เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ        

 
  รวมพระสูตร ภิกษุฉัน มื้อเดียว 996
 
  (ความย่อ
รวมพระสูตร ภิกษุฉัน มื้อเดียว

1. สมฺปนฺนสีลา เรื่องจุลศีล เธอฉันหนเดียวเว้นการฉันในราตรี ดจากการฉันในเวลาวิกาล
(เวลาวิกาล - หลังฉันเสร็จแล้ว ถือเป็นเวลาวิกาล)


2. วิตถตสูตร (อุโบสถ ๘ ประการ) เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล

3. กีฏาคิริสูตร คุณของการฉันอาหารน้อย เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และเมื่อ เราฉัน โภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มี อาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้ กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ

4. กกจูปมสูตร ประโยชน์ของการฉันอาหารมื้อเดียว เราได้เตือนภิกษุทั้งหลายณ ที่นี้ว่า เราฉันอาหารมื้อเดียว เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว ย่อมรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความ ลำบาก กายน้อย มีความ เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุกมาเถิด แม้พวกเธอ ก็จงฉันอาหารมื้อเดียว

5. ฉวิโสธนสูตร ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากฉันในราตรีกาล และวิกาล

6. อุโปสถสูตร พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรีงดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการ บริโภค ในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล

7. ภเวสิสูตร ขอท่านทั้งหลายจงจำเราไว้ว่า เป็นผู้ บริโภค อาหารมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล

8. ภัททาลิสูตร คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัต ครั้งเดียว เมื่อเรา ฉันอาหารในเวลาก่อน ภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มี อาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูกรภิกษุ ท.แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัต ครั้งเดียว เถิด

9. พระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้ ภัททาลิไม่เห็นด้วยที่ทรงบัญญัติให้ฉัน 1 มื้อ ต่อมา ได้ยอมรับ

10. ลฑุกิโกปมสูตร เรื่องพระอุทายี ประชุมสงฆ์ ให้ละฉันในเวลาวิกาล (หลังฉันเสร็จถือเป็น เวลาวิกาล)

11. เรื่องให้ภิกษุกำลังฉันค้างอยู่ลุกขึ้น ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้น ทั้งที่ยังฉัน อาหาร ค้างอยู่ รูปใดให้ลุกขึ้นต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าให้ลุกขึ้น ย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วย (ลุกแล้วฉันต่อไม่ได้)

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


รวมพระสูตร ภิกษุฉัน มื้อเดียว


(ฉบับหลวง  เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๖๐)
(1)
สมฺปนฺนสีลา เรื่องจุลศีล

       ดูกรผู้มีอายุ อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.(จุลศีลมีทั้งหมด ๒๙ ข้อ)

        เรื่อง ฉันหนเดียว ตรัสไว้ ในข้อ ๙

        ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล
(เวลาวิกาล หมายถึง หลังฉันเสร็จแล้ว ถือเป็นเวลาวิกาล)



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(2)
วิตถตสูตร (อุโบสถ ๘ ประการ )

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล บางคน ในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่ อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือน ของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์
๑. บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์
๒. ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. พึงเว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่ความประพฤติของพรหม
๔. ไม่พึงพูดเท็จ
๕. ไม่พึงดื่มน้ำเมา
๖. ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาลในราตรี
๗. ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม
๘. พึงนอนบนเตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า

(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก- นวกนิบาต)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๗๓)

(3)
กีฏาคิริสูตร คุณของการฉันอาหารน้อย


              [๒๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในกาสีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่. ณที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และเมื่อ เราฉัน โภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มี อาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้ กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ

       แม้ท่านทั้งหลายก็จงมาฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี เสียเถิด ก็เมื่อเธอ ทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียจักรู้คุณ คือความเป็นผู้มี อาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ.

       ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๗๓)

(4)
กกจูปมสูตร  ประโยชน์ของการฉันอาหารมื้อเดียว



              ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า“ภิกษุ ทั้งหลาย สมัยหนึ่งภิกษุจำนวนมากได้ทำให้เรามีจิตยินดี เราได้เตือนภิกษุทั้งหลายณ ที่นี้ว่า ‘เราฉันอาหารมื้อเดียว  เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว ย่อมรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความ ลำบาก กายน้อย มีความ เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุกมาเถิด  แม้พวกเธอ ก็จงฉันอาหารมื้อเดียว

       แม้เธอทั้งหลาย เมื่อฉันอาหารมื้อเดียว จักรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย  มีความลำบาก กายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก เราไม่ต้องพร่ำสอน ภิกษุเหล่า นั้น อีก เพียงแต่ทำให้สติเกิดขึ้นใน 
....... ฯลฯ .............


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๑

(5)
ฉวิโสธนสูตร


              [๑๗๒] ..... ข้าพเจ้านั้น
-เป็นผู้งดขาดจากการล้างผลาญพืชคามและภูตคาม
-เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากฉันในราตรีกาล และวิกาล
-เป็นผู้งดขาดจาก การรำ การขับ การร้อง การประโคม และดูการเล่นชนิด ที่เป็น ข้าศึก แก่กุศล
-เป็นผู้งดขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตกแต่งด้วยมาลาและของหอม และเครื่องลูบทา
-เป็นผู้งดขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ เป็นผู้งดขาดจาก การรับเงินและทอง
-เป็นผู้งดขาดจากการรับข้าวเปลือก
     -งดขาดจากการรับเนื้อดิบ
     -งดขาดจากการรับหญิงและเด็กหญิง
     -งดขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่ สุนัข ช้าง โค ม้า ทั้งผู้และเมีย      -งดขาดจากการรับที่นาและที่สวน
     -งดขาดจากการรับใช้ทูตไปใน ที่ต่าง ๆ (ให้คฤหัสถ์)
     -งดขาดจากการซื้อขาย
     -งดขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง แลลวงด้วย ของปลอม การฉ้อด้วยเครื่องนับ          (เครื่องนับคือ เครื่องตวงและเครื่องวัด)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ หน้าที่ ๒๐๐

(6)
อุโปสถสูตร



       (ข้อ ๕๑๐)....... พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการ บริโภค ในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ ในวันนี้ แม้ด้วย องค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถจักเป็นอันเรา เข้าจำแล้ว

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๑๙๑

(7)

ภเวสิสูตร


             [๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท............
ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสก ประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้นแล้วกล่าวว่า

       ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านทั้งหลายจงจำเราไว้ว่า เป็นผู้ บริโภค อาหารมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล

       ครั้งนั้นประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ได้คิดว่า ภเวสีอุบาสก ผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มีอุปการะ มาก เป็นหัวหน้า ชักชวนเราทั้งหลาย ภเวสีอุบาสกอุบาสกผู้เป็นเจ้า จักเป็นผู้บริโภค อาหารมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ก็ไฉน เราทั้งหลายจักเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาลไม่ได้เล่า

       ครั้งนั้นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสก แล้วกล่าวว่า ตั้งแต่ วันนี้ไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้า จงจำอุบาสก ๕๐๐ แม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้บริโภค อาหารมื้อเดียว งดการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลา วิกาล ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้คิดว่า ก็เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า ชักชวนอุบาสก ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ และเราก็เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๒๙

(8)

ภัททาลิสูตร คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว

            [๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

       พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัต ครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาก่อน ภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มี อาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เถิด ด้วยว่าเมื่อเธอทั้งหลาย ฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณคือความ เป็น ผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๒๙


(9)

พระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้
(ภัททาลไม่เห็นด้วยที่ทรงบัญญัติให้ฉัน 1 มื้อ ต่อมาได้ยอมรับ)

             [๑๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันอาหาร ในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวได้ เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จะพึงมีความรำคาญ ความเดือดร้อน.

       ดูกรภัททาลิ ถ้าอย่างนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่นั้นเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้ เมื่อเธอฉันได้ แม้อย่างนี้ ก็จักยังชีวิตให้เป็นไปได้.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการ อย่างนั้น ได้ (ภัททาลิไม่รับข้อผ่อนผัน) เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น จะพึงมี ความรำคาญ ความเดือดร้อน.

       ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มี พระภาค กำลังจะทรงบัญญัติ ในเมื่อภิกษุสงฆ์ สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา.

       ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้ตนประสบพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตลอด ไตรมาสนั้นทั้งหมด เหมือนภิกษุอื่น ผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในสิกขาในพระศาสนา ของ พระศาสดาฉะนั้น.
(ต่อมา ภิกษุทั้งหลาย ให้ภัททลิ มาขอโทษพระศาสดา)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๔๑

(10)
ลฑุกิโกปมสูตร เรื่องพระอุทายี



            [๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท มีนิคมของชาว อังคุตตราปะชื่ออาปนะ เป็นโคจรคาม. ครั้งนั้น เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปนนิคม.

       ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในอาปนนิคมแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาต แล้ว เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อประทับพักกลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. เวลาเช้าวันนั้น แม้ท่านพระอุทายีก็นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต ยังอาปนนิคม.

       ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในอาปนนิคมแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว นั่งพักกลางวันที่ โคนต้นไม้ แห่งหนึ่ง.

       ครั้งนั้น เมื่อท่านพระอุทายีอยู่ในที่ลับ เร้นอยู่ เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นอันมากของเราทั้งหลาย ออกไปได้หนอ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรม อันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากเข้าไป ให้แก่เรา ทั้งหลาย หนอ พระผู้มีพระภาคทรงนำอกุศลธรรม เป็นอันมากของเรา ทั้งหลายออกไป ได้หนอ พระผู้มีพระภาคทรงนำกุศลธรรม เป็นอันมากเข้าไปให้แก่เรา ทั้งหลายหนอ.

       ลำดับนั้น เวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

             [๑๗๖] ท่านพระอุทายีนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ อยู่ในที่ลับ เร้นอยู่ ได้เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรม อันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย ออกไปได้หนอ พระผู้มีพระภาค ทรงนำธรรม อันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากเข้าไปให้แก่เราทั้งหลายหนอ พระผู้มีพระภาค ทรงนำอกุศลธรรม เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้หนอ พระผู้มีพระภาคทรงนำกุศลธรรม เป็นอันมากเข้าไปให้แก่เราทั้งหลายหนอ


             [๑๗๖]... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเมื่อก่อน ข้าพระองค์เคยฉันได้ทั้ง เวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาลในกลางวัน.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้มีสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า (ประชุมสงฆ์ครั้งที่1) ดูกรภิกษุทั้งหลายเราขอเตือน เธอทั้งหลายจงละการฉัน โภชนะในเวลาวิกาล ในเวลากลางวันนั้นเสียเถิด ดังนี้.

       ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจ คฤหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธา จะให้ ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันประณีต ในเวลาวิกาลในกลางวัน แก่เราทั้งหลาย แม้อันใด พระผู้มีพระภาคตรัสการละอันนั้นของเราทั้งหลายเสียแล้ว ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเมื่อเห็นกะความรัก ความเคารพ ความละอาย และ ความเกรงกลัว ในพระผู้มีพระภาค จึงละการฉันโภชนะในเวลาวิกาล ในกลางวันนั้น เสีย ด้วยประการอย่างนี้

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ทั้งหลายนั้น ย่อมฉันในเวลาเย็น และเวลาเช้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้มีสมัยที่พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย (ประชุมครั้งที่2) เราขอเตือนเธอทั้งหลาย จงละเว้น การฉันโภชนะในเวลาวิกาลในราตรีนั้นเสียเถิด ดังนี้ ข้าพระองค์นั้น มีความ น้อยใจ มีความเสียใจว่า ความที่ภัตทั้งสองนี้ของเราทั้งหลาย เป็นของปรุงประณีต กว่าอันใด พระผู้มีพระภาค ตรัสการละอันนั้น ของเราทั้งหลายเสียแล้ว พระสุคตตรัส การสละคืน อันนั้น ของเราทั้งหลายเสียแล้ว.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนใดได้ของสมควรจะแกง มาใน กลางวัน จึงบอกภริยาอย่างนี้ว่า เอาเถิด จงเก็บสิ่งนี้ไว้ เราทั้งหมดเทียวจักบริโภค พร้อมกันในเวลาเย็น อะไรๆ ทั้งหมดที่สำหรับจะปรุงกิน ย่อมมีรสในเวลากลางคืน กลางวันมีรสน้อย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้น เห็นกะความรัก ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงพากันละการ บริโภคโภชนะ ในเวลาวิกาลในราตรีนั้น เสียด้วยประการอย่างนี้.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑบาต ในเวลามืดค่ำ ย่อมเข้าไปในบ่อน้ำครำบ้าง ลงไปในหลุมโสโครกบ้าง บุกเข้าไป ยัง ป่าหนาม บ้าง เหยียบขึ้นไปบนแม่โคกำลังหลับบ้าง พบกับโจรผู้ทำโจรกรรม แล้ว บ้าง ยังไม่ได้ทำโจรกรรมบ้าง มาตุคามย่อมชักชวนภิกษุเหล่านั้นด้วยอสัทธรรมบ้าง.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้วข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาต ในเวลา มืดค่ำ หญิงคนหนึ่ง ล้างภาชนะอยู่ ได้เห็นข้าพระองค์โดย แสงฟ้าแลบ แล้วตกใจ กลัว ร้องเสียงดังว่า ความไม่เจริญได้มีแก่เราแล้ว ปีศาจจะมากินเราหนอ. เมื่อหญิงนั้น กล่าวอย่างนั้นแล้ว ข้าพระองค์ได้พูดกะหญิงนั้นว่า ไม่ใช่ปีศาจดอกน้องหญิงเป็นภิกษุ ยืนเพื่อบิณฑบาต ดังนี้.

       หญิงนั้นกล่าวว่า บิดาของภิกษุตายเสียแล้ว มารดาของภิกษุตายเสียแล้ว

       ดูกรภิกษุ ท่านเอามีดสำหรับเชือดโค ที่คมเชือดท้องเสีย ยังจะดีกว่าการที่ท่าน เที่ยวบิณฑบาต ในเวลาค่ำมืด เพราะเหตุแห่งท้องเช่นนั้น ไม่ดีเลย ดังนี้.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงเรื่องนั้นอยู่ มีความคิด อย่างนี้ว่า
     พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรม อันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก ของเราทั้งหลาย ออกไปเสียได้หนอ
     พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรม อันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมาก เข้าไปให้แก่เรา ทั้งหลายหนอ

     พระผู้มีพระภาคทรงนำอกุศลธรรม เป็นอันมาก ของเราทั้งหลายออกไปเสียได้ หนอ
    
พระผู้มีพระภาคทรงนำกุศลธรรม เป็นอันมาก เข้าไปให้แก่เราทั้งหลายหนอ.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๗  วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๗๘

(11)

เรื่องให้ภิกษุกำลังฉันค้างอยู่ลุกขึ้น



             [๒๗๒] ....ไฉนเธอมาทีหลัง  จึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉัน อาหารค้างอยู่ โรงอาหารได้เกิด โกลาหลขึ้น การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหาร ค้างอยู่ รูปใดให้ลุกขึ้นต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าให้ลุกขึ้น ย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วย (ลุกแล้วฉันต่อไม่ได้) พึงกล่าวว่าท่านจงไปหาน้ำมา ถ้าได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้ว จึงให้อาสนะแก่ภิกษุผู้แก่กว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เรากล่าวมิได้หมายความว่า ภิกษุพึงหวงกันอาสนะ แก่ภิกษุผู้แก่กว่าโดยปริยายไรๆ รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์