เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎของสงฆ์ไทย ทำขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ N126
 

กฎพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย สมัยร.๑
ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่๑ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ รวม ๑๐ ฉบับ

(N124) บทนำ
(N125) ฉบับที่ ๑. กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายหน้าฝ่ายใน
(N126) ฉบับที่ ๒. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N127) ฉบับที่ ๓. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....
(N128) ฉบับที่ ๔. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ อธิการ
(N129) ฉบับที่ ๕. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N130) ฉบับที่ ๖. กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ
(N131) ฉบับที่ ๗. กฎให้ไว้แก่สังฆการี.....
(N132) ฉบับที่ ๘. กฎให้แก่พระสุรัสวดีซ้ายขวาในนอก
(N133) ฉบับที่ ๙. กฏให้ไว้แก่พระราชาคณะ เจ้าอธิการฐานานุกรมในนอกกรุง แลแขวงจังหวัดหัวเมือง
(N134) ฉบับที่ ๑๐. กฎให้ไว้แก่ เจ้าพญา และพญา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย

 

กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๒

            ๒.  กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....

            ด้วยสมเด็จพระบรมบพิตร ฯ..... มีพระราชโองการ ฯ สั่งว่า

            มีพระราชอุตสาหะ มิได้คิดแก่พระกายแลพระชนม์ชีพ จนได้สิริราชสมบัติ ทั้งนี้ด้วย ตั้งพระทัยจะบำรุง  พระบวรพุทธศาสนาตามพุทธฎีกาว่า  พระปาติโมกข์ สังวรวินัยนี้ ชื่อว่าพระศาสนา  ถ้าพระภิกษุยังทรงประปาติโมกข์บริบูรณ์อยู่ตราบใด  ชื่อว่า พระศาสนา ยังตั้งอยู่ ณ ตราบนั้น 

            เหตุฉะนี้จึงทรงพระราชศรัทธา บริจาคพระราชทรัพย์ เป็นอันมาก  เป็น จตุปัจจัยทาน ถวายพระสงฆ์  แลมีพระราช โอวาทานุศาสน ตักเตือน 

            เพื่อจะให้พระสงฆ์ทั้งปวง ในกรุงนอกกรุงเทพมหานคร  และนานาประเทศ  ให้ทรง พระปาติโมกข สังวรณ์ศีลบริสุทธิ์  ให้เป็นเนื้อนาบุญ แก่สัตว์โลก..... ฝ่ายฆราวาส แต่ก่อนก็มีศรัทธา มิได้กระทำให้เป็นเสน่หาอาลัย  ทำให้เจ้ากูเสียศีล สิกขาบท บริสุทธิ์ ด้วยกันทั้งสองฝ่าย  พระศาสนาก็รุ่งเรืองสืบมา

            แลภิกษุสงฆ์ทุกวันนี้ตั้งอยู่ในภูมิอันประเสริฐแล้ว  มิได้รักษาประปาติโมกข์ ตาม อริยวงศ์ประเพณี  ปฏิบัติเข้าระคนคบหาฆราวาส  ติดด้วยเบญจกามคุณ  มิได้ เห็นแก่ พระศาสนา  เห็นแก่หน้าบุคคล  รับฝากเงินทองของฆราวาส  ฆราวาส มิได้คิด แก่ พระศาสนา  เข้าเป็นญาติโยมปฏิบัติด้วยเสน่หาอาลัย  ให้กะปิ จังหัน แก่ภิกษุ

            โดย คุณปัติคุณแก่กัน ให้เสียศีลสิกขาบทไป  ดุจหนึ่งสมี รักวัดบางหว้า ใหญ่  รับ เข้าของ เงินทองของ อี่เพงไว้เป็นอันมาก  อี่เพง เป็นกบฎโทษ ถึงตาย
สิ่งของ อี่เพง เป็นของ หลวงตามบทพระไอยการ  ราชอาณาจักรสืบมา โดยโบราณ ราชประเพณี  เนื้อความ ทั้งนี้ ก็ปรากฏทั่วพระนครแขวงจังหวัด 

            ถ้าสมีรักรักสิกขาบทจริง  ก็จะขวนขวายเอาของฝากนั้น มาแจ้งแก่สมเด็จ พระสังฆราช และราชาคณะผู้ใหญ่ทั้งปวง  ให้ปรึกษาตามบทพระวินัยว่า ทรัพย์นี้ เป็นของ ของหลวง หรือยังเป็นของอี่เพงอยู่ จึงควรแก่สมณ  นี่สมีรักปิดบังไว้ มิได้ให้ราชาคณะทั้งปวงรู้ 

            อนึ่งก็ได้โปรดให้ป่าวร้อง เป็นหลายครั้ง  สมีรักก็มิได้บอกแก่ผู้ใด  ต่อไอ้ มีชื่อให้การ ออกว่าของ อี่เพง ฝากไว้แก่สมีรักเป็นอันมาก  จนตรัสใช้ให้ราชบุรุษมา  สมีรักจึง สำแดงแก่ราชบุรุษ... ฉะนี้ก็เห็นในสมีรัก ว่าสมีรักองอาจหยาบช้า หาอาลัย ต่อสิกขาบทไม่ หลายครั้งมาแล้ว เกลือก สมีรัก แกล้งบังเอาของ ของเขาไว้เจ้าของ
ขาดอาลัยก็จะขาดสิกขาบทอยู่ก่อนแล้ว 

            หากแต่สมีรัก กลัวภัยในปัจจุบันกว่ากลัวภัยในอนาคต  จึงสู้สบถสาบาน ให้การต่อ พระราชาคณะ  พระราชาคณะพิพากษาว่าต้องแต่อาบัติปาจิตตีย์  สมีรัก เป็นโลกีย์มี ภยาคติ  ยังกลัวความตายอยู่ จะเชื่อเอาสบถสาบานสมีรักนั้นไม่ได้  ก็เห็นว่าสมีรัก ยังหาปราศจากมลทินโทษไม่  โดยกระแสทางการพิจารณา เห็น เนื้อความใหญ่ ทั้งสองข้อ ฝ่ายพุทธจักราณาจักร เป็นปัจจัยถึงกันติดพัน สมีรักอยู่  แต่หากทรง พระกรุณาว่า ยังหามีพระราชกำหนดกฎหมายไม่ จึงงดโทษสมีรักไว้

            แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า อย่าให้ภิกษุสามเณรดูเยี่ยงอย่างสมีรัก ห้ามอย่าให้ ภิกษุ สามเณรดูเยี่ยงอย่างสมีรัก ห้ามอย่าให้ภิกษุสามเณรทั้งปวง รับของฝาก ฆราวาส  จะเสียพระวินัยพระศาสนาไป 

            ถ้าภิกษุไม่รับฝาก ห้ามปรามผู้ฝาก ผู้ฝากมิพัง  กลัวภัยขืนทิ้งไว้ที่กุฏิ..... เร่งเอา เพื่อน พรหมจรรย์ที่ใกล้กันให้หลายองค์รู้เห็นเป็นพยาน... พาสงฆ์ซึ่งรู้เห็น นั้น ไปแจ้งเนื้อความ และสิ่งของแก่พระราชาคณะเจ้าอธิการ 

            พระราชาคณะเจ้าอธิการจงประชุมนุมกันปรึกษาจงละเอียด  ให้ต้องตาม พระวินัย บัญญัติ.... ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยจะปรึกษาประการใด จง ประพฤติตาม  ให้สงฆ์เป็นอันมากรู้เห็นเป็นพยานไว้..... อย่าให้ผู้อื่นแคลง ใน พระพุทธศาสนา แลห้ามฝ่ายฆราวาส อย่าให้เอาของเงินของทอง ไปฝาก ภิกษุสามเณรไว้  ทำให้เจ้ากู เสียวินัยสิกขาบทเป็นอันขาดทีเดียว 

            ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระราชกำหนด กฎหมายนี้  ฝ่ายภิกษุสามเณรจะลง พระอาชญาโทษ ดุจโทษ อทินนาทานปาราชิก  จะสึกออกขับเฆี่ยนจงสาหัส  ฝ่ายฆราวาส จะให้ริบราชบาตร ขับเฆี่ยนจงหนัก โดย โทษานุโทษ

            อนึ่ง....ถ้าสามเณรรูปใด มีอายุสมควรจะอุปสมบทแล้ว  ก็ให้บวชเข้า ร่ำเรียน คันถธุระ วิปัสนาธุระ  อย่าให้เที่ยวไปมาเรียน ความรู้อิทธิฤทธิ์ ให้ผิดธุระ ทั้งสองไป...สามเณร รูปใด อายุถึงอุปสมบทแล้วมิได้บวช เที่ยวเล่นโว้เว้อยู่ จับได้จะเอาตัวสามเณร แล ชีต้น อาจารย์ ญาติโยมเป็นโทษจงหนัก

            กฎให้ไว้ ณ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นห้าค่ำ  จุลศักราชหนึ่งพันร้อยสี่สิบห้า (พ.ศ. ๒๓๒๖) ปีเถาะ เบญจศก

 

ที่มา : เว็บไซต์ หอมรดกไทย http://thaiheritage.net/religion/misc/law.htm

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์