"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๕๓ - ๒๕๖
ทสุตตรสูตร
ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมาก
ข้อ [๓๙๙] - [๔๐๙]
[๓๙๙] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๔ อย่างควรเจริญ ธรรม๔ อย่างควร
กำหนดรู้ ธรรม ๔ อย่างควรละ ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมธรรม ๔ อย่างเป็นไปใน ส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๔ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๔ อย่าง ควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๔ อย่าง ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๔ อย่างควรกระทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธรรม ๔ อย่างที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน คือ จักร ๔
ได้แก่
๑) การอยู่ในประเทศอันสมควร
๒) การคบสัตบุรุษ
๓) การตั้งตนไว้ชอบ
๔) ความเป็นผู้มีบุญกระทำไว้แล้วในปางก่อน
ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้เจริญ เป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔
๑) พิจารณาเห็นกายในกาย เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัด ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้
๒) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เนืองๆ อยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัด ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้
๓) พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัด ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้
๔) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัด ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้
ธรรม ๔ อย่างที่ ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน คืออาหาร ๔ ได้แก่
๑) กวฬิง การาหาร ที่หยาบ หรือละเอียด
๒) ผัสสาหาร
๓) มโนสัญเจตนาหาร
๔) วิญาณาหาร
ธรรม ๔ อย่างที่ควรละ เป็นไฉน คือโอฆะ ๔ ได้แก่
๑) โอฆะ คือ กาม
๒) โอฆะ คือ ภพ
๓) โอฆะ คือ ทิฐิ
๔) โอฆะ คือ อวิชชา
ธรรม ๔ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน คือ โยคะ ๔ ได้แก่
๑)
โยคะ คือ กาม
๒)
โยคะ คือ ภพ
๓)
โยคะ คือ ทิฐิ
๔)
โยคะ คือ อวิชชา
ธรรม ๔ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ เป็นไฉน คือความพราก ๔ ได้แก่
๑) ความพราก จากกาม
๒) ความพรากจากภพ
๓) ความพรากจากทิฐิ
๔) ความพรากจากอวิชชา
ธรรม ๔ อย่างที่แทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน คือสมาธิ ๔ ได้แก่
๑) สมาธิ เป็นไปในส่วน ข้างเสื่อม
๒) สมาธิ เป็นไปในส่วนข้าง ทรงอยู่
๓) สมาธิ เป็นไปในส่วนข้าง วิเศษ
๔) สมาธิ เป็นไปในส่วนข้าง แทงตลอด
ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้น เป็นไฉน คือญาณ ๔ ได้แก่
๑) ญาณ ในธรรม
๒) ญาณ ในความคล้อยตาม
๓) ญาณ ในความกำหนด
๔) ญาณ ในสมมติ
ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่
๑) ทุกขอริยสัจ
๒) ทุกขสมุทัย อริยสัจ
๓) ทุกขนิโรธอริยสัจ
๔) ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจ
ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน คือ
สามัญผล ๔ ได้แก่
๑) โสดาปัตติผล
๒) สกทาคามิผล
๓) อนาคามิผล
๔) อรหัตตผล
ธรรมทั้งสี่สิบ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ผิดพลาด อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ
|