"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๕๑ - ๒๘๘
ทสุตตรสูตร
ธรรม ๙ อย่างมีอุปการะมาก
ข้อ [๔๕๔] - [๔๖๔]
[๔๕๔] ธรรม ๑๐ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๑๐ อย่างควรกำหนด รู้ ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนข้าง เจริญ ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๑๐ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ธรรมอันมีมูลมา แต่ โยนิโส-มนสิการ ๙ คือ
(๑) เมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคายปราโมทย์ย่อมเกิด
(๒) ปีติย่อมเกิดแก่ ผู้ปราโมทย์
(๓) กายของผู้มีใจกอปรด้วย ปิติย่อมสงบ
(๔) ผู้มีกายสงบ
ย่อมเสวยสุข
(๕) จิตของผู้มีสุข
ย่อมตั้งมั่น
(๖) ผู้มีจิตตั้งมั่น
ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง
(๗) ผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย
(๘) เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
(๙) เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
ธรรม ๙ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ได้แก่องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ ๙ คือ
(๑) ความหมดจดแห่งศีล ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
(๒) ความหมดจดแห่งจิต ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
(๓) ความหมดจดแห่งทิฐิชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
(๔) ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์
(๕) ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์
(๖) ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์
(๗) ความหมดจดแห่งญาณทัสนะ ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
(๘) ความหมดจดแห่งปัญญา ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
(๙) ความหมดจดแห่งวิมุตติ ชื่อว่าเป็นองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่สัตตาวาส ๙ คือ
(๑) สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกเปรตบางหมู่ นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๑
(๒) สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เช่นพวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๒
(๓) สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกเทพ เหล่าอาภัสสระ นี้เป็น สัตตาวาส ข้อที่ ๓
(๔) สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๔
(๕) สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา
เช่นพวกเทพเหล่าอสัญญีสัตว์(พรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา) นี้เป็น สัตตาวาส ข้อที่ ๕
(๖) สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึง ชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง รูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๖
(๗) สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึง ชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะ ล่วงชั้น อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๗
(๘) สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึง ชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๘
(๙) สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึง ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า นี้สงบนี้ ประณีต เพราะล่วงชั้น อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๙
ธรรม ๙ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ได้แก่ธรรมอันมีมูลมาแต่ตัณหา ๙ คือ
(๑) ความแสวงหา ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยตัณหา
(๒)
ความได้ ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยความแสวงหา
(๓) ความตกลงใจ ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยความได้ความกำหนัด
(๔)
ด้วยสามารถ แห่งความพอใจ ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยความตกลงใจ
(๕) ความกล้ำกลืน ย่อมเป็นไป
เพราะอาศัยความกำหนัด
(๖) ด้วยสามารถแห่งความพอใจความหวงแหน ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความกล้ำกลืน
(๗) ความตระหนี่ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยความหวงแหน
(๘)
ความรักษาย่อมเป็นไป เพราะอาศัยความตระหนี่
(๙) อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือศัสตรา ความทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน กล่าวส่อเสียดว่า ท่านๆ และการพูดเท็จ ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยความรักษา เป็นเหตุ
ธรรม ๙ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่เหตุเป็นที่ตั้ง แห่ง ความอาฆาต ๙ คือ บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า
(๑)
ผู้นี้ได้ประพฤติแล้ว ซึ่งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา
(๒) ผู้นี้ประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา
(๓) ผู้นี้จักประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา
(๔) ผู้นี้ได้ประพฤติแล้ว ซึ่งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ แก่ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
(๕) ผู้นี้ประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ แก่ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
(๖) ว่าผู้นี้จักประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ แก่ผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบใจของเรา
(๗) ผู้นี้ได้ประพฤติแล้ว ซึ่งสิ่งที่ เป็นประโยชน์ แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
(๘) ผู้นี้ประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ เป็นประโยชน์ แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
(๙) ผู้นี้จักประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ เป็นประโยชน์ แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ
ของเรา
ธรรม ๙ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเจริญเป็นไฉน ได้แก่ความกำจัดความ อาฆาต ๙ คือ บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า
(๑)
ผู้นี้ได้ประพฤติแล้ว ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
(๒) ผู้นี้ประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
(๓) ผู้นี้จักประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๔)
ผู้นี้ได้ประพฤติแล้ว ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
(๕) ผู้นี้ประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
(๖) ผู้นี้จักประพฤติ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
---------------------------------------------------------------------------------------------------
(๗)
ผู้นี้ได้ประพฤติแล้ว ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
(๘)
ผู้นี้ประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้
ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
(๙)
ผู้นี้จักประพฤติ ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
ธรรม ๙ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่ความต่างกัน ๙ คือ
(๑) ความต่างแห่งผัสสะ ย่อมบังเกิด เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
(๒) ความต่างแห่งเวทนา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
(๓) ความต่างแห่ง สัญญา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
(๔) ความต่างแห่งความดำริ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
(๕) ความต่างแห่งความพอใจ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความดำริ
(๖) ความต่างแห่งความเร่าร้อน ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความพอใจ
(๗) ความต่างแห่งความแสวงหา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อน
(๘) ความต่างแห่งความได้ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งความแสวงหา
ธรรม ๙ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน ได้แก่สัญญา ๙ คือ
(๑) ความกำหนดหมายว่าไม่งาม
(๒)
ความกำหนดหมายในความตาย
(๓)
ความกำหนดหมาย ในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
(๔) ความกำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
(๕) ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง
(๖) ความกำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
(๗) ความกำหนดหมายในทุกข์ ว่าไม่ใช่ตัวตน
(๘) ความกำหนดหมายในการละ
(๙) ความกำหนดหมาย ในวิราคธรรม
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่อนุบุพพวิหาร ๙ คือ
(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
(๒) มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิด แต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
(๓) เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมป ชัญญะ และเสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะเจ้า ทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
(๔) เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง
(๕) เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญาอยู่ บรรลุวิญญา ณัญจายตนฌาน(ไม่มีฌานในระดับอรูป) ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
(๖)
เพราะล่วง อากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุอากิญจัญญายตน ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
(๗) เพราะล่วงวิญญาณัญจายตน โดยประการทั้งปวงอยู่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน
(๘) เพราะล่วงอากิญจัญญายตน โดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
(๙) เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน โดยประการทั้งปวงอยู่
ธรรม ๙ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อนุบุพพนิโรธ ๙ คือ
(๑)
เมื่อเข้า ปฐมฌาน กามสัญญาดับ
(๒)
เมื่อเข้า ทุติยฌาน วิตกวิจารดับ
(๓)
เมื่อเข้า ตติยฌาน ปีติดับ
(๔)
เมื่อเข้า จตุตถฌาน ลมอัสสาส ปัสสาสะดับ
(๕)
เมื่อเข้า อากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาดับ
(๖)
เมื่อเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาดับ
(๗)
เมื่อเข้า อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาดับ
(๘)
เมื่อเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนะดับ
(๙)
เมื่อเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และ เวทนาดับ
ธรรม ๙๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่นอัน พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ |