กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๓
๓. กฏให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ.....
สมเด็จบรมนาถบพิตร..... รับพระราชโองการ ฯ สั่งว่า
พระศาสนาจะวัฒนาการตั้งไปได้ อาศัยพระราชอาณาจักร...สงเคราะห์ พระศาสนา ฝ่ายพระวินัยบัญญัติเล่า พระพุทธองค์ตรัสสอนอนุญาตไว้ว่า
ถ้ากุลบุตร บวชเป็นภิกษุสงฆ์ในพระศาสนาแล้ว ให้อยู่ในสำนักหมู่ คณะ สงฆ์ ในพระศาสนาแล้ว ให้อยู่ในสำนักหมู่คณะสงฆ์ แลอุปัชฌาย์อาจารย์ก่อน จะได้รู้กิจวัตรปฏิบัติ ถึงมาทว่าจะประพฤติผิดทำทุจริตอันมิควร ก็จะมีความละอาย กลัวเพื่อนพรหมจรรย์ แลครูอุปัชฌาย์ จะว่ากล่าวติเตียน ความชั่วทุจริตที่ทำนั้น จะสงบลง
ศีลนั้นจะบริสุทธิ์ เป็นที่ตั้งแก่ สมาธิ ปัญญา วิปัสสนา มรรค ญาณ สำเร็จ มรรคผล ในหมู่คณะสงฆ์...แม้นมาทจะมีปรารถนา จะหาที่อยู่อันสบาย สมควรแก่ พระกัมมัฏฐาน ก็ดี ก็ย่อมจักชวนเพื่อนพรหมจรรย์ ร่วมศรัทธาด้วยกัน... จะได้ทำ สังฆกรรม แลอุโบสถกรรมด้วยกัน เพื่อจะได้ศีลบริสุทธิ์เป็นที่ตั้งแก่ พระกัมมัฏฐาน.....
แลภิกษุสงฆ์ทุกวันนี้ ละพระวินัยบัญญัติเสีย มิได้ระวังตักเตือนสั่งสอน กำชับว่ากล่าวกัน ครั้นบวชเข้าแล้ว ก็มิได้ให้ศิษย์อยู่นิสัยในหมู่คณะสงฆ์ ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ก่อน ละให้เที่ยวไปโดยอำเภอใจ.... ทำมารยารักษา ศีล ภาวนา ทำกิริยา ให้คนเลื่อมใสนับถือ สำแดงความรู้วิชาอวดอิทธิฤทธิ์ เป็นอุตริมนุษธรรม เป็นกลโกหก ตั้งตัวว่าผู้มีบุญ ว่าพบคนวิเศษมีวิชามาแต่ถ้ำ แต่เขา... ทำให้แผ่นดิน และพระศาสนาจลาจล....
เพราะเหตุพระสังฆราชาคณะ อธิการผู้ใหญ่ผู้น้อย มิได้เอาใจใส่ตักเตือน ว่ากล่าวตามพระวินัยบัญญัติ.... ฝ่ายฆราวาสข้าทูลละอองธุลี ผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็ละ เมินเสีย มิได้เอาใจใส่ระวังรักษา ให้ไอ้อีมีชื่อผู้ศัตรู เข้ามาทำอันตราย ถึงใน พระราชฐาน... ถ้าจะว่าตามโบราณราชกำหนดกฎหมาย ฝ่ายสมณฆราวาส มิได้ พ้นจากมหันตโทษ..... แต่หากทรงพระกรุณายกโทษไว้ เพราะยังมิได้มี พระราชกำหนด กฎหมาย ก่อน.....
แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ให้พระราชาคณะจัดแจงตั้งแต่งภิกษุสามเณร..... ให้เป็นราชาคณะ แลอธิการ ให้มีตราตั้งแต่เป็นอักษร ชื่ออารามเป็นอักษรขอม สำหรับตัว ประจำที่ราชาคณะเจ้าอธิการ ทุกตำแหน่ง ทุกอาราม ถ้าแขวงใดเมืองใด พระสงฆ์มาก วัดหนึ่งให้มีอธิการหนึ่งอันดับ เก้ารูปสิบรูปขึ้นไป ถ้าพระสงฆ์น้อย อารามหนึ่งให้มีอธิการหนึ่งอันดับ สี่ห้ารูปขึ้นไป ให้ปรนนิบัติรักษาพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ อย่าให้เป็นอันตราย
ถ้าแลพระสงฆ์ แลสามเณรแขวงจังหวัด เมืองเอก โท ตรี จัตวา จะมีศรัทธา เที่ยวเข้ามาร่ำเรียน คันถธุระ วิปัสนาธุระ และสมณกิจประการใด ก็ให้เขียนฉายา แลชีต้น แลพระวสา แลชื่ออุปัชฌาย์อาจารย์ ศัตราราชาคณะ หัวเมืองนั้น ๆ มาเป็นสำคัญ จะอยู่อารามใด เมืองใดก็ดี ให้เอาหนังสือ แลศัตราสำคัญนั้น แจ้งแก่ราชาคณะเจ้าอธิการในกรุง
ถ้าราชาคณะอธิการในกรุงเห็นหนังสือ แลตราสำคัญแล้ว จึงให้รับไว้ ร่ำเรียน..... ถ้าแลฝ่ายพระสงฆ์สามเณร ณ กรุงเทพ ฯ..... อาการดั่งนี้แม้นจะชั่วแลดี จะได้สืบสาวรู้ง่าย อนึ่งก็เป็นที่คำนับ รู้จักเค้ามูล แห่งกัน จะได้กระทำสังฆกรรม อุโบสถกรรมด้วยกันเป็นอันดี หาความรังเกียจแก่กันมิได้
อนึ่งถ้ากุลบุตรจะบวชเรียน อำลาประจุสึกก็ดี ให้รู้ว่ากุลบุตรชื่อนั้น อยู่บ้าน นั้น เป็นลูกหลานผู้นั้นๆ
แลให้พระราชาคณะเจ้าหมู่เจ้าคณะอธิการ แลกรมการหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา นายอำเภอแขวงจังหวัดทั้งปวง กำชับว่ากล่าว สอดแนมระวังระไว ดูหมู่คณะ ในแว่นแคว้น แขวงจังหวัดวัดวาอารามบรรดาขึ้นแก่ตน อย่าให้มีคนโกหกมารยา คิดทำร้าย แผ่นดินแลพระศาสนา ให้จลาจลดุจครั้งนี้ได้เป็นอันขาดทีเดียว
ห้ามอย่าให้ อาณาประชาราษฎรทั้งปวง นับถือ คบค้า ปรนนิบัติไอ้โกหก..... แลผู้ได้รู้เห็นว่าเหล่าร้ายคิดกลโกหกมารยาแล้ว แลมิได้จับกุมว่ากล่าว บอกให้ กราบทูลพระกรุณา ละเมินเสีย..... จะเอาเจ้าคณะเจ้าอาราม เจ้าอธิการเจ้าเมือง เจ้าแขวง จังหวัดประเทศนั้น ๆ เป็นโทษกบฎ ดุจโทษไอ้คนโกหกคิดทำร้ายแผ่นดิน และพระศาสนาเป็นจลาจล
กฎให้ไว้ ณ วันพฤหัสบดี เดือนหก ขึ้นแปดค่ำ จุลศักราชพันร้อยสี่สิบห้า (พ.ศ. ๒๓๒๖) ปีเถาะ เบญจศก
ที่มา : เว็บไซต์ หอมรดกไทย http://thaiheritage.net/religion/misc/law.htm
|