เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับที่ ๖ (ภาษาดั่งเดิม) N119
Page ฉบับที่ ให้ไว้แก่
N114 ข้าทูลละอองธุลีฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่า ฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวร
N115 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N116 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่าย คันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุงเทพ
N117 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุง นอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔
N118 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัดหัวเมือง
N119 สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง
N120 สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระ วิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง หัวเมือง
N121 พระสุรัศวะดีซ้ายขวา ในนอก ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน ข้าหลวงกรม พระราชวังบวร
N122 พระราชาคณะ เจ้าอธิการ  านานุกรม ในกรุงนอกกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ
N123 ๑๐ เจ้าพระยาและพระยา พระหลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก
 

กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๒๔ (พ.ศ.๒๓๒๖)

กฎหมายพระสงฆ์ ฉบับที่ ๖

       

        กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละออง ธุลี พระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้างน่า ข้างใน ฝ่ายทหาร พลเรือน ผู้รั้งกรมการ อาณา ประชาราษฎรนอกกรุง ในกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือทั้งปวง จงทั่ว

        สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตา สัมภาราดิเรก พิบูลสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหา สาศนุปภัมถก พระพุทธสาศนา
 จำเริญศรีสวัสดิทั้งพระบริญัติ แลฏิปติ สาศนา ให้ถาวรารุ่งเรือง ไปเปนที่ เลือมไสย นมัศการบูชา แก่เทพยดามนุษยทั้งปวง

        เสด็จออก ณ พระที่นั่ง ดุสิดา มหาปราสาท โดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหา มนตรี กระวีชาติ ราชปะโรหิตา โหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาท บงกชมาศ สมเด็จ บรมนารถ บรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิทราชธรรมอันประเสริฐ ตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า แต่ก่อน ฆราวาศผู้จะทำ ทานแก่ภิกษุสงฆ์ โดยต่ำแต่เข้าทัพพีหนึ่ง ก็มีผล ปรากฎในชั่วนี้ชั่วน่า เพราะพระภิกษุ ผู้รับทาน นั้น ทรงศีล บริสุทธิ์ ฝ่ายฆราวาศ ผู้จะให้ทานนั้น ก็มีปัญญาย่อมตักเตือน มิได้เกียจคร้าน จ่ายทรัพยตกแต่งทาน ประณีตบันจง เปนจัตุปัจจัยทานตามพระพุทธ โอวาทตรัสสอนไว้

        แล ผู้ให้ผู้รับทั้งสองฝ่ายสุจริตดีจริง จึ่งให้ผลมากประจัก ในชั่วนี้ ชั่วน่า สืบมา ทุกวันนี้ ภิกษุแลสามเณรผู้รับทานรักษา สิกขาบทนั้น ก็ฟั่นเฟือนมักมาก โลภ รับเงิน ทอง ของอันมิควร ด้วยกิจพระวินัยสั่งสมทรัพยสิ่งของ เที่ยวผสมประสาน ทำการ ของ ฆราวาศ การสพ การเบญจา เปนหมอนวดหมอยาหมอดู ใช้สอย อาษาการ คฤหัฐ แลให้สิ่งของต่าง ๆ แก่คฤหัฐ เพื่อจะให้เปนประโยชน จะให้เกิด ลาภ เลี้ยงชีวิตร ผิดธรรม มิควรนักแม้ว่าท่านพระอุประคุตเถรเจ้า อันเปน อรหรรต เหมือนน้ำเต็มกระออมอยู่แล้ว

        เมื่อรับปัฏิญาณพระมหาเถระทั้งปวง ที่จะธรมานพระยามาร เมื่อกระทำการ ฉลอง พระวิหารแปดหมื่นสี่พันนั้น จึ่งกล่าว แก่ พระสงฆ์ทั้งปวงว่า ข้าพเจ้าจะพึงได้ อาหาร ที่ชอบธรรมที่ใดมาฉันเปนกำลัง ภิกษุองค์หนึ่งจึ่งรับว่า ข้าพระเจ้า จะรับถวาย พระอุประคุตจึ่งถามว่าอาหารของท่านได้ด้วยเหตุอันใด

        ภิกษุจึ่งบอกว่า อาหารนี้ข้าพระเจ้าได้ด้วยผลทาน เมื่อครั้งข้าพระเจ้าเปนภิกษุ แต่ชาติก่อน เปนตระกูลพราหมณ์ แห่งหนึ่ง ทายกเขานิมนตเข้าไปฉันมธุปายาศ ข้าพระเจ้าฉันอิ่มพ้นประมาณ ล้วงคอรากมธุปายาศออก ให้ทาน แก่แม่สุนักจักษุบอด ด้วยผลทานนี้ ให้บังเกิดอาหารทิพย แก่ข้าพระเจ้าวันละสองบาตรเหล็ก

        ข้าพระเจ้าขอถวายแก่ พระผู้เปนเจ้า พระอุประคุตห้ามว่า อาหารของท่านหา ชอบ ธรรม ไม่ เหตุว่าท่านบริโภค เหลือ ประมาณจำเปนให้ทาน แลภิกษุองค์หนึ่ง จึ่งว่าอาหารของข้าพระเจ้าบังเกิดด้วยผลทานแต่ชาติก่อน ข้าพระเจ้าภา ภิกษุเพื่อน ของ ข้าพระเจ้า เข้าไปในเรือนบิดาข้าพระเจ้าวันละสี่รูปทุกวัน ด้วยผลทานนั้น ก็บังเกิด อาหารทิพย แก่ข้าพระเจ้าในชาตินี้ วันละสี่บาตรเหล็ก จะขอถวาย พระผู้เปนเจ้า พระอุประคุตเถรเจ้าก็ห้ามเสียว่า อาหาร แห่งท่าน บังเกิดแต่ตัณหา สัณฐวะ บิดาท่าน รักท่านจึ่งพลอยให้ภิกษุสี่รูปฉัน เรามิควรจะบริโภค

        อนึ่ง พระษาริบุตรเถรเจ้าป่วยอุทรโรค ๆ นั้น ชอบฉันมธุปายาศหาย จึ่งบอกแก่ พระโมคคัลลานะเถรเจ้า ๆ ก็ว่าจะไป บิณฑบาตรตามบุญ เทพยดาฟังสนทนา  ก็ไปสู่โยมอุปฐากพระษาริบุตรเถรเจ้าเข้าบิดคอ จึ่งชนทั้งปวงถามว่า ท่านกระทำ เบียดเบียน มนุษยดังนี้ จะปรารถนาสิ่งใด เทพยดาบอกว่า เราปรารถนาเข้า มธุปายาศ ให้พวก ท่าน ทำถวาย พระษาริบุตรเถรเจ้า

        ชนทั้งปวงจึ่งว่าเราจะทำถวายท่าน จงออกไปเถิด เทพยดาก็ออกจากกาย ชนทั้งหลาย ก็กระทำ มธุปายาศ เวลาเช้า ใส่บาตรพระโมคคัลลานะ ๆ จึ่งนำมา ถวายพระษาริบุตรเถรเจ้า ๆ พิจารณาก็แจ้งว่าอาหารนี้ มิชอบธรรม เกิดแต่ เทพยดา ไปเบียดเบียนบอกกล่าวขอเอามธุปายาศ 

        จึ่งกล่าวว่าดูกรอาวุโสโมคคัลลานะ อาหารนี้มิเปนธรรม แม้ใส้เราจะขาด ออกมา ถึงแก่ความตาย ก็ดูประเสริฐกว่าการ บริโภคอาหาร อันมิชอบธรรมนี้อีก ท่านจง ไปเทเสีย ทั้งบาตร เถิด พระโมคคัลลานะก็เทเสีย แต่มาทว่า พระโมค คัลลานะ คว่ำบาตรเทอาหารตกเหนือดิน ด้วยอำนาจ อาชีวะปาริสุทธิศีล อันบริสุทธิ์ พระษาริบุตรเถรเจ้า ก็หายอุทรโรคในขณะนั้น เปนเยี่ยงอย่าง พระอาจาริยเจ้า ประพฤติมาฉนี้

        แลภิกษุทุกวันนี้บวชเข้ามิได้กระทำตามพระวินัย ปติบัติเหนแต่จะเลี้ยงชีวิตร ผิดธรรม ให้มีแต่เนื้อหนังบริบูรณ ประดุจโคกระบือมีแต่บริโภคอาหาร ให้จำเริญ เนื้อหนัง จะได้จำเริญสติปัญญานั้นหามิได้ เปนภิกษุสามเณรลามก ในพระสาศนา ฝ่ายฆราวาศก็ปราศจากปัญญา มิได้รู้ว่าทำทานฉนี้ จะเกิดผลมากน้อยแก่ตนหามิได้ มักภอใจ ทำทานแก่ภิกษุสามเณรอันผสมประสานทำการของตนจึ่งทำทาน

        บางคนยังมักง่าย ถวายเงินทองของอันเปนอะกัปิยะ มิควรแก่สมณะ สมณะก็มีใจ โลภสั่งสมทรัพยเลี้ยงชีวิตร ผิด พระพุทธบัญญัติฉนี้ ได้ชื่อว่าฆราวาส หมู่นั้น ให้กำลังแก่ภิกษุโจรอันปล้นพระสาศนา ทานนั้นหาผลมิได้ชื่อว่า ทำลาย พระสาศนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ห้ามมิให้ภิกษุสามเณรสงเคราะหฆราวาศ ให้ผลไม้ดอกไม้ ใบไม้เปนต้น แล้วอย่าให้ผสม ประสาน ขอกล่าวป่าวร้องเรี่ยไรสิ่งของอันเปน ของ ฆราวาศอันมิใช่ญาติ แล้วอย่าให้ทำการสพแลทำเบญจา การฆราวาศ ทั้งปวง แล้วอย่าให้เปนหมอนวด หมอยา หมอดูต่าง ๆ แลอย่าให้แก่คฤหัฐอันมิใช่ญาติ แลห้าม อย่าให้เปนทูตใช้สอยนำข่าวสารการฆราวาศ แลห้ามบันดาการทั้งปวง อันกระทำผิดจากพระปาฏิโมกขสังวรวินัย

        ภิกษุรูปใดมีอธิกรณข้อใหญ่ สงฆ์พิภากษามิถ่องแท้เปนฉายาเงาปาราชิก ควรจะเสีย อยู่ข้างการลามก ในพระสาศนา เปนที่สงไสยสงฆ์ทั้งปวงอยู่แล้ว อย่าให้ เอาไว้ให้ศึกเสีย เหตุภิกษุเหล่านี้ ครั้นกระทำผิดข้อใหญ่แล้ว ก็มิได้กลัวไภยในนรก กลัวไภยในประจุบัน  มากครั้งเอามาถามหารับตามจริงไม่ มักทนสบถษาบาล ให้การ เคลือบแฝง ฉะนี้ มีเปนอันมาก

        อนึ่ง ห้ามฝ่ายฆราวาศทั้งปวง อย่าให้ถวายเงินทองนากแก้วแหวนแลสิ่งของ อันมิควร แก่สมณะเปนต้น แลทองเหลือง ทองขาวทองสำฤทธแก่ภิกษุสามเณร แลห้าม อย่าให้ ถวายบาตร นอกกว่าบาตรเหล็กบาตรดิน แลนิมนตใช้สอย พระภิกษุสามเณร ให้ทำการสพการเบญจาแลให้นวดแลทำยา ดูลักขณะ ดูเคราะห แลวาดเขียน แกะสลักเปนรูปสัตว แลใช้นำข่าวสารการฆราวาศต่าง ๆ

        แลห้ามบันดาการภิกษุสามเณร กระทำผิดจากพระปาฎิโมกขสังวรวินัย ที่พรรณนา ห้ามแล้วนั้น อย่าให้ฆราวาสทำตามน้ำใจภิกษุสามเณร อันกระทำเปน อันขาดทีเดียว

        ถ้าแลพระราชาคณะเจ้าอธิการ ภิกษุสามเณร ฆราวาศแลสังฆการีธรรมการ ผู้ใดมิได้กระทำ ตามพระราชกำหนด กฎหมายนี้ แลละเมินเสียมิได้กำชับว่ากล่าวกัน กระทำให้ผิด พระสาศนาเศร้าหมองดุจหนึ่งแต่ก่อนนั้น ฝ่ายพระราชา คณะเจ้า
อธิการ ภิกษุสามเณร จะเอาญาติโยมเปนโทษ ฝ่ายฆราวาศทั้งปวงจะให้ลง พระราช อาญา เฆี่ยนตีตามโทษานุโทษ

        กฎให้ไว้ ณ วันอาทิตย เดือนแปด ขึ้นสิบห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์