เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  นิททสวัตถุสูตร : นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้ เป็นไฉน 921
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ใน...
1.) ในการสมาทานสิกขา และยินดีในการสมาทานสิกขาต่อไป
2.) ในการใคร่ครวญธรรม และยินดีในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
3.) ในอันที่จะกำจัดความอยาก และยินดีที่จะกำจัดความอยากต่อไป
4.) ในการหลีกเร้น และยินดีในการหลีกเร้นต่อไป
5.) ในการปรารภความเพียร และยินดีในการปรารภความเพียรต่อไป
6.) นความเป็นผู้มีสติรอบคอบ และยินดีในความเป็นผู้มีสติรอบคอบต่อไป
7.) ในการแทงตลอดด้วยทิฐิ และยินดีในการแทงตลอดด้วยทิฐิต่อไป

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๑๖


นิททสวัตถุสูตร

     [๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้ 

๗ ประการเป็นไฉน  คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1.) เป็นผู้มีความ พอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และเป็นผู้ได้ความยินดีในการสมาทานสิกขาต่อไป ๑

2.) เป็นผู้มีความ พอใจอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และเป็นผู้ได้ความยินดีในการใคร่ครวญธรรมต่อไป ๑

3.) เป็นผู้มีความ พอใจอย่างแรงกล้าในอันที่จะกำจัด ความอยาก และเป็นผู้ได้ความยินดีในอันที่จะกำจัดความอยากต่อไป ๑

4.) เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และเป็นผู้ได้ความยินดีในการหลีกเร้นต่อไป ๑

5.) เป็นผู้มีความ พอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และเป็นผู้ได้ความยินดีในการปรารภความเพียรต่อไป ๑

6.) เป็นผู้มีความ พอใจอย่างแรงกล้าในความเป็นผู้มีสติรอบคอบ และเป็นผู้ได้ความยินดีในความเป็นผู้มีสติรอบคอบต่อไป ๑

7.) เป็นผู้มีความ พอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฐิ และเป็นผู้ได้ความยินดีในการแทงตลอดด้วยทิฐิต่อไป ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์