เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมพระสูตรที่เป็นเรื่องการพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาค 1721
  (ย่อ)

1. ทรงพยากรณ์พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ขณะกำลังเดินมาแต่ไกล
   (เรื่องพระอัสสชิเถระ)
  - พระสารีบุตรสมัยเป็นสาวกลัทธิสัญชัย มีชื่อว่า โกลิตะ พระโมคคัลลานะชื่อ อุปติสสะ
  - พระสารีบุตรเห็นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตด้วยท่าทางน่าเลื่อมใส จึงรอเข้าพบ
  - ถามว่า ท่านเป็นนักบวชของใคร ใครเป็นศาสดาท่าน ศาสดาท่านสอนว่าอย่างไร
  - ศาสดาเราสอนว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับ
    แห่งธรรมเหล่านั้น
  - สารีบุตรเกิดดวงตาเห็นธรรม มีผิวพรรณผ่องใส เกิดศรัทธาพระผู้มีพระภาค
  - จึงชวนอุปติสะ(พระโมคคัลลานะ) เข้าไปหาพระผู้มีพระภาค
  - ขณะทั้งสองกำลังเดินมาแต่ไกล
ทรงพยากรณ์ว่าจะเป็นคู่สาวก และจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์

2. ทรงพยากรณ์ภพใหม่ ของชาวนาทิคาม ผู้ทำกาละแล้ว จำนวน 668 คน
    (มหาปรินิพพานสูตร)

   ทั้งหมดที่ทรงพยากรณ์เป็นอริยบุคคลทั้งสิ้น ไม่มีใครตกต่ำไปสู่อบายภูมิ แม้คนเดียว
  - สำเร็จอรหันต์ 1
  - เป็นอนาคามี 59
  - เป็นสกทาคามี 97
  - เป็นโสดาบัน 511

3. พระอานนท์น้อยใจพระศาสดาที่ไม่ทรงพยากรณ์ชาวมคธที่ทำกาละ
    (ชนวสภสูตร)
   - แต่กลับพยากรณ์ชาวเมืองในชนบทรอบๆ ซึ่งทำกาละล่วงไปแล้ว
   - เช่น แคว้นกาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ... ว่าคนโน้นเกิดในภพโน้น ภพนี้
   - ที่สุดแล้ว พระศาสดาก็ไม่ทรงพยากรณ์
   - เหตุใดจึงไม่ทรงพยากรณ์ชาวมคธ

4. ทรงพยากรณ์นักบวชชีเปลือย โกรักขัตติยอเจลก ว่าจะตายใน 7 วัน
   (เรื่องนักบวชชีเปลือย)
  - อเจลกชื่อโกรักขัตติยะ ประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารบนพื้นด้วยปาก
  - สุนัขขัตตะ(สาวก) เข้าใจผิดว่า นี่คืออรหันต์
  -
ทรงพยากรณ์ว่า อเจลกชื่อโกรักขัตติยะ จะตายด้วยโรคคอลสกะ ใน 7 วัน
  - หลังตายจะไปเกิดในเหล่าอสูรชื่อ กาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง


5. พระองค์ไม่พยากรณ์ภพใหม่ของสาวกที่ทำกาละไปแล้วด้วยเหตุใด
    (กุตุหลสาลาสูตร)
  - วัจฉะเข้าเฝ้าฯ เจ้าลัทธิต่างๆ ต่างพยากรณ์สาวกของตนที่ทำกาละไปแล้ว ว่าไปเกิดในภพโน้น..
  - เหตุใดพระองค์จึงไม่พยากรณ์สาวกของพระองค์ที่ทำกาละเหมือนเจ้าลัทธิอื่นๆบ้าง
  - วัจฉะ เราบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่
  - การพยากรณ์ของพระองค์ก็คือสาวกรูปนั้นตัดตัณหาขาดแล้ว สิ้นสังโยชน์แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์
  - อุปมาเช่นเดียวกับการดับของเปลวไฟ ไม่มีผู้ใดตอบได้ว่าไฟนั้นดับไปในทิศใด

6. ทรงพยากรณ์เจ้าสรกานิ (เจ้าขี้เมา) หลังทำกาละจะได้ไปเกิดเป็นโสดาบัน
   (สรกานิสูตร)
   เหตุที่เจ้าสรกานิ ได้เป็นโสดาบัน
   
(นัยยะ 1) 1 มีความรัก ศรัทธา ตถาคต   2 สมาทานสิกขาในเวลาจะทำกาละ
   (นัยยะ2)  1 ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม   2 กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในเวลาจะทำกาละ


7. ทรงพยากรณ์พระเทวทัตหลังทำกาละ ต้องเกิดในอบายตกนรกตลอดกัป เยียวยาไม่ได้
  (อุทกสูตร)
  เรากำหนดรู้เหตุทั้งปวงด้วยใจแล้วพยากรณ์อย่างนั้น...
  เราไม่เห็นธรรมขาวของพระเทวทัต แม้เท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทราย จึงพยากรณ์ว่าจะต้อง
  เกิดในอบายตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้

8. ปุราณะประพฤติพรหมจรรย์ อิสิทัตตะ ไม่.. หลังทำกาละทรงพยากรณ์ว่าทั้งสองเป็น
    สกทาคามี เข้าถึงชั้นดุสิต

  (มิคสาลาสูตร -บุคคล 10 จำพวก)
  มิคคสาลาอุบาสิกาถามปัญหากับอานนท์
  
ปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ งดเว้นจากเมถุน(งดมีเพศสัมพันธ์) ทำกาละแล้ว
  แต่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

  อิสิทัตตะ ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ยินดีในภรรยาของตน ทำกาละแล้ว
  พระผู้มีพระภาคก็
ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

9.พาหิยทารุจีริยะถูกแม่โคลูกอ่อนขวิดจนเสียชีวิต ทรงพยากรณ์ว่าพาหิยะปรินิพพานแล้ว
  (พาหิยะสูตร)
  - กุลบุตรพาหิยทารุจีริยะขอให้พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมขณะกำลังบิณฑบาต
  - พระผู้มีพระภาคปฏิเสธถึง 3 ครั้ง ว่าไม่ใช่กาลกันควร
  - พาหิยะขอร้องว่า ความตายของข้าพระองค์ไม่ทราบว่าจะมาถึงเมื่อไหร่
  - ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
  - ในกาลใดแล เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
    เมื่อรู้แจ้งจัก เป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีใน     ระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

  - หลังพระผู้มีพระภาคจากไป พาหิยะถูกแม่โคลูกอ่อนขวิดตาย
  - พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
พาหิยะปรินิพพานแล้ว

10. สุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน ยากไร้ หลังฟังธรรมได้ทำกาละ ทรงพยากรณ์ว่าเป็นโสดาบัน
   
(สุปปพุทธกุฏฐิสูตร)
  - สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นโรคเรื้อน ขัดสน กำพร้า ยากไร้
  - พระผู้มีพระภาคกำหนดใจด้วยใจ ทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิ มีจิตอ่อนปราศจากนิวรณ์
  - ทรงตรัสอนุปุพพิกถาคือ ทานกถาศีลกถา สัคคกถาโทษแห่งกาม และเนกขัมมะ(ออกจากกาม)
  - ทรงแสดงธรรมด้วย อริยสัจสี่ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  - สุปปพุทธกุฏฐิเห็นแจ้ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
  - สุปปพุทธกุฏฐิ มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
  - ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อน ชนสุปปพุทธกุฏฐิ ให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต
  -
ทรงพยากรณ์ว่าสุปปพุทธกุฏฐิ เป็นพระโสดาบัน สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม
  - มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


1.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้า ๕๖ - ๖๒  
พระสูตรเต็ม (P403)


ทรงพยากรณ์พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

           [๗๑] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นสารีบุตร โมคคัลลานะ มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหาย สองคน นั้น คือโกลิตะ (ชื่อเดิมพระสารีบุตร) และ อุปติสสะ (ชื่อเดิมพระโมคคัลลานะ) กำลังมา นั่น จักเป็นคู่สาวกของเราจักเป็นคู่อัน เจริญชั้นเยี่ยมของเรา ก็สหายสองคนนั้น พ้นวิเศษแล้วในธรรมอันเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยม มีญาณวิสัยอันลึกซึ้งยังมา ไม่ทันถึงพระวิหารเวฬุวัน พระศาสดาทรงพยากรณ์ ว่าดังนี้ สหายสองคนนี้คือ โกลิตะ และอุปติสสะกำลังมานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยม ของเรา

เข้าเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท

           [๗๒] ครั้งนั้นสารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้วได้ซบเศียรลงที่พระบาทของผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชา อุปสมบท ต่อพระผู้มีพระภาคว่าขอพวกข้าพระพุทธเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนัก พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าข้า

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัส ต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุ เหล่านั้น



2.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๙

ทรงพยากรณ์ภพภูมิชาวนาทิกคาม 668 คน หลังทำกาละไปแล้ว
มหาปรินิพพานสูตร

         [๘๙] ...ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไป ยังนาทิกคาม... ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึง นาทิกคาม แล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ประทับในที่พัก ซึ่งก่อด้วยอิฐที่นาทิกคาม นั้น  ท่าน พระอานนท์ เข้าไป เฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

         ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ภิกษุนามว่า สาฬหะ มรณภาพแล้วในนาทิกคาม คติและภพ เบื้องหน้า ของเธอ เป็นไฉน

         ภิกษุณีนามว่า นันทา มรณภาพแล้วใน นาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้า ของเธอ เป็นไฉน อุบาสกนามว่า สุทัตตะ ... อุบาสิกา   นามว่า สุชาดา ... อุบาสกนามว่า กกุธะ ... อุบาสกนามว่า การฬิมพะ ... อุบาสก   นามว่า นิกฏะ ... อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ ... อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ ... อุบาสก   นามว่า สันตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า ภฏะ ... อุบาสกนามว่า สุภฏะ ทำกาละ   แล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้า ของเขา เป็นไฉน

         พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุนามว่า สาฬหะ กระทำให้แจ้ง ซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (สำเร็จอรหันต์) เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ของตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

         ภิกษุณีนามว่า นันทา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไปเป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็น ธรรมดา

         อุบาสกนามว่า สุทัตตะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลก นี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุด แห่งทุกข์

         อุบาสิกานามว่า สุชาดา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปเป็น พระโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า 

         อุบาสกนามว่า กกุธะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพาน  ในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
อุบาสกนามว่า การฬิมพะ ... อุบาสกนามว่า นิกฏะ ... อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ ... อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ ...อุบาสกนามว่า สันตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า ภฏะ ... อุบาสกนามว่า สุภฏะ เพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯ

         ดูกรอานนท์ 
          พวกอุบาสกในนาทิกคาม อีก ๕๐ คน
 
กระทำกาละแล้ว  เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่ กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา

         พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๙๖ คน ทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และ เพราะ ราคะโทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียว เท่านั้น แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์

         พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๕๑๐ คน ทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า

  ชาวนันทิกคามจำนวน 668 คน ที่พระศาสดาทรงพยากรณ์
  1- ภิกษุสาฬหะ สำเร็จอรหันต์
  1- ภิกษุณี นนทา สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นอนาคามี
  1-อุบาสก สุทัตตะ สิ้นสังโยชน์ ๓ และราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามี
  1- อุบาสิกา สุชาดา สิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นโสดาบัน
  8- อุบาสก สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นอนาคามี
  50- อุบาสก สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นอนาคามี
  96-อุบาสก สิ้นสังโยชน์ ๓ และราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามี
  510-อุบาสก สิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นโสดาบัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------
  แยกเป็นอริยะบุคคลแต่ละประเภท
  -สำเร็จอรหันต์ 1
  -เป็นอนาคามี 59
  -เป็นสกทาคามี 97
  -เป็นโสดาบัน 511


3.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๑๕๔- ๑๖๗
(พระสูตรเต็ม P727)

พระอานนท์น้อยใจพระศาสดาที่ไม่ทรงพยากรณ์ชาวมคธ
(ชนวสภสูตร)

            ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์มีความดำริว่า ก็ ชาวมคธ ผู้บำเรอเหล่านี้ ทั้งมากมาย ทั้งเป็นคนเก่าแก่ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว อังคะ และ มคธะ เห็นจะว่าง จากชาวมคธ ผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เพราะเหตุนั้น ชาวมคธ นั้นที่เป็นผู้ เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใสในพระสงฆ์ กระทำให้บริบูรณ์ ในศีล ทั้งหลาย ทำกาละล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จประโยชน์แก่พวกเขา ชนเป็นอันมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้นจะ พึงไปสู่สุคติ (ฉบับ ม.จุฬา สรุปแปลว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ชนชาวมคธ)

      
อนึ่งพระเจ้าแผ่นดินมคธผู้เป็นจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสารทรงดำรง อยู่ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรม ทรงเกื้อกูลแก่พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคม และชาวชนบท

       อนึ่ง ข่าวว่าพวกมนุษย์พากันสรรเสริญอยู่ว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงดำรง อยู่ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรม ทรงปกครองพวกเราให้เป็นสุขอย่างนี้ เสด็จ สวรรคต เสียแล้ว พวกเราอยู่เป็นผาสุกในแว่นแคว้นของพระองค์ ผู้ทรงดำรงอยู่ ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรมอย่างนี้

       อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ทรงเลื่อมใสใน พระธรรม ทรงเลื่อมใสในพระสงฆ์ ทรงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย

       อนึ่ง ข่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า แม้จนกระทั่งเวลาจะเสด็จ สวรรคต พระเจ้าแผ่นดินมคธผู้เป็นจอมเสนาทรงพระนามว่า พิมพิสาร ก็ยังทรง สรรเสริญ พระผู้มีพระภาคเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าแผ่นดิน มคธนั้นเสด็จสวรรคต ล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จ ประโยชน์ แม้แก่พระเจ้า แผ่นดินมคธนั้น ชนเป็นอันมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้นจะพึง ไปสู่สุคติ ก็พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้ในแผ่นดินมคธ

       ทำไมพระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงพยากรณ์พวกชาวมคธผู้บำเรอ ซึ่งทำกาละล่วงไป นานแล้ว ในแผ่นดินมคธที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้นั้น ในที่เกิดทั้งหลาย ก็ถ้าพระผู้มี พระภาค ไม่ทรงพยากรณ์พวกชาวมคธผู้บำเรอ ซึ่งทำกาละล่วงไปนานแล้ว ในที่ เกิดทั้งหลาย พวกชาวมคธผู้บำเรอจะพึงน้อยใจ ว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรง พยากรณ์ พวกเขา

       ท่านพระอานนท์ปรารภพวกชาวมคธ ผู้บำเรอ พิจารณาเหตุนี้อยู่ในที่ลับ แต่ผู้เดียว ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับข่าวมาว่า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ พวกชนผู้บำเรอ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในชนบทรอบๆ ซึ่งทำกาละล่วงไป นานแล้ว ในที่เกิดทั้งหลาย ว่าคนโน้นเกิด ณ ที่โน้น คนโน้นเกิด ณที่โน้น ในแคว้น กาสี และโกศล แคว้นวัชชี และมัลละ แคว้นเจตีและวังสะ แคว้นกุรุ และปัญจาละ แคว้นมัจฉะ และสุรเสนะ

       ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นโอปปาติกะ เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ อย่าง ปรินิพพาน ณ ที่นั้น ไม่กลับมา จากโลกนั้นเป็น ธรรมดา
       ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๙๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระ สกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะโทสะ และโมหะเบาบาง จะมายัง โลกนี้เพียง ครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้
       ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็น พระโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยง มีอัน จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า

       เพราะเหตุนั้นแลชาวบ้านนาทิกะผู้บำเรอ จึงปลื้มใจเบิกบาน เกิดปีติและ โสมนัส เพราะได้ฟังคำ พยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค พระเจ้าข้า ก็ชาวมคธ ผู้บำเรอ เหล่านี้ ทั้งมากมาย ทั้งเป็น คนเก่าแก่ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว อังคะและมคธะ เห็นจะว่างจากชาว มคธผู้บำเรอ ทำกาละ ล่วงไปนานแล้ว

       เพราะเหตุนั้น ชาวมคธ นั้นที่เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใส ในพระสงฆ์ กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ทำกาละล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จประโยชน์แก่พวกเขา ชนเป็นอันมากจะพึง เลื่อมใส แต่นั้นจะพึงไปสู่สุคติพระเจ้าข้า พระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็นจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร พระองค์นี้ ทรงดำรงอยู่ในธรรมเป็นราชา ผู้ปกครองโดยธรรม ทรงเกื้อกูลแก่พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท

       อนึ่งข่าวว่า พวกมนุษย์พากันสรรเสริญอยู่ว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงดำรง อยู่ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรม ทรงปกครองพวกเราให้เป็นสุขอย่างนี้ เสด็จ สวรรคตเสียแล้ว พวกเราอยู่เป็นผาสุกในแว่นแคว้นของพระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครอง โดยธรรมอย่างนี้พระเจ้าข้าพระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงเลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า ทรงเลื่อมใส ในพระธรรม ทรงเลื่อมใสในพระสงฆ์ ทรงทำให้บริบูรณ์ในศีล ทั้งหลาย

       อนึ่ง ข่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า แม้จนกระทั่งเวลาจะเสด็จ สวรรคต พระเจ้าแผ่นดินมคธผู้เป็นจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ก็ยังทรง สรรเสริญพระผู้มี พระภาคเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้นเสด็จ สวรรคต ล่วงไปนานแล้วพระผู้มี พระภาคไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จ ประโยชน์ แม้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน มคธนั้น ชนเป็นอันมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้น จะพึงไปสู่ สุคติ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ในแผ่นดินมคธ ทำไมพระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรง พยากรณ์  

       ชาวมคธผู้บำเรอซึ่งทำกาละล่วงไปนานแล้ว ในแผ่นดินมคธ ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้นั้น ในที่เกิดทั้งหลาย ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์พวกชาวมคธ ผู้ซึ่ง ทำกาละล่วง ไปนานแล้ว ในที่เกิดทั้งหลายเพราะเหตุนั้น ชาวมคธผู้บำเรอจะพึง น้อยใจ ว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค จึงไม่ทรงพยากรณ์พวกเขา

       ท่านพระอานนท์ปรารภชาวมคธผู้บำเรอนี้ ทูลเลียบเคียงเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มี พระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไปแล้ว

            [๑๙๐] ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปไม่นาน เวลาเช้าพระผู้มี พระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนาทิกะ เสด็จ เที่ยวบิณฑบาต ในบ้านนาทิกะ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วทรงล้าง พระบาท เสด็จเข้าพระตำหนักตึกแล้ว ทรงปรารภถึงชาวมคธผู้บำเรอ ทรงตั้ง พระทัย มนสิการ ประมวลเหตุทั้งปวงด้วยพระทัย(ทำจิตเป็นสมาธิ) ประทับนั่งบน อาสนะที่เขา ปูลาดไว้ ด้วยทรงพระดำริว่า เราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้าของชาวมคธ เหล่านั้นว่าผู้เจริญเหล่านั้น มีคติอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเห็นชาวมคธ ผู้บำเรอแล้วว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้า เป็นอย่างไร

       ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่เร้น เสด็จออกจากที่พระตำหนัก ตึก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ในร่มเงาวิหารฯ (พระพุทธเจ้าทำสมาธิตั้งแต่เช้าถึง เย็น จึงทราบ คติ ของชาวมคธ)

            [๑๙๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่าน พระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรง ปรากฏว่าสงบระงับ สีพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคผุดผ่องนัก เพราะพระอินทรีย์ ผ่องใส วันนี้พระผู้มีพระภาคย่อมอยู่ด้วย วิหารธรรมอันสงบ เป็นแน่
(ทำสมาธิ อินทรีย์ย่อมผ่องใส
)

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อที่เธอปรารภชาวมคธผู้บำเรอ พูดเลียบเคียงเฉพาะหน้าเรา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ เราเที่ยวบิณฑบาต ในบ้านนาทิกะ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว ล้างเท้า เข้าไปยังตึกที่พัก แล้วปรารภชาวมคธผู้บำเรอ ตั้งใจมนสิการประมวลเหตุทั้งปวง ด้วยใจนั่งอยู่บนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ด้วยดำริว่าเราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้าของชาวมคธ เหล่านั้นว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร อานนท์ เราได้เห็นชาวมคธ ผู้บำเรอแล้วว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้า เป็นอย่างไร

            อานนท์ ลำดับนั้น ยักษ์หายไปเปล่งเสียง ให้ได้ยินว่า ข้าแต่พระผู้มี พระภาค ข้าพระพุทธเจ้ามีนามว่า ชนวสภะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระพุทธเจ้า มีนามว่า ชนวสภะ (ทรงเล่าให้อานนท์ ขณะพระองค์ทำสมาธิอยู่ในวิหาร)
(ยักษ์เปล่งเสียงโดยไม่ปรากฎตัวให้เห็น-บทแปลจากสำนักอื่น)
(ชนวสโภ-สำนวนแปลสำนักอื่น เป็นบาลี)

       อานนท์เธอรู้หรือไม่ว่าเธอเคยได้ฟังชื่อว่า ชนวสภะ เห็นปานนี้ ในกาลก่อน แต่กาลนี้

       อ. ข้าพระองค์ไม่ทราบว่า เคยได้ฟังชื่อว่า ชนวสภะเห็นปานนี้ ในกาลก่อน แต่กาล นี้ เลย อนึ่งข้าพระองค์ขนลุกชูชันเพราะได้ฟังชื่อว่าชนวสภะ ข้าพระองค์นั้น คิดว่า ผู้ที่มีนามบัญญัติว่า ชนวสภะเห็นปานนี้นั้น ไม่ใช่ยักษ์ต่ำๆ เป็นแน่

       อานนท์ ในระหว่างที่มีเสียงปรากฏ ยักษ์มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งปรากฏต่อหน้าเรา แม้ ครั้งที่สองก็เปล่งเสียงให้ได้ยินว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระพุทธเจ้ามีนามว่า พิมพิสาร ข้าแต่พระสุคต ข้าพระพุทธเจ้ามีนามว่าพิมพิสาร

       ครั้งที่เจ็ดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า เข้าถึงความเป็นสหายของ ท้าวเวสสวรรณ มหาราช ข้า พระพุทธเจ้านั้นจุติจากนี้แล้ว สามารถเป็นพระราชาในหมู่มนุษย์

            [๑๙๒] ข้าพระพุทธเจ้าเคลื่อนจากเทวโลกนี้เจ็ดครั้ง จากมนุษยโลกนั้นเจ็ด ครั้ง รวมท่องเที่ยวอยู่สิบสี่ครั้ง ย่อมรู้จักภพที่ข้าพระพุทธเจ้าเคยอยู่อาศัยในก่อน

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความไม่ตกต่ำ ทราบชัดมานานวัน ถึงความ ไม่ตกต่ำ อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าตั้งความหวังไว้เพื่อความเป็น พระสกทาคามี

      อา. ข้อที่ท่านชนวสภะยักษ์ ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า มีความไม่ตกต่ำ ทราบชัดมานานวันถึงความไม่ตกต่ำ และตั้งความหวังเพื่อ ความเป็น พระสกทาคามีนี้ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมา ก็มีอะไรเป็นเหตุ ท่านชนวสภะ ยักษ์ จึงทราบชัด การบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้เล่า

      ภ. ชนวสภะยักษ์ประกาศว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่ข้าพระพุทธเจ้า รู้การ บรรลุ คุณวิเศษอันโอฬารนี้นั้น ไม่เว้นจากศาสนาของพระองค์ ข้าแต่พระสุคต ไม่เว้น จากศาสนาของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันที่ข้าพระพุทธเจ้าเลื่อมใสใน พระ ผู้มีพระภาคอย่างยิ่งนั้นเป็นต้นมา* ข้าพระพุทธเจ้าไม่ตกต่ำ ทราบชัดมานานวัน ถึงความไม่ตกต่ำ
*(ชนวสภะ ประกาศว่าเลื่อมใส พระตถาคตอย่างหยั่งลงมั่น)

       อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าตั้งความหวังไว้เพื่อความเป็นพระสกทาคามี ดังจะกราบทูล ให้ทรงทราบ ข้าพระพุทธเจ้าถูก ท้าวเวสสวรรณมหาราช ส่งไปในสำนัก ของ ท้าววิรุฬหกมหาราช ด้วยกรณียกิจบางอย่างในระหว่างทาง ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็น พระผู้มีพระภาค ซึ่งเสด็จไปยังพระตำหนักตึก ทรงปรารภชาวมคธ ผู้บำเรอ ตั้งพระทัย มนสิการ ประมวลเหตุทั้งปวง ด้วยพระทัยประทับ อยู่ด้วยทรงดำริว่า เราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้า ของชาวมคธเหล่านั้นว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้า เป็นอย่างไร (ชนวสภะ รู้ใจพระพุทธเจ้าขณะทำสมาธิ)

       ข้อที่ข้าพระพุทธเจ้ารับคำต่อหน้า ท้าวเวสสวรรณซึ่งกล่าวในบริษัทนั้นว่า ชาวมคธ ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร เป็นความอัศจรรย์เล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้า คิดว่า เราจักเฝ้าพระผู้มีพระภาค และจักกราบทูล ข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาค ข้าพระพุทธเจ้า มีเหตุ ๒ อย่างนี้แล ที่จะได้เข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาควันก่อนๆ นานมาแล้วในวันอุโบสถ ที่ ๑๕ ในราตรีวันเพ็ญวัสสูปนายิกา

   ข้อสังเกตุ :
   น่าแปลกว่าทำไมพระศาสดาจึงไม่พยากรณ์ชาวมคธที่ทำกาละ หรือเป็นเพราะพระเจ้า
   พิมพิสาร ราชาของแคว้นมคธ ผู้ปกครองโดยธรรม มีชนเลื่อมใสเป็นอันมาก และเป็น
   โสดาบัน ทั้งยังเป็น ราชาที่ทรงเลื่อมใสในพระศาสดาเป็นอันมาก แต่หลังทำกาละ
   กลับได้ ไปเกิดเป็นยักษ์ ซึ่งเป็น ภพภูมิที่ต่ำกว่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเสียอีก


4
.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕

(พระสูตรเต็ม P1536)

ทรงพยากรณ์นักบวชชีเปลือยโกรักขัตติยว่าจะตายใน7 วัน
(เรื่องนักบวชชีเปลือย ชื่ออเจลก)

          [๔] ดูกรภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่นิคมแห่งชาวถูลู ชื่ออุตตรกาในถูลู ชนบท ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนัก ขัตตะเป็น ปัจฉาสมณะ เข้าไปบิณฑบาตที่อุตตรกานิคม สมัยนั้น มี อเจลก คน หนึ่งชื่อ โกรักขัตติยะ ประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหาร ที่กองบนพื้นด้วยปาก

          ดูกรภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เห็นแล้วจึงคิดว่าเขาเป็นสมณะ อรหันต์ที่ดีผู้หนึ่ง ครั้งนั้น เราได้ทราบความคิดในใจของโอรสเจ้าลิจฉวี ชื่อสุนักขัตตะ ด้วยใจแล้ว จึงกล่าวกะเขาว่า ดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอก็ยังจักปฏิญาณ ตนว่า เป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังจักปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ

          ดูกรสุนักขัตตะ เธอได้เห็น โกรักขัตติย อเจลก คนนี้ ซึ่งประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก แล้วเธอจึงได้คิดต่อไปว่า เขาเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่งมิใช่หรือ

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคยังทรงหวง พระอรหันต์ อยู่หรือ

          ดูกรโมฆบุรุษ เรามิได้หวงพระอรหันต์ แต่ว่าเธอได้เกิดทิฐิลามกขึ้น เธอจงละ มันเสีย ทิฐิลามกนั้นอย่าได้มีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อทุกข์ ตลอดกาล นานอนึ่ง เธอย่อมเข้าใจ โกรักขัตติย อเจลก ว่าป็นสมณะ อรหันต์ที่ดี ผู้หนึ่ง อีก ๗ วัน เขาจักตายด้วย โรคอลสกะ (กินอาหารมากเกินไปจนกระพาะไม่ย่อย)

          ครั้นแล้ว จักบังเกิดในเหล่าอสูร ชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และจักถูกเขานำไปทิ้ง ที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ และเมื่อเธอประสงค์อยู่ พึงเข้าไปถาม โกรักขัตติย อเจลก ว่า

          ดูกรโกรักขัตติยะ ผู้มีอายุ ท่านย่อมทราบคติของตนหรือ ข้อที่โกรักขัตติย อเจลกพึงตอบเธอว่า ดูกรสุนักขัตตะผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบคติของตนอยู่ คือ ข้าพเจ้าไปเกิดในเหล่าอสูร ชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง ดังนี้ เป็น ฐานะที่มีได้ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้าไปหาโกรักขัตติยอเจลก แล้วจึงบอกว่า

          ดูกรโกรักขัตติยะ ผู้มีอายุ ท่านถูกพระสมณโคดม ทรงพยากรณ์ว่า อีกวัน โกรักขัตติยอเจลกจัก ตายด้วยโรคอลสกะ แล้วจักบังเกิดในเหล่าอสูร ชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และจักถูกเขานำไปทิ้งที่ป่าช้าชื่อ วีรณัตถัมภกะ ฉะนั้น ท่านจงกินอาหารและดื่มน้ำแต่พอสมควร จงให้คำพูดของ พระสมณโคดมเป็นผิด ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้นับวันตั้งแต่วันที่ ๑ ที่ ๒ ตลอดไปจนครบ ๗ วัน เพราะเขาไม่เชื่อต่อพระตถาคต

          ครั้งนั้น โกรักขัตติยอเจลก ได้ตายด้วยโรค อลสกะ ในวันที่ ๗ แล้วได้ไป บังเกิดใน เหล่าอสูรชื่อ กาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และถูกเขานำไป ทิ้งไว้ที่ป่าช้า ชื่อวีรณัตถัมภกะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้ทราบข่าวว่า โกรักขัตติย อเจลก ได้ตายด้วย โรคอลสกะ ได้ถูกเขานำไปทิ้งไว้ ที่ป่าช้าชื่อ วีรณัตถัมภกะ

         ... ฯลฯ ...

(ดูพระสูตรเต็ม P1536)



5.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๒๗-๔๒๙

พระองค์ไม่พยากรณ์ภพใหม่ของสาวกที่ทำกาละ ด้วยเหตุใด
(กุตุหลสาลาสูตร)

            [๗๙๙] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึง ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

             ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อวันก่อนๆ โน้น พวกสมณพราหมณ์ และ ปริพาชก ผู้ถือลัทธิอื่นมากด้วยกัน นั่งประชุมกันในศาลาวุ่นวาย ได้เกิดมีการสนทนา ขึ้น ในระหว่างว่า ปูรณกัสสปนี้แลเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี

            ปูรณกัสสปนั้น ย่อมพยากรณ์สาวก ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้ว ในอุปบัติ ทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ แม้สาวก คนใด ของท่านปูรณกัสสปนั้น เป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม บรรลุความปฏิบัติ ยอดเยี่ยมแล้ว ท่านปูรณกัสสปก็ย่อมพยากรณ์สาวก แม้นั้นผู้กระทำกาลกิริยา ล่วงไป แล้ว ในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้

            แม้มักขลิโคสาล... แม้นิครณฐนาฏบุตร... แม้สญชัยเวลัฏฐบุตร... แม้ปกุธกัจจานะ... แม้อชิตเกสกัมพล ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี แม้ท่าน อชิตเกสกัมพลนั้น ก็ย่อม พยากรณ์สาวก ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิด ในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้

            แม้สาวกใดของ ท่านอชิตเกสกัมพลนั้น เป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว ท่านอชิตเกสกัมพล ก็ย่อมพยากรณ์สาวก ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้ว แม้นั้นในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน

            แม้พระสมณโคดมนี้ ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี แม้พระสมณโคดมนั้น ก็ทรงพยากรณ์ สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้ว ในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้

(พระศาสดาไม่ได้พยากรณ์เหมือนเจ้าลัทธิอื่น เพียงพยากรณ์ว่าสาวกรูปนั้น ตัดตัณหาขาดแล้ว สิ้นสังโยชน์แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้)

             และสาวกของพระสมณโคดมนั้น รูปใดเป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว พระสมณโคดมก็ทรง พยากรณ์สาวกรูปนั้น ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้ว ในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นเกิดในภพโน้น ท่านโน่น บังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน ยิ่งกว่านั้นพระสมณโคดมนั้น ยังทรงพยากรณ์สาวก รูปนั้น อย่างนี้ว่า รูปโน้นตัดตัณหาขาดแล้ว ถอนสังโยชน์ทิ้งเสียแล้ว ทำที่สุดแห่ง ทุกข์แล้วเพราะได้บรรลุเหตุที่ละมานะได้โดยชอบ ดังนี้

            ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น มีความเคลือบแคลงสงสัยแท้ว่า อย่างไรๆ พระสมณโคดมก็ต้องทรงรู้ธรรมอันบุคคลพึงรู้ยิ่ง

            [๘๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ จริงทีเดียว ควรที่ท่านจะสงสัย เคลือบแคลงใจ ความเคลือบแคลงเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน ในฐานะที่ควรสงสัย

            ดูกรวัจฉะ เราย่อมบัญญัติความเกิดขึ้น แก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ (ทรงบัญญัติภพใหม่ของผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน จะไม่บัญญัติผู้ที่สิ้นอุปาทาน)

            ดูกรวัจฉะ ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่แม้ฉันใด ดูกรวัจฉะ เราก็ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้น แก่คนที่ยังมีอุปาทาน หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทาน มิได้ ไม่ ฉันนั้นเหมือนกันแล
            ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ ก็พระโคดมผู้เจริญจะทรงบัญญัติอะไรแก่เปลวไฟนี้ ในเพราะเชื้อเล่า

            พ. ดูกรวัจฉะ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ เราย่อมบัญญัติเชื้อ คือ ลมนั้น ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น
            ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด สัตว์ย่อมทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึง กายอันใดอันหนึ่งด้วย ก็พระโคดมผู้เจริญ จะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ ในเพราะ อุปาทานเล่า

            พ. ดูกรวัจฉะ สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกายอันใดอันหนึ่ง ด้วย เราย่อมบัญญัติอุปาทาน คือ ตัณหานั่นแล

             ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้นตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น



6.
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๓

(พระสูตรเต็ม P839)

เจ้าสรกานิขี้เมา หลังทำกาละทรงพยากรณ์ว่าเป็นโสดาบัน

          [๑๕๒๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้นเจ้าศากยะ พระนามว่า สรกานิ สิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้วย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน.. เจ้าสรกานิศากยะถึงความเป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์

          [๑๕๒๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิ ศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน ... ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกันมาประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียน บ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน ... เจ้าสรกานิศากยะถึงความ เป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์.

          [๑๕๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน อย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต ก็บุคคล เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนานบุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะ เป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ตลอดกาลนาน อย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต

(เหตุแห่งการได้ความเป็นโสดาบัน)
1 เข้าถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
2 สมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพะชนม์

          [๑๕๓๐] ดูกรมหาบพิตร (1) บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุติ เขาย่อมกระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป (อรหันต์) ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึง อยู่ บุคคลแม้นี้พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

          [๑๕๓๑] ดูกรมหาบพิตร (2) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป(อนาคามี) เขาเกิดเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลก นั้น เป็นธรรมดา บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

          [๑๕๓๒] ดูกรมหาบพิตร (3) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มี ปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป (และ) เพราะ ราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้ อีกคราวเดียว เท่านั้น จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.

          [๑๕๓๓] ดูกรมหาบพิตร (4) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มี ปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาได้เป็นพระ โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน เบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจาก นรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.

          [๑๕๓๔] ดูกรมหาบพิตร (5) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลาย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง)กว่าประมาณ(ธัมมานุสารี) บุคคลแม้นี้ ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบายทุคติ วินิบาต.

          [๑๕๓๕] ดูกรมหาบพิตร (6) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มี ปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และ(1) เขามีศรัทธา มีความรัก ในพระตถาคต พอประมาณ บุคคลแม้นี้ ก็ไม่ไปสู่นรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.

          [๑๕๓๖] ดูกรมหาบพิตร ถ้าแม้ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ พึงรู้ทั่วถึงสุภาษิต ทุพภาษิต ไซร้ อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ว่า เป็นพระโสดาบัน ... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะ (2) สมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์ ขอถวายพระพร.

เหตุที่เจ้าสรกานิ ได้เป็นโสดาบัน (นัยยะที่1)
1 มีความรัก ศรัทธา ตถาคต
2 สมาทานสิกขาในเวลาใกล้ตาย


เหตุที่เจ้าสรกานิ ได้เป็นโสดาบัน (นัยยะ2)
1 ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
2 กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในเวลาจะทำกาละ


(พระสูตรเต็ม P839)



7.
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๕๙

พระเทวทัตหลังทำกาละ ทรงพยากรณ์ว่าต้องเกิดในนรก
(อุทกสูตร)


          [๓๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท  พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวโกศลชื่อ ทัณฑกัปปกะ ครั้งนั้นพระผู้มี พระภาค ได้ทรงแวะลงจากหนทาง ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้พากันเข้าไปสู่นิคมชื่อ ทัณฑกัปปกะ เพื่อแสวงหา ที่พัก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป ได้ไปที่แม่น้ำ อจิรวดีเพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำในแม่น้ำอจิรวดี เสร็จแล้ว ก็ขึ้นมานุ่งอันตรวาสกผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่

     ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วถามว่า

     ดูกรอาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้เหตุทั้งปวง ด้วยพระหฤทัยแล้ว หรือหนอ จึงพยากรณ์ พระเทวทัตว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบายตกนรก ตั้งอยู่ ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้โดยปริยายบางประการ เท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์ พระเทวทัต ดังนี้

     ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรอาวุโส ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ อย่างนั้นแล ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

     ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ กับ ภิกษุหลายรูป ได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดีเพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงเสร็จแล้ว ก็ขึ้นมานุ่ง อันตรวาสก ผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาข้าพระองค์ แล้วถามว่า

     ดูกรอาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้เหตุทั้งปวง ด้วยพระหฤทัย แล้วหรือ หนอ จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรกตั้งอยู่ ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้โดยปริยาย บางประการ เท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตดังนี้ เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ ได้กล่าว กับภิกษุนั้นว่า ดูกรอาวุโส ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ อย่าง นั้นแล ฯ

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุรูปนั้นจักเป็นภิกษุใหม่  บวชไม่นาน หรือว่า เป็นภิกษุเถระ แต่เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด เพราะว่าข้อที่เรา พยากรณ์แล้ว โดยส่วนเดียว จักเป็นสองได้อย่างไร

(ญาณ เครื่องกำหนดรู้อินทรีย์ของสัตว์)

     ดูกรอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นบุคคลอื่นแม้คนหนึ่งที่เราได้ กำหนดรู้เหตุ ทั้งปวง ด้วยใจแล้วพยากรณ์อย่างนี้ เหมือนพระเทวทัตเลย ก็เราได้เห็นธรรมขาว ของพระเทวทัต (ส่วนดี) แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทราย เพียงใด เราก็ยังไม่พยากรณ์พระเทวทัตเพียงนั้นว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัปเยียวยาไม่ได้ แต่ว่าเมื่อใด เราไม่ได้เห็นธรรมขาว ของ พระเทวทัต แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัด ออกจากปลายขนทราย เมื่อนั้นเรา จึงได้ พยากรณ์พระเทวทัต นั้นว่าพระเทวทัต จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอด กัป เยียวยาไม่ได้

     ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนหลุมคูถเป็นที่ถ่ายอุจจาระ ลึกชั่วบุรุษ เต็มด้วยคูถเสมอ ขอบปากหลุม บุรุษพึงตกลงไปที่หลุมคูถนั้นจมมิดศีรษะ บุรุษบางคนผู้ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ปรารถนาความเกษมจากการตกหลุมคูถของบุรุษนั้น ใคร่จะยกเขาขึ้น จากหลุมคูถนั้น พึงมา เขาเดินรอบหลุมคูถนั้นอยู่ ก็ไม่พึงเห็นอวัยวะที่ไม่เปื้อนคูถ ซึ่งพอจะจับเขายกขึ้นมาได้  แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทราย ของบุรุษนั้น ฉันใด เราก็ไม่ได้เห็นธรรมขาวของพระเทวทัต แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออก จากปลายขนทราย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อนั้น เราจึงได้พยากรณ์พระ เทวทัตว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบายตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ถ้าว่าเธอทั้งหลาย จะพึงฟังตถาคตจำแนกญาณเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์ของบุรุษไซร้


8.

พระไตรปิฎก (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๑๒๒ - ๑๒๖

คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ หลังทำกาละทรงพยากรณ์ว่า ทั้งสองเป็นสกทาคามี เข้าถึงชั้นดุสิต

มิคสาลาสูตร (บุคคล 10 จำพวก)

          [๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้าท่านพระอานนท์ นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาด ถวาย ครั้งนั้น มิคสาลา อุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถาม ท่านพระอานนท์ว่า

          ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุ ให้คน สองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ

          บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้น จากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรง พยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต (ชั้นกามภพ)

          บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยา ของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต (ชั้นกามภพ)

          ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุ ให้คน สองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีสติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไรฯ

          ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ อย่าง นั้น แล ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของมิคสาลาอุบาสิกา ลุกจาก อาสนะกลับไปแล้ว ครั้งนั้นท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไป เฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขา ปูลาดถวาย ลำดับนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหา ข้าพระองค์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระ ผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ ทั่วถึงได้ อย่างไร คือ

(ปัญหาบุคคลสองคนประพฤติธรรมกับไม่ประพฤติ แต่กลับเสมอกันในสัมปรายภพ)

          บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจาก เมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ ว่า เป็น สกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

          บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ยินดี ด้วยภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าเป็น สกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

          ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุ ให้คน สองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็น ผู้มีคติ เสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ ทั่วถึงได้อย่างไร เมื่อมิคสาลา อุบาสิกา กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลาอุบาสิกา ว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล

(พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายไว้ดังนี้)

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

          ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาลไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญา ทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่ง และ หย่อนแห่ง อินทรีย์ของบุคคล

ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวกเป็นไฉน

          1 ดูกรอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทง ตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ
(เจโตวิมุติ : สมาธิ มีอารมณ์เดียว /ปัญญาวิมุติ : เห็นเกิดดับในสมาธิ)

          2 ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอด ด้วยดี แม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทาง เสื่อมย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

          ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่าธรรมแม้ของคนนี้ ก็ เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

          ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วย ทิฐิ ย่อมได้ วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย

          ดูกรอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจาก ตถาคต

          ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณ ใน บุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลาย คุณวิเศษ ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้


          3 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น ไม่ทำกิจ แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อม ไม่ได้ วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึง ความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

          4 ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล และรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วย ทิฐิ ย่อมได้ วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึง ความเจริญ อย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือน เราพึงถือ ประมาณ ในบุคคลได้


          5 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้เป็น ผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัด ซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดี แม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไป ทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ

          6 ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีราคะกล้า แต่รู้ชัด ซึ่ง เจโต วิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้น กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอด ด้วยดีแม้ ด้วย ทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเรา พึงถือ ประมาณในบุคคลได้


          7 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัด ซึ่ง เจโต วิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อม ไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

          8 ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัด ซึ่ง เจโต วิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอด ด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ


          9 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอด ด้วยดี แม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

          10 ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัด ซึ่งเจโต วิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็น จริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอด ด้วยดี แม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทาง เสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม


          ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่าธรรม แม้ของคนนี้ ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไร ในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

          ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่านแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดี แม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าว ข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต

          ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะ ผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษ ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

          ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอดมีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่ง และหย่อนแห่ง อินทรีย์ของ บุคคล

          ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

          ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะ เป็นผู้ประกอบด้วย ศีล เช่นใด
บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ก็เป็นผู้ ประกอบด้วย ศีล เช่นนั้น
บุรุษชื่อปุราณะ จะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อ อิสิทัตตะก็หามิได้
บุรุษชื่ออิสิทัตตะ เป็นผู้ประกอบด้วย ปัญญา เช่นใด บุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วย ปัญญา เช่นนั้น
บุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้

          ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้



9.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๗

พาหิยทารุจีริยะถูกแม่โคขวิดตายทรงพยากรณ์ว่า ปรินิพพานแล้ว
พาหิยสูตร


          [๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อ พาหิยทารุจีริยะ อาศัยอยู่ที่ ท่าสุปปารกะใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือบูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร

           ครั้งนั้นแล พาหิยทารุจีริยะ หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจ อย่างนี้ว่า เราเป็นคนหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ หรือผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลก ลำดับนั้นแลเทวดาผู้เป็นสายโลหิต ในกาลก่อนของพาหิยทารุจีริยะ เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ ได้ทราบความปริวิตกแห่งใจของพาหิยทารุจีริยะ ด้วยใจ แล้วเข้าไปหาพาหิยทารุจีริยะ

           ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูกรพาหิยะ ท่านไม่เป็น พระอรหันต์ หรือไม่เป็นผู้ถึง อรหัตตมรรค อย่างแน่นอน ท่านไม่มีปฏิปทา เครื่องให้ เป็นพระอรหันต์ หรือเครื่อง เป็นผู้ถึงอรหัตตมรรค พาหิยทารุจีริยะ ถามว่าเมื่อเป็น อย่างนั้น บัดนี้ใครเล่าเป็น พระอรหันต์ หรือเป็นผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลกกับเทวโลก เทวดาตอบว่า

           ดูกรพาหิยะ ในชนบททางเหนือ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี บัดนี้พระผู้มี พระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นประทับอยู่ในพระนครนั้น


           ดูกรพาหิยะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แลเป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน ทั้งทรงแสดงธรรมเพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะ ผู้อัน เทวดานั้นให้สลดใจแล้ว หลีกไปจากท่าสุปปารกะ ในทันใดนั้นเอง ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี โดยการพักแรมสิ้นราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง

          [๔๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิยทารุจีริยะ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ผู้เจริญ บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูกรพาหิยะพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เพื่อบิณฑบาต

           ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยัง พระนครสาวัตถี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในพระนคร สาวัตถี น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึก และ ความสงบ อันสูงสุด มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวม แล้วผู้ประเสริฐ แล้วได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค หมอบลงแทบพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญขอพระผู้มี พระภาค โปรดทรง แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ขอพระสุคต โปรดทรงแสดงธรรม ที่จะพึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด

          [๔๙] เมื่อพาหิยทารุจีริยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เพื่อบิณฑ บาตอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิต ของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่ง อันตราย แก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาค โปรดทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรม ที่จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด

          แม้ครั้งที่ ๒...แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิต ของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิต ของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระ สุคตโปรดทรง แสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้น กาลนานเถิด

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจัก เป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจัก เป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้งในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มี ในระหว่าง โลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

          ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ ของพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรด้วยพระโอวาท โดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป

          [๕๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน แม่โคลูกอ่อน ขวิด พาหิยทารุจีริยะ ให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยว บิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เสด็จ ออกจากพระนครพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็น พาหิยทารุจีริยะ ทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายท่าน ทั้งหลายจงช่วยกัน จับสรีระ ของพาหิยทารุจีริยะ ยกขึ้นสู่เตียงแล้ว จงนำไปเผาเสีย แล้วจงทำสถูปไว้

          ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐ เสมอกับท่าน ทั้งหลาย ทำกาละแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ช่วยกันยกสรีระของ พระพาหิย ทารุจีริยะ ขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้แล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ สรีระของพาหิยทารุจีริยะข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของ พาหิย ทารุจีริยะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทำไว้แล้วคติของ พาหิยทารุจีริยะ นั้นเป็นอย่างไร ภพเบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะเหตุแห่งการแสดงธรรม

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว



10

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๔
(อ่านพระสูตรเต็ม P1724)


สุปปพุทธะเป็นโรคเรื้อนยากไร้ หลังทำกาละทรงพยากรณ์ว่า เป็นโสดาบัน
(สุปปพุทธกุฏฐิสูตร)

            [๑๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้ พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์ มีบุรุษเป็นโรคเรื้อน ชื่อว่า สุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค แวดล้อม ไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิ ได้เห็นหมู่ มหาชน ประชุมกันแต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนจะแบ่งของ ควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้แน่แท้ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่ มหาชน เราพึงได้ของควรเคี้ยว หรือควรบริโภคในหมู่มหาชนนี้เป็นแน่

            ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิ ได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้น แล้วได้เห็น พระผู้มีพระภาค แวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ครั้นแล้วได้มี ความดำริว่า หมู่มหาชนคงไม่แบ่งของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้ พระสมณะโคดมนี้ ทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท ถ้ากระไร แม้เราก็พึงฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในบริษัทนั้นเอง ด้วยคิดว่าแม้เราก็จักฟังธรรม

            ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงกำหนดใจของบริษัททุกหมู่เหล่าใด ด้วยพระทัยแล้ว ได้ทรงกระทำไว้ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรจะรู้แจ้ง ธรรม พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็น สุปปพุทธกุฏฐิ นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้นแล้วได้ทรง พระดำริว่า ในบริษัทนี้ บุรุษนี้แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์ทรงปรารภสุปปพุทธกุฏฐิ ตรัส อนุปุพพิกถา คือ ทานกถาศีลกถา สัคคกถาโทษแห่งกาม อันต่ำทรามเศร้าหมอง และทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ

            เมื่อใดพระผู้มีพระภาค ได้ทรงทราบว่า สุปปพุทธกุฏฐิมีจิตควรอ่อน ปราศจาก นิวรณ์เฟื่องฟู ผ่องใส เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่ง นั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น

            [๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความ เคลือบแคลงบรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศ โดยอเนกปริยายเปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้ง พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

            ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้งให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว หลีกไป

           ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อน ชนสุปปพุทธกุฏฐิผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสีย จากชีวิต ลำดับนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิ อันพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้ว กระทำกาละ คติของเขาเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะธรรม เป็นเหตุ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไป แห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า

อ่านพระสูตรเต็ม

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์