เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก 1136
ธรรม ๑๐ อย่าง
มีอุปการะมาก
ธรรม
อย่างหนึ่ง

1131
ธรรม
๒ อย่าง

1132
ธรรม
๓ อย่าง

1133
ธรรม
๔ อย่าง

1134
ธรรม
๕ อย่าง

1135
ธรรม
๖ อย่าง

1136
ธรรม
๗ อย่าง

1137
ธรรม
๘ อย่าง

1138
ธรรม
๙ อย่าง

1139
ธรรม
๑๐ อย่าง

1140


"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๖๐ - ๒๖๕

ทสุตตรสูตร

ธรรม ๖ อย่างมีอุปการะมาก

ข้อ [๔๒๒]-[๔๓๑]

       [๔๒๒] ธรรม ๖ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๖ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๖ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๖ อย่างควรละ ธรรม ๖ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมธรรม ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเจริญ ธรรม ๖ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๖ อย่างควร ให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๖ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๖ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรม ๖ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่ สาราณียธรรม* คือ
*(หลักการอยู่ร่วมกันในหมู่สงฆ์)
(๑) ภิกษุ เข้าไป ตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม กระทำให้เป็น ที่รักให้เป็นที่ เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อความ ไม่วิวาทกัน เพื่อความ พร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(๒) ภิกษุเข้าไป ตั้งวจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ...

(๓) ภิกษุเข้าไป ตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้ง ต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ...

(๔) ภิกษุย่อม แบ่งปันลาภอันประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้ มาตร ว่า อาหารอันนับเนื่องในบาตร คือเฉลี่ยกันบริโภคกับเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีศีล ทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็น สาราณียธรรม ...

(๕) ภิกษุ เป็นผู้มีศีลเสมอกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง ในศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหา และทิฐิ ไม่แตะต้องแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิแม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ...

(๖) ภิกษุ เป็นผู้มี ทิฐิเสมอกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง ในทิฐิอันประเสริฐ นำออกจากทุกข์ นำผู้ปฏิบัติตามเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ แม้นี้ก็ เป็นสาราณียธรรม กระทำให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่เคารพเป็นไป เพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๖อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ

ธรรม ๖ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ อนุสติฐานะ ๖
๑) ระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า
๒) ระลึกถึง คุณพระธรรม
๓) ระลึกถึง คุณพระสงฆ์
๔) ระลึกถึง ศีล
๕) ระลึกถึง ทานที่ตนบริจาค
๖) ระลึกถึง คุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา

ธรรม ๖ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือ อายตนะ ภายใน ๖ 
๑) อายตนะ คือตา
๒) อายตนะ คือหู
๓) อายตนะ คือจมูก
๔) อายตนะ คือลิ้น
๕) อายตนะ คือกาย

ธรรม ๖ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือ ตัณหา ๖ หมู่
๑) ตัณหาในรูป
๒) ตัณหาในเสียง
๓) ตัณหาในกลิ่น
๔) ตัณหาในรส
๕) ตัณหาในโผฏฐัพพะ
๖) ตัณหาในธรรม

ธรรม ๖ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือ ความไม่เคารพ ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเคารพไม่เชื่อฟัง
๑) ในพระศาสดา
๒) ในพระธรรม
๓) ในพระสงฆ์
๔) ในความศึกษา
๕) ในความไม่ประมาท
๖) ในปฏิสันถาร

ธรรม ๖ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเจริญเป็นไฉน คือ ความเคารพ ๖ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีความเคารพเชื่อฟัง
๑) ในพระศาสดา
๒) ในพระธรรม
๓) ในพระสงฆ์
๔) ในความศึกษา
๕) ในความไม่ประมาท
๖) ในความปฏิสันถาร

ธรรม ๖ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือ ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความสลัดออก คือ

. ภิกษุฯ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็เมตตาเจโตวิมุตติ เราให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าว อย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าว อย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัส อย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะมิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทจักครอบงำจิต ของภิกษุนั้น ตั้งอยู่ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าเมตตา เจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท

๒. ภิกษุฯ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็กรุณาเจโตวิมุตติ อันเราให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้วและเมื่อเป็นเช่นนั้น วิหิงสายังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่าอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าว อย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค ไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสคำที่ว่า เมื่อกรุณา เจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น วิหิงสาจัก ครอบงำจิตของภิกษุนั้น ตั้งอยู่ ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่า กรุณาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากวิหิงสา

๓. ภิกษุฯ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็มุทิตา เจโตวิมุตติ เราให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น อรติ(ความไม่ยินดี) ยังครอบงำจิต ของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่า กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสคำที่ว่า เมื่อ มุทิา เจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นอรติย่อมครอบงำจิต ของภิกษุนั้นตั้งอยู่ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่า มุทิตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออก จากอรติ

๔. ภิกษุฯ พึงกล่าว กล่าวอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขา เจโตวิมุตติเราให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นราคะย่อมครอบงำจิต ของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้ กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค ไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่ออุเบกขา เจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิต ของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าอุเบกขา เจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากราคะ

๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติ อันหา นิมิต มิได้เราให้เจริญแล้ว ..ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณของเรา ย่อมไป ตามนิมิต ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าว อย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค ไม่พึงตรัส อย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเจโตวิมุตติ อันหานิมิตมิได้ ภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญาณของ ภิกษุนั้น จักไปตาม นิมิต ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่า เจโตวิมุตติอันหานิมิต มิได้นี้ เป็นที่สลัดออก จากนิมิตทั้งปวง

๖. ภิกษุฯ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่า เรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่ และเมื่อ เป็นเช่นนั้น ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัยยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้น พึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค ไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อการยึดถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้ พิจารณา เห็นว่าเรานี้มีอยู่ และเมื่อเป็น เช่นนั้น ลูกศร คือความเคลือบแคลงสงสัย จักครอบงำจิต ของภิกษุนั้นตั้งอยู่ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าความถอนขึ้นซึ่ง อัสมิมานะนี้ เป็นที่สลัดออกจาก ลูกศรคือความเคลือบแคลง สงสัย ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก

ธรรม ๖ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ ๖ อย่าง
๑) เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
๒) ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
๓) สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้วไม่ดีใจไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
๔) ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
๕) รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คืออนุตตริยะ ๖
๑) ทัสสนานุตตริยะ
๒) สวนานุตตริยะ
๓) ลาภานุตตริยะ
๔) สิกขานุตตริยะ
๕) ปริจริยานุตตริยะ
๖) อนุสสตานุตตริยะ

ธรรม ๖ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ อภิญญา ๖

(๑) ภิกษุฯ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลาย คน ก็ได้ หลายคน เป็นคนเดียว ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หาย ก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำ ก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก เหมือนเดิน บนแผ่นดิน ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนก ก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์-มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ ทางกาย ไปตลอด พรหมโลก ก็ได้

(๒) เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วย ทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์

(๓) เธอย่อมรู้กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ
คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือ
จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือ
จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือ
จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต  ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือ
จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือ
จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิต ไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือ
จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

(๔) เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้างห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัป เป็นอันมาก บ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่อ อย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่าง นั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้นแม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก ถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

(๕) เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ-ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตติเตียน พระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกาย สุจริต วจีสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฐิเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

(๖) เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ-ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้

เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เทียวเข้าถึงอยู่

ธรรมทั้ง ๖๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาดไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์