เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับที่ ๔ (ภาษาดั่งเดิม) N117
Page ฉบับที่ ให้ไว้แก่
N114 ข้าทูลละอองธุลีฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร
N115 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N116 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุงเทพ
N117 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N118 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัดหัวเมือง
N119 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง
N120 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง หัวเมือง
N121 พระสุรัศวะดีซ้ายขวา ในนอก ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน ข้าหลวงกรม พระราชวังบวร
N122 พระราชาคณะ เจ้าอธิการ  านานุกรม ในกรุงนอกกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ
N123 ๑๐ เจ้าพระยาและพระยา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก
 

กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)

กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๔



         กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ ทุกอาราม คามวาศรี อรัญวาศรี จงทั่ว

         สมเด็จบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรม อนันตา สัมภาราดิเรก เอกสุนธรราชศรัทธา เปนมหาสาศนุปถัมภกพระพุทธศาสนา จำเริญ ศรีสวัสดิ ทั้งพระบริญัติ แลปฏิบัติสาศนาให้ถาวรารุ่งเรืองไป เปนที่เลื่อมไสย นมัศการ บูชา แก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาท โดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติ ราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตย เฝ้าพระบาท บงกชมาศ

         มีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า เปนประเพณีใน พระพุทธ สาศนา สืบมาแต่ก่อน มีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ ให้ภิกษุสามเณรอันบวช ในพระพุทธ สาศนา รักษาธุระสองประการ มีคันธธุระวิปัศนาธุระเปนที่ยุดหน่วง ถึงน้ำจิตร จะแปรไป ในกิเลศกามวัดถุกามก็ดี ย่อมคิดถึง ธุระทั้งสองประการ จิตรนั้นก็สงบลง กุลบุตรที่มีวาศนามาก ก็ได้มัคได้ผลพ้นสงสารทุกข ที่บุญน้อย สุดกำลังมิอาจครอง ธุระทั้งสองแล้วก็ดี

         ครั้นจะออกเปนฆราวาศ จะหาเลี้ยงชีวิตก็มิได้ จำจะอยู่เลี้ยงชีวิตอยู่ในสมณะ ให้ลามก มลทิน ในผ้ากาษาวพัตถ์อันเปนธงไชยพระอาริยเจ้า บางคนที่บวชเข้าแล้ว ก็ไม่โลเล หาละธุระทั้งสองเสียไม่อุษาหปรฏิบัติ ถึงมิได้มัคผลในชาตินี้ ก็เปนวาศนา ติดตน ไปใน อนาคต เปนประเพณีมนุษยมีปัญญา ภบเหนพระสาศนาเข้าแล้ว ก็มีความเพียร ปรฏิบัติตาม ธุระทั้งสอง อยู่นิไสยในสำนักครูอุปฌาอาจาริย ๆ ก็ตั้งใจ สั่งสอนตักเตือนกำชับว่ากล่าวกัน มิได้ละเมินพระสาศนาหามิได้ พระสาศนาก็ บริบูรณมา

         แลภิกษุสามเณรทุกวันนี้ ลางรูปบวชเข้ามาแล้ว ก็มิได้ปรฏิบัติตามธุระทั้งสอง เปนภิกษุโลเล ละบุรุษความเพียรนั้น เสีย เสียประโยชนไปในชาตินี้ชาติน่า เอาแต่ ผ้ากาสาวพัตถ์เปนที่พึ่ง เพื่อจะเอาแต่ ความสบายให้บริบูรณกายเนื้อหนัง ดุจ พระพุทธ ฎีกา ตรัสว่าเหมือนโคแลกระบือ เกิดมาแต่จะบริโภคอาหาร ให้จำเริญ แต่เนื้อหนัง จะได้จำเริญ ศีลสมาธิปัญญานั้นหามิได้ แล้วก็มิได้อยู่ใน นิไสยอุปฌา อาจาริย ทั้งอุปฌาจาริย ก็เมิน เสียมิได้กำชับว่ากล่าว ให้ประพฤติ์แล้วตามอำเภอใจ มิได้ร่ำเรียน เอาธุระอันใดที่จะห้าม จิตรบาป ก็ช่วยกันกระทำ อกุศล หบาบช้าทำร้าย แผ่นดิน แลพระพุทธสาศนา ให้เศร้าหมอง ฉะนี้ มิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ห้ามอย่าให้มีภิกษุสามเณรโลเลละวัตร ปรฏิบัติแล ปฏิญาณ ตัวว่า เปนกิจวัด มิได้ร่ำเรียนธุระทั้งสองฝ่าย อย่าให้มีได้เปนอันขาดทีเดียว อนึ่ง บวชเข้าแล้ว ให้อยู่ในหมู่คณะสำนักอุปฌาอาจาริย ๆ จะได้ตั้งใจปรฏิบัติรักษา สิกขาบทอย่าโลเล ให้ศิษยเอาเยี่ยงอย่าง แลพระสาศนาจะรุ่งเรืองขึ้นนั้น เพราะ พระราชาคณะ ให้พระราชา คณะเร่งตักเตือนพิจารณาเหนว่า ศิษยควร ร่ำเรียน คันธธุระ วิปัศนาธุระ อันใดอันหนึ่งได้ ก็ให้ร่ำเรียนธุระอันนั้น แล้วปรฏิบัติตาม พระบริญัติ ปฏิปติสาศนา ให้เปนที่เลื่อมไสย ศรัทธา แก่เทพยดามนุษยทั้งปวงแล้ว

         ให้พระราชาคณะเจ้าอธิการทำบาญชีหางว่าว ภิกษุสามเณร ฝ่ายคันธุระ วิปัศนาธุระ ส่งให้สังฆการีธรรมการ กราบทูลพระกรุณา จะได้ทรงพระราช ศรัทธา บำเพ็ญ พระราชกุศล  แลให้พระราชาคณะเจ้าอธิการสังฆการี ธรรมการกำชับ ว่า กล่าว พระภิกษุสามเณรให้เนือง ๆ

         ถ้าภิกษุแลสามเณรองค์ใดกักขละอยาบช้าสอนยาก อุปฌาอาจาริย จะว่า มิฟัง สั่งสอน เปนหลายครั้งแล้วมิได้ปรฏิบัติตาม ให้กำจัดเสียอย่าให้เข้า หมู่คณะได้ เปนอันขาด ทีเดียว พระสาศนาจึ่งจะรุ่งเรืองสืบไป ถ้าแลพระราชาคณะเจ้า อธิการ ภิกษุ สามเณร สังฆการีธรรมการผู้ใด มิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ จะเอาตัวญาติโยม เปนโทษตามโทษานุโทษ

        กฎให้ไว้ ณ วันอาทิตย เดือนแปด ขึ้นสิบห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

 



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์