เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎของสงฆ์ไทย ทำขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ N130
 

กฎพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย สมัยร.๑
ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่๑ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ รวม ๑๐ ฉบับ

(N124) บทนำ
(N125) ฉบับที่ ๑. กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายหน้าฝ่ายใน
(N126) ฉบับที่ ๒. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N127) ฉบับที่ ๓. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....
(N128) ฉบับที่ ๔. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ อธิการ
(N129) ฉบับที่ ๕. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N130) ฉบับที่ ๖. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N131) ฉบับที่ ๗. กฎให้ไว้แก่สังฆการี.....
(N132) ฉบับที่ ๘. กฎให้แก่พระสุรัสวดีซ้ายขวาในนอก
(N133) ฉบับที่ ๙. กฏให้ไว้แก่พระราชาคณะ เจ้าอธิการฐานานุกรมในนอกกรุง แลแขวงจังหวัดหัวเมือง
(N134) ฉบับที่ ๑๐. กฎให้ไว้แก่ เจ้าพญา และพญา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย

 

กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๖

             ๖. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....

            สมเด็จพระบรมนารถบพิตร ฯ ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า

            แต่ก่อนฆราวาสผู้จะทำทานแก่ภิกษุสงฆ์ โดยต่ำแต่เข้าทับพีหนึ่ง ก็มีผล ปรากฎในชั่วนี้ชั่วหน้า เพราะพระภิกษุผู้รับทานนั้น ทรงศีลบริสุทธิ์ ฝ่ายฆราวาส ผู้จะให้ทานนั้นก็มีปัญญา..... แลผู้ให้ผู้รับทั้งสองฝ่ายสุจริตดีจริง จึ่งให้ผลมาก ประจักษ์ในชั่วนี้ชั่วหน้าสืบมา 

            ทุกวันนี้ภิกษุ สามเณร ผู้รับทานรักษาสิกขาบทนั้น ก็ฟั่นเฟือน มักมาก โลภ รับเงินทอง ของอันมิควรด้วยกิจพระวินัย สั่งสมทรัพย์สิ่งของ เที่ยวผสมผสาน ทำการของฆราวาส การศพ การเบญจา เป็นหมอนวด หมอยา หมอดู ใช้สอยอาสา การคฤหัสถ์ แลให้สิ่งของต่าง ๆ แก่คฤหัสถ์ เพื่อจะให้เป็นประโยชน์ จะให้เกิดลาภ เลี้ยงชีวิต ผิดธรรมมิควรนัก.....

            แลภิกษุทุกวันนี้บวชเข้า มิได้กระทำตามพระวินัย ปรนนิบัติ เห็นแต่จะเลี้ยง ชีวิต ผิดธรรม ให้มีเนื้อหนังบริบูรณ์ดุจโค กระบือ.....จะได้เจริญสติปัญญานั้นหามิได้  เป็นภิกษุสามเณรลามกในพระพุทธศาสนา ฝ่ายฆราวาสก็ปราศจากปัญญา มิได้รู้ว่า ทำทานฉะนี้จะเกิดผลน้อยมากแก่ตนหามิได้  มักพอใจทำทานแก่ภิกษุ สามเณร อันผสมผสานทำการของตนจึงทำทาน  บางคาบย่อมมักง่าย ถวายเงินทอง ของอัน เป็นอกัปปิยะ มิควรแก่สมณะ

            สมณะก็มีใจโลภ สั่งสมทรัพย์เลี้ยงชีวิต ผิดพุทธบัญญัติฉะนี้ ได้ชื่อว่า ฆราวาสหมู่นั้นให้กำลังแก่ภิกษุโจร อันปล้นพระพุทธศาสนา  ทานนั้นหาผลมิได้ ชื่อว่าทำลายพระศาสนา

            แต่นี้ไปเมื่อหน้า ห้ามมิให้ภิกษุสามเณร สงเคราะห์ฆราวาส ให้ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ เป็นต้น แล้วอย่าให้ผสมผสาน ขอกล่าวป่าวร้องเรื่ยไร สิ่งของ อันเป็นของแห่งฆราวาสอันใช่ญาติ แล้วอย่าให้ทำการศพ แลทำเบญจการ ฆราวาส ทั้งปวง แล้วอย่าให้เป็นหมอนวด หมอยา หมอดูต่าง ๆ  แลให้ยาแก่คฤหัสถ์ อันใช่ ญาติ  แลห้ามอย่าให้พูดใช้สอยนำข่าวสาร การฆราวาส แลห้ามบรรดาการทั้งปวง อันกระทำผิดจากพระปาติโมกข์ สังวรวินัย

            ภิกษุรูปใดมีอธิกรณ์ข้อใหญ่ สงฆ์พิพากษามิถ่องแท้ เป็นฉายาเงาปาราชิก ควรจะเสียอยู่ข้างการลามกในพระศาสนา เป็นที่สงสัยสงฆ์ทั้งปวงอยู่แล้ว  อย่าให้ เอาไว้ให้สึกเสีย.....

            หนึ่งห้ามฝ่ายฆราวาสทั้งปวง อย่าได้ถวายเงินถวายทองนากแก้วแหวน แลสิ่งขของอันไม่สมควรแก่สมณ เป็นต้น  แลทองเหลือง ทองขาว ทองสำฤทธิ์ แก่ภิกษุสามเณร แลห้ามอย่าให้ถวายบาตรนอก กว่าบาตรเหล็ก บาตรดิน  แลนิมนต์ ใช้สอยพระภิกษุสามเณร ให้ทำเบญจการศพ แลให้นวดแลทำยา ดูลักษณะ ดูเคราะห์ แลวาดเขียนแกะสลัก เป็นรูปสัตว์ แลใช้นำข่าวสารของฆราวาสต่าง ๆ  แลห้ามบรรดาการ ภิกษุสามเณร กระทำผิดพระปาติโมกข์สังวรวินัย.....

            แลถ้าพระราชาคณะ เจ้าอธิการ  ภิกษุ  สามเณร  ฆราวาส  สังฆการีธรรม  การผู้ใดมิได้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ แลละเมิดเสีย มิได้กำชับว่ากล่าวกัน กระทำให้พระศานา เศร้าหมองดุจหนึ่งแต่ก่อนนั้น  ฝ่ายพระราชาคณะ พระภิกษุ สามเณร จะเอาญาติโยมเป็นโทษ ฝ่ายฆราวาสทั้งปวง จะให้ลงพระราชอาญา เฆี่ยนตามโทษานุโทษ

            กฎให้ไว้ ณ วันอาทิตย์ เดือนแปด ขึ้นสิบห้าค่ำ จุลศักราชพันร้อยสี่สิบห้า (พ.ศ. ๒๓๒๖) ปีเถาะ เบญจศก

ที่มา : เว็บไซต์ หอมรดกไทย http://thaiheritage.net/religion/misc/law.htm

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์