เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก 1133
ธรรม ๑๐ อย่าง
มีอุปการะมาก
ธรรม
อย่างหนึ่ง

1131
ธรรม
๒ อย่าง

1132
ธรรม
๓ อย่าง

1133
ธรรม
๔ อย่าง

1134
ธรรม
๕ อย่าง

1135
ธรรม
๖ อย่าง

1136
ธรรม
๗ อย่าง

1137
ธรรม
๘ อย่าง

1138
ธรรม
๙ อย่าง

1139
ธรรม
๑๐ อย่าง

1140

"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๕๓ - ๒๕๔

ทสุตตรสูตร

ธรรม ๓ อย่างมีอุปการะมาก (ย่อ)
ข้อ [๓๘๘]-[๓๙๘]

        [๓๘๘] ธรรม ๓ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๓ อย่างควรให้เจริญ ธรรม๓ อย่างควร กำหนดรู้ ธรรม ๓ อย่างควรละ ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมธรรม ๓ อย่างเป็นไป ในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม๓ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๓ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๓ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรม ๓ อย่างที่ มีอุปการะมาก เป็นไฉน คือ
๑) การคบหาสัตบุรุษ
๒) การฟังธรรมของ สัตบุรุษ
๓) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ธรรม ๓ อย่างที่ ควรให้เจริญ เป็นไฉน คือ สมาธิ ๓ ได้แก่
๑) สมาธิมีวิตกมีวิจาร
๒) สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร
๓) สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร

ธรรม ๓ อย่างที่ ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน คือ เวทนา ๓ ได้แก่
๑) สุขเวทนา
๒) ทุกขเวทนา
๓) อทุกขมสุขเวทนา

ธรรม ๓ อย่างที่ ควรละ เป็นไฉน คือ ตัณหา ๓ ได้แก่
๑) กามตัณหา
๒) ภวตัณหา
๓) วิภวตัณหา

ธรรม ๓ อย่างที่ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน คือ อกุศลมูล ๓ ได้แก่
๑) อกุศลมูล คือ โลภะ
๒) อกุศลมูล คือ โทสะ
๓) อกุศลมูล คือ โมหะ

ธรรม ๓ ที่ เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ เป็นไฉน คือกุศลมูล ๓ อย่างได้แก่
๑) กุศลมูล คือ อโลภะ
๒) กุศลมูล คือ อโทสะ
๓) กุศลมูล คือ อโมหะ

ธรรม ๓ อย่างที่ แทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความสลัดออก ๓ คือ
๑) เนกขัมมะ เป็นที่ถ่ายถอนกาม
๒) อรูป เป็นที่ถ่ายถอนรูป
๓) นิโรธ เป็นที่ถ่ายถอน สิ่งที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง

ธรรม ๓ อย่างที่ ควรให้บังเกิดขึ้น เป็นไฉน คือญาณ ๓ ได้แก่
๑) อตีตังสญาณ
๒) อนาคตังสญาณ
๓) ปัจจุปันนังสญาณ

ธรรม ๓ อย่างที่ ควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน คือธาตุ ๓ ได้แก่
๑) กามธาตุ
๒) รูปธาตุ
๓) อรูปธาตุ

ธรรม ๓ อย่างที่ ควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน คือวิชชา ๓ ได้แก่
๑) วิชชาคือความรู้ระลึกถึง ชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
๒) วิชชาคือความรู้ในการจุติ และอุปบัติของ สัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ)
๓) วิชชาคือความรู้ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

ธรรมทั้ง ๓๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาดไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์