เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับที่ ๙ (ภาษาดั่งเดิม) N114
Page ฉบับที่ ให้ไว้แก่
N114 ข้าทูลละอองธุลีฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร
N115 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N116 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุงเทพ
N117 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N118 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัดหัวเมือง
N119 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง
N120 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง หัวเมือง
N121 พระสุรัศวะดีซ้ายขวา ในนอก ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน ข้าหลวงกรม พระราชวังบวร
N122 พระราชาคณะ เจ้าอธิการ  านานุกรม ในกรุงนอกกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ
N123 ๑๐ เจ้าพระยาและพระยา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก
 


กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑
จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)

กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๑


         กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร สฐานมงคลผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ แล สังฆการี ธรรมการ พระราชาคณะ พระสงฆ์เจ้าอธิการอนุจรฝ่ายคันธธุระ วิปัศนา ธุระ อรัญวาสีคามวาสี นอกกรุง ในกรุงเทพ ศรีอยุธยา แลหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตะวันตก ตะวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือจงทั่ว

         จึ่งพระบาทสมเด็จบรมนารถ บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ทุกวันนี้ มีพระราช ประณิธาน ปรารถนาพระโพธิญาณสพัญู ประกอบด้วยพระมหา กรุณาญาณ หาก ตักเตือนพระไทยเปนธรรมดา กรุณาจะให้เปนประโยชน แก่สัตว์โลกทั้งปวง

จึ่งสมเด็จบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระ คุณธรรม อนันตา สัมภาราดิเรกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปถัมภก พระพุทธสาศนา จำเริญศรีสวัสดิ ทั้งพระบริญัติ และปฏิปติสาศนา ให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสย
นมัศการบูชา แก่เทพยดามนุษยทั้งปวง

เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหา ปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรี กระวีชาติ ราชปะโรหิตาโหรา ราชบัณฑิตย เฝ้าพระบาทบงกชมาศ ทรงพระราช วิจารญาณ รำพึงถึงพระบริญัติสาศนา พระไตรปิฎกนี้เปนต้น ปฏิบัติมัคผลให้ได้ โลกิยสมบัติ โลกุดรสมบัติเพราะ พระไตรปิฎก จึ่งมีพระราชโองการมาร พระบัณฑูร สุรสีหนาทดำหรัสว่า

โดยต่ำแต่ให้มีพระธรรมเทศนา และสำแดงพระธรรมเทศนา ให้ธรรม เปนทานนั้น มีผล ประเสริฐกว่าสรรพทานทั้งปวง ชื่อว่าให้พระนิพานเปนทาน จนสมเด็จ อัมรินทราธิราช ได้ทรงฟัง แจ้งว่าผลานิสงษเปนอันมาก กราบทูล ขอพรไว้ ให้พระพุทธองค์ มีพระพุทธฎีกา ตรัสสั่งเปนพุทธบัญญัติไว้ ให้ผู้สำแดง และ ผู้มี พระธรรมเทศนา เปนธรรมทานนั้น อุทิศผลไปถึงสมเด็จ อัมรินทราธิราชเจ้า

อนึ่ง แม้ว่าผู้มีอิทธิฤทธิ์จะกระทำพื้นสกล ชมภูทวีปให้ราบเสมอ ดั่งน่ากลองไชยเภรี แล้วแลนิมนต พระอรหรรต์เจ้านั่งแถวหนึ่ง พระอนาคามิแถวหนึ่ง พระศักกิธาคามิ แถวหนึ่ง พระโสดาแถวหนึ่ง มีองค์พระพุทธิเจ้าเปนประธาน แน่นไปในสกลชมภูทวีป แลถวายจตุปัจจัยทานทั้งสี่ มีจีวรเนื้ออันเลอียด ดุจดังยอดตองอันอ่อนนั้นก็ดี ผลานิสงษ ก็มิได้เสมอ เท่าให้มีธรรมเป็นทาน

ครั้งหนึ่ง เหตุฉนี้ จึ่งทรงพระกรุณา แสวงหา อุบายที่จะให้สมณพราหมณ์ เสนาบดี ประชาราษฎรทั้งปวงให้ได้สมบัติ ทั้งสามประการ พ้นจากจัตุราบายทุกขแล สงสารไภย จึ่งทรงพระอนุเคราะห์ ให้ข้า ทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อย สมาทาน ไตรสรณาคม ศีลห้าศีลแปดศีลศิบ

ในสำนักนี้พระสงฆ์ทุกวันทุกเวลา เปนปฏิบัติบูชา กองมหากุศลวิเสศประเสริฐกว่า อามิศบูชา จตุปัจจัยทาน แม้นจะ ถวายทานให้มาก ตราบเท่าถึงพรหมโลกย ผลนั้น ก็มิได้เสมอเท่า กองพระราชกุศล ปฏิบัติบูชา

อนึ่ง ตั้งกองพระราชกุศล ให้มี พระธรรม เทศนา เปนธรรมทานให้ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ฟังดังให้พระนิพาน เปน ทานเปนปฏิปติบูชา กองพระราชมหากุศล อันจะนับประมาณผลนั้นมิได้แล พระบริญัติไตรปิฎกธรรมนี้ เมื่อบุทคนประพฤดิ์ เปน
สัมมาคารวะแล้ว ก็มีผลอัน จะนับประมาณ มิได้ เมื่อประพฤดิ์ผิดมิได้สัมมาคารวะใน พระไตรปิฎกธรรมนั้น ก็จะมีโทษแก่บุทคน อันมิได้ คารวะนั้นเปนครุโทษ อันใหญ่หลวง หนักหนา

ทุกวันนี้สัตวทั้งปวง ตั้งใจ ทำกุศล สิ่งใดตรวดน้ำปรารถนา จะภบ พระพุทธบาท สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ๆ ก็ตรัสสั่งมาแก่พระมาไลยเทวเถรเจ้าว่า ให้ฝูงสัตว์ ทั้งปวงเคารพฟัง มหาเวศสันดร ชาฎก อันประดับด้วยพระคาถาพันหนึ่งนั้น จึ่งจะได้ พบพระองค์ ในอนาคต

แล ทุกวันนี้ อาณาประชาราษฎร ทั้งปวง ลางบ้างให้มี พระมหาเวศสันดร ชาฎก นี้ มิได้มี ความสังเวศเลื่อมไสยเปนธรรมคาวระ ฟังเอาแต่ ถ้อยคำตลกคะนอง อันหา ผลประโยชน มิได้

พระสงฆ์ผู้สำแดงนั้น ลางจำพวกมิได้เล่าเรียนพระไตรปิฎก ได้แต่เนื้อความแปลร้อย เปน กาพกลอน แล้วก็มาสำแดงถ้อยคำตลกคนองอยาบช้า เหนแต่ลาภสการ เลี้ยง ชีวิตร มิได้คิดที่จะร่ำเรียนสืบไป ทำให้พระสาศนาฟั่นเฟือน เสื่อมสูญ ชวนกัน ประมาท ในพระธรรมเทศนา จะได้เสวยทุกขเวทนาในจัตุราบายภูม เปนช้านาน จะมิได้ ภบพระพุทธบาท สาศดา พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าในอนาคต

เหตุฉนี้ บรมกระษัตริย พระองค์ใด จะมีพระกรุณาสงเคราะห์สัตวทั้งปวง ให้พ้น จาก อาบาย ทุกข มิได้ละเมินเฉยเสีย

ครั้งนี้ทรงพระมหากรุณาตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ให้สมเด็จพระสังฆราชพระราชาคณะ พระสงฆ์ฝ่ายบริญัติ นักปราชราชบัณฑิตย ให้พิจารณาค้นดูพระไตรปิฎกนั้น ก็ภบเหน บทว่า ผู้สำแดงแลผู้ฟังธรรมอันประมาท กล่าวถ้อยคำตลกคนองเอาธรรมนั้น มากล่าว เปนอะธรรม

โทษนั้นเปนครุโทษอันใหญ่หลวงโดยอันต่ำไป แต่จะสำแดงธรรม ด้วยเสียงอันเปน เสียงขับนั้นก็เปนโทษ แลเอาธรรมมาผูกเปนกาพย์กลอนพิจิตร ด้วยอักขระเปนเพลง ขับนั้น ก็มิควร เหตุดังนี้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ

สั่งว่า แต่นี้ สืบไปเมื่อน่า ให้พระสงฆ์ผู้สำแดงพระธรรมเทศนา แลราษฎรผู้จะฟัง พระมหาชาติ ชาฎกนั้น สำแดงแลฟังแต่ตามวาระพระบาฬีแล อรรถคาถาฎีกา ให้ บริบูรณด้วย ผลอานิสงษนั้น ก็จะได้ภบ สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย ในอนาคต ตามเทวราช โองการตรัสสั่งมาแก่พระมาไลยเทวเถระนั้น

ห้ามอย่าให้เทศนาแล ฟังเทศนา เปน กาพย์กลอนแลกล่าวถ้อยคำตลกคะนอง เปนการเล่นหัวเราะชื่นชม ด้วยกันประมาท ให้ผิดจากพระวินัยเปนอันขาดทีเดียว แลให้พระภิกษุสงฆ์เถรเณร ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ แลอาณาประชาราษฎรทั้งปวง ประพฤดิ์ตามพระราชกำหนด กฎหมายนี้ จงทุกประการ

        ถ้าพระสงฆ์เถรเณร และอาณาประชาราษฎร ผู้ใดมิได้ประพฤดิ์ตาม พระราช กำหนดกฎหมายนี้ จะเอาตัวผู้มิได้กระทำตามกฎ และญาติโยมพระสงฆ์เถรเณรรูปนั้น เปนโทษตามโทษานุโทษ

        กฎให้ไว้ ณ วันเสาร์ เดือนสิบ ขึ้นห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๔ ปีขาน นักษัตร จัตวาศก ฯ

 



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์