เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อริยะวินัย (คัดมาบางพระสูตร จากหนังสือ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ) 920-6
 
 
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ออกไปหน้าแรก
 
 
 
1

ผู้ปิดกั้นอภิชฌาโทมนัสให้หยุดไหล (คุ้มครองอินทรีย์ เห็นรูปแล้ว จักไม่ถือเอาทั้งโดยลักษณะ โดยรแยกเป็นส่วนๆ)

2 คุณธรรมของพระโสดาบัน (ศีลสมาธิปัญญาพอประมาณ ล่วงสิกขา-ต้องอาบัติเล็กน้อย.. สิ้นสังโยชน์๓ เกิด ๗ คราว)
3 คุณธรรมของพระสกทาคามี (สิ้นสัญโญชน์๓ ราคะโทสะโมหะเบาบาง ยังจะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว)
4 คุณธรรมของพระอนาคามี (ศีลสมาธิปัญญาพอประมาณ ล่วงสิกขา เล็กน้อง สิ้นสัญโญชน์๕ ปรินิพพานในภพนั้น)
5 คุณธรรมของพระอรหันต์ (ศีล สมาธิ ปัญญาบริบูรณ์ ล่วงสิกขาต้องอาบัติ เล็กน้อย.. ทำให้แจ้งซึ่งเจโต-ปัญญาวิมุตติ)
6 หมดพิษสงทางใจจึงประกาศพระศาสนา (ตถาคตพ้นแล้วจากบ่วง ..อย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป จงแสดงธรรมที่งดงาม
7 เถระดี (๑.มีศีลสมบูรณ์ด้วยมารยาท-โคจร ๒.เป็นพหูสูต ๓.ถ้อยคำงดงาม ๔.ได้ฌาน๑-๔ ๕.กระทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติ)
8 เถระที่ไม่ต้องระวัง (เป็นเถระที่ใคร่ต่อสิกขา ชักจุง ยกย่องผู้รักการปฏิบัติในสิกขา พระศาสดา สรรเสริญ ภิกษุ ชนิดนี้)
9 เถระที่ต้องระวัง (เป็นเถระทไม่ใคร่ต่อสิกขา ชักจุง ยกย่องผู้รักการปฏิบัติในสิกขา พระศาสดา สรรเสริญ ภิกษุ ชนิดนี้)
10 อาเนญชาสมาธิ (ได้สมาธิระดับ อรูป หรือระดับอากาสาขึ้นไป มีสมาธิที่พ้นการกำหนดหมายในรูป)
11 ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ (รู้ชัดอริยสัจสี่ รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิด รู้ความดับไม่เหลือ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์)
12 เนื้อนาบุญของโลก (มีศีลสำรวมปาติโมกข-มารยาทและโคจร.. ปรารภความเพียร.. รู้ชัดหตุเกิด-ดับข้อปฏิบัติของทุกข์)
13 เนื้อนาบุญ เกิดจากการมีสังวร (ตาไม่ยินดียินร้าย รู้สึกตัวเป็นประจำ..หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่ยินดียินร้ายเช่นเดียวกัน)
14 เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ทำไปตามอำนาจกิเลส(พึงละกิเลสด้วยการสังวร การเสพ อดกลั้น งดเว้น บรรเทา ภาวนา)
15 เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่เป็นทาสตัณหา (อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ด้วยกำลัง)
16 เนื้อนาบุญ เกิดจากไม่ลืมคำปฏิญาณ (บุคคล8จำพวก ผู้ควรบูชาควรต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี)
17 เนื้อนาบุญ เกิดจากการหมดพิษสงทางใจ (ประกอบด้วยองค์ ๕ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ)
18 เนื้อนาบุญ เกิดเพราะได้รับการฝึกตามลำดับ (เหมือนฝึกม้าอาชาไนย 10 อย่าง ถูกฝึก ซํ้าๆ ซากๆ เข้า จนหมดพยศ)
 
 
 
 


1

ผู้ปิดกั้นอภิชฌาโทมนัสให้หยุดไหล
(เป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์ เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาทั้งโดยลักษณะ ที่เป็นการ รวบถือทั้งหมด และถือเอาโดยการแยกเป็นส่วนๆ)

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการ สำเหนียกตนเองให้ได้ว่า เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ได้เห็นรูป ด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด และการ ถือเอาโดยการแยกเป็นส่วน ๆ

สิ่งอันเป็นอกุศลลามก คืออภิชฌาและ โทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่สำรวม อินทรีย์ คือตาใดเป็นเหตุเราจักปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้จักเป็นผู้รักษา ถึงการสำรวม อินทรีย์ คือตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัส โผฏฐัพพะด้วยกาย ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว จักไม่ถือเอาทั้งโดยลักษณะ นี่เป็นการรวบถือทั้งหมด(โดยนิมิต)และการถือเอาโดยการแยกเป็นส่วนๆ (โดยพยัญชนะ)

สิ่งอันเป็น อกุศลลามก คืออภิชฌา และโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่ สำรวม อินทรีย์ใด เป็นเหตุ เราจักปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์เหล่านั้นไว้จักเป็นผู้รักษา ถึงการ สำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย

ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล



2

(๑) คุณธรรมของพระโสดาบัน
(โสดาบัน ศีล สมาธิ ปัญญา พอประมาณ ล่วงสิกขาบทเล็กน้อย ต้องอาบัติเล็กน้อย.. สิ้นสังโยชน์๓ ยังต้องท่องเที่ยวในภพมนุษย์และเทวดาอีกไม่เกิน ๗ คราว.. หรือท่องเที่ยวไปสู่สกุล ๒ -๓ ครั้ง... หรือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียว)

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอ ประมาณในสมาธิ ทำพอ ประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติ เล็กน้อย เหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใดๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่าการล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้

         อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย. ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง สัญโญชน์๓ เป็นโสดาบัน (ผู้ถึงกระแสแห่งนิพพาน) เป็นผู้มีอันไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้ ข้างหน้า.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น (1) เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ ๓ เป็นผู้ยังต้อง ท่องเที่ยวไป ในภพแห่งเทวดาแลมนุษย์อีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมาก แล้วย่อมกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ได้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น (2) เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์๓ จักต้อง ท่องเที่ยว ไปสู่สกุล ๒ หรือ ๓ ครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น (3) เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์๓ เป็นผู้มีพืช หนเดียว คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้.



3

(๒) คุณธรรมของพระสกทาคามี
(สกทาคามี สิ้นสัญโญชน์๓ และ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง เป็นสกทาคามี ยังจะมาสู่ โลกนี้ อีกครั้งเดียว เท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้)

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติ เล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่าการล่วงสิกขาบท เล็กน้อยและ การต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้

         อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่ พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษา อยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย. ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์๓ และ
เพราะ ความที่ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง เป็นสกทาคามียังจะมาสู่โลกนี้อีก ครั้งเดียว เท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.



4

(๓) คุณธรรมของพระอนาคามี
(อนาคามี เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิพอประมาณในปัญญา ยังล่วงสิกขาบท ต้องอาบัติ เล็กน้อยบ้าง เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า๕ เป็นอนาคามี จะปรินิพพานในภพนั้นๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นๆ)
(อีกนัยหนึ่งจำแนกพระอนาคามีเป็น ๕ จำพวก)
๑) สิ้นสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ
๒) สิ้นสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
(สุทัสสี)
๓) สิ้นสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
(สุทัสสา)
๔) สิ้นสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด
(อตัปปา)
๕) สิ้นสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่
ง (อวิหา)

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติ เล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
ไม่มีผู้รู้ใดๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่าการล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้

อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่น คงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย

ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า๕ เป็นอนาคามี ผู้อุบัติขึ้นใน ทันที มีการปรินิพพานในภพนั้น ๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้น ๆ เป็นธรรมดา.

(อีกนัยหนึ่งจำแนกพระอนาคามีเป็น ๕ จำพวก) คือ ๒
ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.

ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.

ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.



5

(๔) คุณธรรมของพระอรหันต์
(อรหันต์ ศีล สมาธิ ปัญญา บริบูรณ์  เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออก จากอาบัติ เล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง... ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน ทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้ว)


         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และ ต้องออกจากอาบัติ เล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใดๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่าการล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้

อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย.

ภิกษุนั้น
ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึง แล้ว แลอยู่.



6

หมดพิษสงทางใจจึงประกาศพระศาสนา
(ตถาคต เป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจารึกไป อย่าไปทางเดียวกันถึง 2 รูป จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในเบื้องปลาย พร้อมทั้งแสดงอรรถะและพยัญชนะ ให้บริสุทธื์ บริบูรณ์สิ้นเชิง)

         ภิกษุท. ! ตถาคต เป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็น ของมนุษย์ แม้พวกเธอทั้งหลายพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็น ของมนุษย์.

ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุข แก่คนจำนวน มาก เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. อย่าไป ทางเดียวกันถึงสองรูป.

ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงแสดงธรรม ให้งดงามในเบื้องต้น ให้งดงามใน ท่ามกลาง ให้งดงามในเบื้องปลาย จงประกาศแบบแห่งการ ปฏิบัติอันประเสริฐ ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธ์ิบริบูรณ์สิ้นเชิง. สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อย ก็มีอยู่ สัตว์พวกนี้ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่.

ภิกษุท. ! แม้เราเอง ก็จักไปสู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดง ธรรม.



7
เถระดี
(เถระดี ประกอบด้วยองค์ ๕.. ๑. มีศีลสมบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร ๒.เป็นพหูสูต ๓.มีถ้อยคำที่งดงาม ๔.ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง๔ ๕.กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้)

         ภิกษุท. ! ภิกษุชั้นเถระ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างแล้ว ย่อม เป็นที่รัก ที่ไว้วางใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องสรรเสริญ ของพวกเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน. องค์ประกอบห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ

(๑)
เธอ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วย มรรยาทและ โคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าเป็น โทษเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

(๒)
เธอ เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว ธรรมเหล่าใด มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด แสดงพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธ์ิบริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเหล่านั้นอันเธอได้ฟัง มามากแล้ว จำได้ว่าได้คล่องแคล่วด้วย วาจา มองเห็นตามด้วยใจ เจาะแทงทะลุ อย่างดี ด้วยความเห็น.

(๓)
เธอ เป็นผู้มีถ้อยคำงดงาม มีวิธีพูดได้เพราะ มีถ้อยคำถูกต้องตามความนิยมแห่ง ชาวเมือง สละสลวยไม่ตะกุกตะกัก ทำให้เข้าใจความหมายได้ง่าย.

(๔)
เธอ เป็นผู้ได้ตามต้องการได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง ๔ อันเนื่อง ในจิต อันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร.

(๕)
เธอ เป็นผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่

ภิกษุท. ! ภิกษุชั้นเถระ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นที่รัก ที่ไว้วางใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องสรรเสริญ ของพวกเพื่อน พรหมจรรย์ ด้วยกันแล.



8
เถระที่ไม่ต้องระวัง
(เป็นเถระที่ใคร่ต่อสิกขา ชักจุง ยกย่องผู้รักการปฏิบัติในสิกขา พระศาสดา สรรเสริญ ภิกษุชนิดนี้ ให้ถือเอาเป็นตัวอย่าง เพื่อประโยชน์ และความสุข)


         กัสสปะ ! ภิกษุแม้เป็นเถระแล้ว แต่เป็นผู้ใคร่ต่อไตรสิกขา(ศีล สมาธิ ปัญญา) ด้วยตนเอง สรรเสริญ ผู้ปฏิบัติ ในไตรสิกขา ชักจูงผู้ไม่รักในไตรสิกขา กล่าวยกย่อง ผู้รักการปฏิบัติ ในไตรสิกขา ตามเวลาที่ควรแก่การยกย่อง ตามที่เป็นจริง

         กัสสปะ ! เราตถาคต สรรเสริญ ภิกษุเถระชนิดนี้

ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุเหล่าอื่น รู้ว่า “พระศาสดา สรรเสริญ ภิกษุ ชนิดนี้ ” ก็จะคบหาแต่ภิกษุชนิดนั้น. ภิกษุเหล่าใดคบหา ภิกษุเถระชนิดนั้นเข้า ก็จะถือเอาภิกษุเถระชนิดนั้น เป็นตัวอย่างสืบไป การ ถือเอาภิกษุเถระชนิดนั้น เป็นตัวอย่าง ย่อมเป็นทางให้เกิดสิ่งอันเป็น ประโยชน์และเป็นความสุข แก่ภิกษุ เหล่านั้น เองสิ้นกาลนาน.

กัสสปะ ! เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญภิกษุเถระชนิดนี้แล

( ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๔๒๙)



9

เถระที่ต้องระวัง
(เป็นเถระที่ไม่ใคร่ต่อพระธรรมวินัย ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระศาสดา ไม่สรรเสริญ ภิกษุประเภทนี้ และไม่ให้ถือเอาเป็นตัวอย่าง)

         กัสสะปะ ! ภิกษุแม้เป็นเถระแล้ว แต่ไม่เป็นผู้ใคร่ต่อไตรสิกขาด้วยตนเอง ไม่สรรเสริญผู้ปฏิบัติในไตรสิกขา ไม่ชักจูงผู้ไม่รักไตรสิกขา ไม่กล่าวยกย่องผู้รักการ ปฏิบัติในไตรสิกขา ตามเวลาที่ควร แก่การยกย่องตามที่เป็นจริง

กัสสปะ ! เราตถาคต ไม่สรรเสริญภิกษุเถระชนิดนี้.

         ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะเหตุว่าภิกษุทั้งหลายจะไปหลงคบภิกษุเถระชนิดนั้น เข้า ด้วยคิดว่า “พระศาสดา สรรเสริญภิกษุชนิดนี้” ดังนี้.

         ภิกษุเหล่าใดไปคบหาภิกษุเถระชนิดนั้นเข้า ก็จะถือเอาภิกษุ เถระชนิดนั้น เป็น ตัวอย่างสืบไป ; การถือเอาภิกษุเถระชนิดนั้น เป็นตัวอย่าง ย่อมเป็นทาง ให้เกิดสิ่งอัน ไม่เป็นประโยชน์และเป็นทุกข์แก่ภิกษุเหล่านั้นเอง สิ้นกาลนาน.

กัสสปะ ! เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุเถระชนิดนี้

(ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๑๘๐)



10
อาเนญชาสมาธิ
(ได้สมาธิระดับ อรูป หรือระดับอากาสาขึ้นไป มีสมาธิที่พ้นการกำหนดหมายในรูป)


         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึง อาเนญชา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุท. !
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะผ่านพ้นการกำหนดหมาย ในรูป เสียได้ เพราะความดับ แห่งการกำหนดหมายในอารมณ์ที่ขัดใจ

และ
เพราะการไม่ทำในใจ ซึ่งการกำหนดหมายในภาวะต่าง ๆ เสียได้โดยประการ ทั้งปวง จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปว
ง จึงเข้าถึง วิญญา ณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแล อยู่

เพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง
จึงเข้าถึง 
อากิญจัญญา ยตนะ
 อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง เนวสัญญา นาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่.

ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึง อาเนญชา ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้แล.



11

ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ
(รู้ชัดในอริยสัจสี่ รู้ว่าทุกข์เป็นเช่นนี้ รู้เหตุเกิด รู้ความดับไม่เหลือ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์)

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ”
ย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า
 “เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ”
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
 “ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ”
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
“ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ” ดังนี้

          ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล


12
เนื้อนาบุญของโลก (อุปมาเหมือนม้า)
(มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร.. ปรารภความเพียร.. รู้ชัดตามความเป็นจริงในเหตุเกิดทุกข์ รู้ชัดความดับ และข้อปฏิบัติ..)

เนื้อนาบุญ เกิดจากองค์สาม

1) เป็นผู้สมบูรณ์เหมือนม้าสมบูรณ์ด้วยสี
ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วย มรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าเป็น โทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

2) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง
ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละสิ่งอันเป็นอกุศลทั้งหลาย เพื่อยังสิ่งอันเป็นกุศลทั้งหลายให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังแข็งขัน ทำความเพียร ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

3) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความไวแห่งปัญญา
ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ” ย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงว่า “เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ” ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ” ย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงว่า “ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ” ดังนี้

ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.



13

เนื้อนาบุญ เกิดจากการมีสังวร
(เห็นด้วยด้วยตาแล้ว ไม่ยินดียินร้าย รู้สึกตัวเป็นประจำ.. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่ยินดี ยินร้ายเช่นเดียวกัน)

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างแล้ว ย่อมเป็น ผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อ นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หกอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ได้เห็นรูปด้วย ตาแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง* มีความระลึกได้ และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ

(๒) ได้ฟังเสียงด้วย หู แล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึกได้และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ

(๓) ได้ดมกลิ่นด้วย จมูก แล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึกได้และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ

(๔) ได้ลิ้มรสด้วย ลิ้น แล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึกได้และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ

(๕) ได้สัมผัส โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิต มัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึกได้และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ

(๖) ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้วไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึกได้และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำฅ

ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

*จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง หมายถึง การผูกจิตเอาไว้ ไม่ปล่อยจิตให้หวั่นไหวไปตามอำเภอใจ



14

เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ทำไปตามอำนาจกิเลส
(พึงละกิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยการสังวร ละกิเลสด้วยการเสพ ด้วยความอดกลั้น ด้วยการงดเว้น ด้วยการบรรเทา ด้วยการภาวนา)

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. องค์ประกอบหกอย่าง อะไรบ้างเล่า ?

หกอย่างคือ
ภิกษุท. ! ในกรณีนี้

         กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการสังวร
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย
การสังวร

กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการเสพ
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลส เหล่านั้นได้แล้วด้วย
การเสพ

กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึง ละได้ด้วยการอดกลั้น
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย
การอดกลั้น

กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการงดเว้น
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย
การงดเว้น

กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่า ใด จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย
การบรรเทา

กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยภาวนา
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย
ภาวนา ๑.



15
เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่เป็นทาสตัณหา
(อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ด้วยกำลัง)


         ภิกษุท. ! ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของพระราชา ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ หกอย่างแล้ว ย่อมเป็นม้าที่คู่ควรแก่พระราชา เป็นราชพาหนะได้และนับว่า เป็นของคู่ บารมีของพระราชาด้วย

องค์ประกอบหกอย่างอะไรบ้างเล่า ? หกอย่างคือ
ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของ พระราชาในกรณีนี้
(๑) เป็นม้าอดทนต่อรูปทั้งหลาย
(๒) เป็นม้าอดทนต่อเสียงทั้งหลาย
(๓) เป็นม้าอดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย
(๔) เป็นม้าอดทนต่อรสทั้งหลาย
(๕) เป็นม้าอดทนต่อสัมผัสทางกายทั้งหลาย
(๖) เป็นม้าสมบูรณ์ด้วยกำลัง

ภิกษุท. ! ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของพระราชา ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ หกอย่าง เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นม้าที่คู่ควรแก่พระราชา เป็นราชพาหนะ ได้และนับว่า เป็นของคู่บารมีของพระราชาด้วย

ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่าง แล้ว ย่อม เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็น เนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

องค์ประกอบ หกอย่างอะไรบ้างเล่า ? หกอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจขอรูปทั้งหลาย
(๒) เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของ เสียงทั้งหลาย
(๓)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของ กลิ่นทั้งหลาย
(๔)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของ รสทั้งหลาย
(๕)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของ สัมผัสทางกายทั้งหลาย
(๖)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย

ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อม เป็นผู้ ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า



16

เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ลืมคำปฏิญาณ
(บุคคล 8 จำพวก เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก)

         ภิกษุท. ! บุคคล แปด จำพวกเหล่านี้เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

แปดจำพวกอะไรบ้างเล่า ? แปด จำพวกคือ :-
(๑) พระโสดาบัน
(๒) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

(๓) พระสกทาคามี
(๔) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล

(๕) พระอนาคามี
(๖) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล

(๗) พระอรหันต์
(๘) พระผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์.

ภิกษุท. ! บุคคล แปด จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า



17
เนื้อนาบุญ เกิดจากการหมดพิษสงทางใจ
(เนื้อนาบุญ ประกอบด้วยองค์ ๕ สูตรหนึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ
อีกสูตรหนึ่ง ระดับ อเสขะ สีลขันธ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ ทัศสสนขันธ์)



         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำ อัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. องค์ประกอบห้าอย่าง อะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ :
(๑) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ศีล
(๒) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
สมาธิ
(๓) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา
(๔) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
วิมุตติ
(๕) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
วิมุตติญาณทัสสนะ

(อีกสูตรหนี่ง)๒
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วย
สีลขันธ์ อันเป็น อเสขะ
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วย
สมาธิขันธ์ อันเป็น อเสขะ
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วย
ปัญญาขันธ์ อันเป็น อเสขะ
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วย
วิมุตติขันธ์ อันเป็น อเสขะ
(๕) เป็นผู้ประกอบด้วย
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็น อเสขะ



18

เนื้อนาบุญ เกิดเพราะได้รับการฝึกตามลำดับ

(อุปมาเหมือนการฝึกม้าอาชาไนย 10 อย่าง ถูกฝึก ซํ้า ๆ ซาก ๆ เข้า จนหมดพยศ)


         ภัททาลิ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ สิบอย่างแล้ว ย่อม เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อ นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

องค์ประกอบสิบอย่างอะไรบ้างเล่า ? สิบอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาทิฏฐิอัน เป็น อเสขะ
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาสังกัปปะอัน เป็น อเสขะ
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาวาจาอันเป็น อเสขะ
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมากัมมันตะอันเป็น อเสขะ
(๕)เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาอาชีวะอันเป็น อเสขะ
(๖)เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาวายามะอันเป็น อเสขะ
(๗)เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาสติอันเป็น อเสขะ
(๘)เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาสมาธิอันเป็น อเสขะ
(๙)เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาญาณ อันเป็น อเสขะ
(๑๐)เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาวิมุตติ อันเป็น อเสขะ


หน้าถัดไป


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์