เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เรื่องทรัพย์ในความหมายของพุทธศาสนา (ธรรม ๗ ประการ) 922
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อัปปิยสูตรที่ ๑
อัปปิยสูตรที่ ๒
พลสูตรที่ ๑
พลสูตรที่ ๒
ธนสูตรที่ ๑
ธนสูตรที่ ๒
อุคคสูตร


 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๑



อัปปิยสูตรที่ ๑

     [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนาลามก ๑ มีความเห็นผิด ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนาน้อย ๑ มีความเห็นชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ

อัปปิยสูตรที่ ๒


     [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม  ๗ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ เป็นผู้มุ่ง ความมีชื่อเสียง ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความริษยา ๑ มีความตระหนี่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ ชอบใจไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่ง ความมีชื่อเสียง ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีความริษยา ๑ ไม่ตระหนี่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พลสูตรที่ ๑

     [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ศรัทธาพล ะวิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล ฯศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละสมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗ ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗ ประการนี้ เป็นบัณฑิตย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย ย่อมเห็นอรรถแห่งธรรมชัด ด้วยปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของภิกษุนั้นย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น

พลสูตรที่ ๒

     [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้  ๗ ประการเป็นไฉน คือ ศรัทธาพล ะวิริยพละ หิริพละ   โอตตัปปพละ   สติพละ   สมาธิพละ   ปัญญาพละ 

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศรัทธาพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯเป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ศรัทธาพละ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิริยพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยพละ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หิริพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการ ถูกต้องอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โอตตัปปพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่าโอตตัปปพละ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สติพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมระลึกนึกถึง แม้สิ่งที่ทำคำ ที่พูดไว้นานๆ ได้ นี้เรียกว่า สติพละ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย นี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เรียกว่า สมาธิพละ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่าปัญญาพละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล ฯ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗ ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗ ประการนี้ เป็นบัณฑิตย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย ย่อมเห็นอรรถ แห่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของภิกษุนั้น ย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น  

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธนสูตรที่ ๑

     [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ประการนี้แล

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะและปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้ มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้น ไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของ พระพุทธเจ้า พึงประกอบศรัทธา ศีลความเลื่อมใส และการเห็นธรรม

ธนสูตรที่ ๒

     [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ จากการดื่ม น้ำเมาคือสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือหิริ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัว ต่อ กายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะ อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอยินดีในทานและ การจำแนกทาน นี้เรียกว่าทรัพย์คือจาคะ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่าทรัพย์คือปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลายทรัพย์ ๗ ประการนี้แล

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญา เป็นที่ ๗ ทรัพย์ เหล่านี้ มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้น ไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอน ของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------

อุคคสูตร


[๗] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ของพระราชาชื่อว่าอุคคะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา โดยเหตุที่มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานโรหณเศรษฐี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากถึงเพียงนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

ดูกรอุคคะ ก็มิคารเศรษฐีหลานโรหณเศรษฐี มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก สักเท่าไร ฯ

      อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีทองแสนลิ่ม จะกล่าวไปไยถึงเงิน

      พ. ดูกรอุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่แล เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ทรัพย์นั้นแล เป็นของ ทั่วไปแก่ ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก

      ดูกรอุคคะทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ๗ ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูกรอุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แลไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ฯ

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ  สุตะ จาคะและปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้ มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ ชายก็ตาม เป็นผู้มีทรัพย์มากในโลก อันอะไรๆ พึงผจญไม่ได้ ในเทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธาศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม

 

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์