เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับที่ ๘ (ภาษาดั่งเดิม) N121
Page ฉบับที่ ให้ไว้แก่
N114 ข้าทูลละอองธุลีฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร
N115 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N116 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุงเทพ
N117 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N118 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัดหัวเมือง
N119 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง
N120 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง หัวเมือง
N121 พระสุรัศวะดีซ้ายขวา ในนอก ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน ข้าหลวงกรม พระราชวังบวร
N122 พระราชาคณะ เจ้าอธิการ  านานุกรม ในกรุงนอกกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ
N123 ๑๐ เจ้าพระยาและพระยา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก
 

กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)

กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๘



        กฎให้ไว้แก่พระสุรัศวะดีซ้ายขวา  ในนอก  ให้บอกข้าทูลละอองธุลีพระบาท  ฝ่ายทหาร  พลเรือน  แลข้าหลวงกรม พระราชวังบวรสฐานมงคล  ขอเฝ้าข้าเจ้า ต่างกรมฝ่ายน่าฝ่ายใน แลสังฆการี ธรรมการ  แลหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ปากใต้  ฝ่ายเหนือ ทั้งปวง จงทั่ว

        ด้วยสมเด็จบรมนารถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว  ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตา สัมภารา ดิเรกเอก พิบูลยสุนธรราชศรัทธา  เปนอัคมหา สาศนุปถัมภก พระพุทธ สาศนา  จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติและปฏิปติสาศนา  ให้ถาวรารุ่งเรืองไป เปนที่เลื่อม ในนมัศการบูชาแก่เทพยาดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่ง ดุสิดา มหาปราสาทโดยบูรพาพิมุข  พร้อมด้วยอัคมหามนตรี กระวีชาติ ราชปะโรหิตา โหราราช บัณฑิตย เฝ้าพระบาทบงกชมาศ  ได้ทรงสดับ พระราชา คณะทั้งปวงถวาย พระพรว่า  พระพุทธจักรและพระราช อาณาจักร ทั้งสองนี้ อาไศรยกัน  ฝ่ายพระสงฆ์ เถรานุเถระ อันรักษาพระพุทธจักรนั้น ระวัง ตรวจตรา รักษาพระสาศนา มิให้เปน อันตราย เศร้าหมอง

        ครั้นเหนว่า จะมีปาปะภิกษุ เกรงจะมีอันตรายแล้วว่ากล่าวยังกัน ให้ปฤกษา โทษผิด แห่งกัน แล้ว ตัดสินว่ากล่าวตามพระวินัย  บำบัดรำงับโทษให้สงบ มิได้มี ลามก ใน พระสาศนา  ถ้าเกิดพวกภิกษุ โจรมากนักเหลือกำลังจะว่ากล่าว  รนร้อน ชวนกัน เข้ามา ถวายพระพรพึ่งพระราชอาณาจักร  ฝ่าย พระมหากระษัตริยผู้รักษา พระราช อาณาจักร ก็ช่วยอุปถัมภ์ตามพระมหาเถรานุเถระ ผู้ร้อนรนรักษา พระพุทธสาศนาเปน ประเพณีมา 

        จำเดิมแต่พระอรหรรตเจ้าห้าร้อยมีพระมหากัสปเถระเจ้าเปนประธาร  เปนเหตุ ด้วย พระภิกษุแก่กล่าว ประปวาท ติเตียน เปนเสี้ยนสาศนา ก็ชวนกันเข้ามาถวาย พระพร สมเด็จพระเจ้าอชาตศัตรูราช ๆ  ก็เปนสาศนุปถัมภกขอทำปถมสังคายะนา รงับโทษ ดังนี้ จนถึงทุติยะสังคายะนา  ตติยะสังคายะนา  จัตุถสังคายะนา  เบญจมะ สังคายะนา  ฉัตถมะสังคายะนา  ฝ่ายพระพุทธจักร พระราชอาณาจักร ย่อมพร้อมกัน ทั้งสองฝ่าย ชวนกันชำระพระสาศนา  มิให้มีปาปะภิกษุทำลาย พระสาศนา ให้ประเพณี สืบมา 

        ทั้งนี้  จนถึงเมื่อสมเด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จนฤพานแล้ว พระพุทธศักราช ล่วงไปได้ ๑๕๘๗  พระวะษา  ครั้งสมเด็จ พระเจ้า ประกมะพาหุราชบพิตร อันนับ เนื่อง สืบมา แต่บรมกระษัตริย ขัติยมหา สมมุติวงษ  ทรงพระบุญฤทธิ์อานุภาพปราบ กระษัตริย กรุงใหญ่ทั้งสาม  มีสงคราม อันชะนะแล้วได้เอกราชาภิเศก เปนใหญ่ ในลังกาทวีป ทั้งปวง  พิจารณาเหนหมู่ ภิกษุกุลบุตร ปรฏิบัติ ต่าง ๆ มิได้ถูกต้อง แตกจากกัน  ประพฤติ์ผิดให้พระพุทธสาศนาเสื่อมสูญ จะไปสู่อบายภูม เปนอันมาก 

        ทรงมีพระราชฤาไทย อันมีกำลังพระกรุณาตักเตือนเนือง ๆ จึงทรงพระราช ดำริห์ ว่า ไฉนอาตมา จะบำรุงบวรพุทธสาศนา ให้วุฒิวัฒนากรขึ้นได้  จึ่งไว้ธุระกิจ ด้วยพระมหา กัศปะเถระเจ้า อันอยู่ใน อุทุมภรปัพตารามมหาวิหาร ทั้งพระพุทธจักร แล พระราชอาณาจักร สองฝ่าย  กระทำย่ำยีปาปะ ภิกษุทั้งสองเหล่าคือ  ภิกษุต้อง ปาราชิก เหล่าหนึ่ง แลภิกษุมากไปด้วย อาบัติเหล่าหนึ่ง  ทรงพระราชทานผ้าขาว แล้ว ให้ศึกจากเพศบรรพชิต  ทรงชำระบวรพุทธสาศนา ให้ปราศจากมลทิน ด้วยพระไทยอันบริสุทธิ์กอบด้วยพระกรุณา

        แต่จะให้เทพาทั้งปวงกระทำสัการบูชาซึ่งพระสาศนา อันบริสุทธิ์ให้ได้ผล พ้นจากสงสารทุกข แลทรงพระมหากรุณา แต่กุลบุตร อันหาปัญญามิได้ปรฏิบัติ ผิดแล้ว  จะไปเสวยทุกขเวทนา อยู่ในจัตุราบายเปนช้านานหนักหนา  เพราะตัว ปกปิด โทษไว้ ด้วยกลัวต่อประจุบันไภยเหนแก่ลาภ สู้เอาบาปเปนอาจิณกรรม ไปอยู่ในเพศ บรรพชิต นั้น

        แลเปนประเพณีพุทธจักรพระราชอาณาจักร ช่วยกันรักษาพระพุทธสาศนา ๆ จึ่งค่อย ยืดยาวมา ตราบเท่าบัดนี้   แลเรื่องราว พระเจ้า ประกมะพาหุราช แลเรื่องราว พระบรม โพธิสัตวเจ้าเสวย พระชาติ เปนสมเด็จอัมรินทราเสด็จลงมา กับพระ มาตุลีนิมิตร เปนสุนักขแลพรานสุนักข  ลงมา ชำระ พระสาศนา 

        ครั้งสาศานาของพระพุทธกัศปะเจ้า แลร้องคุกคำรามว่า จะกัดกินซึ่งสามเณร อุบาศก อุบาศิกาคฤหัฐ อันเปนบาปลามกใน พระสาศนานั้น  ชอบพระไทยนักว่า มิเสียที ที่ผู้รักษา พระพุทธจักรแล ราชอาณาจักร เหนมีความกะตัญูกัตเวทีต่อ พระพุทธสาศนา มีกรุณาแก่สัตวจริงๆ แลทุกวันนี้เหน ฝ่ายพระพุทธจักรวางมือ เสียประการหนึ่ง เข้าใจว่า สาศนาถึงเพียงนี้ แล้ว เหนจะบำรุงให้วัฒนา ขึ้นมิได้  จึงมิได้รวังรไวว่า กล่าวกันให้เกิดมหาโจรปล้นทำลายพระสาศนา

        ทั้งสมณะ แลสามเณร มิได้รักษาพระจัตุปาริสุทธิศีลร่ำเรียนธุระ สองประการ แลชวนกันเที่ยว เข้าร้านตลาดดูสีกา มีอาการ กิริยานุ่งห่มเดิน เหินกระด้าง อย่าง ฆราวาศ มิได้สำรวมรักษาอินทรีย มิเปนที่เลื่อมใสย ศรัทธา แก่ทายก แลเที่ยวดูโขน หนัง แลคอนฟ้อนขับ แลเล่นหมากรุกสกา การพนันทั้งปวง แล คบคิดกันกับ คฤหัฐ ชายหญิง เล่นเบี้ย อย่างสมณะ สามเณร วัดบางว้า คบคฤหัฐ ชายหญิงสิบเอ็ดคน ๆ คบสมณะสามเณรเล่นเบี้ย ขอกล่าวป่าวร้องรับเงินทอง เข้าปลาอาหาร ทั้งปวงมา เลี้ยงชีวิตร แลผสม ประสานทำการฆราวาศ ให้ดอกไม้ ผลไม้ สิ่งของ หวังอามิศ แก่ฆราวาศ แลผูกพันธ์เรียก ฆราวาศ หญิงชาย เปนพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยงพี่เลี้ยงน้อง เลี้ยง  แลเคารพนบนอบอยาบคายวาจา แก่ฆราวาศ อย่างว่าทาษ ทาษา แลให้ น้ำมนต ได้มงคลเปนต้น แก่ฆราวาศ ปราถนาลาภ แลฆราวาศหญิงชาย ที่หาปัญญา มิได้

        ก็ผูกพันเสน่หาเหนแก่น่า อามิศ  ให้อาหารผลาผลเปนต้น บำเรอแก่หมู่ภิกษุ บาป อะลัชี ได้ชื่อว่าให้กำลัง แก่ภิกษุลามก อันกระทำอะเนสะนะ กุละโทศกะ ประทุฐร้ายตระกูลฆราวาศ  บันดาทานจะมีผลมาก ก็กระทำให้หาผล มิได้ 

        เพราะเหตุด้วยทำทานเปนทานเจตนาไม่แท้  ให้อย่างนี้ชื่อว่าให้หมู่อะลัชี  ว่าให้หมู่ อะลัชีภิกษุ มีน้ำใจทำลายพระสาศนา  แลฝ่ายฆราวาศ สีกาก็คุ้นเคยนำเอา อามิศ อาหารเปนต้น ออกมาบำเรอภิกษุสามเณรบาปอะลัชี  นั่งในกุฏีที่กำบัง อันควร จะ เกี้ยวพาลพูดจาอยิกอยอก  สำผัศกายกระทำ เมถุนธรรมได้นั้น  ฝ่ายภิกษุ สามเณร บาปลามก

        ครั้นคุ้นเคยเข้ากับสีกาแล้ว ก็เข้าบ้านออกบ้านผิดเวลาราตรีพูดจาสีการูปซี ก็มีความ เสน่หารักใคร่  ทั้งสองฝ่ายสำผัศกาย กระทำเมถุนธรรมปาราชิก แลลึงค์ เถรไถย สังวาศ เปนครุโทษห้ามบรรพชา อุปสมบท จะบวชมิเปนภิกษุสามเณรเลย อย่าง อ้าย ดีบวชอยู่วัดโพ เสพเมถุนธรรมกับอีทองมาก อีเพียน อีภิม อีบุนรอด อีหนู อีเขียว แลอ้ายทองอยู่เสพเมถุนธรรม กับอีทองอิน แลเณรปิ่นอยู่ วัดโพ เสพ เมถุนธรรม กับอีคุ้มเมียพระแพทย  แลเณรทองเสพเมถุนธรรมกับอีชีนวน อยู่หลังวัด บางว้าใหญ่ เปนปาราชิก 

        อ้ายเป้าบวชอยู่วัดพวาเสพเมถุนธรรมกับอีจันลาวจนมีบุตร อ้ายลุนบวช อยู่วัด บางขุนพรหม จ้างเขียนหนังสือเอาให้อีปิ่นโขลนกู้สิบบาทแล้ว ๆ  เสพเมถุนธรรม กับอีปิ่น โขลน เปนปาราชิก  แลมหาลังกับชีแก้ว อยู่วัดคงคาพิหารแต่สองต่อสอง เป็นที่สงไสยใกล้ ปาราชิก 

        เณรนุ่มอยู่วัดเสาธง  เข้าไปบ้านเปนนิจกับประศกสีกา  แลทิศอยู่วัดหงษนอน กับอีเป้า ภรรยา นายฤทธิบนเตียงในมุ้ง เปนศีลวิบัติใกล้ฉายาปาราชิก  เถรษาสัปดน เปนคนชั่วตัวเปนเถรห่ม คลุมใส่ผ้าพาดบ้าง  ทำอย่างภิกษุเปนไถยสังวาศ แล ปลอมบวชเปนภิกษุอยู่สาศนา แลเณรอยู่ ศิษยพระนิกรม  นอนในมุ้งกับอีทองคำ ภรรยา นายกรมช้าง แลคบเถาเล่นเบี้ย  แลมหาอิน  มหาจัน วัดนาค  พูดกับอีมุ้ย ในที่ลับ เปนที่สงไสยใกล้ฉายาปาราชิก 

        จงถึงพระนิกรมเปนราชาคณะ ไม่มี หิริโอตับปะ เกรงสิกขา อยาบช้าพูดจา เกี้ยวพา กับสีกา เปน บ้ากาม  อวดรูปจับข้อมืออีฉิม ๆ อบผ้าห่ม ส่งให้เอาผ้าไว้ จูบกอดนอน  แลนอนเอกเขนกให้สีกา พัดลอยน่าหาความอายไม่  มหาขุนศิษยพระ นิกรม ก็จับแก้ม อีขาวแล้วพูดเกี้ยวพาอีลี ๆ รักยอมถอดแหวนให้  แลผู้มีชื่อ ทั้งนี้ กระทำ ทุจริต ผิดหนักหนา  เปน มหาโจรปล้นพระสาศนา ชุกชุมขึ้น 

        ทั้งนี้เพราะราชา คณะอธิบดีเถรานุเถระผู้เปนอุปฌาอาจาริย หาความกะตัญูกัต เวที ต่อพระสาศนา ไม่  มิได้ประพฤติ์ ตามพระพุทธฏีกา สัตตาปริหานิยธรรมเจ็ด ประการ  มิได้ประชุมพร้อมกัน ตรวจตราว่า กล่าวให้ เหนดี แลร้ายไม่มี  หากว่าผู้มีชื่อ ฆราวาศ เอาเนื้อความมาว่าจึ่งปรากฏขึ้น  ได้เอามาชำระว่า กล่าวขับเฆี่ยน พันทนาการ ประจานโทษตะเวนบกสามวันเรือสามวัน  เพื่อจะมิให้ดูเยี่ยงกันทำลาย พระสาศนา ทรงพระกรุณาจะใคร่ยกโทษพระราชาคณะทั้งปวงอีก  แต่ให้งดโทษไว้ ครั้งหนึ่งก่อน 

        แลพระราชาคณะเปนอธิบดีสงฆ์ รู้พระไตรยปิฎก  ควรจะรู้คุณพระศรีรัตนไตรย ว่า  อาตมานี้ เทพา มนุษยทั้งปวง กระทำ นมัศการเคารพเปนที่บูชาทั้งนี้  เพราะ อำนาท อาตมาเองหามิได้  เพราะคุณ พระรัตนไตรยสถิตอยู่เหนือเศียรเกล้าอาตมา ควรจะ กะตัญูกัตเวทีสนอง พระคุณรักษาพระพุทธ สาศนา อย่าให้เศร้าหมองจงได้  มาทว่าจะขัดสนประการใด 

        ฝ่ายข้างพระราชอาณาจักร ก็ได้ถวาย ปติญาณเปนโยมขาดใน พระพุทธ สาศนา แล้ว ควรจะเอาเนื้อความข้อขัดในพระสาศนา นั้น มาแจ้ง ถวายพระพร  อันนี้ก็มิได้กระทำ  แต่ฝ่ายข้างพระราชอาณาจักรนี้เร่งร้อนรนหนัก ให้นักปราชราช บัณฑิตย สังฆการี ธรรมการ  ออกมาประเดียงแจกกฎหมายให้พระราชาคณะทั้งปวง เร่งกำชับ ตรวจตรา กันรักษาพระจัตุปาริสุทธิศีล ปรฏิบัติตามคันธธุระวิปัศนาธุระ แลพระราชกำหนด เก่าใหม่ อยู่เนือง ๆ ฉนี้  ก็ยิ่งมีสมณะสามเณรเปน มหาโจรปล้น พระสาศนา ขึ้นมากมาย ฉะนี้ มิควร หนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า  ห้ามมิให้สมณะสามเณรเถรชี กระทำความชั่วทุจริตผิด พระวินัย บัญญัติ บันดาพรรณนาโทษมานั้น แลห้ามมิให้เอาเยี่ยงอ้ายอีมีชื่ออันกระทำ อยาบช้าทำลายพระสาศนา อันกล่าวมาในต้นพระราชกำหนดนั้นจงทุกประการ  อนึ่ง พระราชาคณะทั้งปวง ก็ได้ถวายปติญาณ ว่า จะกำชับว่ากล่าวให้พระสงฆ์สามเณร รักษาชาตะ รูปะระชะฏะสิกขาบท อันนี้ให้บริบูรณ  ฟังดู ก็เหนหายุติไม่ 

        กฎแต่ก่อนก็ให้ประกาศไปว่าจะเอาโทษ ทั้งสมณะแลฆราวาศ  แลให้สังฆการี ธรรมการ สอดแนม จับเอาตัวผู้ถวายเงินทอง แลภิกษุเถรเณรชีผู้รับเงินทองให้ได้ เอามาว่ากล่าว แลเถรเณร ให้รู้สิกขาบทของตัว และเล่าเรียนพระบริญัติ  โยมวัดกับ เถรเณรให้ถากซายดายหญ้า แผ้วถางวัดวาอารามให้เตียน  ให้พระสงฆ์เอาคราด กราด พื้นอารามให้ราบรื่นเปนพุทธบูชา จำเริญ ศรัทธาเทพยาดามนุษยทั้งปวง

        อนึ่ง  เถรเณรจะออกจากอารามนี้ มีกิจไปใกล้ไกลแห่งใดก็ดี ให้ห่มดอง ครองผ้าเหมือน กิริยาบิณฑบาตรๆ โดย ลำดับ อย่าให้ชิงรับจังหันวิวาทชกตีกัน เปนอันขาดทีเดียว   แลหากิจ นิมนต มิได้  อย่าให้เที่ยวเข้าบ้าน  ถ้าแลมีกิจธุระ ด้วยญาติแลบิดามารดาจะมาบ้านนั้น แลจะมี ที่ไปใกล้ไกลแห่งใดก็ดี ให้อำลา พระอุปฌา อาจาริย ให้รู้กิจธุระก่อน จึ่งไปด้วยพรหมจาริย เปนเพื่อนพยานกันสองรูป สามรูปด้วยกัน ห้ามอย่าให้สมณะสามเณรคบหาสีกาอันใช่ญาติ  เข้าไปบ้านนอน บ้านผสมประสาน ด้วยลาภราคเสน่หา ห้ามฝ่ายอุบาสิกา อย่าทำสนิทติด พันธเปน ประโยชน ให้ผ้า ให้อามิศ ให้อาหารจำเภาะสมณะสามเณร ด้วยปราถนาเมถุนธรรม อันโทษหนัก ทำลาย พระสาศนา  ให้ตั้งใจศรัทธาถวายทาน เปนสงฆ์อย่าจำเภาะ 

        ถ้าจะจำเภาะถวายเปนบุคลิกด้วยศรัทธาว่า เธอทรงศีลทรงธุดงค ทรงบริญัติ คุณแล จะไปถวายถึง อารามนั้น ให้ไปในเวลา เช้าจนเที่ยง  ห้ามอย่าให้เข้าไปถวาย ในกุฎี แล นั่งในที่ลับที่กำบัง  ให้นั่งนอกกุฎีในที่แจ้ง มีเพื่อนสีกาอันรู้เหนเปน หลายคน  แลฝ่ายสมณะสามเณรผู้จะรับทานนั้น อย่าให้นั่งลับในกุฎีที่กำบัง  ให้มีเพื่อน พรหมจารียกันออกมานั่ง ในที่แจ้งรับไทยทาน ตามศรัทธา  สำเร็จแล้ว อย่าอยู่ช้า  สนทนาไต่ถามอรรถธรรมที่สงไสย แต่ภอควรแล้วให้สีกาไปเสีย จาก อาราม  แลห้าม ทั้งสอง ฝ่ายอย่าให้ถวายแก้วแหวนเงินทองต่อมือจำเภาะหน้า รักษาไว้ เอาใจไป ยินดี ด้วยแก้วแหวนเงินทองนั้น เปนอันขาด ทีเดียว 

        แลให้พระราชาคณะเจ้าอธิการอันดับผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ประพฤติ์ตามสัตตา ปริหานิย ธรรม แลลง อุโบสถจงพร้อมกัน ทุกวันอุโบสถตามพุทธบัญญัติ ในพระอุโบสถ ขันธกะ  ให้รฤกบอกอาบัติอัน หนักเบา ร้ายดีให้แจ้ง โดยสยามภาษา ไต่ถาม พระบาฬีนิทานเทษ  ให้แจ้งเหตุจงทั่วกำชับว่า กล่าวกัน ให้กวดขันจง หนักหนา  จะให้สังฆการี ธรรมการตรวจทุกอุโบสถ  จัดสันชำระมลทินโทษ ออกเสียจากพระสาศนา 

        ถ้าภิกษุเถรเณรรูปใดอารามใด ต้องอธิกรณ ถึงอันติมวัตถุเปนปาราชิกแล้ว ให้พร ะราชา คณะศึกเสีย แล้วบอกแก่สังฆการี ธรรมการให้แจ้งด้วย  จะได้สักหน้า หมายไว้  อย่าให้ปลอมอุปสมบทสืบไป  ถ้ายังเปนข้อสงไสย  แต่ถ้าว่าโทษใหญ่ ฉายาปาราชิกนั้นให้เร่งชุมนุมพระราชา คณะพระสงฆ์ พิภาคษา  ควรเยียวยา ได้ให้เยียวยารักษาชำระอาบัติจงบริสุทธิ์ ในพระสาศนา รงับอธิกรณ ให้สำเร็จแต่ ในอารามนั้น  ถ้าเยียวยามิได้  จะมิให้อยู่ในหมู่ในคณะแล้ว อย่าให้รับบับพาชนิยะ กรรม 

        ต่อไปจะไปปลอมอยู่เข้าหมู่เข้าคณะด้วยพระสงฆ์อารามอื่นได้  ให้พระราชา คณะเจ า อธิการบอกแก่สังฆกา รีธรรมการ ให้รู้จักตัวไว้ว่า ภิกษุสามเณรรูปนี้ สอนยาก ไม่ให้เข้าหมู่เข้า คณะแล้ว

        อนึ่ง รูปชีอย่าให้อยู่ในอารามใกล้อาราม เปนอันขาดทีเดียว แลฝ่ายฆราวาศ นั้นให้มูลนาย บิดามารดา ตรวจตราว่า กล่าว สัตรีภาพอันเปนบ่าวไพร่บุตรธิดาญาติ อย่าให้ไปคบสมณะสามเณร ปรฏิบัติด้วยความเสน่หารักในเมถุนธรรม ทำลายศีล สมณะสามเณร ให้เปนปาราชิก  ทำลายพระ สาศนาเปนอันขาด  ถ้าแลพระสงฆ์ เถรเณร มีบิดามารดาญาติโยม อันเปนคณาญาติโดยแท้  มิได้เปนอาคันตุกะ  แต่ตัวผู้เดียวนั้น ก็ให้บิดามารดาคณาญาติรวังดูแลเอาใจใส่ว่ากล่าว แก่บุตรนัดดา ลูกหลานพี่น้องซึ่งบวชเปนสงฆ์สามเณรนั้น ให้บริสุทธิ์ อย่าให้มีมลทินในพระสาศนา นั้น เปนเหตุ อันใด อันหนึ่ง อันมิควรแก่สิกขาบทนั้น  ก็ให้เอามาว่ากล่าวโดยเหตุ จงทุกประการ

        แลบิดามารดาญาติโยม ภิกษุเถรเณร ซึ่งทำผิดนั้น  จึ่งจะพ้นโทษด้วย  ถ้าแล บิดามารดาคณาญาติ ภิกษุเถรเณร ที่กระทำผิดนั้นรู้เหนแล้วคิดว่าเปนลูกหลาน ว่านเครือ ของตัว กลัวจะเปนโทษ ชวนกันปิดบังเสีย  มิได้เอาเนื้อความมาว่ากล่าว ให้ อุลามกมลทิน อยู่ในพระสาศนา เหมือนครั้งนี้  หากมีผู้อื่นรู้เอามาว่ากล่าว พิจารณา สืบสวนได้เนื้อความเปนสัตย  จะเอาบิดามารดาญาติพี่น้อง ภิกษุ เถรเณร ซึ่งเปนโจรอยู่ในพระสาศนานั้นเปนโทษด้วย

        ถ้าแลฝ่ายพระสงฆ์สมณะทั้งปวง มิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ แลละเมินเสีย ให้มีโจรปล้นพระสาศนา ขึ้นดังครั้งนี้  เหนว่าหามีความกะตัญูกัตเวที ต่อพระสาศนาไม่  เปนใจ ความว่า สมณะสามเณรอันเปนโจรปล้นพระสาศนา  จะเอาโทษแต่พระราชาคณะลงมา  ทั้ง เถรานุกรม  เจ้าอธิการ  มหาเถรานุเถระ อันดับ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย แลสามเณร อันมิได้รวังรไวตรวจตรา ว่ากล่าวนั้น เปนโทษ เสมอด้วยโทษ สมคบสมณะสามเณร อันเปนบาปลามกนั้น

        ฝ่ายฆราวาศทั้งปวง  ถ้าแลผู้ใดมิได้ทำตามพระราชกำหนด กฎหมายนี้  ละเมินเสียให้หญิง อันเปนบ่าวไพร่ ลูกหลาน พี่น้องญาติอาตมาแลเพื่อนบ้าน เปนศีลเภทศีลสมณะสามเณรให้เปน ปาราชิก  ทำลายพระสาศนาครั้งนี้  เหนว่าผู้นั้น อะกตัญูหารู้คุณพระสาศนาไม่ เปนใจด้วย หญิง อุบาทว์อยาบช้า จะเอาโทษแต่มูล นาย ลงมาจนถึงบิดา มารดาญาติพี่น้อง  เพื่อนบ้านใกล้กันที่ภอ จะรู้เหนมิได้ห้าม ปราม เอามาว่ากล่าวนั้น เปนโทษเสมอด้วยโทษ สมณะคบหญิง ศีลเภทอันเปน บาป อยาบช้านั้น  จะได้พร้อมกันช่วยกันรักษาพระสาศนาทั้งสองฝ่ายฉนี้  พระพุทธ สาศนา จึ่งจะ บริสุทธิ์ เปนที่ไหว้ที่บูชา แก่เทพยดามนุษยทั้งปวงสืบไป กว่าจะถ้วน ๕๐๐๐ พระวะษา

        กฎให้ไว้ ณ วันพุธ  เดือนสาม  แรมสิบเบ็ดค่ำ  จุลศักราช  ๑๑๕๑  บีรกา  นักษัตรเอกศก

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์