กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)
กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๗
กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย แลเจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ จงทั่ว
สมเด็จบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรง พระคุณธรรมอนันตา สัมภาราดิเรกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาศนุปภัมถก พระพุทธสาศนา
จำเริญศรีสวัสดิ
ทั้งพระบริญัติแลปฏิปติสาศนา ให้ถาวรารุ่งเรืองไป เปนที่เลื่อมไสย นมัศการบูชา แก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาท โดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติ ราชปะโรหิตา โหราราชบัณฑิตย เฝ้าพระบาท บงกชมาศ
ด้วยมีพระราชโองการ ดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า เปนประเพณีเมืองไทย เมืองพม่า เมืองรามัญ ถวายกะถินทานแก่ภิกษุจำพระวะษาแล้ว แลออกพระวะษา ในพระวิหาร เสมา วงล้อมต่าง ๆ แลใกล้กันนั้น ก็มีมา
แต่ครั้งพระอรหรรตขีณาสพ ผู้ทรงวินัยไตรปิฏกนั้น มาช้านานตราบเท่า ถึง สร้างกรุงศรีอยุทธยา แลท้าวพระยาอันทรง พระปัญญาพินิจพิจารณาเหนว่าพระสงฆ์ ผู้ทรงวินัยไตรปิฏกอันยิ่ง รักษาพระสาศนานั้น ก็มีเปนอันมาก ตราบเท่าถึง พระพุทธศาสนาได้ ๒๓๒๖ พระวะษาแล้ว
แลทุกวันนี้ ท้าวพระยาเสนาบดีใช่จะปราศจากปัญญา ย่อมรู้ พิจารณาแจ้ง เนื้อความ ผิดแลชอบอยู่ ฝ่ายพระสงฆ์ผู้ทรง พระวินัยเล่าก็มีมาก เปนต้นว่า พระพิมลธรรม พระอาจาริย วัดใบสอ พระอาจาริยวัดโคกเสือ ผู้ทรงพระวินัยชำนิ ชำนาญ อันเปน คู่กับ พระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย ต่อขึ้นไปดุจสมเด็จ พระสังฆราช ผู้เถ้าทุกวันนี้ เปนที่ไต่ถามแก่ศิษย อัน สงไสยในข้อพระวินัยนั้น ก็มีเปนอันมาก
ถ้าแลเหนว่าพระบาฬีว่าวัด มีเขตวงล้อมต่าง ๆ ใกล้กัน ผู้จะทอดกะถิน ในวัดนั้น กะถินนั้นมิเปนกะถิน พระสงฆ์ผู้ รับกราน นั้นมิเปนอัน อันกราน แน่ดังคำ ของ พระธรรม ราชมุนี พระพุทธาจาริยฉนี้ ดีร้ายพระอรหรรตขีณาสพ ผู้ทรง พระวินัย ไตรปิฎก สืบมาแต่บุราณ ก็จะทักท้วงว่ากล่าวบ้าง ประการนี้ก็มิได้มี เพราะเหตุ ท่านผู้วิเสศบุราณแต่ก่อน เหนว่า ต้องตามพระพุทธฎีกา มีอานิสงษห้าประการ คุ้มอาบัติแก่พระสงฆ์อันได้อนุโมทนา
แลเปนอานิสงษแก่ผู้ถวายกะถินทาน เปนอันมากมั่นคงแล้ว จึงมิได้ เคลือบ แคลง ทักท้วงว่ากล่าวกัน นิ่งมาคุ้มเท่าบัดนี้ แลพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย พระญาณวิริย พวกศิษยคบคิดกันกล่าวว่า ทอดกะถินมาแต่ก่อน ในวัด อันใกล้กัน หาเปนกะถินไม่ ทั้งนี้ เหมือนหนึ่งรื้อเลิกพระสาศนา อันพระอาจาริยผู้วิเสศ ทรง พระไตรยปิฎกปฤกษา เรียบร้อยไว้เปน อันดี โดยพระวินัยอยู่แล้ว ให้ผิดจากขนบ พระสาศนาให้พระสงฆ์ แตกออกถือเปนสองฝ่ายร้าวฉานแก่กัน ยังพระธรรมวินัย ให้เสียประโยชน แก่พระสงฆ์ผู้จะได้รับกะถินทาน
แลท่านทายกซึ่งจะได้ถวายกะถินด้วย ศรัทธาเลื่อมใสฉนี้ เปนครุกรรม ใหญ่หลวง ก็จะได้โทษทุก ๆ ปีไปกว่าจะสิ้น พระสาศนา จะเสวยทุกขเวทนานั้น เมื่อไรเลย จะรู้สิ้นทุกข ทั้งนี้ เพราะทฤฐิมานะถือว่ารู้พระวินัย อันพระวินัยเปน พุทธวิไสย คัมภีรภาพ แลจะรู้เอาเองโดยอัตโนมัตย อย่างพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริยฉนี้
แลมิได้เอาเยี่ยงอย่าง ท่านผู้วิเสศอันทรงพระวินัย ไตรยปิฎกแต่ก่อน อัน ปรฏิบัติ มานั้น เหนจะฉิบหายทั้งอาจาริย แลศิษยอันปรฏิบัติผิดนั้น ด้วยเหตุพระธรรม ราชมุนีมี แต่ปัญญาปราศจากสติ อันธรรมดาบุคคนผู้มีสติประกอบ ด้วย ปัญญา ถึงจะรู้ศัก เท่ารู้ใน บทบาท เหนประหลาดแปลกอยู่แล้วก็ดีก็มีอาจว่าก่อน อันมี สติรฤกว่า พระวินัยนี้เป็น สาครฤกนัก ก็เอาสติรฤกไปถึง อย่างประเพณีท่าน ผู้วิเสศบุราณ อันปรฏิบัติมานั้น มาเปรียบเทียบดูก่อน ถ้าผิดกันอยู่ ก็มิอาจจะว่าออก ได้เปนอย่างผู้มีสติปัญญาฉนี้
พระธรรมราชมุนีหาได้เรียนพระวินัยในสำนักอาจาริย ผู้ทรงพระวินัยสันทัด เหมือนอย่าง สมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้าไม่ มีแต่ปัญญาหาสติไม่ ครั้นภบ บทบาท อันใด เข้าเหนประหลาด ก็คิดจะเอาแต่เกียรติยศให้ปรากฎ หามีสติที่จะรฤกถึง ประเพณีท่านผู้วิเสศบุราณอันปรฏิบัติมาไม่ ก็ว่ากล่าวแต่อำเพอใจ ถ้าเปนสภาวะ วินัยธรรมผู้เถ้าแท้ ที่บำรุงพระพุทธ สาศนา แม้นว่าเหนข้อพระวินัย หนขางมาไม่ ก็ว่ากล่าวแจาณอันปรกผิดชอบประการใด ก็ชอบปฤกษา ปรองดอง
แต่ผู้เถ้าวินัยธรรม ด้วยกัน ให้เหนผิดแลชอบ จะเอาแต่พระสาศนาให้รุ่งเรือง ขึ้น นี่แกล้งให้แต่พระญาณวิริยะเด็กน้อย ผู้เปนศิษยของตนให้ทุ่มเถียงสมเด็จ พระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ทั้งนี้เหนในจิตรคิดด้วยบาปทฤฐิว่า ถ้าสมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้าทุ่มเถียงพลั้งพลาด แพ้พระญาณวิริยะผู้น้อยอันเปนศิษย ของตนแล้ว จะให้เกียรติยศนั้น
ปรากฏไปว่า สมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้า ซึ่งทรง พระอนุเคราะหโปรดตั้งขึ้น ไว้นั้น หารู้อันใดไม่ เถียงกันแต่กับ พระญาณ วิริยะ อันเป็นศิษยของตนนั้น ก็หาสู้ ได้ไม่ จะให้เกียรติยศของตนปรากฎไป จึงประพฤติการ ทั้งนี้ แลว่านั้นก็หาแน่ถนัด ในน้ำใจไม่ กลัวไภยจะผิด จะได้หลบเอาความชอบ จึงแนะนำให้พระญาณวิริยะ ผู้เปนศิษยให้เข้าเปนตัวว่า ตัวนั้นออกถือท้าย
ครั้นเหนเพลี่ยงแล้ว กลับหาเข้าด้วยศิษยตนไม่ ไปเข้าชื่อด้วยสมเด็จ พระสังฆราช แล้ว ๆ ก็กลับเข้าด้วยศิษยตน ไปเล่า แลกลับกลอกไปมาฉะนี้ เพราะหา เปนองค์ วินัยธรรมแท้ ได้ร่ำเรียนมาแต่ครูวินัยอาจาริยอันสันทัด ไม่จึง กลับกลอก อยู่ฉนี้ ทำให้เสียประเพณีพระวินัยสาศนา เปนหลายครั้ง ๆ บวชนาค วัดหงษ์ ให้สวด ยัตติบวชนาคพร้อม ๆ กันคราวละ เก้าองค์สิบองค์ สงฆ์ได้ต่อว่า ก็ว่าอย่าว่า แต่เท่านี้เลย จะสวดคราวละ ๑๐,๐๐๐ องค์ก็ได้ ครั้งนั้นกระทำผิด ให้ พระพุทธ บัญญัติ แลประเพณีพระอาจาริยเจ้าผู้ทรง พระไตรยปิฎกกระทำ สืบมา แต่ก่อน
ครั้งนี้เล่า
ประเพณีแล บาฬีในกะถินขันธกะ อันพระอรหรรตขีณาสพ ผู้ทรง พระวินัยกระทำ ปรฏิบัติสืบ ๆ กันมาช้านาน หาผู้ใดจะ ทักท้วงไม่ตราบเท่าทุกวันนี้ พระธรรมราชมุนี เปนแต่โลกียหาทรงพระไตรยปิฎกไม่ ไม่ได้ร่ำเรียนพระวินัย แต่สำนักครู อันสันทัด ชัดเจนในพระวินัยนั้นก็น้อย มีแต่ปัญญาเหนเอาเอง
ถึงมาว่าท่านแต่ก่อนจะโลภไตรยจีวรรับกะถินทำผิดมา ถึงจะมีโทษนั้นน้อย เพราะว่า เปนกะถินเท่านั้น แต่สงฆ์ลาภนั้น ได้อยู่ ผู้ถวายทาน ๆ นั้น ก็เปนสังฆทาน มีอานิสงษ มาก แม้นว่าของพระอาจาริยเจ้าแต่บุราณกระทำสืบ ๆ มาต้อง ตาม พระวินัยบัญญัติ เปนกะถินทานแท้
ถ้าผู้ภายหลังทำหักรานให้กะถินทานสาบสูญบัดนี้ ก็จะ เปนครุโทษสืบ ๆ ไป เปน หนักหนากว่าโทษที่ว่าท่าน ทำมา แต่ก่อนผิดนั้น แลจะเชื่อเอาคำพระธรรม ราชมุนี พระพุทธาจาริย อันจะเลิกซึ่งกะถินทานให้ขาด กะถินจีวรลาภ ของสงฆ์เปน อันมาก แลฝ่ายทายกก็จะขาดบุญที่จะได้ถวายกะถินทาน ดุจหนึ่งทำลายล้าง พระเจดียสถาน แลพระสาศนา เปนมหันตโทษอันใหญ่หลวงนัก จะเชื่อเอาถ้อยคำ นั้นมิได้
อนึ่ง เหนว่าพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย หาเปนสุภาพวินัยธรแท้ไม่ มิได้ อยู่ในบังคับบัญชาสมเด็จ พระสังฆราชผู้เถ้า อันเปนครูมีพระวะษาทรงพระวินัยสันทัด ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งไว้เปนพระยาสงฆ์ สำหรับพิภาคษา พระวินัย แลหักราน ผู้เถ้าผู้แก่ให้นัยแก่พระญาณวิริยะผู้เปนศิษยตน นำเอาเนื้อความกิจสงฆ์เข้ามา ถวายพระพร แล้วอุดหนุนถ้อยคำเอาโทษ อันเปนครุกรรมเข้ามาติดแปดเปื้อนไว้ ในพระราชถาน
หากว่าสมเด็จพระสังฆราชแลพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ยั่งยืนในพระวินัย ถวาย พระพร ขัดไว้จึ่งพ้นโทษ หาไม่ก็จะ พลอยแปดเปื้อนปนด้วยอกุศล โทษ อันใหญ่ หลวงเนือง ๆ ไปกว่าจะสิ้นพระสาศนามิชอบนัก ฝ่ายพระพุทธาจาริยนั้น ก็ไปเป็น อธิการวัดนาค ได้รับกะถินทานถึง ๒-๓ ปีแล้ว ๆ กลับเข้าด้วยพระธรรม ราชมุนี ว่า ไม่ได้เล่า ก็เหนว่า พระพุทธาจาริย เปนภิกษุมารยาอกตัญญู มิได้รู้ พระคุณครูอาจาริย แห่งตน ๆ จะรู้พระธรรมวินัยมีบุญขึ้น
ทั้งนี้ ก็เพราะ น้ำลาย อายลิ้นของสมเด็จพระสังฆราช ชอบที่จะเจ็บร้อน สัมมาคาวระ เปนอันดีจึงจะควร นี่ประพฤติ อกตัญูอุดหนุน พระธรรมราชมุนี เข้าเปน พรรคพวกต่อสู้ สมเด็จพระสังฆราชผู้เปนครูของตน ต่อแย้งทุ่มเถียงให้ได้ ความ อัประยศ ในท่ามกลาง ปริสัศฉนี้ ถ้าฝ่ายอาณาจักรฆราวาศ จะชิงที่ถานยศถาศักดิ์ แห่งท่าน ผู้มีพระคุณผิด ประเวณีธรรม มิชอบหนักหนา แม้นยังถือทฤษฐิมานะ ขืนอยู่ว่าลัดธิ ของตนถูกแล้วว่า พระอรหรรตขีณาสพ ผู้ทรงพระไตรยปิฎก ปรัมปรา อาจาริยวินัย
ผู้เถ้าผู้แก่ทั้งปวงกระทำสืบ ๆ มานั้นผิด ก็ได้ชื่อว่ายังพระธรรมวินัย ให้ ฉิบหาย เหนสุดโทษ ๆ นั้น เสมอด้วยกระบิลภิกษุอันมัวเมาด้วยความรู้ อันฝ่าย พระพุทธาจาริย เปนมหาอกตัญูตรงตัว ถ้ามิได้คิดกลับหาชอบเลยจะดื้อดึง อยู่ด้วย ทฤษฐิมานะ เหนโทษนั้นดุจมสีละมานพ อันเรียนศิลปสาตรพื้น แต่สำนัก คุดิลาจาริย แล้วอกตัญูกลับสู้อาจาริย อนึ่ง ดุจเทวะทัตวานรเปนอกตัญญู เหยียบหลังพระ โพธิสัตว วานร อันมีพระคุณให้หลักหักนั้น แลเหตุเปนครุกรรม ใหญ่หลวง ลามก มาถึงพระราชถาน
ทั้งนี้ เพราะพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย พระญาณวิริยะ ไม่มีสัมมาคาวระ ต่อ สมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้า อันทรง พระกรุณาโปรดตั้งขึ้นไว้ให้เปนที่ไหว้ที่บูชา ปฤกษาพระวินัยทั้งปวง ถ้าพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย พระญาณ วิริยะมีสัมมา คาวระดุจหนึ่ง ถ้อยคำปฏิญาณ ว่าจะเอาสมเด็จพระสังฆราชเปนที่ปฤกษาแล้ว ไหนเนื้อความในสังฆกิจ ฝ่ายพระพุทธจักร จะเข้ามาแปดเปื้อนปนราชอาณาจักรได้ ก็จะสูญสงบอยู่แต่ในสมณะกิจ เปนสิทธิตัดสินสำเร็จ ในสมเด็จพระสังฆราช และพระธรรมราชมุน พระพุทธาจาริย พระญาณวิริยะ ทำบังอาจหากลัวเกรงไม่ จึงเกิดเนื้อความมากมาย ทั้งนี้ มิสมควรหนักหนา
แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ห้ามอย่าให้พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ รามัญ เจ้าอธิการลาว อันดับทั้งปวง และสังฆการีธรรมการราชบัณฑิตย ข้าทูล ละอองธุลีพระบาททั้งปวง เอาเนื้อความสงฆ์อันวิวาทกันด้วยกิจพระวินัย ดุจหนึ่ง พระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย พระญาณวิริยะ มาถวายพระพรกราบทูล พระกรุณา ให้หม่นหมอง พระไทย เปนอันขาดทีเดียว แลให้ทูลแก่สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ เจ้าอธิการอันดับ ให้มอญลาวทั้งปวง ฟังบังคับ บัญชาสมเด็จ พระสังฆราชผู้เดียว
ถ้าแลเนื้อความอันมหันตโทษข้องเข้ามาในราชอาณาจักร จำเปนจะทูล ก็ให้เอา ปฤกษาด้วยข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยนักปราช ราชบัณฑิตย ให้พร้อม กัน ควรทูล แล้วจึ่งให้กราบทูล พระกรุณา ถ้าแลพระสงฆ์ ราชาคณะ เจ้าอธิการ อันดับสงฆ์ทั้งปวง และสังฆการีธรรมการ ราชบัณฑิตย ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ผู้ใดๆมิได้พระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ จะเอาตัวผู้กระทำผิด พระราช กำหนด กฎหมายนั้น เปนโทษตามโทษานุโทษ
กฎให้ไว้ ณ วันจันทร เดือนสิบสอง ขึ้นสามค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ
|