เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อริยะวินัย (บางพระสูตรจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง) 920-7
 
 
ฉบับหลวง ออกไปหน้าแรก
 
 
 
1

ภิกษุไม่ควรไหว้บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ บวชทีหลัง คฤหัสถ์-สามเณร ผู้กล่าวธรรมไม่ถูกต้อง ภิกษุต้องอาบัติ

2 ภิกษุควรไหว้บุคคล ๓ จำพวก ไหว้ภิกษุผู้บวชก่อน ไหว้ภิกษุกล่าวธรรมวาที(กล่าวธรรมถูกต้อง) ไหว้ตถาคต
3 แกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน ห้ามแกล้งสวดปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ให้ได้ยิน ให้สวดด้วยความตั้งใจ
4 ปาราชิก ๔ เป็นอาบัติหนัก แก้ไขไม่ได้เลย ต้องสึกอย่างเดียว เสพเมถุน ลักขโมย ฆ่ามนุษย์ อวดคุณวิเศษ
5 อุโบสถ ๘ ประการ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ เว้นเมถุน ไม่พูดเท็จ ไม่ดึ่มน้ำเมา ไม่ฉันยามวิกาล ไม่ทัดดอกไม้ ไม่นอนที่สูง
6 รวมพระสูตร ภิกษุฉันมื้อเดียว เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล
7 ภิกษุกำลังฉัน ห้ามลุก ถ้าให้ลุกขึ้น ย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วย (ลุกแล้ว ห้ามฉันต่อ)
 
 
 
 


1
ภิกษุไม่ควรไหว้บุคคล ๑๐ จำพวกนี้
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๗๕

          [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้คือ อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อน

1) ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง (ไม่ไหวภิกษุบวชทีหลัง) 
2) ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน  (ไม่ควรไหว้ คฤหัสถ์ สามเณร)
3) ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที (ผู้กล่าวธรรมไม่ถูกต้อง)
4) ไม่ควรไหว้มาตุคาม (ไม่ควรไหว้สตรี)
5) ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ (กระเทย)
6) ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส (ภิกษุอยู่ระหว่างชดใช้ความผิด หรือถูกทำโทษ)
7) ไม่ควรไหว้ ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม  
8) ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต (กำลังจะออกจากความเป็นสงฆ์ อาบัติสังฆาทิเสส)
9) ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต (ต้องอาบัติสังฆาทิเสส)
10) ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน (การกลับเข้าหมู่หลังต้องอาบัติสังฆาทิเสส)

บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้ ฯ



2
ภิกษุควรไหว้บุคคล ๓ จำพวก
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๗๕

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ภิกษุควรไหว้ คือ
1) ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน (บวชทีหลังไหว้ผู้บวชก่อน)
2) ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่าแต่เป็นธรรมวาที (ผู้กล่าวธรรมถูกต้อง)
3) ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ (ไหว้ตถาคต)

บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้ ฯ



3
แกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน

ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๘๗

          [๑๗๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์แกล้งสวดปาติโมกข์ ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ให้ได้ยิน. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งห้าม ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สวดปาติโมกข์ไม่พึงแกล้งสวดไม่ให้ได้ยิน รูปใดสวด ไม่ให้ได้ยิน ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ท่านพระอุทายีเป็นผู้สวดปาติโมกข์แก่สงฆ์ แต่มีเสียงเครือดุจเสียงกา.
ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้วว่า ภิกษุสวดปาติโมกข์ต้องสวดให้ได้ยินทั่วกัน ก็อาตมามีเสียงเครือดุจเสียงกา อาตมาจะพึงปฏิบัติอย่างไร หนอ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ที่สวดปาติโมกข์ พยายามสวด ด้วยตั้งใจว่าจะสวดให้ได้ยินถ้อยคำทั่วกัน เมื่อพยายาม ไม่ต้องอาบัติ.

บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้ ฯ



4

ปาราชิก ๔

อาบัติปาราชิกทั้ง 4 นี้เป็นอาบัติหนักที่เรียกว่า อเตกิจฉา คือแก้ไขไม่ได้เลย (คือต้องออกจากความเป็นพระ -ต้องสึก)
    1.เสพเมถุน (แม้ในสัตว์เดรัจฉาน)
    2.ลักขโมย
    3.ฆ่ามนุษย์
(แม้แสวงหาศัสตรา หรือชักชวนให้ฆ่า)
    4.อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
(ธรรมอันยิ่งยวด เช่นฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ)

ปาราชิก สิกขาบทที่ ๑
อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาบท และ สาชีพ ของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืน สิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒
อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ใหด้วย ส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำ ไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ ไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอา ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ปาราชิก สิกขาบทที่ ๓
อนึ่ง ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิต ให้แก่ กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย ด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย จะประโยชน์ อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยาก แค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่า 26 คัมภีร์ มหาวิภังค์ ภาค ๑ (วินัยปิฎก เล่มที่ ๑) เป็นอยู่ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความ ตาย ก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ปาราชิก สิกขาบทที่ ๔
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม* อันเป็น ความรู้ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตน ว่าข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็น อย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้ อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได
* (อวดอุตริในธรรมที่ไม่มีในตน คือกล่าวธรรมที่ตนไม่รู้ไม่จริง แต่อวดว่ารู้ )

อุตริมนุสธรรม หรือ อุตริมนุษยธรรม แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของ มนุษย์ ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของ มนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว ซึ่งก็คือ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติมรรค และผล

การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สามารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวด อุตริมนุสธรรม หรืออวดอุตริมนุษยธรรม (ที่มา วิกิพีเดีย)


เรื่องภารทวาชะ เหาะไปปลดบาตรไม้ (P243)
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สมไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้แสดง อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรม อัน ยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่ง บาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจ ซากศพเล่า มาตุคามแสดง ของลับ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจ ซากศพ แม้ฉันใด เธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดง อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรม อัน ยวดยิ่ง ของมนุษย์ แก่พวก คฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตร ไม้ซึ่งเป็น ดุจซากศพ การกระทำ ของเธอนั่นไม่เป็นไป เพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง แสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่ง ของ มนุษย์ แก่พวก คฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
(ผิดทุกข้อ รวมทั้งปาราชิก๔ด้วย)

ข้อสรุป เรื่องอวดอุตริมนุสธรรม
1. ไม่มีธรรมอันยิ่งยวดในตน แต่โอ้อวดว่าธรรมนั้นมีในตน เป็นอาบัติปาราชิก (อาบัติหนักปรับสึก)
2. มีธรรมอันยิ่งยวดในตน แต่มีการโอ้อวด หรือแสดงให้เห็น ให้ปรับอาบัติทุกกฎ (อาบัติเบา)



5

วิตถตสูตร
อุโบสถ ๘ ประการ
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก- นวกนิบาต หน้าที่ ๑๙๗

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล บางคน ในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตามเข้าอยู่ อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายเราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือน ของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ ฯ

๑. บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์
๒. ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. พึงเว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่ความประพฤติของพรหม
๔. ไม่พึงพูดเท็จ
๕. ไม่พึงดื่มน้ำเมา
๖. ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาลในราตรี
๗. ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม
๘. พึงนอนบนเตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า


บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ๘ ประการนี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศแล้ว พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองส่องแสงสว่างไสว ย่อมโคจร ไปตามวีถีเพียงไรพระจันทร์ และพระอาทิตย์นั้นก็ขจัดมืดได้เพียงนั้น ลอยอยู่บน อากาศ ส่องแสงสว่างทั่วทุกทิศในท้องฟ้า ทรัพย์ใดอันมีอยู่ในระหว่างนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์อย่างดี หรือทองมีสีสุกใส ที่เรียกกันว่า หตกะ พระจันทร์ พระอาทิตย์ และทรัพย์นั้นๆ ก็ยังไม่ได้แม้เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

เปรียบเหมือนรัศมีพระจันทร์ ข่มหมู่ดวงดาวทั้งหมด ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ หญิงหรือชายผู้มีศีล เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว กระทำบุญ ทั้งหลายอันมีสุขเป็นกำไรไม่มีใครติเตียน ย่อมเข้าถึงสวรรค์ ฯ



6

รวมพระสูตร ภิกษุฉัน มื้อเดียว

1) สมฺปนฺนสีลา เรื่องจุลศีล : เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันใน เวลาวิกาล

2) วิตถตสูตร (อุโบสถ ๘ ประการ) : ข้อ ๖. ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาลในราตรี

3) กีฏาคิริสูตร คุณของการฉันอาหารน้อย : เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และ เมื่อเราฉัน โภชนะ เว้นการฉัน ในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้ กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ

4) กกจูปมสูตร ประโยชน์ของการฉันอาหารมื้อเดียว : เราได้เตือนภิกษุทั้งหลายณ ที่นี้ว่า ‘เราฉันอาหารมื้อเดียว เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว ย่อมรู้สึกว่ามี อาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความ เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุกมาเถิด  แม้พวกเธอก็จงฉันอาหารมื้อเดียว

5) ฉวิโสธนสูตร ข้าพเจ้านั้น เป็นผู้งดขาดจากการล้างผลาญพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉัน อาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากฉันในราตรีกาลและวิกาล

6) อุโปสถสูตร : (ข้อ ๕๑๐)....... พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการ บริโภค ในราตรี งดจาก การบริโภคในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ ในวันนี้ แม้ด้วย องค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตาม พระอรหันต์ทั้งหลาย

7) ภเวสิสูตร : ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านทั้งหลายจงจำเราไว้ว่า เป็นผู้ บริโภค อาหารมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล … ภเวสี อุบาสก อุบาสก ผู้เป็นเจ้า จักเป็นผู้บริโภค อาหารมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการ บริโภค อาหารในเวลาวิกาล ก็ไฉนเราทั้งหลายจักเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลไม่ได้เล่า

8) ภัททาลิสูตร คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว : ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัต ครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาก่อน ภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มี อาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉัน อาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เถิด

9) ลฑุกิโกปมสูตร เรื่องพระอุทายี : ดูกรภิกษุทั้งหลายเราขอเตือน เธอทั้งหลายจงละการฉัน โภชนะในเวลาวิกาล ในเวลากลางวันนั้นเสียเถิด

(ดูพระสูตรเต็ม)



7
เรื่องให้ภิกษุกำลังฉันค้างอยู่ลุกขึ้น
ถ้าให้ลุกขึ้น ย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วย (ลุกแล้ว ห้ามฉันต่อ)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗  วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๗๘

       [๒๗๒] ....ไฉนเธอมาทีหลัง  จึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉัน อาหารค้างอยู่ โรงอาหารได้เกิด โกลาหลขึ้น การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง ให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหาร ค้างอยู่ รูปใดให้ลุกขึ้นต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าให้ลุกขึ้น ย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วย (ลุกแล้วฉันต่อไม่ได้) พึงกล่าวว่าท่านจงไปหาน้ำมา ถ้าได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้ว จึงให้อาสนะ แก่ภิกษุผู้แก่กว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เรากล่าวมิได้หมายความว่า ภิกษุพึง  หวงกันอาสนะ แก่ภิกษุผู้แก่กว่าโดยปริยายไรๆ รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

จบ



ออกไปหน้าแรก

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์