เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สังโยชน์ในภายใน และ สังโยชน์ในภายนอก เทวดาเป็นจำนวนมากฟังธรรมจาก พระสารีบุตร 1141

(สรุปย่อพอสังเขป)

พระสูตรนี้แบ่งบุคคลเป็น 3 จำพวก

จำพวก 1
(๑) เป็นผู้มีศีล (๒) สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร (๓) ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร (๔) มีปรกติ เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย (๕) สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย
เมื่อกายแตก> เข้าถึงหมู่เทพ>หลังกายเทพแตก จะมาสู่สังสารวัฏ เรียกว่า อาคามี (ผู้กลับมา) มีนรกเป็นที่สุด

จำพวก 2
เช่นเดียวกับพวกที่ 1 แต่มีความเพียรสูงขึ้นจนขั้นบรรลุ เจโตวิมุตติ
เมื่อกายแตก > เข้าถึงหมู่เทพ> หลังกายเทพแตก จะเป็น อนาคามี (ไม่มาสู่สังสารวัฏ) มีนิพพานเป็นที่สุด

จำพวก 3

มีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับพวกที่ 1 แต่มีความเพียรสูงขึ้นจนละกาม ดับภพ สิ้นตัณหา สิ้นความโลภ
เมื่อกายแตก > เข้าถึงหมู่เทพ> หลังกายเทพแตก จะเป็น อนาคามี (ไม่มาสู่สังสารวัฏ) มีนิพพานเป็นที่สุด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เรื่องเทวดา
1. เทวดาที่มีจิตเสมอกัน สามารถทำตัวให้เล็กได้ แม้ปลายเหล็กแหลมที่จรดลงไปอาจมีเทวดา ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
2. พระสารีบุตรไม่ได้ ทิพย์จักษุ จึงไม่รู้ว่ามีเทวดาชั้นพรหมจำนวนมาก ฟังธรรมร่วมกับภิกษุ
3. เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง (มีสุตตะของพระพุทธเจ้า)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๐

สังโยชน์ในภายใน และ สังโยชน์ในภายนอก


   [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน  อารามของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่ปราสาท ของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร ได้เรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มี สังโยชน์ในภายใน และ บุคคลที่มี สังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

(1)
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
(๑) เป็นผู้มีศีล
(๒) สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
(๓) ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร
(๔) มีปรกติ เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
(๕) สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย
เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้น ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว เป็นอาคามี* กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ ในภายใน เป็นอาคามี* กลับมา สู่ความเป็นผู้เช่นนี้
*(ฉบับหลวงพิมพ์ผิด ใช้คำว่า อนาคามี)

  ข้อ1 นี้หมายถึง เป็นบุคคลผู้รักษาศีล
  เมื่อกายแตก> เข้าถึงหมู่เทพ> หลังกายเทพแตก จะกลับมาสู่สังสารวัฏเรียกว่า
อาคามี(ผู้กลับมา)
  มีนรกเป็นที่สุด

(2) ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
(๑) เป็นผู้มีศีล
(๒) สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร
(๓) ถึงพร้อมด้วย อาจาระ และโคจร
(๔) มีปรกติ เห็นภัยในโทษ เพียงเล็กน้อย
(๕) สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย
ภิกษุนั้น ย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพ นั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับ มาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมา สู่ความเป็นผู้เช่นนี้
(เมื่อกายแตก>เข้าถึงหมู่เทพ>หลังกายเทพแตก จะเป็น อนาคามี (ชั้นสุทธาวาส)

  ข้อ2 นี้หมายถึง เป็นบุคคลผู้รักษาศีล + เข้าถึงเจโตวิมุติ
  เมื่อกายแตก > เข้าถึงหมู่เทพ> หลังกายเทพแตก จะเป็น
อนาคามี (ผู้ไม่กลับมาสู่สังสารวัฏ)
  มีนิพพานเป็นที่สุด

(3) ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
(๑) ภิกษุเป็นผู้มีศีล
(๒) สำรวมแล้วใน ปาติโมกขสังวร
(๓) ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร
(๔) มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
(๕) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้น
ย่อมปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกาม ทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพ ทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติ เพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ
ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพ นั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลายนี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น ผู้เช่นนี้

  ข้อ3 นี้หมายถึง เป็นบุคคลผู้รักษาศีล +ปฏิบัติเพื่อการละกาม ดับภพ สิ้นตัณหา สิ้นความโลภ
  เมื่อกายแตก > เข้าถึงหมู่เทพ> หลังกายเทพแตก จะเป็น
อนาคามี (ผู้ไม่กลับมาสู่สังสารวัฏ)
  มีนิพพานเป็นที่สุด

     ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่นกำลัง เทศนา ถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และ บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุ ทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคาร มารดาในบุพพาราม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับ คำอาราธนาด้วยดุษณีภาพ

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงหายจากพระเชตวันวิหาร ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่าน พระสารีบุตร ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือ คู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง บนอาสนะ ที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตร ก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เทวดา ที่มีจิต เสมอกัน มากองค์ เข้าไปหาเรา จนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
(พระสารีบุตรไม่ได้ เจโตปริญญาณ จึงไม่อาจรู้จิตของเทวดาได้ว่า เทวดาเหล่านั้น มีจิตเสมอกัน หรือ มีอินทรีย์เสมอกัน)

ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึง บุคคล ที่มีสังโยชน์ ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่าน พระสารีบุตร จนถึงที่อยู่เถิด

ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน

ดูกรสารีบุตร
ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าจิตอย่างนั้น(จิตที่เสมอกัน) ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดา เหล่านั้น ยืนอยู่ได้ ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้น อบรมแล้ว(อบรมธรรมของตถาคต)ในภพนั้น แน่นอน

ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้

ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น(จิตที่เสมอกัน) ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็ก แหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้น ได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ

สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ เพราะฉะนั้น แหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิต ที่สงบระงับแล้วเท่านั้น เข้าไปใน พรหมจารีทั้งหลาย

ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ

ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหาย เสียแล้ว (ฉิบหาย นัยยะนี้ คือไม่อาจพ้นไปได้จาก อบาย ทุคติ วินิบาต และนรก)






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์