เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎของสงฆ์ไทย ทำขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ N132
 

กฎพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย สมัยร.๑
ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่๑ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ รวม ๑๐ ฉบับ

(N124) บทนำ
(N125) ฉบับที่ ๑. กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายหน้าฝ่ายใน
(N126) ฉบับที่ ๒. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N127) ฉบับที่ ๓. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....
(N128) ฉบับที่ ๔. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ อธิการ
(N129) ฉบับที่ ๕. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N130) ฉบับที่ ๖. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N131) ฉบับที่ ๗. กฎให้ไว้แก่สังฆการี.....
(N132) ฉบับที่ ๘. กฎให้แก่พระสุรัสวดีซ้ายขวาในนอก
(N133) ฉบับที่ ๙. กฏให้ไว้แก่พระราชาคณะ เจ้าอธิการฐานานุกรมในนอกกรุง แลแขวงจังหวัดหัวเมือง
(N134) ฉบับที่ ๑๐. กฎให้ไว้แก่ เจ้าพญา และพญา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย

 

กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๘

            ๘.  กฎให้แก่พระสุรัสวดีซ้ายขวาในนอก 

           ให้กฎหมายบอก ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท  ฝ่ายทหารพลเรือน  แล ข้าหลวง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ขอเฝ้าข้าเจ้าต่างกรม ฝ่ายหน้าฝ่ายใน  แลสังฆการี ธรรมการ  แลเมือง ๑ ๒ ๓ ๔  ปากใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงจงทั่ว

            ด้วยสมเด็จพระบรมนารถบพิตร ฯ.....

            ได้ทรงฟังพระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพรว่าพระพุทธจักร แล พระราช อาณาจักร ทั้งสองนี้อาศัยกับ  ฝ่ายพระสังฆเถรานุเถรอันรักษา พระพุทธจักร นั้น  ระวังกันตรวจตรารักษาพระศาสนา  มิให้เป็นอันตรายเศร้าหมอง 

            ครั้นเห็นว่ามีบาปภิกษุอันตราย แล้วว่ากล่าว  ยังกันให้ปรึกษาโทษผิด แห่งกัน  แล้วตัดสินว่ากล่าวตามพระวินัย  บำบัดรำงับโทษให้สงบมิได้มีลามกใน พระศาสนา  ถ้าเกิดพวกภิกษุโจรมากหนัก  เหลือกำลังจะว่ากล่าว  รนร้อนชวนกัน เข้ามาถวายพระพร พึ่งพระราชอาณาจักร  ฝ่ายพระมหากษัตริย์  ผู้รักษาพระราช อาณาจักร ก็ช่วยอุปถัมภ์ ตามพระมหาเถรานุเถรผู้ร้อนรนรักษาพระพุทธศาสนา  เป็นประเพณีมา 

            จำเดิมแต่พระอรหันต์เจ้าห้าร้อย  มีพระมหากัสปเถรเจ้าเป็นประธาน  เป็นเหตุด้วย พระภิกษุแก่  อันกล่าวปรับวาทติเตียน เป็นเสี้ยนพระศาสนา  ก็ชวนมา ถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าอชาติศัตรูราช  พระเจ้าอชาติศัตรูก็เป็นศาสนูปถัมภก ขอปฐมสังคายนาระงับโทษดังนี้  จนถึงทุติยสังคายนา ตติยสังคายนา  จตุดตุสังคายนา ปัญจมสังคายนา ฉัตถสังคายนา 

            ฝ่ายพระพุทธจักร  พระราชอาณาจักร  ย่อมพร้อมกันทั้งสองฝ่าย  ชวนกัน ชำระพระศาสนา  (มิให้มีบาปภิกษุทำลายพระศาสนา) ได้เป็นประเพณีสืบมาทั้งนี้  จนถึงเมื่อสมเด็จพระมหากรุณาเจ้า เสด็จนิพพานแล้ว  พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ พันห้าร้อยแปดสิบเจ็ดพรรษา 

            ครั้นสมเด็จพระเจ้าประกรมภาหุราชบพิตร....เป็นใหญ่ในลังกาทวีปทั้งปวง  พิจารณาเห็นหมู่ภิกษุกุลบุตร ปฏิบัติต่าง ๆ มิได้ต้องแตกจากกันประพฤติผิด ให้ พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไป..... จึงไว้ธุรกิจด้วยพระมหากัสปเถรเจ้า  อันอยู่ใน อุทุมพร ปัพพาราม มหาวิหาร 

            ทั้งพระพุทธเจ้า พระราชอาณาจักรสองฝ่าย กระทำย่ำยีปาปภิกษุ ทั้งสอง เหล่า คือภิกษุต้องปาราชิกเหล่าหนึ่ง แลภิกษุมากด้วยอาบัติเหล่าหนึ่ง  พระราชทาน ผ้าขาว แล้วให้สึกออกจากเพศบรรพชิต  ทรงชำระพระพุทธศาสนา ให้ปราศจาก มณฑิล 

            ด้วยพระทัยอันบริสุทธิ์ประกอบด้วยกรุณา  แต่จะให้เทวดามนุษย์ทั้งปวง  กระทำสักการบูชา ซึ่งพระศาสนาอันบริสุทธิ์  ให้ได้พ้นจากสงสารทุกข์  แลทรง พระมหากรุณาแก่กุลบุตรอันหาปัญญามิได้  ปฏิบัติผิดแล้วจะไปเสวยทุกขเวทนา อยู่ในจตุราบาย อันช้านานหนักหนา..... แลเป็นประเพณีพุทธจักรพระราชอาณาจักร ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาจึงค่อยยืดยาวมาตราบเท่าบัดนี้.....

            แลทุกวันนี้ เห็นฝ่ายพุทธจักรวางมือเสีย  ประการหนึ่งเข้าใจว่าศาสนา ถึงเพียงนี้แล้ว  เห็นจะบำรุงให้วัฒนาขึ้นได้  จึงมิได้ระวังระไวว่ากล่าวกัน ให้เกิด มหาโจรปล้นทำลายพระศาสนา 

            ทั้งสมณะแลสามเณรมิได้รักษาพระจตุปาริสุทธิศีล  ร่ำเรียนธุระทั้งสอง ประการ  แลชวนกันเที่ยวเข้าร้านตลาดดูสีกา  มีอาการกิริยานุ่งห่ม เดินเหินกระด้าง อย่างฆราวาส  มิได้สำรวมรักษาอินทรีย์  มิเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา แก่ทายก แล เที่ยวดู โขน หนัง ลคร ฟ้อนขับ

            แลเล่น หมากรุก สกาพนัน ทั้งปวง  แลคบคิดกันกับคฤหัถชายหญิง เล่นเบี้ย..... และผูกพันเรียกฆราวาสหญิงชาย เป็นพ่อแม่เลี้ยง พี่เลี้ยง น้องเลี้ยง  แลเคารพนบนอบยอบกายวาจา แก่ฆราวาสอย่างว่าทาษทาสา  แลขอให้น้ำมนต์  ด้ายมงคลสูตรเป็นต้น แก่ฆราวาสปรารถนาลาภ  แลฆราวาสหญิงชาย ที่หาปัญญา มิได้ ให้บำเรอแก่หมู่ภิกษุปาปอลัชชี  ได้ชื่อว่าให้กำลังแก่ภิกษุลามก.....

            แลผู้มีชื่อทั้งนี้ กระทำทุจริตผิดหนักหนา เป็นมหาโจรปล้นพระศาสนา ชุกชุม ขึ้นทั้งนี้  เพราะพระราชาคณะธิบดี  พระเถรานุเถรผู้เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ หาความกตัญญูกตเวทีต่อพระศาสนาไม่  มิได้ประพฤติตามพระพุทธฎีกา สัตตปริหายหานิยธรรม เจ็ดประการ  มีประชุมนุมพร้อมกันตรวจตราว่ากล่าว  ให้เห็นดีแลร้ายไม่มี 

            หากว่าผู้มีชื่อฆราวาสเอาเนื้อความมาว่ากล่าวขับเฆี่ยน  พันธนาการประจาน โทษตระเวนบกสามวันเรือสามวัน  เพื่อมิให้ดูเยี่ยงกับทำลายพระศาสนา..... แต่ฝ่าย ข้างพระราชอาณาจักรนี้ เร่งร้อนรนนัก  ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต  สังฆการีธรรมการ ออกมา เผดียงแจกกฎหมาย  ให้พระราชาคณะทั้งปวง เร่งกำชับตรวจตรากัน  รักษา พระจตุรปาริสุทธิศีล  กฏิบัติตามคันถธุระ วิปัสนาธุระและพระราชกำหนด เก่าใหม่ อยู่เนือง ๆ ฉะนี้ ก็ยิ่งมีสมณะสามเณรเป็นมหาโจรปล้นพระศาสนาขึ้นมากมาย  ดั่งนี้ มิควรหนักหนา

            แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามมิให้สมณะสามเณรเถระรูปชี  กระทำความชั่วทุจริต ผิดด้วยพระวินัยบัญญัติ บรรดาพรรณาโทษมานั้น.....

            อนึ่งพระราชาคณะทั้งปวง ก็ได้ถวายปฎิญาณว่า จะกำชับว่ากล่าวให้ พระสงฆ์ สามเณร รักษาชาตะรูปะชะตะ สิกขาบทอันนี้ ให้บริบูรณ์ ฟังดูก็หาเห็น หยุดไม่ กฎแต่ก่อนก็ให้ประกาศไปว่า จะเอาโทษทั้งสมณะแลฆราวาส แลให้ สังฆการี ธรรมการ สอดแนม จับเอาตัวผู้ถวายเงินทอง แลภิกษุเณรเถรรูปชี ผู้รับ เงินทองให้ได้เอามาว่ากล่าว.....

            อนึ่งเถรเณรจะออกจากอาราม มีกิจไปใกล้ไกลแห่งใดก็ดี  ให้ห่มดอง ครองผ้าเหมือนกิริยาบิณฑบาต  บิณฑบาทโดยลำดับ อย่าให้ชิงรับจังหัน วิวาท ชกตีกันเป็นอันขาดทีเดียว  แลหากิจนิมนต์ไม่ได้ อย่าให้เที่ยวเข้าบ้าน ถ้าและมี กิจธุระ ด้วยญาติ แลบิดามารดารจะมาบ้านนั้น แลจะมีที่มาใกล้ไกลแห่งใดก็ดี ให้อำลาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้รู้กิจธุระก่อน จึงไปด้วยพรหมจาริยเป็นเพื่อน พยานกัน สองรูปสามรูปด้วยกัน

            แลห้ามอย่าให้สมณะสามเณร คบหาสีกาอันใช่ญาติ  เข้าไปบ้านนอนบ้าน  ผสมผสาน ด้วยลาภ รากเสน่หา  ห้ามฝ่ายอุบาสิกา อย่าทำสนิทติดพันเป็นโยม..... ให้ตั้งใจศรัทธาถวานทานเป็นสงฆ์อย่าจำเพาะ..... แลจะไปถวาย ถึงอารามนั้น ให้ไปในเวลาเช้าถึงเที่ยง 

            ห้ามอย่าให้เข้าไปถวายในกุฎี แลนั่งในที่ลับที่กำบัง ให้นั่งนอกกุฎี ในที่ แจ้ง  มีเพื่อนสีกากันรู้เห็นเป็นหลายคน.....

            แลให้พระราชาคณะเจ้าอธิการ อันดับผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง  ประพฤติตาม สัตตปริยหานิยธรรม แลลงพระอุโบสถจงพร้อมกัน ทุกวันอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ ..... จะให้สังฆการีธรรมการตรวจ ทุกวันอุโบสถ  จัดสรรชำระมลทิน โทษ ออกเสียจากพระศาสนา

            ถ้าภิกษุสามเณรรูปใด อารามใด ต้องอธิกรณ์ ถึงอับติมวัตถุเป็น ปาราชิก แล้ว ให้พระราชาคณะสึกเสีย แล้วบอกแก่สังฆการีธรรมการให้แจ้งด้วย จะได้ สักหน้าหมายไว้  อย่าให้ปลอมอุปสมบทสืบไป...

            อนึ่งรูปชี อย่าให้อยู่ในอารามใกล้อาราม เป็นอันขาดทีเดียว  แลฝ่าย ฆราวาสนั้น ให้มูลนายบิดามารดา ตรวจตราว่ากล่าว  สตรีภาพอันเป็นบ่าวไพร่ บุตรธิดา ญาติ..... ทำลายศีลสมณสามเณร ให้เป็นปาราชิก  ทำลายพระศาสนา เป็นอันขาด.....

            ถ้าแลบิดามารดาคณาญาติภิกษุเถรเณร ที่ทำผิดนั้นรู้เห็น..... ชวนกันปิดบัง เสีย.....มีผู้อื่นรู้เอามาว่ากล่าว  พิจารณาสืบสวนได้เนื้อความเป็นสัจ  จะเอาบิดา มารดา ญาติพี่น้องภิกษุเถรเณรซึ่งเป็นโจรอยู่ในพระศาสนา เป็นโทษด้วย

            ถ้าแลฝ่ายพระสงฆ์สมณะทั้งปวง  มิได้กระทำตามพระราชกำหนดนี้.... จะเอาโทษแก่พระราชาคณะ ลงมาทั้งฐานานุกรม อธิการมหาเถรานุเถระ  อันดับ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย แลสามเณร อันมิได้ระวังระไวตรวจตราว่ากล่าว กันนั้น  เป็นโทษเสมอ ด้วยโทษ สมคบสมณะสามเณร อันเป็นบาปลามก นั้น 

            ฝ่ายฆราวาสทั้งปวง ก็แล ผู้อื่นมิได้ทำตาม พระราชกำหนดกฎหมายนี้..... จะเอาโทษแต่มูลนายลงมา จนบิดา มารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านใกล้กัน ที่พอ จะรู้เห็น  มิได้ห้ามปรามเอามาว่ากล่าวนั้น  เป็นโทษเสมอด้วยโทษ สมณสมคบ หญิงศิลบาท อันเป็นบาปหยาบช้านั้น  จะได้พร้อมกันช่วยกัน รักษาพระศาสนา ทั้งสองฝ่ายฉะนี้.....

            กฎให้ไว้ ณ วันพุธ เดือนสาม แรมสิบเอ็ดค่ำ จุลศักราชพันร้อยห้าสิบแปด (พ.ศ. ๒๓๓๙) ปีระกา เอกศก


ที่มา : เว็บไซต์ หอมรดกไทย http://thaiheritage.net/religion/misc/law.htm

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์