถุ ๗ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
(๑) เป็นผู้มีฉันทะ กล้า ในการ สมาทานสิกขา และไม่ปราศจากความรัก ในการสมาทานสิกขาต่อไป
(๒) มีฉันทะกล้าในการพิจารณาธรรม และไม่ปราศจากความรัก
ในการพิจารณาธรรมต่อไป
(๓) มีฉันทะกล้าในการกำจัดความอยาก และไม่ปราศจากความรัก ในการกำจัดความอยากต่อไป
(๔) มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้นอยู่ และไม่ปราศจากความรัก ในการหลีกออกเร้นอยู่ต่อไป
(๕) มีฉันทะกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจากความรัก ในการปรารภความเพียร ต่อไป
(๖) มีฉันทะกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน และไม่ปราศจากความรักในสติ และปัญญา เครื่องรักษาตน ต่อไป
(๗) มีฉันทะกล้า การแทงตลอดด้วยอำนาจความเห็น และไม่ปราศจากความรักในการแทง ตลอดด้วยอำนาจ ความเห็นต่อไป
ธรรม ๗ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ฯ ได้แก่กำลังของพระขีณาสพ ๗
(๑)
สังขารทั้งปวงอันภิกษุผู้ขีณาสพ ในพระธรรมวินัยนี้ เห็นดีแล้วโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นดีแล้ว ซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของภิกษุ ผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพ อาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญา ความสิ้น อาสวะได้ว่า อาสวะของเรา สิ้นแล้ว ฯ
(๒) กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง อันภิกษุผู้ขีณาสพเห็นดีแล้วด้วย ปัญญา อันชอบตามเป็นจริง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นดีแล้ว ซึ่งกามทั้งหลาย อันเปรียบด้วย หลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของภิกษุ ผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุ ผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญา ความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของ เราสิ้นแล้ว ฯ
(๓) จิตของภิกษุผู้ขีณาสพ น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ สิ้นสุดแล้วจากอาสวัฏฐานิยธรรม โดยประการ ทั้งปวง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไป ในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไป ในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ สิ้นสุดแล้ว จากอาสวัฏฐานิยธรรม โดยประการ ทั้งปวงนี้ เป็นกำลังของ ภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญา ความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะ ของเรา สิ้นแล้ว ฯ
(๔) สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุ ผู้ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ ขีณาสพ อาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญา ความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของเรา สิ้นแล้ว ฯ
(๕) อินทรีย์ ๕ อันภิกษุผู้ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้วซึ่งอินทรีย์ ๕ นี้ เป็นกำลังของภิกษุ ผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ ขีณาสพ อาศัยแล้วย่อมปฏิญญาได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ
(๖) โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุผู้ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ซึ่งโพชฌงค์ ๗ นี้ เป็นกำลังของ ภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุ ผู้ขีณาสพ อาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ
(๗) อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุผู้ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ ขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นกำลัง ของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพ อาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ
ธรรม ๗๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาดไม่เป็นอย่างอื่น อัน พระตถาคต ตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ
|