เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับที่ ๓ (ภาษาดั่งเดิม) N116
Page ฉบับที่ ให้ไว้แก่
N114 ข้าทูลละอองธุลีฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร
N115 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N116 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุงเทพ
N117 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N118 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัดหัวเมือง
N119 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง
N120 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง หัวเมือง
N121 พระสุรัศวะดีซ้ายขวา ในนอก ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน ข้าหลวงกรม พระราชวังบวร
N122 พระราชาคณะ เจ้าอธิการ  านานุกรม ในกรุงนอกกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ
N123 ๑๐ เจ้าพระยาและพระยา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก
 

กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)

กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๓



         กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงเทพ แลผู้รั้งกรมการหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ แขวง จังหวัด จงทั่ว

         สมเด็จบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตา สัมภาราดิเรกพิบูลย สุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปภัมถก พระพุทธสาศนา จำเริญศรีสวัสดิ์ ทั้งพระบริญัติแล ปฏิปติสาศนาให้ถาวรา รุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสย นมัศการบูชาแก่เทพยดา มนุษย ทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาท โดยบูรพาภิมุข พร้อมอัคมหามนตรี กระวีชาติราช ปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตย เฝ้า พระบาทบงกชมาศ หลวงเมธาธิบดี ศรีราชบัณฑิตย

         รับพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า พระสาศนาจะวัฒนาการตั้ง ไปได้ อาไศรยพระราชอาณาจักร สมเด็จพระมหา กษัตราธิราชเจ้า ผู้ทรงธรรม สงเคราะห พระสาศนา ฝ่ายพระวินัยบัญญัติเล่า พระพุทธองค์ตรัสสอนอนุญาตไว้ว่า ถ้ากุลบุตร บวชเปนพระภิกษุสงฆ์ในพระสาศนาแล้ว ให้อยู่ในสำนักหมู่คณะสงฆ์ แล อุปฌาอาจาริยก่อน จะได้รู้กิจวัตรปรฏิบัติ ถึงมาทว่าจะประพฤติ์ผิดทำทุจริตอันมิควร ก็จะมีความลอายกลัวเพื่อนพรหมจรริย แลครูอุปฌาจะกล่าวติเตียน ความชั่วทุจริต ที่ทำนั้นจะสงบลง

         ศีลนั้นก็จะบริสุทธิ์เปนที่ตั้งแก่สมาธิปัญญาวิปัศนามัคญาณ สำเร็จมัคผลใน หมู่ คณะ สงฆ์ ในสำนักครูอุปฌาอาจาริยนี้ ก็มีเปนอันมากจะนับมิได้ แม้นมาทจะมี ปรารถนา จะหาที่อยู่อันสบายสมควรแก่พระกัมฐานก็ดี ก็ย่อมชักชวนเพื่อน พรหมจรริยที่ร่วม ศรัทธา ด้วยกันสามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ห้าสิบบ้าง เข้ามาถวาย นมัศกา อำลา สมเด็จพระสาศดาแลอุปฌาอาจาริยเปนพยาน แลเปนเพื่อนที่จะได้ทำ สังฆกรรม แลอุโบสถกรรมด้วยกัน เพื่อจะได้ศีลบริสุทธิ์เปนที่ตั้งแก่พระกรรมฐาน ก็สำเร็จมัคผล เพราะมีเพื่อนพรหมจรริยไปเปนพยาน

        อนึ่ง จะทำผิดชอบประการใด จะได้เอาตัวผู้กระทำผิดแลชอบนั้นโดยง่าย เพราะอยู่ในวัดวารประเพณีสืบมา หาอันตรายในพระพุทธสาศนามิได้ แล ภิกษุสงฆ์ ทุกวันนี้ ละพระวินัยบัญญัติเสีย มิได้ระวังตักเตือนสั่งสอนกำชับว่ากล่าวกัน ครั้นบวช เข้าแล้วก็มิได้ให้ศิษย์อยู่ นิไสยในหมู่คณะสงฆ์ ครูอุปฌา อาจาริยก่อน ให้เที่ยวไป โดยอำเภอใจ แต่รูปหนึ่งสองรูปสามรูป ไปตั้งซุ่มซ่อนอยู่ ทำมารยารักษาศีลภาวนา ทำกิริยาให้คนเลื่อมไสยนับถือ สำแดงความรู้ วิชาอวดอิทธิฤทธิ เปนอุตริมนุษธรรม เปนกลโกหก ตั้งตัวว่ามีบุญ ว่าภบคนวิเสศมีวิชามา

         แต่ถ้ำ แต่เขาคิดจะเอาพวกเพื่อนชิงเอาราชสมบัติ ทำให้แผ่นดินแลสาศนา จลาจล ประดุจหนึ่งอ้ายดา อ้ายรอด อ้ายเมือง อ้ายเกิด อ้ายภัก อ้ายโกหกทั้งนี้ แต่พื้นเอาผ้า กาษาวพัตถ์คลุมตัวไว้ในพระสาศนา ชวนกันคิดอุบายกลโกหกอวด อิทธิฤทธิ์ คิดเอาราชสมบัติ แลอ้ายมีที่มีโทษาพยาบาท แลโลภเจตนา หาปัญญา มิได้ ก็มีน้ำใจ กล้าขึ้นเข้าเปนพรรคพวก ชวนกันกระทำประทุษร้ายแผ่นดิน ถึง สามารถ

         ครั้งนี้ หากว่าพระบรมโพธิสมภารล้ำเลิศประเสริฐสามารถ อนึ่ง เทพยดา ตามอพิบาล รักษา ก็บันดาลให้หา อันตรายมิได้ จะมีผู้ใดกราบทูลพระกรุณา ถวาย เหตุอ้าย มีผู้ประทุษฐร้ายหามิได้ อ้ายมีประทุษฐร้ายก็ตายทั้งสอง ประหนึ่งจะมิกลับ ไป แล ก็บันดาล มิให้หนีพ้นจาก ข่ายพระปรีชาเทพยดา ด้วยพระสุบินนิมิตร ให้ทรง พระพินิจ ด้วยกำลังพระปัญญา ก็ได้ตัวอ้ายมีแลพรรคพวกผู้ประทุษฐร้าย เปนสัตย ประจักแจ้ง แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง แลสัตรูอันใหญ่หลวง ประดุจล้ม โลกย ทำลายล้างพระสาศนาเสียทั้งสิ้น

         เพราะเหตุพระสงฆ์ราชาคณะ อธิการผู้ใหญ่ผู้น้อย มิได้เอาใจใส่ตักเตือน ว่ากล่าว ตามพระวินัยบัญญัติ แลให้สงฆ์ศิษยสานุศิษย์ไปเที่ยวซุ่มซ่อน ทำกลโกหก คบค้ากัน ทำร้ายแผ่นดินแลพระสาศนา

        ฝ่ายฆราวาสข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็ละเมินเสียมิได้เอาใจใส่ ระวังรักษา ให้อ้ายอีมีชื่อผู้สัตรู เข้ามาทำอันตรายถึงในพระราชฐาน เปนอุปจารใกล้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวฉนี้ ถ้าจะตามบุราณราชกำหนดกฎหมาย ฝ่ายสมณฆราวาศ มิได้พ้นจากมหันตะโทษอันจะพินาศฉิบหาย

         แต่หากทรงพระกรุณายกโทษไว้ เพราะเหตุยังมิได้ มีพระราชกำหนด กฎหมายก่อน จึ่งงดไว้ให้ลงพระราชอาญา แต่อ้าย มีผู้ประทุษฐ ร้าย แผ่นดิน แลพรรคพวกโคตรญาติกา ถึงสิ้นชีวิตตามพระอัยการแล้ว แลเกิดการ กุลีย์ทั้งนี้ ดูมิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ให้พระราชาคณะจัดแจง ตั้งแต่งภิกษุสงฆ์สามเณร บันดา นอกกรุง ในกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ให้เปนพระราชาคณะ แลอธิการ ให้มีตราตั้งแต่งเปนอักษรชื่ออาราม เปนอักษรขอมสำหรับตัวประจำ ที่พระราชาคณะ เจ้าอธิการทุกตำแหน่ง ทุกอาราม ถ้าแขวงใด เมืองใด พระสงฆ์มาก วัดหนึ่งให้มี ธิการหนึ่ง อันดับ ๙-๑๐ รูปขึ้นไป

         ถ้าพระสงฆ์น้อย อารามหนึ่งให้มีอธิการหนึ่ง อันดับ ๔-๕ รูปขึ้นไป ให้ปรฏิบัติ รักษา พระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ อย่าให้เปนอันตราย ถ้าแลพระสงฆ์ แล สามเณร แขวง จังหวัด เมือง ๑-๒-๓-๔ จะมีศรัทธาเที่ยวเข้ามาร่ำเรียนคันธธุระ วิปัศนาธุระ แลสมณะกิจประการใด ก็จะเขียนฉายาแลชื่อตัวแลพระวะษา แลชื่อ อุปฌาอาจาริย ตีตราราชาคณะหัวเมืองนั้น ๆ มาเปนสำคัญ จะอยู่อารามใดเมืองใด ก็ดี ให้หนังสือแล ตราสำคัญนั้น ๆ แจ้งแก่ราชาคณะเจ้าอธิการในกรุง ถ้าแล พระราชาคณะเจ้าอธิการ ในกรุงเหนหนังสือแลตราสำคัญแล้ว จึ่งให้รับไว้ร่ำเรียน คันธธุระวิปัศนาธุระตามกิจ

         ถ้าแล ฝ่ายพระสงฆ์ สามเณร ณ กรุงเทพ แขวง จังหวัด อารามใด ๆ ก็ศรัทธา จะใคร่เที่ยวไปจำพระวะษา เล่าเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระ ณ แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ นั้น ก็ให้มีหนังสือสัญญาชื่อตัวแลวะษา ชื่ออุปฌาอาจาริย แล อาราม ตีตราพระราชาคณะเจ้าอธิการกุงเปนสำคัญ ไปแจ้งแก่เจ้าอาราม เจ้าคณะ แขวง จังหวัดหัวเมือง ๆ ได้แจ้งหนังสือสัญญาตราสำคัญแล้ว จึ่งรับไว้ให้เล่าเรียน ตามกิจพระวินัย

         อาการดังนี้ แม้นจะชั่วแลดี จะได้สืบสาวรู้ง่าย หนึ่งก็เปนที่คำนับ รู้จักเค้ามูล แห่งกัน จะได้กระทำสังฆกรรมอุโบสถกรรมด้วยกันเปนอันดี หาความรังเกียจแก่กัน มิได้ อนึ่ง ถ้ากุลบุตรจะบวชเรียนอำลาปจุศึกก็ดี ให้รู้ว่ากุลบุตร ชื่อนั้นอยู่บ้านนั้น เปนลูกหลาน ผู้นั้น ๆ แลให้พระราชาคณะเจ้าหมู่เจ้าอธิการแลกรมการหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ นายอำเภอแขวง จังหวัดทั้งปวงกำชับว่ากล่าวสอดแนม ระวังไวดูหมู่คณะ ในแว่น แคว้นแขวงจังหวัดวัดวาอารามบันดาขึ้นแก่ตน อย่าให้มีคนโกหกมารยา คิดร้ายแผ่นดิน แลพระสาศนาให้จลาจล ดุจครั้งนี้ได้ เปนอันขาดทีเดียว

        ห้ามอย่าให้อาณาประชาราษฎรทั้งปวง นับถือคบค้าปรฏิบัติอ้ายโกหก แม้นถึง พวก อ้ายโกหก จะคบคิดกันทำประทุษฐร้ายสักเท่าใดก็ไม่สำเร็จ แต่ภากันตาย วินาศ ฉิบหาย สิ้นโคตร เผ่าพันธุ เปนอันตรายไปเอง ถ้าแลผู้ใดรู้เหนว่าอ้ายพวก เหล่าร้าย คิดกลโกหกมารยาแล้ว แลมิได้จับกุมว่ากล่าวบอก ให้กราบทูลพระกรุณา ละเมิน เสียให้มีคนโกหกมารยา ประทุษฐร้ายแผ่นดินขึ้นในแขวงจังหวัด บ้านเมือง ประเทศ วัดวาอารามคามนิคมแห่งใด ๆ จะเอาเจ้าคณะ เจ้าอาราม เจ้าอธิการ เจ้าเมือง เจ้าบ้าน แขวง จังหวัดในประเทศนั้น ๆ เปนโทษกระบถ ดุจโทษ อ้ายคน โกหกคิดร้าย แผ่นดินแลพระสาศนาเปนจลาจล

        กฎให้ไว้ ณ วันพฤหัสบดี เดือนหก ขึ้นแปดค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์