เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อายตนะ ๖ ภายใน๖ ภายนอก๖ ผัสสายตนะ๖ วิญญาณ ๖ 997
 
  (ความย่อ
อายตนะ

(1) อายตนะภายใน ๖ (อินทรีย์ ๖)
(2) อายตนะภายนอก ๖ (อารมณ์๖)
(3) อายตนะภายใน+ภายนอก ๖ เกิดผัสสะ
(4) ผัสสะทำให้เกิด วิญญาณ (การรู้แจ้ง) ๖ช่องทาง (เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ)
(5) ผัสสะ เป็นแดนเกิดของกรรม และเป็นแดนเกิดของภพ
(6) องค์ประกอบของผัสสะ มี 3 สิ่งเสมอ (ธรรมอันเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดเวทนา)
(7) อายตนะ คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท
(8) เมื่ออายตนะไม่มี กระแสปฏิจจสมุปบาท ย่อมไม่เกิดขึ้น
(9) ความเพลินในอายตนะ เท่ากับเพลินอยู่ในทุกข์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์  หมวดที่ 4
หน้า 156 (คลิก)

       
อายตนะ ๖

(1)
อายตนะภายใน ๖ (อินทรีย์ ๖)
๑) ตา (จักษุ)  
๒) หู (โสตะ)  
๓) จมูก (ฆานะ)   
๔) ลิ้น (ชิวหา) 
๕) กาย (กายะ)
๖) ใจ (มโน)

(2)
อายตนะภายนอก ๖ (อารมณ์๖)
๑) รูป 
๒) เสียง
๓) กลิ่น
๔) รส
๕) สัมผัส (โผฏฐัพพะ)
๖) ธรรมารมณ์ 

(3)
อายตนะภายใน+ภายนอก ๖ เกิดผัสสะ

๑) ตา(จักษุ) กระทบ รูป เกิดผัสสะทางตา
๒) หู(โสตะ) กระทบ เสียง  เกิดผัสสะทางหู
๓) จมูก (ฆานะ) กระทบ กลิ่น  เกิดผัสสะทางจมูก
๔) ลิ้น (ชิวหา) กระทบ รส  เกิดผัสสะทางหู
๕) กาย กระทบ สัมผัส (โผฏฐัพพะ) เกิดผัสสะทางกาย
๖) มโน กระทบ ธรรมารมณ์ เกิดผัสสะทางใจ(มโน)

(4)
ผัสสะทำให้เกิด วิญญาณ (การรู้แจ้ง) ๖ช่องทาง (เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ)
๑) ตา + รูป เกิดผัสสะทางตา ..เกิดวิญญาณทางตา (การรับรู้ทางตา)
๒) หู + เสียง  เกิดผัสสะทางหู..เกิดวิญญาณทางหู (การรับรู้ทางหู)
๓) จมูก + กลิ่น  เกิดผัสสะทางจมูก..เกิดวิญญาณทางจมูก (การรับรู้ทางจมูก)
๔) ลิ้น  + รส  เกิดผัสสะทางหู ..เกิดวิญญาณทางลิ้น (การรับรู้ทางลิ้น)
๕) กาย + โผฏฐัพพะ เกิดผัสสะทางกาย.. เกิดวิญญาณทางกาย (การรับรู้ทางกาย)
๖) มโน + ธรรมารมณ์ เกิดผัสสะทางใจ(มโน)..เกิดวิญญาณทางใจ(การรับรู้ทางใจ)

(5)
ผัสสะ เป็นแดนเกิดของกรรม และเป็นแดนเกิดของภพ
เหตุเป็นแดนเกิดของกรรม คือ ผัสสะ ความดับแห่งกรรม คือ การดับแห่งผัสสะ
วิญญาณ ๖ อันได้แก่
๑) จักขุวิญญาณ (รู้แจ้งทางตา)
๒) โสตวิญญาณ (รู้แจ้งทางหู)
๓) ฆาน(ฆานะ)วิญญาณ (รู้แจ้งทางจมูก)
๔) ชิวหาวิญญาณ (รู้แจ้งทางลิ้น)
๕) กายวิญญาณ (รู้แจ้งทางสัมผัสทางกาย)
๖) มโนวิญญาณ (รู้แจ้งทางธรรมารมณ์)

(6)
องค์ประกอบของผัสสะ มี 3 สิ่งเสมอ
(ธรรมอันเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดเวทนา)

สัมผัส หรือ ผัสสะ มีหกอย่าง คือ
๑) จักขุสัมผัส หมายถึง การกระทบทางตา   คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
๒) โสตสัมผัส หมายถึง การกระทบทางหู    คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
๓) ฆานสัมผัส หมายถึง การกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
๔) ชิวหาสัมผัส หมายถึง การกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
๕) กายสัมผัส หมายถึง การกระทบทางกาย  คือ กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ
๖) มโนสัมผัส หมายถึง การกระทบทางใจ    คือ ใจ+ธรรมารมณ์ +มโนวิญญาณ

(7)
อายตนะ
 คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท

เมื่อจักษุ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ มีอย่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

(8)
เมื่ออายตนะไม่มี กระแสปฏิจจสมุปบาท ย่อมไม่เกิดขึ้น
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย 

(9)
ความเพลินในอายตนะ เท่ากับเพลินอยู่ในทุกข์

๑) ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับตา(จักษุ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๒) ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับหู(โสตะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๓)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่กับจมูก(ฆานะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้น ไปได้จากทุกข์

๔)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับลิ้น.(ชิวหา) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๕)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับกาย(กายะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๖)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับใจ (มนะ) ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้

 

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์