เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อริยะวินัย (คัดมาบางพระสูตร จากหนังสือ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ) 920-3
 
 
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ออกไปหน้าแรก
 
 
 
1

ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้เป็นสมณะ(ไม่รู้ปฎิจจสมุปปบาท ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)

2 ไม่รู้อริยสัจจ์ไม่ได้เป็นสมณะ (ไม่รู้อริยสัจจ์ ก็หาได้เป็นสมณะไม่)
3 ดาบที่หมกอยู่ในจีวร (เพราะภิกษุนั้นละกิเลส ละอภิชฌา (ความโลภ) อันเป็นโทษของสมณะยังไม่ได้)
4 ยาพิษในโลก (เห็นสิ่งที่รักเป็นของเที่ยง โดยความสุข โดยความเป็นตน โดยความเป็นของเกษม)
5 ผู้ตกเหว (สมณะผู้ไม่รู้ตามความเป็นจริง ในทุกข์ เหตุเกิด เหตุดับ ทางดำเนิน.. สมณะย่อมยินดี ในเหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
6 ผู้เห็นแต่จะทะเลาะวิวาท (เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้ ด้วยไม่มีการผูกเวร)
7 เหตุให้อยากทำลายสงฆ์ (๑ เป็นภิกศุลามกทุศีล ๒ มีมิจฉาทิฏฐิ ๓.เลี้ยงชีวิตผิดทาง ๔.ปราถนาลาภสักการะ)
8 ทรงพยากรณ์พระเทวทัตต้องไปเกิดในนรก1กัป (พระองค์ไม่เห็นธรรมขาวแม้ปลายขน จึงไม่อาจช่วยเหลือได้)
9 ภิกษุสันดานกา (ทำตัวไม่เกิดประโยชน์)
10 ผู้ควรอยู่ในคอกไปก่อน (ผู้ไม่รู้จักพอตามมีตามได้ ด้วยจีวร อาหารบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย ยังคิดในกาม)
11 อุปัชฌายะเสีย (ในกาลยึดยาวฝ่ายอนาคต ภิกษุไม่ได้รับการอบรม ศีล สมาธิ ปัญญา อันยิ่ง ทำให้วินัยมีมลทิน)
12 เถระพาล (คำพูด ไม่เหมาะกับกาล พุดไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่มีที่อ้างอิง)
13 รักษาพรหมจรรย์ไว้ด้วยนํ้าตา (แม้จะทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้า ร้องไห้อยู่ ก็ยังรักษาพรหมจรรย์ได้)
14 ผู้ที่ควรเข้าใกล้ (ภิกษุควรเข้าใกล้ภิกษุ ผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา เสมอกัน ควรคบหาสมาคมกัน)
15 สมณพราหมณ์ที่น่านับถือ (พึงเข้าหาสมณะที่ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ...ประพฤติกายวาจาใจเรียบร้อย)
16 ผล และประโยชน์ของความเป็นสมณะ (การเข้าถึง โสดาปัตติพล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล)
 
 
 
 


1

ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้เป็นสมณะ
(ไม่รู้ปฎิจจสมุปปบาท ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)

           ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จัก ชรามรณะ ไม่รู้จัก เหตุเกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่งชรามรณะ ไม่รู้จักข้อ ปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งชรามรณะ

ไม่รู้จักชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ อายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร ก็ตรัสทำนองเดียวกับ ชรามรณะ ทุกประการ ...

สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะทั้งหลาย ก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็น สมณะหรือพราหมณ์ ไปได้ไม่ หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย



2
ไม่รู้อริยสัจจ์ไม่ได้เป็นสมณะ

(ไม่รู้อริยสัจจ์ ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)


            สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ
ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ
ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ความดับสนิท แห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ
ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ


            สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะ ในบรรดาสมณะ ทั้งหลายก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ไปได้ไม่ หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่



3

ดาบที่หมกอยู่ในจีวร
เราไม่กล่าวภิกษุว่าเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแก่สมณะ  เพราะภิกษุนั้นละกิเลส ละอภิชฌา (ความโลภ) อันเป็นโทษของสมณะยังไม่ได้ อันเป็นเหตุให้สัตว์เกิดในอบาย จะต้อง เสวยในทุคติ... เปรียบเหมือนอาวุธอันคม ที่เขาลับไว้อย่างดีแล้ว หุ้มห่อไว้ด้วยผ้า สังฆาฏิของภิกษุนั้นเอง ฉันใดเรากล่าวการบรรพชา ของภิกษุนี้ว่า เปรียบกันได้กับ อาวุธมีคมสองข้างนั้น ฉันนั้น

           เมื่อเธอทั้งหลาย มีชื่อว่า สมณะ และปฏิญาณตัวเองว่า เป็นสมณะ จะต้อง สำเหนียกใจว่า “ข้อปฏิบัติอันใดเป็นข้อปฏิบัติสมควรแก่สมณะ เราจักปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ
อันนั้น. ด้วยการปฏิบัติของเราอย่างนี้ สมัญญาว่าสมณะของตนก็จักเป็นจริง และคำ ปฏิญาณ ว่า สมณะของเราก็จักสมจริง....

เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง 
มีอภิชฌามาก ยังละอภิชฌาไม่ได้
มีจิตพยาบาท ยังละพยาบาทไม่ได้
เป็นผู้มักโกรธ ยังละความมักโกรธไม่ได้
เป็นผู้มักถือความโกรธ ยังละความถือโกรธไม่ได้
เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ยังละความลบหลู่คุณท่านไม่ได้
เป็นผู้ยกตนเทียมท่าน ยังละความยกตนเทียมท่านไม่ได้
เป็นผู้ริษยา ยังละความริษยาไม่ได้
เป็นคนตระหนี่ยังละความตระหนี่ไม่ได้
เป็นคนโอ้อวด ยังละความโอ้อวดไม่ได้
เป็นคนมีมายา ยังละความมายาไม่ได้
เป็นคนมีความ ปรารถนาลามก ยังละความปรารถนาลามกไม่ได้
เป็นคนมีความเห็นผิด ยังละความเห็นผิดไม่ได้

เพราะละกิเลส มีอภิชฌา(ความโลภ)เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมัวหมองของ สมณะ เป็นโทษ ของสมณะ เป็นนํ้าฝาดของสมณะ เป็นเหตุให้สัตว์เกิดในอบาย และมีวิบากอันสัตว์ ทั้งหลาย จะต้องเสวยในทุคติเหล่านี้ ยังละไม่ได้ เราก็ไม่กล่าวภิกษุนั้นว่า “เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติสมควรแก่สมณะ” ดังนี้

เปรียบเหมือน อาวุธอันคมกล้า มีคมสองข้าง ที่เขาลับ ไว้อย่างดีแล้ว หุ้มห่อไว้ ด้วยผ้าสังฆาฏิของภิกษุนั้นเอง ฉันใดเรากล่าวการบรรพชา ของภิกษุนี้ ว่า เปรียบกัน ได้กับอาวุธมีคมสองข้างนั้น ฉันนั้น. เราไม่กล่าวความเป็นสมณะว่า เป็นสิ่งที่มีได้ เพราะเหตุสักว่าการทรงสังฆาฏิของผู้ที่ทรงสังฆาฏิฯลฯ เป็นต้นเลย.



4

ยาพิษในโลก
(เห็นสิ่งที่รักเป็นของเที่ยง โดยความสุข โดยความเป็นตน โดยความเป็นของเกษม สมณะพราหมณ์พวกนั้น ย่อมทำให้ตัณหาเจริญ.. ทำให้อุปธิเจริญ.. ทำให้ทุกข์เจริญ.. สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย)

           เปรียบเหมือน ถ้วยดื่มสำริดมีเครื่องดื่มใส่อยู่แล้วชนิดหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่. ครั้งนั้นมีบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังร้อนจัด มีความร้อน ระอุไปทั้งตัว เหน็ดเหนื่อย คอแห้งกระหายนํ้า มาถึงเข้า

           คนทั้งหลายบอกแก่บุรุษนั้นว่า ถ้วยดื่มสำริดใบนี้มีเครื่องดื่ม สมบูรณ์ ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่. หากท่านต้องการดื่มก็ดื่มได้ เมื่อท่านดื่มแล้ว จะติดใจ ด้วยสี ด้วยกลิ่น ด้วยรสของมันแต่ว่า ดื่มแล้วท่านจักถึง ความตาย หรือ รับทุกข์เจียนตาย บุรุษนั้นไม่ทันจะพิจารณาถ้วยดื่มสำริดอันนั้น รีบดื่มเอาๆ บุรุษนั้น ก็ถึงความตาย ฉันใด

            สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ในกาลอดีตก็ตาม ในกาลอนาคตก็ตาม ในกาลบัดนี้ก็ตาม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่สนิทใจในโลก โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของ ไม่เสียบแทง โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมทำตัณหา ให้เจริญ เมื่อทำตัณหาให้เจริญอยู่ ก็ทำอุปธิให้เจริญ

           เมื่อทำอุปธิให้เจริญ ก็ทำทุกข์ให้เจริญ เมื่อทำทุกข์ให้เจริญ สมณะ หรือพราหมณ์ พวกนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กายความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตย่อมกล่าว ว่า “พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจาก ทุกข์” ดังนี้แล

5
ผู้ตกเหว
(สมณะผู้ไม่รู้ตามความเป็นจริง ในทุกข์ เหตุเกิด เหตุดับ ทางดำเนิน.. สมณะย่อมยินดี ในเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปเพื่อความเกิด ความแก่ ควายตาย ความโศก.. เมื่อเขา สร้างเหตุปัจจัยนั้นแล้ว เขาย่อมตกลงไปในเหวแห่งความเกิด ความแก่ ความตาย บ้าง สมณะนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์)

          สมณะหรือพราหมณ์พวกใดก็ตาม ยังไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่าทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมยินดีอย่างยิ่ง ในเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่งชนิด ที่เป็นไปเพื่อความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ

           ครั้นเขาสร้างเหตุปัจจัยนั้นๆ แล้ว เขาก็ตกลงไปในเหวแห่งความเกิด บ้าง ในเหวแห่งความแก่บ้าง ในเหวแห่งความตายบ้าง ในเหวแห่งความโศกบ้าง ในเหวแห่งความรํ่าไรรำพันบ้าง ในเหวแห่งความทุกข์กายบ้าง ในเหวแห่งความทุกข์ ใจบ้าง ในเหวแห่งความ คับแค้นใจบ้าง อยู่นั้นเอง

           สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ความ ตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตย่อมกล่าวว่า “พวกเหล่า นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้แล



6

ผู้เห็นแต่จะทะเลาะวิวาท
(เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้ ด้วยไม่มีการผูกเวร)

           พอที พวกเธอทั้งหลาย อย่าหมายมั่นกันเลย  อย่าทะเลาะกันเลย  อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาทกันเลย (ดังนี้ถึง ๒-๓ ครั้ง). เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว มีภิกษุบางรูปทูลขึ้นว่า ขอพระองค์จงหยุดไว้ก่อนเถิด ขอจงทรงขวนขวาย น้อยเถิด ขอจงทรงประกอบในสุขวิหารในทิฏฐธรรม อยู่เถิด พระเจ้าข้า ! พวก ข้าพระองค์ ทั้งหลายจักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมายมั่นกัน ด้วยการทะเลาะกัน ด้วย การโต้เถียงกันด้วยการวิวาทกัน อันนี้เอง” ดังนี้

           ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวร เลย แต่ระงับได้ ด้วยไม่มีการผูกเวร. ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล. คนพวกอื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราจะแหลกลาญ ก็เพราะเหตุนี้ พวกใดสำนึกตัวได้ในเหตุที่มีนั้น ความมุ่งร้ายกัน ย่อมระงับได้เพราะความรู้สึกนั้น

           ความกลมเกลียวเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน ยังมีได้แม้แก่พวกคนกักขฬะ ที่ปล้นเมือง หักแข้งขาชาวบ้าน ฆ่าฟันผู้คน แล้วต้อนม้า โค และขนเอาทรัพย์ไป แล้วทำไม จะ มีแก่พวกเธอไม่ได้เล่า ?



7

เหตุให้อยากทำลายสงฆ์
(เพราะเหตุอำนาจ ๔ อย่าง ๑ เป็นภิกศุลามกทุศีล เป็นคนเน่าไม่สะอาด.. ๒ มีมิจฉาทิฏฐิ ๓.เลี้ยงชีวิตผิดทาง เป็นมิจฉาอาชีวะ ๔.ปราถนาลาภ สักการะ)

          อานนท์ ! ภิกษุลามก เห็นอำนาจประโยชน์สี่อย่างเหล่านี้อยู่ จึงยินดีในการ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน. สี่อย่างคือ

          (๑) ภิกษุลามก เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิด ซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย.
          ภิกษุลามกวิตกว่าทำเราให้ขาดสิทธิ์ในความเป็นภิกษุได้ แต่เมื่อแตกกันเสีย ก็จักไม่อาจทำเราให้ฉิบหาย ภิกษุลามกเห็นประโยชน์นี้ จึงยินดีในการทำลายสงฆ์.

           (๒) ภิกษุลามกเป็นคน มิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยความเห็นที่แล่นดิ่งไป ยึดถือเอาที่สุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง. ภิกษุลามกนั้นหวั่นวิตกไปว่า “ถ้าหากภิกษุ ทั้งหลายจะรู้จักเราว่าเราเป็คนเช่นนี้ จะให้เราฉิบหายได้ แต่เมื่อแตกกันเสีย ก็จักไม่ทำ เราให้ฉิบหาย ภิกษุลามกเห็นประโยชน์นี้ จึงยินดีในการทำลายสงฆ์

           (๓) ภิกษุลามก เป็นคนเลี้ยงชีวิตผิดทาง เป็นมิจฉาอาชีพ. ภิกษุลามกนั้น หวั่นวิตกไปว่า ถ้าหากภิกษุทั้งหลาย จะรู้จักเราว่าเราเป็นเช่นนั้น จะทำให้ฉิบหายได้ แต่เมื่อแตกกันเสีย ก็จักไม่ทำเราให้ฉิบหาย ภิกษุลามกเห็นประโยชน์นี้ จึงยินดีในการ ทำลายสงฆ์.

           (๔) ภิกษุลามก เป็นคนปรารถนาลาภ ปรารถนาสักการะ ปรารถนาเสียง เยินยอ. ภิกษุลามกนั้นหวั่นวิตกว่า“ถ้าหากภิกษุทั้งหลายจะรู้จักเราว่าเป็นคนปรารถนา ลาภ ปรารถนาสักการะ ปรารถนาเสียงเยินยอ ไซร้ เมื่อภิกษุพร้อมเพียงกันดีอยู่ก็จัก ไม่สักการะเคารพ นับถือบูชาเรา แต่เมื่อแตกกันเสีย ก็จักสักการะเคารพนับถือบูชาเรา ภิกษุลามกเห็นประโยชน์นี้ จึงยินดีในการทำลายสงฆ์



8

ทรงพยากรณ์พระเทวทัต ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก 1 กัลป์
(ทรงพยากรณ์พระเทวทัต ว่าไม่เห็นธรรมขาวแม้ปลายขน จึงไม่อาจช่วยเหลือได้ ต้องไปเกิดใน อบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่วกัลป์หนึ่ง)

          อานนท์ ! ภิกษุรูปนั้นชะรอยจักเป็นพระใหม่บวชยังไม่นาน หรือว่าเป็นพระ เถระผู้พาลผู้เขลา. ข้อที่เราพยากรณ์โดยส่วนเดียวแล้วจักกลับกลายไปเป็นสอง ส่วนได้อย่างไร(คำพยากรณ์ของพระองค์มีหนึ่งเดียวไม่มีผิดพลาด) . อานนท์ ! เรายังมอง ไม่เห็นคนอื่นแม้สักคนหนึ่ง ซึ่งเราได้วินิจฉัยประมวลเหตุการณ์ทั้งปวงแล้ว จึงพยากรณ์ ไว้อย่างนั้น เหมือนอย่างเทวทัต.

           อานนท์ ! ตราบใด เรายังมองเห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียงเท่าปลาย แหลมสุดแห่งเส้นขน ตราบนั้นเราก็ไม่พยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัต ต้องไปเกิดใน อบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่วกัลป์ หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้

           อานนท์ ! เมื่อใดแล เรามองไม่เห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียงเท่าปลาย แหลมสุดแห่งเส้นขน เมื่อนั้นเราจึงพยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัต ต้องไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่ว กัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้

          อานนท์ ! เปรียบเหมือน หลุมคูถลึกชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถจนปริ่ม ขอบหลุม บุรุษคนหนึ่ง พึงตกลงไปในหลุมคูถนั้นจนมิดทั้งตัว. ยังมีบุรุษบาง คนหวังประโยชน์ เกื้อหนุน หวังความเกษม สำราญจากสภาพเช่นนั้น หวังจะช่วย ยกเขาขึ้นจากหลุมคูถ นั้น บุรุษนี้จึงเข้าไปใกล้เดินเวียนดูรอบๆ หลุมคูถนั้น มองไม่เห็นอวัยวะของคน ในหลุมนั้น แม้เพียงเท่าปลายแหลมสุดแห่งเส้นขน ที่ยังไม่ได้เปื้อนคูถ ซึ่งตนพอจะ จับยกขึ้นมาได้. ข้อนี้ฉันใด

          อานนท์ ! เมื่อใด เรามองไม่เห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียงเท่าปลาย แหลม สุดแห่งเส้นขน เมื่อนั้น เราจึงกล้าพยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัตต้อง ไปเกิด ในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่ว กัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ฉันนั้นแล



9

ภิกษุสันดานกา
(ทำตัวไม่เกิดประโยชน์)

          ภิกษุ ท. ! กา เป็นสัตว์ที่ประกอบด้วยความเลว สิบประการ คือ
          (๑) กา เป็นสัตว์ทำลายความดี
          (๒) กา เป็นสัตว์คะนอง
          (๓) กา เป็นสัตว์ทะเยอทะยาน
          (๔) กา เป็นสัตว์กินจุ
          (๕) กา เป็นสัตว์หยาบคาย
          (๖) กา เป็นสัตว์ไม่กรุณาปราณี
          (๗) กา เป็นสัตว์ทุรพล
          (๘) กา เป็นสัตว์ร้องเสียงอึง
          (๙)กา เป็นสัตว์ปล่อยสติ
          (๑๐) กา เป็นสัตว์สะสมของกิน
          ภิกษุ ท. ! กา เป็นสัตว์ที่ประกอบด้วยความเลวสิบประการ เหล่านี้

ภิกษุลามก (อุปมาเหมือนกา)

          ภิกษุ ท. ! ภิกษุลามก ก็เช่นเดียวกับกานั้นแหละ
           เป็นคนประกอบด้วย อสัทธรรม สิบประการ คือ
          (๑) ภิกษุลามก เป็นคนทำลายความดี
          (๒) ภิกษุลามก เป็นคนคะนอง
          (๓) ภิกษุลามก เป็นคนทะเยอทะยาน.
          (๔) ภิกษุลามก เป็นคนกินจุ
          (๕) ภิกษุลามก เป็นคนหยาบคาย
          (๖) ภิกษุลามก เป็นคนไม่กรุณาปราณี
          (๗) ภิกษุลามก เป็นคนทุรพล
          (๘) ภิกษุลามก เป็นคนพูดเสียงอึง
          (๙) ภิกษุลามก เป็นคนปล่อยสติ
          (๑๐) ภิกษุลามก เป็นคนสะสมของกิน.

          ภิกษุ ท. ! ภิกษุลามก เป็นคนประกอบด้วยอสัทธรรมสิบประการ เหล่านี้แล.



10

ผู้ควรอยู่ในคอกไปก่อน
(ภิกษุไม่รู้จักพอ ตามมีตามได้ ด้วยจีวร อาหารบิณฑบาต เสนาสนะ ติลานปัจจัย ยังคิดหนักในกาม)

          ภิกษุ ท. ! ผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง เป็นผู้ที่ยังไม่ควรได้รับการ ปล่อยออก จากหมู่ไปอยู่ผู้เดียวก่อน. เหตุห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
          (๑) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย จีวร ตามมีตามได้
          (๒) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย อาหารบิณฑบาต ตามมีตามได้
          (๓) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย เสนาสนะ ตามมีตามได้
          (๔) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย คิลาน ปัจจัย เภสัชบริกขาร ตามมีตามได้
          (๕) เธอ ยังมีความคิดหนักไปในทางกามอยู่มาก

           ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นผู้ที่ยังไม่ควร ได้รับการปล่อยออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียวก่อน



11

อุปัชฌายะเสีย
(ในกาลยึดยาวฝ่ายอนาคต ผู้อุปสมบท ไม่ได้รับการอบรม ศีล สมาธิ ปัญญา อันยิ่ง ทำให้วินัยมีมลทิน เพราธรรมมีมลทิน ธรรมมีมลทิน เพราะวินัยมีมลทิน นี่เป็นภัยที่จะ เกิดขึ้นในเวลาต่อมา)

            ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ซึ่งมิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และมิได้อบรมปัญญา เธอทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเช่นนั้น อยู่จัก เป็นอุปัชฌายะให้อุปสมบทคนอื่นๆแล้ว จักไม่อาจแนะนำ ฝึกสอนคน เหล่านั้น ในศีลอันยิ่ง ในสมาธิอันยิ่ง และในปัญญาอันยิ่ง จากอุปัชฌายะ ให้อุปสมบท

            ด้วยอาการอย่างนี้เอง วินัยมีมลทิน เพราะธรรมมีมลทิน ธรรมมีมลทิน เพราะวินัยมีมลทิน นี้เป็นอนาคตภัยที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในเวลาต่อไป พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายาม เพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย



12
เถระพาล
(คำพูด ไม่เหมาะกับกาล พุดไม่ตริง ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่มีที่อ้างอิง)

 
           ภิกษุ ท. ! คนเราแม้เป็นผู้เฒ่า มีอายุ๘๐, ๙๐, ๑๐๐ ปีโดยกำเนิด ก็ดี แต่เขามีคำพูด ไม่เหมาะแก่กาล พูดไม่จริง พูดไม่มีประโยชน์ พูด ไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่อิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ คนผู้นั้นย่อมถึงการถูกนับว่าเป็น “เถระ ผู้พาล” โดยแท้.


13
รักษาพรหมจรรย์ไว้ด้วยนํ้าตา
(แม้จะทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้า ร้องไห้อยู่ ก็ยังสู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ ถือเป็นข้อที่น่าสรรเสริญของเธอ)

       ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม, แม้จะทุกข์กายทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้า ร้องไห้อยู่ก็ยังสู้ ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธ์ิ บริบูรณ์อยู่ได้ ก็มีข้อที่น่าสรรเสริญ เธอให้เหมาะสมแก่ธรรมที่เธอมีในบัดนี้มีอยู่ห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ?

ห้าอย่างคือ
(๑) ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๒) ธรรมที่ชื่อว่า หิริในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๓) ธรรมที่ชื่อว่า โอตตัปปะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๔) ธรรมที่ชื่อว่า วิริยะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๕) ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.

ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม แม้จะทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้า ร้องไห้อยู่ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ก็มี. ข้อที่น่าสรรเสริญเธอให้เหมาะสมแก่ธรรม ที่เธอมีในบัดนี้ห้าอย่างเหล่านี้แล.



14

ผู้ที่ควรเข้าใกล้
(ภิกษุควรเข้าใกล้ภิกษุ ผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา เสมอกัน ควรคบหาสมาคมกัน เพราะจะ ทำให้กองศลี กองสมาธิ กองปัญญา ของเราให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น)

       ภิกษุ ท. ! ก็บุคคลเช่นไรเล่า ที่คนทุก ๆ คนควรคบหาสมาคม ควรเข้าใกล้ ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญาพอเสมอกัน บุคคล ดังกล่าวนี้ เป็นผู้ที่น่าคบหาสมาคม น่าเข้าใกล้. 

ข้อนั้นเพราะอะไร ? 
เพราะเมื่อเราเป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญาเสมอกันแล้ว การพูดกันถึงเรื่องศีล สมาธิ  และปัญญาของเรานั้นก็จักมีได้ด้วย การพูดกันของเรานั้นจักไปกันได้ด้วย  และการพูดกันของเรานั้นจักเป็นความสบายอกสบายใจด้วย เพราะเหตุนั้น  บุคคลเช่นนี้ จึงเป็น ผู้ที่ทุกคนควรคบหาสมาคม ควรเข้าใกล้.

ภิกษุ ท. ! ก็บุคคลเช่นไรเล่า ที่ต้องสักการะเคารพเสียก่อน แล้วจึงคบหาสมาคม  เข้าใกล้ ?

ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญายิ่งกว่าเรา บุคคล  ดังกล่าวนี้ เป็นผู้ที่ต้องสักการะเคารพเสียก่อน แล้วจึงคบหาสมาคม เข้าใกล้. 

ข้อนั้นเพราะอะไร ? 
เพราะเราจักได้ทำกองศีลกองสมาธิ  และกองปัญญาของเรา ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้ บริบูรณ์บ้าง เราจักได้ประคับประคองกองศีล กองสมาธิ และกองปัญญา ที่บริบูรณ์ แล้วไว้ได้



15

สมณพราหมณ์ที่น่านับถือ
(พึงเข้าหาสมณะ ที่ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ในรูป เสียง กลิ่น รส ...ประพฤติ มารยาททางกาย วาจา ใจ เรียบร้อย เพื่อจะได้ประพฤติตามตัวอย่างที่เห็น)

         ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีท. ! ถ้าพวกปริพพาชกผู้ถือลัทธิอื่นจะพึง ถามท่านทั้งหลายว่า “สมณะหรือพราหมณ์ชนิดไหนเล่า ที่พวกท่านพึงสักการะ เคารพ นับถือบูชา” ดังนี้ไซร้ เมื่อพวกท่านถูกเขาถามเช่นนี้แล้ว พึงตอบ แก้แก่เขาว่า

         สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้ปราศจากราคะ -โทสะ -โมหะ ในรูป ที่เห็นด้วยตาเสียงที่ ได้ยินด้วยหู, กลิ่นที่รู้สึกด้วยจมูก รสที่รู้สึกด้วยลิ้น โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ด้วยใจแล้ว มีจิตสงบ ณ ภายใน ประพฤติมรรยาท เรียบร้อยทั้งทางกาย วาจา และใจ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นประเภทเดียว ที่ควร สักการะ เคารพ นับถือ บูชา.

ข้อนั้น เพราะอะไร ?
เพราะว่า แม้พวกเราทั้งหลาย ยังไม่ปราศจากราคะ -โทสะ โมหะ ในรูป ที่เห็นด้วยตา ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจแล้ว มีจิต ยังไม่สงบได้ ณ ภายใน ยังประพฤติเรียบร้อย บ้าง ไม่เรียบร้อยบ้าง ทั้ง ทางกาย วาจา และใจ ก็จริงแล แต่ความประพฤติเรียบร้อย เด่นชัดของ สมณพราหมณ์เหล่านั้น จักเป็นของเราผู้เห็น อยู่ ซึ่งตัวอย่างอันยิ่ง. เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์พวกนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา สำหรับเราทั้งหลาย โดยแท้.



16
ผล และ ประโยชน์ของความเป็นสมณะ
..ผลของความ เป็นสมณะ คือ การเข้าถึง โสดาปัตติพล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
.. ประโยชน์ของความเป็นสมณะคือ สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ

..ความเป็นมณะ คือ ความเข้าใจอันถูกต้อง ดำริถูกต้อง พูดจาถูกต้อง การงาน ถูกต้อง(มรรค๘ บริบูรณ์)

ภิกษุ ท. ! ผลของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? โสดาปัตติผล, สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล เหล่าใดแล ภิกษุ ท. ! ผล เหล่านี้เราเรียกว่า ผลของความ เป็นสมณะ.

ภิกษุ ท. ! ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ อันใดแล ภิกษุ ท. ! อันนี้เราเรียกว่า ประโยชน์ของ ความเป็นสมณะ.

ภิกษุ ท. ! ความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ อย่างเดียว เท่านั้น ซึ่งได้แก่ความเข้าใจอันถูกต้อง ความดำริอันถูกต้อง การพูดจาอันถูกต้อง การทำการงานอันถูกต้อง การเลี้ยงชีวิตอันถูกต้อง ความพยายามอันถูกต้อง ความมีสติครองตนอันถูกต้อง ความตั้งใจมั่น อันถูกต้อง

ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคอันนี้เราเรียกว่า ความเป็น สมณะ.



หน้าถัดไป

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์