เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎของสงฆ์ไทย ทำขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ N131
 

กฎพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย สมัยร.๑
ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่๑ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ รวม ๑๐ ฉบับ

(N124) บทนำ
(N125) ฉบับที่ ๑. กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายหน้าฝ่ายใน
(N126) ฉบับที่ ๒. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N127) ฉบับที่ ๓. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....
(N128) ฉบับที่ ๔. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ อธิการ
(N129) ฉบับที่ ๕. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N130) ฉบับที่ ๖. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N131) ฉบับที่ ๗. กฎให้ไว้แก่สังฆการี.....
(N132) ฉบับที่ ๘. กฎให้แก่พระสุรัสวดีซ้ายขวาในนอก
(N133) ฉบับที่ ๙. กฏให้ไว้แก่พระราชาคณะ เจ้าอธิการฐานานุกรมในนอกกรุง แลแขวงจังหวัดหัวเมือง
(N134) ฉบับที่ ๑๐. กฎให้ไว้แก่ เจ้าพญา และพญา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย

 

กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๗

            ๗.  กฎให้ไว้แก่สังฆการี.....

            ด้วยสมเด็จบรมนารถบพิตร ฯ.....

            มีพระราชโองการ ฯ สั่งว่า เป็นประเพณีเมืองไท  พม่า  เมืองรามัญ  ถวายกฐินทาน แก่ภิกษุจำพรรษาแล้ว และออกพรรษาในพระวิหารเสมาวงล้อมต่าง ๆ แลใกล้กัน นั้น..... แลท้าวพญาอันทรงพระปัญญาพินิจพิจารณาเห็นว่า พระสงฆ์ผู้ทรงพระวินัย ไตรปิฎกอันยิ่ง รักษาพระศาสนานั้น ก็มีเป็นอันมาก..... (ถ้าแลเห็นว่าพระบาลีว่า วัดมีเขตวงล้อมต่าง ๆ ใกล้กัน  ผู้จะทอดกฐินในวัดนั้น  กฐินนั้นมิเป็นกฐิน พระสงฆ์ ผู้รับกรานนั้นมิเป็นรับเป็นกราน).....

            ครั้งนี้เล่าประเพณีและบาลีในกฐินขันธ์  อันพระอรหันตขีณาสพ ผู้ทรงวินัย กระทำปฏิบัติสืบ ๆ กันมาเป็นช้านาน  หาผู้ใดจะทักท้วงไม่ ตราบเท่าทุกวันนี้..... ถ้าผู้ภายหลัง ทำหักรานให้กฐินทาน สาบสูญบัดนี้  ก็จะเป็นครุโทษสืบ ๆ ไปเป็น หนักหนา.....

            อนึ่งเห็นว่าพระธรรมราชมุนีพุทธาจารย์  หาเป็นสุภาพวินัยธรแท้ไม่  มิได้ อยู่ในบังคับบัญชาสมเด็จพระสังฆราชผู้เฒ่าอันเป็นครู  มีพระพรรษาทรง พระวินัย สันทัด ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งไว้เป็นพญาสงฆ์ สำหรับพิพากษาพระวินัย  แล หักรานผู้เฒ่าผู้แก่ ให้นัยแก่พระญาณวิริยผู้เป็นศิษย์ตน  นำเอาเนื้อความกิจสงฆ์ เข้ามาถวายพระพร  แลอุดหนุนถ้อยคำ อันเอาโทษอันเป็นคุรุธรรม  เข้ามาติดแปด ไว้ในพระราชฐาน 

            นี่หากว่าสมเด็จพระสังฆราช แลพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ยั่งยืนใน พระวินัย  ถวายพระพรขัดไว้จึงพ้นโทษ..... และเหตุเป็นคุรุกรรมใหญ่หลวงลามกมา ถึงพระราชฐาน ทั้งนี้เพราะพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจารย์ พระญาณวิริยะ  ไม่มี สัมมาคารวะ ต่อสมเด็จพระสังฆราชผู้เฒ่า อันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งขึ้นไว้  ให้เป็นที่ไหว้ที่บูชา ปรึกษาพระวินัยทั้งปวง..... จึงเกิดเนื้อความมากมายทั้งนี้ มิสมควร นักหนา

            แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า  ห้ามอย่าให้พระสงฆ์ ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้อธิการ รามัญ  อธิการลาว อันดับทั้งปวง แลสังฆการีธรรมการราชบัณฑิต  ข้าทูลละออง ธุลีพระบาททั้งปวง  เอาเนื้อความสงฆ์อันวิวาทกันด้วยกิจพระวินัย..... เอากราบทูล พระกรุณา ให้หม่นหมองพระทัยเป็นอันขาดทีเดียว 

            แลให้ทูลแก่สมเด็จพระสังฆราช ราชาคณะอธิการอันดับ ให้มอญ ลาว ทั้งปวง ฟังบังคับบัญชาสมเด็จพระสังฆราชผู้เดียว  ถ้าแลเป็นเนื้อความมหันตโทษ ข้องเข้ามาในราชอาณาจักร  จำเป็นจะทูล ก็ให้เอาปรึกษาด้วย ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท  ผู้ใหญ่ผู้น้อย นักปราชญ์ราชบัณฑิต ให้พร้อมกันควรทูล  แล้วจึงให้ กราบทูลพระกรุณา

            ถ้าแลพระราชาคณะ..... ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใด  มิได้กระทำตาม พระราชกำหนดกฎหมายนี้  จะเอาตัวผู้กระทำผิดพระราชกำหนดกฎนั้น  เป็นโทษ ตามโทษานุโทษ

            กฎให้ไว้ ณ วันจันทร์ เดือนสิบสอง ขึ้นสามค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ (พ.ศ. ๒๓๒๖) ปีเถาะ นักกษัตร เบญจศก

ที่มา : เว็บไซต์ หอมรดกไทย http://thaiheritage.net/religion/misc/law.htm



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์