เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ติสสสูตร พระโมคคัลลานะ สนทนากับพรหมตัสสะ ในญาณหยั่งรู้ของเทวดา ที่ล่วงรู้
  อุปาทานขันธ์ที่เหลืออยู่ และ อุปาทานขันธ์ที่ไม่เหลือของมนุษย์
923
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

พระโมคคัลลานะ สนทนากับพรหมตัสสะ ในญาณหยั่งรู้ของเทวดา

เทวดาได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่ามีภิกษุณีหลุดพ้นเพราะไม่มีในอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ พระผู้มีพระภาคให้ พระโมคคัลลาละไปหาคำตอบว่า เป็นเทวดาหมู่ใด ที่มีญาณหยังรู้เช่นนี้

พระโมคคัลลานะหายตัวจากเขา คิชฌกูฏ ไปปรากฏที่ชั้นพรหม เพื่อพบกับ ติสสะ อดีตเป็นภิกษุที่มรณภาพ แล้วไม่นาน และเข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง พรหมติสสะ ได้อธิบายว่าเทวดาชั้นพรหมไม่ใช่ทั้งหมด ที่มีญาณ หยั่งรู้

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
1.เทวดาชั้นพรหม ที่ยังยินดี ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเครื่องสลัดออก เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ไม่มีญาณหยั่งรู้ ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลืออบู่ หรือยังไม่เหลืออยู่

2.ส่วนเทวดาชั้นพรหม ที่ไม่ยินดี
ด้วยอายุ วรรณะ สุขยศ และรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเครื่องสลัดออก เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้

ทวดาที่มีญาณหยังรู้มี ๗ ประเภท
2.1 เทวดาผู้เป็น อุภโตภาควิมุติ มีญาณหยั่งรู้ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ
2.2 เทวดาผู้เป็น ปัญญาวิมุติ มีญาณหยั่งรู้ ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ
2.3 เทวดาผู้เป็น เป็นกายสักขี มีญาณหยั่งรู้ ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ
2.4 เทวดาผู้เป็น เป็นทิฏฐิปัตตะ ผู้ถึงที่สุดทิฐิ ฯลฯ
2.5 เทวดาผู้เป็น เป็นสัทธาวิมุติ ผู้หลุดพ้นเพราะศรัทธา ฯลฯ
2.6 เทวดาผู้เป็น เป็นธัมมานุสารี มีญาณหยั่งรู้ ในบุคคล ผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ
2.7 เทวดาผู้เป็น อนิมิตตวิหารี ผู้มีปรกติบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ ที่พระผู้มีพระภาคกล่าวเสริม

จากนั้นพระโมคคัลลานะ นำข้อความสนทนากับ ติสสะพรหม ไปรายงานให้พระผู้มีพระภาคได้ทราบ
ดูกรโมคคัลลานะ ก็ท้าวติสสพรหมไม่ได้แสดงบุคคล
อนิมิตตวิหารี ที่ แก่เธอหรือ
(ผู้มีปรกติบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้่)

พ. ดูกรโมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิ อันหานิมิตมิได้
เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลบรรลุเจโตสมาธิ อันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจ ถึงนิมิต ทั้งปวงอยู่ แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพ เสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่ง พรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มี อุปาทานขันธ์ เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ (เทวดาประเภทที่ 2.7)


อ่านต่อ บุคคล 7 จำพวกเป็นไฉน P866
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๖๔

ติสสสูตร



     [๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเทวดาตนหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว

เทวดาอีกตนหนึ่งกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย

ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้น ทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาค ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป มีเทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขา คิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวกะเราว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่งกล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นครั้นกล่าวแล้ว อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นแล

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งอยู่ในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ท่านคิดเห็นว่า เทวดาเหล่าไหนหนอ มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคล ผู้ยังมี อุปานขันธ์ เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือ ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ

ก็ในสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อ ติสสะ มรณภาพแล้วไม่นาน เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง แม้ในพรหมโลกนั้น ก็รู้กันอย่างนี้ว่า ท้าวติสสพรหมเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระมหามโคคัลลานะหายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏ ณ พรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้นท้าวติสสพรหม ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าว กะท่านว่า ข้าแต่ ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์นิมนต์ มาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานแล้ว ที่ท่านกระทำปริยาย เพื่อมาที่นี้ ขอนิมนต์ท่าน นั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้ดีแล้ว ฯ
(ภิกษุชื่อติสสะ มรรณะภาพ และไปเกิดเป็นเทวดาชั้นพรหม)

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ ติสสพรหม  อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา โมคคัลลานะได้ถามว่า ดูกรติสสะ เทวดาเหล่าไหนแล มีญาณหยั่งรู้ อย่างนี้ในบุคคม ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือใน บุคคลผู้ไม่มี อุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

     ติสสพรหมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหม ย่อมมี ญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคล ผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

     ม. เทวดาชั้นพรหมทั้งหมด หรือ ที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์ เหลือว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

      ต. ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมไม่ใช่ทั้งหมด ที่มีญาณ หยั่งรู้ อย่างนี้ ... ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมเหล่าใด ผู้ยินดี ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม แต่ไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ไม่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคล ผู้มีอุปาทานขันธ์ เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ส่วนเทวดาชั้นพรหม เหล่าใด ไม่ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุขยศ และความเป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม และรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ...
(พรหมผู้ยินดี ใน ลาภ ยศ สรรเสริญ ไม่รู้ชัดอุบายเครื่องออก.. จะไม่มีญาณหยังรู้
ส่วนพรหมผู้ไม่ยินดี เหล่านั้น ย่อมมีญาณหยังรู้) )


(1) ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น อุภโตภาควิมุติ เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล เป็นอุภโตภาควิมุติ กายของท่าน จักตั้งอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย จักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณ หยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ
(เทวดาผู้เป็น อุภโตภาควิมุติ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ในบุคคลผู้ไม่มีมีอุปาทานขันธ์เหลือ)

(2) ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นปัญญาวิมุติ เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นปัญญาวิมุติ กายของท่าน จักตั้งอยู่ เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคล ผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ
(เทวดาผู้เป็นปัญญาวิมุติ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ในบุคคลผู้ไม่มีมีอุปาทานขันธ์เหลือ)

(3) ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นกายสักขี (ผู้บรรลุฌานแล้วกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน) เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นกายสักขี แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพ เสนาสนะ ที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ อย่างนี้ ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ
(เทวดาที่เป็นกายสักขี ย่อมรู้บุคคลผู้มีอุปทานาขันธ์เหลือ)

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้
(4) เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้ถึงที่สุดทิฐิ) ฯลฯ
(5) เป็นสัทธาวิมุติ (ผู้หลุดพ้นเพราะศรัทธา) ฯลฯ

(6) ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมานุสารี (ผู้ดำเนินตามกระแสธรรม) เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุ นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็น ธัมมานุสารี แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวช เป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้ อย่างนี้ ในบุคคล ผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ
(เทวดาที่เป็นธัมมานุสารี ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือ)

     ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวติสสพรหมแล้ว หายจากพรหมโลกไปปรากฏที่เขาคิชฌกูฏ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือ คู้แขนที่เหยียดฉะนั้น แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถ้อยคำ สนทนาปราศรัย กับท้าวติสสพรหมทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค ฯ

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็ท้าวติสสพรหมไม่ได้แสดง บุคคล อนิมิตตวิหารี (ผู้มีปรกติบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้อยู่) ที่ ๗ แก่เธอหรือ ฯ
(ท้าวติสสพรหมกล่าวไม่หมด พระผู้มีพระภาคจึงต้องตรัสเสริม)

(7) ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต บัดนี้ เป็นการ ควร ที่พระผู้มีพระภาค จะพึงทรงแสดงถึงบุคคล อนิมิตตวิหารีที่ ๗ ข้าแต่พระสุคต ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้

     พ. ดูกรโมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว

ท่านพระมหา โมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิ อันหานิมิตมิได้ เพราะ ไม่ใส่ใจถึง นิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล บรรลุเจโตสมาธิ อันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพ เสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

     ดูกรโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มี อุปาทานขันธ์ เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์