เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับที่ ๒ (ภาษาดั่งเดิม) N115
Page ฉบับที่ ให้ไว้แก่
N114 ข้าทูลละอองธุลีฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร
N115 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N116 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุงเทพ
N117 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N118 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัดหัวเมือง
N119 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง
N120 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง หัวเมือง
N121 พระสุรัศวะดีซ้ายขวา ในนอก ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน ข้าหลวงกรม พระราชวังบวร
N122 พระราชาคณะ เจ้าอธิการ  านานุกรม ในกรุงนอกกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ
N123 ๑๐ เจ้าพระยาและพระยา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก
 

กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)

กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๒



         กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตะวันตก ตะวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือจงทั่ว

         ด้วยสมเด็จบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรม อนันตา สัมภาราดิเรก เอกพิบูลย สุนธรราช ศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปถัมภก พระพุทธ สาสนา จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติปฏิปติสาสนา ให้ถาวรารุ่งเรือง ไปเปนที่ เลื่อมไสย นมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่ง ดุสิต มหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหา มนตรี กระวีชาติราชปะโรหิตา โหราราชบัณฑิต เฝ้าพระบาท บงกชมาศ จึ่งมีพระราช โองการ ดำหรัสเหนือเกล้า ฯ

         สั่งว่า มีพระราชอุษาห มิได้คิดแก่พระกาย แล พระชนมชีพจนได้ศรีราช สมบัติ ทั้งนี้ ด้วยตั้งพระไทยจะบำรุงพระบวรพุทธสาสนา ตามพระพุทธฎีกว่า พระปาฏิโมกข สังวร วินัยนี้ ซื่อว่าพระสาสนา

         ถ้าพระภิกษุยังทรง พระปาฏิโมกขบริบูรณอยู่ตราบใด ชื่อว่าพระสาสนา ยังตั้ง อยู่ ตราบนั้น เหตุฉะนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาบริจาค พระราชทรัพย เปนอันมาก เปน จัตุปัจจัยทานถวายพระสงฆ์ แลมีพระราชโอวาทานุสาศน์ตักเตือน เพื่อจะให้ พระสงฆ์ทั้งปวง ในกรุง นอกกรุงเทพ และนานาประเทศ ให้ทรงพระปาฎิโมกขสังวร ศีลบริสุทธิ์ ให้เปนเนื้อนาบุญแก่สัตวโลกย หว่านพืชศรัทธาทำทาน งในเนื้อนา อันเลิศ จะได้เกิด ผลเปนอันมาก

         ด้วยภูมพระภิกษุเปนภูมอันประเสริฐ ทรงพระวินัยบรรเทาโทษในกายจิตรแล วาจา มิได้คิดอาไลยด้วยญาติโยม จนแต่ว่า มารดามี ปรารถนา จะใคร่ภบยังส้อนตัว เสีย มิให้มารดารู้จักตัว กลัวจะเปนตัณหาสัณฐวะ เนื่องเข้ากับกามคุณ เปนนิวรณกั้น มัคจิตร แลผลจิตร จึ่งหน่ายจากโกรธจากโลภจากหลง ให้เกิดสมุทเฉทวิมุต นิพานศุขได้ จึ่งจักเปนที่ไหว้ที่บูชา แก่เทพยดามนุษยทั้งปวง ฝ่ายฆราวาส แต่ก่อน ก็มีศรัทธา มิได้กระทำให้เปนเสน่หาอาไลย ทำให้เจ้ากูเสียศีลสิกขาบท บริสุทธิ์ ด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย พระสาศนาก็รุ่งเรืองสืบมา

         แลภิกษุสงฆ์ทุกวันนี้ตั้งอยู่ในภูม อันประเสริฐแล้ว มิได้รักษาพระปาฏิโมกข ตาม อริยวงษ ประเพณี ปฏิบัติเข้าระคลคบหาฆราวาศติด ด้วยเบญจกามคุณ มิได้ เหนแก่ พระสาศนา เหนแก่หน้าบุทคนรับของฝากเงินทองของฆราวาศ ๆ ก็มิได้คิด แก่สาศนา เข้าเป็นญาตโยมปรฏิบัติ ด้วยเสน่หาอาไลยให้กัปปิยจังหันแก่ภิกษุ โดยคุณปติคุณ แก่กัน ให้เสียศีลสิกขาบทไปดุจหนึ่ง

         สมีรักวัดบางหว้าใหญ่ รับเข้าของเงินทอง ของอีเพงไว้เปนอันมาก อีเพงเปน ขบถ โทษถึงตาย สิ่งของอีเพงเปนของหลวงตามบท พระอัยการาชอาณาจักรสืบมา โดย บุราณราชประเพณี เนื้อความทั้งนี้ ก็ปรากฏทั่วพระนคร แขวง จังหวัด ถ้าสมีรัก รักษสิกขาบทจริง ก็จะขวนขวายเอาของฝากนั้น มาแจ้งแก่สมเด็จพระสังฆราช แล พระราชาคณะผู้ใหญ่ทั้งปวง ให้ปฤกษาตามบทพระวินัยว่า ทรัพย์นี้จะเปนของ ๆ หลวง ฤายังเปนของ อีเพงอยู่ จึ่งควรแก่สมณะ นี่สมีรักปิดบังไว้มิได้ ให้ราชาคณะ ทั้งปวงรู้

        อนึ่ง ก็ได้โปรดให้ป่าวร้องเปนหลายครั้ง สมีรักก็มิได้บอกแก่ผู้ใด ต่ออ้าย มีซื่อให้การออกว่า ของอีเพงฝากไว้แก่สมีรักเปนอันมาก จะตรัสใช้ให้ราชบุรุษมา สมีรักจึ่งสำแดงออกให้แก่ราชบุรุษ ของนั้นจะมากน้อยประการใดมิได้รู้ ราชาคณะ ทั้งปวงจึ่งแจ้งต่อภายหลังฉนี้ ก็เหนใจสมีรักว่า สมีรักองอาจอยาบช้าหาอาไลย ต่อสิกขาบทไม่หลายครั้งมาแล้ว กลัวสมีรักแกล้งบังเอาของ ๆเขาไว้ เจ้าของ ขาดอาไลย ก็ขาดสิกขาบทอยู่ก่อนแล้ว

         แต่หากสมี  รักกลัวไภยในประจุบันกว่า กลัวไภยอนาคต จึ่งสู้สบถสาบาล ให้การ ต่อ พระราชาคณะ ๆ พิภาคษา ว่า ต้องแต่ อาบัติปาจิตตีย์ สมีรักเปนโลกีย์ มีไภยคติ ยังกลัวความตายอยู่ จะเชื่อเอาสบถสาบาล สมีรักมิได้ ก็เหนว่าสมีรักยังหา ปราษจาก มลทินโทษไม่ โดยกระแสทางความ พิจารณาเนื้อความใหญ่ทั้งสองข้อ ฝ่ายพุทธจักรอาณาจักร เปนปัจจัยถึงกัน ติดพันสมีรักอยู่ แต่หากทรง พระกรุณาว่า ยังหามีพระราชกำหนดกฎหมายไม่ จึงงดโทษสมีรักไว้

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า อย่าให้ภิกษุสามเณร ดูเยี่ยงอย่างสมีรัก ห้ามอย่าให้ภิกษุ สามเณร ทั้งปวง จงรับของฝากฆราวาศ จะเสียพระวินัย พระสาศนาไป ถ้าภิกษุ ไม่รับฝาก ห้ามปรามผู้ฝาก ผู้ฝากมิฟังกลัวไภยขืนทิ้งไว้ในกุฎีในทันใดนั้น เจ้ากู จงเดือดร้อนเร่งเอาเพื่อน พรหมจรรย์ ที่ใกล้กันให้หลายองค์รู้เหนเปนพยาน ในราย สิ่งของทั้งนั้นให้แน่ไว้ อย่าให้ผู้อื่นมีความแคลงสงไสยตน ในทันใดนั้น

         จึ่งภาสงฆ์ซึ่งรู้เหนนั้นไปแจ้ง เนื้อความแลสิ่งของแก่พระราชาคณะ เจ้า อธิการ จงประชุมนุมกัน ปฤกษาจงเลอียดให้ ต้องตามพระวินัยบัญญัติ อย่าให้ เสีย สิกขาบท ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย จะปฤกษาประการใด จงประพฤติ์ ตาม ให้สงฆ์ เปนอันมากรู้เหนเปนพยานไว้

         ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะ ปฤกษาให้ช่วย เก็บไว้ ๆ ด้วยเคลือบแคลงอยู่มิรู้ว่า เปนของ ๆ หลวง ฤาของผู้ฝาก ๆ เปนโทษตายไป สงฆ์ทั้งปวง จะนิ่งไว้ ก็จะเปนที่ แคลงแก่ ฆราวาศทั้งปวง จงชวนกันร้อนใจ ดูพระวินัย บัญญัติ ปฤกษากันควรจะ มอบทรัพย สิ่งของให้แก่ผู้ใด ที่จะพ้นจากธุระอาบัติ ก็เร่งเดือดร้อน ปฤกษาจงได้ อย่าให้ผู้อื่นแคลงในพระพุทธสาศนา แลห้ามฝ่าย ฆราวาส อย่าให้เอาของเงินทอง ไปฝาก ภิกษุสามเณรไว้ ทำให้เจ้ากูเสียวินัย สิกขาบท เปนอันขาดทีเดียว

        ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎมหมายนี้ ฝ่ายภิกษุสามเณร จะลง พระราชอาญาโทษ ดุจโทษอทินนาทานปาราชิก จะศึกออกขับเฆี่ยนจนษาหัศ ฝ่ายฆราวาส จะให้ริบราชบาทว์ ขับเฆี่ยนจงหนัก โดยโทษานุโทษ

        อนึ่ง เหตุอ้ายเมือง อ้ายเกิด อ้ายเหลือ อ้ายมา ผู้พวกประทุษฐร้ายแผ่นดิน ทั้งนี้ แต่พื้นเปนเณรใหญ่ แลให้พระราชาคณะจัดแจงดู ถ้าสามเณรรูปใดมีอายุ ควรจะอุปะสมบทแล้ว ก็ให้บวชเข้าร่ำเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระ อย่าให้เที่ยวไปมา เรียนความรู้ อิทธิฤทธิ ให้ผิดธุระ ทั้งสองไป น้ำใจก็จะกำเริบได้เพื่อนฝูงแล้ว จะคบกัน ทำร้ายแผ่นดินดุจครั้งนี้ ถ้าแลสามเณรรูปใดอายุถึงอุปสมบทแล้ว มิได้บวช เที่ยวเล่นโว้เว้อยู่ จับได้จะเอาตัวสามเณรแลซีต้นอาจาริยญาติโยมเปนโทษจงหนัก

        กฎให้ไว้ ณ วันจันทร์ เดือนหก ขึ้นห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์