เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎพระสงฆ์ของไทย ทำขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ N125
 

กฎพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย สมัยร.๑
ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่๑ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ รวม ๑๐ ฉบับ

(N124) บทนำ
(N125) ฉบับที่ ๑. กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายหน้าฝ่ายใน
(N126) ฉบับที่ ๒. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N127) ฉบับที่ ๓. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....
(N128) ฉบับที่ ๔. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ อธิการ
(N129) ฉบับที่ ๕. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N130) ฉบับที่ ๖. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N131) ฉบับที่ ๗. กฎให้ไว้แก่สังฆการี.....
(N132) ฉบับที่ ๘. กฎให้แก่พระสุรัสวดีซ้ายขวาในนอก
(N133) ฉบับที่ ๙. กฏให้ไว้แก่พระราชาคณะ เจ้าอธิการฐานานุกรมในนอกกรุง แลแขวงจังหวัดหัวเมือง
(N134) ฉบับที่ ๑๐. กฎให้ไว้แก่ เจ้าพญา และพญา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย

 

กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๑

            ๑.  กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย  ฝ่ายทหาร พลเรือน ฝ่ายหน้าฝ่ายใน  ขอเฝ้าจ้าวต่างกรมๆ พระราชวังบวรสถานมงคล ผู้รักษาเมือง ผู้รั้งกรมการ แลสังฆการีธรรมการ ราชาคณะ พระสงฆเจ้า อธิการ อนุจร ฝ่ายคันทธุระ วิปัสนาธุระ อรัญวาสี คามวาสี นอกกรุง ในกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา แลหัวเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี เมืองจัตวา ตะวันตก ตะวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ จงทั่ว

            จึงพระบาทสมเด็จพระบรมนารถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทุกวันนี้มีพระราช ปณิธาน ปรารถนาพระโพธิญาณ ... เป็นเอกอัครมหาสาสะนูปถัมภก พระพุทธศาสนา ..... เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข  พร้อมด้วย อัครมหา มนตรี กวีชาติ ราชปุโลหิต โหรา ราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ  ทรงพระราช วิจารนุญาณ รำพึงถึง พระปริยัติศาสนา พระไตรปิฎกนี้ เป็นต้น ปฏิบัติมรรคผล  ให้ได้โลกียสมบัติ โลกุตรสมบัติ เพราะพระไตรปิฎก จึงมีพระราชโองการ ฯ ดำรัสว่า

            โดยต่ำแต่ให้มีพระธรรมเทศนา แลสำแดงพระธรรมเทศนาให้ธรรม เป็นทาน นั้น มีผลประเสริฐกว่า สรรพทานทั้งปวง ชื่อว่าให้พระนิพพานเป็นทาน..... เหตุฉะนี้ จึงทรง พระกรุณา แสวงหาอุบายที่จะให้สมณพราหมณ์ เสนาบดี ประชาราษฎร ทั้งปวง  ให้ได้สมบัติทั้งสามประการ พ้นจากจตุราบายทุกข์ แลสงสารภัย จึงทรง พระอนุเคราะห์ ให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย  สมาทานพระไตรสรณาคมน์ ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ  ในสำนักพระสงฆ์ทุกวัน ทุกเพลาเป็นปฏิบัติบูชา กอง มหากุศล วิเศษ ประเสริฐกว่า อามิสบูชา จตุปัจจัยทาน... แลพระปริยัติ ไตรปิฎก ธรรมนี้  เมื่อบุคคลประพฤติเป็นสัมมาคารวะแล้ว ก็มีผลอันนับประมาณ มิได้.....

            แลทุกวันนี้อาณาประชาฎรทั้งปวงลางบาง  ให้มีพระมหาเวสสันดรชาดกนี้ มิได้มี ความสังเวชเลื่อมใส เป็นธรรมคารวะ  ฟังเอาแต่ถ้อยคำตลกคะนอง  อันหา ผลประโยชน์มิได้  พระสงฆ์ผู้แสดงนั้นบางจำพวกมิได้เล่าเรียนพระไตรปิฎก  ได้แต่ เนื้อความแปล ร้อยเป็นกาพย์กลอน  แล้วก็มาสำแดงเป็นถ้อยคำตลกคะนอง หยาบช้า เห็นแต่ลาภสัการเลี้ยงชีวิต  มิได้คิดที่จะร่ำเรียนสืบไป  ทำให้พระศาสนา ฟั่นเฟือนเสื่อมสูญ  ชวนกันประมาทในพระธรรมเทศนา.....

            ครั้งนี้ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า  ให้สมเด็จพระสังฆราช ราชา คณะ พระสงฆ์ฝ่ายปริยัติ  นักปราชญ์ราชบัณฑิตย  ให้พิจารณาค้นดูพระไตรปิฎกนั้น ก็พบเห็นบทว่า ผู้สำแดง แลผู้ฟังธรรมอันประมาท  กล่าวถ้อยคำตลกคะนอง  เอาธรรมนั้น มากล่าวเป็นอธรรม  โทษนั้นเป็นครุโทษอันใหญ่หลวง..... เหตุฉะนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า

            แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ให้พระสงฆ์ผู้สำแดงพระธรรมเทศนา และราษฎร ผู้จะฟัง พระมหาชาติชาดกนั้น สำแดง แลฟังแต่ตามวาระพระบาลี  แลอรรถกถา ฎีกา ให้บริบูรณ์ด้วยผลอานิสงค์นั้น  ก็จะได้พบสมเด็จพระศรีอารยิเมตไตร ในอนาคต.....

            และให้พระภิกษุสงฆ์ เถร เณรฝ่ายคันถธุระ วิปัสนาธุระ แลอาณา ประชา ราษฎร ทั้งปวง  ประพฤติตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้จงทุกประการ  ถ้า... ผู้ใด มิได้ ประพฤติตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้  จะเอาตัวผู้มิได้กระทำตามกฎ  แล ญาติโยม พระสงฆ์ เถร เณรรูปนั้นเป็นโทษตามโทษานุโทษ

            กฎให้ไว้ ณ วันเสาร์ เดือนสิบ ขึ้นสิบห้าค่ำ  จุลศักราชพันร้อยสี่สิบสี่ (พ.ศ. ๒๓๒๕ ) ปีขาล จัตวาศก

ที่มา : เว็บไซต์ หอมรดกไทย http://thaiheritage.net/religion/misc/law.htm



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์