เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับที่ ๕ (ภาษาดั่งเดิม) N118
Page ฉบับที่ ให้ไว้แก่
N114 ข้าทูลละอองธุลีฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร
N115 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N116 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุงเทพ
N117 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N118 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวงจังหวัดหัวเมือง
N119 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง
N120 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง หัวเมือง
N121 พระสุรัศวะดีซ้ายขวา ในนอก ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน ข้าหลวงกรม พระราชวังบวร
N122 พระราชาคณะ เจ้าอธิการ  านานุกรม ในกรุงนอกกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ
N123 ๑๐ เจ้าพระยาและพระยา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก
 

กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)

กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๕



        กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ จงทั่ว

        สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรง พระคุณธรรม อนันตา สัมภารา ดิเรกพิบูลย สุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาศนุปภัมถก พระพุทธสาศนา  จำเริญศรีสวัสดิ ทั้งพระบริญัติแลฏิปติสาศนา ให้ถาวรารุ่งเรืองไป เปนที่เลือมไสย
นมัศการบูชา แก่เทพยดา มนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาท โดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหา มนตรี กระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตย เฝ้าพระบาทบงกชมาศ

        จึ่งมีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า  อ้ายมาต้อง เมถุนปาราชิก แล้ว มิได้กลัวบาปลอายแก่บาปปัฏิญาณตัวว่า เปนภิกษุเข้ากระทำ สังฆกรรม

        ด้วยพระสงฆ์ เปนอุปฌาบวชนาค ปลอมเข้าผูกโบศ แลรับกระถิน กระทำ สังฆกรรม อุโบสถกรรมด้วย พระสงฆ์กระทำ เปนไถยสังวาศ อาลัดชีสมโภคให้ สังฆกรรม ไม่บริสุทธิ์ ให้เสียศรัทธาท่านทายก อ้ายชูต้องอทินนาทาน ปาราชิก กล่าวถ้อยคำ มายา มุสาวาทว่า เอาเงินไว้จะให้เถ้าแก่อยู่

        ครั้นสงฆ์สืบเปนสัตยว่า บังเอาทรัพย์ ไว้เองนาน ประมาณ ปีหนึ่ง มิได้ให้ เถ้าแก่อยู่ แล้วปกปิดโทษไว้ ปัฏิญาณตัวว่า เปนภิกษุสมณะ เข้านั่งหัตถบาศ บวชนาค เข้าผูกอุโบสถ ทำสังฆกรรมด้วยสงฆ์ ให้สาศนา เศร้าหมอง

        แลอ้ายแก้วต้องอทินนาทานปาราชิก มีผู้โจทยแจ้งแต่ พระธรรมราชมุนี ๆ ผู้ชำระ พระสาศนาจะเอามาว่ากล่าว กลับเอาอธิกรณโทษของพระธรรมราชมุนี อันสงฆ์ พิภาคษาบริสุทธิ์แล้ว ถึงครั้งหนึ่ง สองครั้ง กลับมายกโทษพระธรรมราชมุนี แล้วว่า กล่าวอยาบช้าแก่พระธรรมราชมุนีผู้ชำระพระสาศนา ให้ได้ความอัปยศ ในท่ามกลาง สงฆ์อีกเล่า แลเอามลทินนิลโทษไปป้ายท่านผู้ศีลบริสุทธิ์ พระสงฆ์ชำระว่ากล่าวแล้ว ฉนี้ หวังจะให้ทายกทั้งปวงที่ศรัทธากระทำกุศลไว้ สอดแคล้วกินแหนงท่านผู้ศีล บริสุทธิ์ จะให้ผลของทายกนั้น น้อยไปมิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ถ้าภิกษุองค์ใดต้องจัตุปาราชิกทั้งสี่แต่อันใดอันหนึ่งผิดแล้ว ให้มาบอกแก่สงฆ์จงแจ้งแต่ใน อุโบสถ เดียวนั้น อย่าให้ปกปิดโทษจัตุปาราชิก ไว้ ปัฏิญาณตัวเปนสงฆ์สมณะ เข้ากระทำสังฆกรรมอุปสมบทกรรม ด้วยคณะสงฆ์ ให้เปน มลทินในสังฆกรรมทั้งปวง ดุจหนึ่งอ้ายแก้วอันมิได้มีความลอายแก่บาปกลัวแก่บาป  มิได้เกรงไภย ในอนาคตเปนอันขาดทีเดียว

        ถ้าแลมิฟังพระราชกำหนดกฎหมาย แลตัวต้องจัตุปาราชิกแต่อันใดอันหนึ่ง แล้วแลปกปิดโทษไว้ เข้ากระทำสังฆกรรม ด้วยพระสงฆ์ให้พระสาศนาเศร้าหมอง ถ้ามีผู้โจทยว่ากล่าวพิจารณาเปนสัจ จะเอาตัวเปนโทษถึงสิ้นชีวิต แล้วให้ริบ ราชบาทว์ ขับเฆี่ยนตีโบยญาติโยมจงหนัก อย่าให้เปนเยี่ยงอย่างสืบไป

        กฎให้ไว้ ณ วันอาทิตย เดือนแปด ขึ้นสิบห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์