พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๑๕๔- ๑๖๗
ชนวสภสูตร
[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระตำหนักตึก ใน บ้านนาทิกะ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์พวกชน ผู้บำเรอ(บำรุง) พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ในชนบทรอบๆ ซึ่งทำกาละล่วงไป นานแล้ว ในที่เกิดทั้งหลายว่า คนโน้นเกิด ณ ที่โน้น คนโน้นเกิด ณ ที่โน้นใน แคว้นกาสี และ โกศล แคว้นวัชชี และมัลละ แคว้นเจตี และ วังสะ แคว้นกุรุ และปัญจาละ แคว้นมัจฉะ และสุรเสนะ (พระศาสดาเคยพยากรณ์ผู้ที่ทำกาละมาแล้ว หลายแคว้น)
..ฯลฯ....
ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นโอปปาติกะ เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ อย่าง ปรินิพพาน ณ ที่นั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา (เป็นอนาคามี-50 คน)
ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๙๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระสกทา คามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะ โทสะและโมหะ เบาบาง จะมายังโลกนี้ เพียงครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ (เป็นสกทาคามี-90 คน)
ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระ โสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็น เบื้องหน้า (เป็นโสดาบัน 500 คน)
เพราะเหตุนั้นแล ชาวบ้านนาทิกะ ผู้บำเรอจึงปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติ และโสมนัส เพราะได้ฟังคำพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์มีความดำริว่า ก็ ชาวมคธ ผู้บำเรอเหล่านี้ ทั้งมากมาย ทั้งเป็นคนเก่าแก่ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว อังคะ และ มคธะ เห็นจะว่าง จากชาวมคธ ผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เพราะเหตุนั้น ชาวมคธ นั้นที่เป็นผู้ เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใสในพระสงฆ์ กระทำให้บริบูรณ์ ในศีล ทั้งหลาย ทำกาละล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จประโยชน์แก่พวกเขา ชนเป็นอันมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้นจะ พึงไปสู่สุคติ (ฉบับ ม.จุฬา สรุปแปลว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ชนชาวมคธ)
อนึ่งพระเจ้าแผ่นดินมคธผู้เป็นจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ทรงดำรง อยู่ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรม ทรงเกื้อกูลแก่พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคม และชาวชนบท
อนึ่ง ข่าวว่าพวกมนุษย์พากันสรรเสริญอยู่ว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงดำรงอยู่ ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรม ทรงปกครองพวกเราให้เป็นสุขอย่างนี้ เสด็จ สวรรคต เสียแล้ว พวกเราอยู่เป็นผาสุกในแว่นแคว้นของพระองค์ ผู้ทรงดำรงอยู่ ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรมอย่างนี้
อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ทรงเลื่อมใสในพระธรรม ทรงเลื่อมใสในพระสงฆ์ ทรงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
อนึ่ง ข่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า แม้จนกระทั่งเวลาจะเสด็จสวรรคต พระเจ้าแผ่นดินมคธผู้เป็นจอมเสนาทรงพระนามว่า พิมพิสาร ก็ยังทรงสรรเสริญพระผู้มี พระภาคเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าแผ่นดิน มคธนั้นเสด็จสวรรคตล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จประโยชน์ แม้แก่พระเจ้า แผ่นดินมคธนั้น ชนเป็นอันมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้นจะพึงไปสู่สุคติ ก็พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้ในแผ่นดินมคธ
ทำไมพระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงพยากรณ์พวกชาวมคธผู้บำเรอ ซึ่งทำกาละล่วงไป นานแล้ว ในแผ่นดินมคธที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้นั้น ในที่เกิดทั้งหลาย ก็ถ้าพระผู้มี พระภาค ไม่ทรงพยากรณ์พวกชาวมคธผู้บำเรอ ซึ่งทำกาละล่วงไปนานแล้ว ในที่ เกิดทั้งหลาย พวกชาวมคธผู้บำเรอจะพึงน้อยใจ ว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรง พยากรณ์ พวกเขา
ท่านพระอานนท์ปรารภพวกชาวมคธ ผู้บำเรอ พิจารณาเหตุนี้อยู่ในที่ลับ แต่ผู้เดียว ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับข่าวมาว่า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ พวกชนผู้บำเรอ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในชนบทรอบๆ ซึ่งทำกาละล่วงไป นานแล้ว ในที่เกิดทั้งหลาย ว่าคนโน้นเกิด ณ ที่โน้น คนโน้นเกิด ณที่โน้น ในแคว้น กาสี และโกศล แคว้นวัชชี และมัลละ แคว้นเจตีและวังสะ แคว้นกุรุ และปัญจาละ แคว้นมัจฉะ และสุรเสนะ
(พระอานนท์ทวนคำพูดตามข้างต้น)
ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นโอปปาติกะ เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ อย่าง ปรินิพพาน ณ ที่นั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็น ธรรมดา
ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๙๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระ สกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะโทสะ และโมหะเบาบาง จะมายัง โลกนี้เพียง ครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้
ชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐๐ คน ซึ่งเป็นผู้บำเรอ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระ โสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ เป็นเบื้อง หน้า
เพราะเหตุนั้นแลชาวบ้านนาทิกะผู้บำเรอ จึงปลื้มใจเบิกบาน เกิดปีติและ โสมนัส เพราะได้ฟังคำ พยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค พระเจ้าข้า ก็ชาวมคธ ผู้บำเรอ เหล่านี้ ทั้งมากมาย ทั้งเป็น คนเก่าแก่ ทำกาละล่วงไปนานแล้ว อังคะและมคธะ เห็นจะว่างจากชาว มคธผู้บำเรอ ทำกาละ ล่วงไปนานแล้ว
เพราะเหตุนั้น ชาวมคธ นั้นที่เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใส ในพระสงฆ์ กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ทำกาละล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จประโยชน์แก่พวกเขา ชนเป็นอันมากจะพึง เลื่อมใส แต่นั้นจะพึงไปสู่สุคติพระเจ้าข้า พระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็นจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร พระองค์นี้ ทรงดำรงอยู่ในธรรมเป็นราชา ผู้ปกครองโดยธรรม ทรงเกื้อกูลแก่พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
อนึ่งข่าวว่า พวกมนุษย์พากันสรรเสริญอยู่ว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงดำรง อยู่ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครองโดยธรรม ทรงปกครองพวกเราให้เป็นสุขอย่างนี้ เสด็จ สวรรคตเสียแล้ว พวกเราอยู่เป็นผาสุกในแว่นแคว้นของพระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นราชาผู้ปกครอง โดยธรรมอย่างนี้พระเจ้าข้าพระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ทรงเลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า ทรงเลื่อมใส ในพระธรรม ทรงเลื่อมใสในพระสงฆ์ ทรงทำให้บริบูรณ์ในศีล ทั้งหลาย
อนึ่ง ข่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า แม้จนกระทั่งเวลาจะเสด็จสวรรคต พระเจ้าแผ่นดินมคธผู้เป็นจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ก็ยังทรงสรรเสริญพระผู้มี พระภาคเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้นเสด็จสวรรคตล่วงไปนานแล้วพระผู้มี พระภาคไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสำเร็จประโยชน์แม้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน มคธนั้น ชนเป็นอันมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้นจะพึงไปสู่สุคติพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้ ในแผ่นดินมคธ ทำไมพระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงพยากรณ์
ชาวมคธผู้บำเรอซึ่งทำกาละล่วงไปนานแล้ว ในแผ่นดินมคธ ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้นั้น ในที่เกิดทั้งหลาย ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์พวกชาวมคธ ผู้ซึ่ง ทำกาละล่วง ไปนานแล้ว ในที่เกิดทั้งหลายเพราะเหตุนั้น ชาวมคธผู้บำเรอจะพึงน้อยใจ ว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค จึงไม่ทรงพยากรณ์พวกเขา
ท่านพระอานนท์ปรารภชาวมคธผู้บำเรอนี้ ทูลเลียบเคียงเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มี พระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไปแล้ว
[๑๙๐] ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปไม่นาน เวลาเช้าพระผู้มี พระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนาทิกะ เสด็จ เที่ยวบิณฑบาต ในบ้านนาทิกะ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วทรงล้าง พระบาท เสด็จเข้าพระตำหนักตึกแล้ว ทรงปรารภถึงชาวมคธผู้บำเรอ ทรงตั้ง พระทัย มนสิการ ประมวลเหตุทั้งปวงด้วยพระทัย(ทำจิตเป็นสมาธิ) ประทับนั่งบน อาสนะที่เขา ปูลาดไว้ ด้วยทรงพระดำริว่า
เราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้าของชาวมคธ เหล่านั้นว่าผู้เจริญเหล่านั้น มีคติอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเห็นชาวมคธ ผู้บำเรอแล้วว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้า เป็นอย่างไร
ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่เร้น เสด็จออกจากที่พระตำหนัก ตึก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ในร่มเงาวิหารฯ (พระพุทธเจ้าทำสมาธิตั้งแต่เช้าถึง เย็น จึงทราบ คติ ของชาวมคธ)
[๑๙๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่าน พระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรง ปรากฏว่าสงบระงับ สีพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคผุดผ่องนัก เพราะพระอินทรีย์ ผ่องใส วันนี้พระผู้มีพระภาคย่อมอยู่ด้วย วิหารธรรมอันสงบ เป็นแน่
(ทำสมาธิ อินทรีย์ย่อมผ่องใส)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อที่เธอปรารภชาวมคธผู้บำเรอพูดเลียบเคียง เฉพาะหน้าเราแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ เราเที่ยวบิณฑบาต ในบ้านนาทิกะ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว ล้างเท้าเข้าไปยังตึกที่พัก แล้วปรารภชาวมคธผู้บำเรอ ตั้งใจมนสิการประมวลเหตุทั้งปวงด้วยใจ นั่งอยู่บนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ด้วยดำริว่า
เราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้าของชาวมคธ เหล่านั้นว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร อานนท์เราได้เห็นชาวมคธ ผู้บำเรอแล้วว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร
อานนท์ ลำดับนั้น ยักษ์หายไปเปล่งเสียง ๑ ให้ได้ยินว่า ข้าแต่พระผู้มี พระภาค ข้าพระพุทธเจ้ามีนามว่า ชนวสภะ ๒ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระพุทธเจ้า มีนามว่า ชนวสภะ (ทรงเล่าให้อานนท์ ขณะพระองค์ทำสมาธิอยู่ในวิหาร)
๑ (ยักษ์เปล่งเสียงโดยไม่ปรากฎตัวให้เห็น-บทแปลจากสำนักอื่น)
๒ (ชนวสโภ-สำนวนแปลสำนักอื่น เป็นบาลี)
อานนท์เธอรู้หรือไม่ว่าเธอเคยได้ฟังชื่อว่า ชนวสภะ เห็นปานนี้ ในกาลก่อน แต่กาลนี้
อ. ข้าพระองค์ไม่ทราบว่า เคยได้ฟังชื่อว่า ชนวสภะเห็นปานนี้ ในกาลก่อนแต่กาล นี้ เลย อนึ่งข้าพระองค์ขนลุกชูชันเพราะได้ฟังชื่อว่าชนวสภะ ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ผู้ที่มีนามบัญญัติว่า ชนวสภะเห็นปานนี้นั้น ไม่ใช่ยักษ์ต่ำๆ เป็นแน่
อานนท์ ในระหว่างที่มีเสียงปรากฏ ยักษ์มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งปรากฏต่อหน้าเรา แม้ ครั้งที่สองก็เปล่งเสียงให้ได้ยินว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระพุทธเจ้ามีนามว่า พิมพิสาร ข้าแต่พระสุคต ข้าพระพุทธเจ้ามีนามว่าพิมพิสาร
ครั้งที่เจ็ดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า เข้าถึงความเป็นสหายของ ท้าวเวสสวรรณ มหาราช ข้า พระพุทธเจ้านั้นจุติจากนี้แล้ว สามารถเป็นพระราชาในหมู่มนุษย์
[๑๙๒] ข้าพระพุทธเจ้าเคลื่อนจากเทวโลกนี้เจ็ดครั้ง จากมนุษยโลกนั้นเจ็ด ครั้ง รวมท่องเที่ยวอยู่สิบสี่ครั้ง ย่อมรู้จักภพที่ข้าพระพุทธเจ้าเคยอยู่อาศัยในก่อน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความไม่ตกต่ำ ทราบชัดมานานวัน ถึงความ ไม่ตกต่ำ อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าตั้งความหวังไว้เพื่อความเป็น พระสกทาคามี
อา. ข้อที่ท่านชนวสภะยักษ์ ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า มีความไม่ตกต่ำ ทราบชัดมานานวันถึงความไม่ตกต่ำ และตั้งความหวังเพื่อ ความเป็น พระสกทาคามีนี้ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมา ก็มีอะไรเป็นเหตุ ท่านชนวสภะยักษ์ จึงทราบชัด การบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้เล่า
ภ. ชนวสภะยักษ์ประกาศว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่ข้าพระพุทธเจ้า รู้การบรรลุ คุณวิเศษอันโอฬารนี้นั้น ไม่เว้นจากศาสนาของพระองค์ ข้าแต่พระสุคต ไม่เว้นจาก ศาสนาของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันที่ข้าพระพุทธเจ้าเลื่อมใสในพระ ผู้มีพระภาคอย่างยิ่งนั้นเป็นต้นมา* ข้าพระพุทธเจ้าไม่ตกต่ำ ทราบชัดมานานวันถึงความ ไม่ตกต่ำ
*(ชนวสภะ ประกาศว่าเลื่อมใส พระตถาคตอย่างหยั่งลงมั่น)
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าตั้งความหวังไว้เพื่อความเป็นพระสกทาคามี ดังจะกราบทูล ให้ทรงทราบ ข้าพระพุทธเจ้าถูก ท้าวเวสสวรรณมหาราช ส่งไปในสำนัก ของ ท้าววิรุฬหกมหาราช ด้วยกรณียกิจบางอย่างในระหว่างทาง ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็น พระผู้มีพระภาค ซึ่งเสด็จไปยังพระตำหนักตึก
ทรงปรารภชาวมคธ ผู้บำเรอ ตั้งพระทัย มนสิการ ประมวลเหตุทั้งปวง ด้วยพระทัยประทับ อยู่ด้วยทรงดำริว่า เราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้า ของชาวมคธเหล่านั้นว่า ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้า เป็นอย่างไร (ชนวสภะ รู้ใจพระพุทธเจ้าขณะทำสมาธิ)
ข้อที่ข้าพระพุทธเจ้ารับคำต่อหน้า ท้าวเวสสวรรณซึ่งกล่าวในบริษัทนั้นว่า ชาวมคธ ผู้เจริญเหล่านั้น มีคติเป็นอย่างไร เป็นความอัศจรรย์เล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้า คิดว่า เราจักเฝ้าพระผู้มีพระภาค และจักกราบทูล ข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาค ข้าพระพุทธเจ้า มีเหตุ ๒ อย่างนี้แล ที่จะได้เข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาควันก่อนๆ นานมาแล้วในวันอุโบสถ ที่ ๑๕ ในราตรีวันเพ็ญวัสสูปนายิกา
---------------------------------------------------------------------------------------------------
(จากนี้ไปทรงกล่าวถึงเทวดา)
เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้น นั่งประชุมกัน ในสุธรรมาสภาเทพบริษัทมากมายนั่งอยู่ โดยรอบ และท้าวจาตุมหาราชนั่งอยู่ใน ๔ ทิศ คือในทิศบูรพา
ท้าวธตรัฏฐมหาราช นั่งผินหน้าไปทางทิศปัจจิม แวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ในทิศทักษิณ
ท้าววิรุฬหกมหาราช นั่งผินหน้าไปทางทิศอุดร แวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ในทิศปัจจิม
ท้าววิรูปักขมหาราช นั่งผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลายใน ทิศอุดร
ท้าวเวสสวรรณมหาราช นั่งผินหน้าไปทางทิศทักษิณ แวดล้อมด้วยเทวดา ทั้งหลาย ก็เมื่อเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกัน ในสุธรรมาสภาเทพบริษัทมาก มายนั่งอยู่โดยรอบ และ
ท้าวจาตุมหาราช นั่งอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี่อาสนะ
ท้าวจาตุมหาราช ข้างหลังถัด ออกมา ก็อาสนะของข้าพระพุทธเจ้า เทวดาเหล่านั้น ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระผู้มี พระภาค แล้วบังเกิดในภพดาวดึงส์เมื่อกี้นี้ ย่อมไพโรจน์ ล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยวรรณะ และยศ นัยว่าเพราะเหตุ นั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติและโสมนัส ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทิพยกาย ย่อมบริบูรณ์หนอ อสุรกายย่อมเสื่อมไป
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงทราบความบันเทิงใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้ว จึงทรงบันเทิงตามด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
[๑๙๓] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมกับพระอินทร์ ย่อม บันเทิงใจหนอ ถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรมเป็นธรรมดีเห็นเทวดา ผู้ใหม่ๆ ผู้มีวรรณะ มียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคตแล้วมา ณ ที่นี้เทวดาเหล่านั้น เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงปัญญาอันกว้างขวาง บรรลุคุณวิเศษแล้ว ย่อมรุ่งเรือง ล่วงเทวดาเหล่าอื่น ณ ที่นี้ ด้วยวรรณะ ด้วยยศและอายุ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมกับ พระอินทร์ เห็นเช่นนี้ ย่อมชื่นบานถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรม เป็นธรรมดี
[๑๙๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่าเพราะเหตุนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์จึง ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติและโสมนัสยิ่งกว่าประมาณด้วยกล่าวกันว่าท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ทิพยกายย่อมบริบูรณ์หนอ อสุรกายย่อมเสื่อมไป
ครั้งนั้น ท้าวจาตุมหาราช ถึงแม้จะมีคำที่เทวดาชั้นดาวดึงส์คิดกันปรึกษากันถึง ความประสงค์ ซึ่งเป็นเหตุให้นั่งประชุมกัน ณ สุธรรมาสภากล่าวแล้ว ก็มีในข้อประสงค์ นั้น ท้าว จาตุมหาราช แม้รับคำสั่งกำชับมาแล้วก็มีในข้อประสงค์นั้น ยืนอยู่บนอาสนะ ของตนๆ ไม่หลีกไปฯ ท้าวมหาราชเหล่านั้นผู้รับถ้อยคำ รับคำสั่งแล้ว มีใจผ่องใส สงบระงับ ยืนอยู่บนอาสนะของตนๆ ดังนี้
[๑๙๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแลแสงสว่างอย่างยิ่งเกิดขึ้นในทิศอุดร โอภาสปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ จึงตรัส เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มาว่า
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นิมิตปรากฏแสงสว่าง เกิดมี โอภาสปรากฏพรหมจักเกิดฉันใด ข้อที่แสงสว่างเกิดมีโอภาสปรากฏนี้ เป็นบุพพนิมิต เพื่อความเกิดของพรหม ฉันนั้น ฯ
นิมิตปรากฏ พรหมจักเกิดฉันใด ข้อที่โอภาสอัน ไพบูลย์มากมายปรากฏนี้ เป็นบุพพนิมิต ของพรหม ฉันนั้น
[๑๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล เทวดาชั้นดาวดึงส์นั่งอยู่บนอาสนะ ของตนๆ กล่าวกันว่า เราทั้งหลายจักรู้โอภาสนั้น วิบากใดจักมี เราทั้งหลายจักทำ ให้แจ้ง ซึ่งวิบากนั้นก่อนแล้วจึงไป แม้ท้าวจาตุมหาราชนั่งอยู่บนอาสนะของตนๆ ก็กล่าวกันว่า เราทั้งหลายจักรู้โอภาสนั้น วิบากใดจักมี เราทั้งหลายจักทำให้แจ้ง ซึ่ง วิบากนั้น ก่อนแล้ว จึงไป เทวดาชั้นดาวดึงส์ฟังความข้อนี้แล้วนั่งสงบ อารมณ์อยู่ด้วย ประสงค์ว่า
เราทั้งหลาย จักรู้โอภาสนั้น วิบากใดจักมีเราทั้งหลายจักทำให้แจ้ง ซึ่ง วิบากนั้น ก่อนแล้ว จึงไป เมื่อใดสนังกุมารพรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ นิรมิต อัตภาพใหญ่ ยิ่งเพศปรกติ ของพรหมอันเทวดาเหล่าอื่นไม่พึงถึงปรากฏในคลองจักษุ ของเทวดาชั้นดาวดึงส์
เมื่อใด สนังกุมารพรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น ด้วย วรรณะ และยศ ดุจเทวดามีกายเป็นทองคำ ย่อมรุ่งเรืองล่วงกายของมนุษย์ฉะนั้น เมื่อใดสนังกุมาร พรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาบางองค์ในบริษัทนั้น ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ หรือไม่ เชิญด้วยอาสนะ เทวดาทั้งหมดเทียว นั่งประคองอัญชลี อยู่บนบัลลังก์
บัดนี้ สนังกุมารพรหมจักปรารถนาแก่เทวดาองค์ใด จักนั่งบนบัลลังก์ของเทวดา องค์นั้น สนังกุมารพรหมนั่งบนบัลลังก์ของเทวดาองค์ใด เทวดาองค์นั้นย่อมได้ความ ยินดีสมนัสอย่างยิ่ง ดุจพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วครองราชสมบัติใหม่ ย่อมทรงได้ความยินดี โสมนัสอย่างยิ่งฉะนั้น
เมื่อนั้นสนังกุมารพรหมนิรมิต อัตภาพใหญ่ ยิ่ง เป็นเพศกุมาร เช่นกับปัญจสิข เทพบุตร ปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เธอเหาะขึ้น เวหาสนั่งขัดสมาธิ ในอากาศที่ว่าง เปล่า เช่นบุรุษผู้มีกำลังนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ที่ปู ลาดดี หรือบนภูมิภา คราบเรียบฉะนั้น ทราบความเบิกบานใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้ว ทรงบันเทิงตามด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
[๑๙๗] ดูกรท่านผู้เจริญ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ ย่อมบันเทิงใจถวายนมัสการ พระตถาคต และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เห็นเทวดา ผู้ใหม่ๆ ผู้มีวรรณะ มียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคตแล้วมาในที่นี้ เทวดาเหล่านั้น เป็นสาวกของ พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญากว้างขวาง บรรลุคุณวิเศษแล้วย่อมรุ่งเรือง ล่วงเทวดา เหล่าอื่น ณ ที่นี้ด้วย วรรณะ ด้วยยศ และอายุ เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วย พระอินทร์เห็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดี ถวายนมัสการพระตถาคต และความที่พระธรรม เป็นธรรมดี ฯ
[๑๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้ เสียงของ สนังกุมารพรหมผู้กล่าวเนื้อความนี้ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือแจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑ นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑ ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑ ฯ ก็สนังกุมารพรหม ย่อมยังบริษัทเท่าใด ให้ทราบเนื้อความด้วยเสียงของตน กระแสเสียง ก็ไม่แพร่ไปใน ภายนอกบริษัทเท่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสียงของผู้ใดประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้ ผู้นั้นท่านเรียกว่ามีเสียงเพียงดังเสียงพรหม ฯ
ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมนิรมิตอัตภาพ ๓๓ อัตภาพ นั่งอยู่บนบัลลังก์ของเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ทุกๆบัลลังก์ แล้วเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมากเพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเพียงไร
ชนเหล่าใด นับถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง นับถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง นับถือพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ชนเหล่านั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัดดี
บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี
บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต
บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นยามะ
บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์
บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราช เหล่าใดยังกาย ให้บริบูรณ์ เลวกว่าเขาหมด เหล่านั้นย่อมเพิ่มจำนวนหมู่เทพคนธรรพ์
[๑๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้ เมื่อ สนังกุมารพรหมกล่าวประกาศความข้อนี้ เทวดาทั้งหลายสำคัญว่า ผู้ที่นั่งบนบัลลังก์ ของเรานี้ผู้เดียวกล่าวฉะนั้นพระโบราณจารย์จึงกล่าวว่าเมื่อสนังกุมารพรหมกล่าวผู้เดียว รูปนิรมิตทั้งหมดก็กล่าว เมื่อ สนังกุมารพรหมนิ่งผู้เดียว รูปนิรมิตเหล่านั้นทั้งหมดก็นิ่ง เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ ย่อมสำคัญสนังกุมารพรหมนั้นว่า ผู้ที่นั่งบน บัลลังก์ ของเรานี้ ผู้เดียวเท่านั้นกล่าว
[๒๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมกลับคืนตนเป็น ผู้เดียว แล้วนั่ง บน บัลลังก์ของท้าวสักกะจอมเทพ แล้วเรียกเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ มากล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์จะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติ ไว้แล้ว เพื่อความทำฤทธิ์ให้มาก เพื่อความทำฤทธิ์ให้วิเศษ เพื่อ แสดงฤทธิ์ได้
อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาท ประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร เจริญ อิทธิบาท ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิมังสาสมาธิ และ ปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้แล้ว เพื่อความทำฤทธิ์ให้มาก เพื่อความทำฤทธิ์ ให้วิเศษ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล แสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ทำได้
เพราะเจริญ เพราะให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ทั้งหมดจักทำได้ เพราะเจริญ เพราะทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันกาล แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดทำได้เพราะเจริญ เพราะทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลาย ไม่เห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ ของเรา ดอกหรือ ฯ เห็นแล้วท่านมหาพรหม ฯ แม้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ก็เพราะเจริญ เพราะทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
[๒๐๑] สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้ ครั้นแล้วเรียกเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มากล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไหน การบรรลุ โอกาส ๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึงความสุข การบรรลุโอกาส ๓ ประการ เป็นไฉน
[๒๐๒] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม คลุกคลีด้วยอกุศลธรรมอยู่ สมัยอื่น เขาฟังธรรมของพระอริยเจ้ามนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรมของ พระอริยเจ้าและการมนสิการโดย แยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลีด้วย อกุศลธรรม อยู่ สุขย่อมเกิดแก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลีด้วยอกุศลธรรม
โสมนัสอัน ยิ่งกว่าสุขก็เกิดขึ้น ดุจความปราโมทย์ เกิดต่อจากความบันเทิงใจฉะนั้น ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการ ที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้ผู้เห็นเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้วเพื่อบรรลุถึงความสุข
[๒๐๓] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ส่วนหยาบของคนบางคนในโลกนี้ ยังไม่สงบระงับ สมัยอื่นเขาฟังธรรม ของพระอริยเจ้า มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อเขาอาศัยการ ฟังธรรมของพระ อริย เจ้ามนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่หยาบๆ ย่อมสงบระงับ เพราะกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่หยาบๆ สงบระงับ สุขย่อมเกิดแก่เขาโสมนัสอันยิ่งกว่าสุขก็เกิดขึ้น ดุจ ความปราโมทย์ เกิดต่อจากความ บันเทิงใจ ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การบรรลุ โอกาสนี้เป็นประการ ที่ ๒ ที่พระผู้มี พระภาค ผู้รู้ ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้วเพื่อบรรลุถึง ความสุข
[๒๐๔] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัด ตามเป็นจริงว่านี้กุศล นี้อกุศล นี้มีโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้เป็นส่วนธรรมดำ และธรรมขาว สมัยอื่นเขาฟังธรรมของพระอริยเจ้า มนสิการ โดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยเจ้า มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้กุศล นี้อกุศล นี้มีโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้เป็นส่วนธรรมดำ และธรรมขาว
เมื่อเขารู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละอวิชชาได้ขาด วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะปราศจาก อวิชชา เพราะวิชชาเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดแก่เขา โสมนัสยิ่งกว่าสุขก็เกิดขึ้น ดุจความ ปราโมทย์ เกิด ต่อจากความบันเทิงใจฉะนั้น
ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการที่ ๓ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้วเพื่อ บรรลุถึงความสุข ท่านผู้เจริญทั้งหลายการบรรลุโอกาส ๓ ประการเหล่านี้แล อันพระผู้มี พระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึง ความสุข ฯ
[๒๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้ว เรียก เทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉนสติปัฏฐาน ๔ นี้ อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติดีแล้ว เพื่อบรรลุกุศล
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ฯ
ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณากายในกาย เป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชญาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณา กายในกายเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในกายานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในกายานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิด ในกายอื่น ในภายนอกภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาเวทนา ในเวทนา เป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบ เวทนานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้ โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในเวทนานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะ ให้เกิดในเวทนาอื่น ในภายนอก
ภิกษุพิจารณาจิตในจิตเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ย่อม ผ่องใสโดยชอบในจิตตานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบใน จิตตานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในจิตอื่นในภายนอก
ภิกษุพิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิต ไว้โดยชอบ ผ่องใส โดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใส โดยชอบ ในธัมมานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในธรรมอื่นในภายนอก
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ นี้ แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติแล้วเพื่อบรรลุกุศล ฯ
[๒๐๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้ว เรียกเทวดาชั้น ดาวดึงส์มากล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ จะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติดีแล้วเพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ เป็นไฉน คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความที่จิตตั้งมั่น แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้แล พระผู้มี พระภาคตรัสว่า สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะมีอุปนิสัย ดังนี้บ้าง มีบริขารดังนี้บ้าง ฯ
ดูกรท่านผู้เจริญ
สัมมาสังกัปปะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาทิฐิ
สัมมาวาจา ย่อมเพียง พอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสังกัปปะ
สัมมากัมมันตะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวาจา
สัมมาอาชีวะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมากัมมันตะ
สัมมาวายามะย่อมเพียงพอแก่ บุคคลผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาสติย่อมเพียงพอแก่บุคคล ผู้มีสัมมาวายามะ
สัมมาสมาธิย่อมเพียง พอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสติ สัมมาญาณะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาญาณะ
ดูกรท่านผู้เจริญ ก็บุคคลเมื่อกล่าวถึงข้อนั้นโดยชอบ พึงกล่าวว่าพระธรรม อันพระ ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควร น้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตนฉะนั้น ประตูพระนิพพานเปิดเพื่อท่านแล้ว
บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบกะบุคคลผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อย่างแน่นแฟ้นใน พระสัมมา สัมพุทธเจ้าพึงกล่าวว่า ก็พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน ฉะนั้นประตูพระนิพพานเปิดเพื่อท่านแล้ว
ดูกรท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น ใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าชอบใจ ชนเหล่านี้ เป็นโอปปาติกะ อันพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำแล้วในธรรม ชาวมคธผู้บำเรอ เกิน สองล้านสี่แสนคน ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ข้าพเจ้ากลัว การพูดเท็จ จึงไม่อาจคำนวณได้ว่าในชนเหล่านี้มีพระสกทาคา มีเท่าไร และหมู่สัตว์ นอกนี้บังเกิดด้วยส่วนบุญ
[๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้ เมื่อสนัง กุมารพรหม กล่าวเนื้อความนี้อยู่ ความดำริแห่งใจเกิดขึ้นแก่ท้าวเวสสวรรณมหาราช อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาหนอ จักมีพระศาสดา ผู้ยิ่งเห็น ปานนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเห็นปานนี้ จักปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่ง เห็นปานนี้ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นสนังกุมารพรหมทราบความดำริแห่งใจของ เท้าเวสวัณมหาราชด้วยใจ แล้วได้กล่าวกะท้าวเวสสวรรณมหาราชว่า ท่านเวสสวรรณ มหาราชจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนในอดีตกาลก็ได้มีพระศาสดาผู้ยิ่งเห็นปานนี้ ได้มีการแสดง ธรรมที่ยิ่งเห็นปานนี้ปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ ยิ่งเห็นปานนี้มาแล้ว ถึงในอนาคตกาล ก็จักมีพระศาสดาผู้ยิ่งเห็นปานนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเห็นปานนี้ จักปรากฏการบรรลุ คุณวิเศษที่ยิ่งเห็นปานนี้
[๒๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แก่เทวดา ชั้นดาวดึงส์ ท้าวเวสสวรรณมหาราชตรัสบอกเนื้อความนี้ ที่พระองค์สดับมาต่อหน้า รับมา ต่อหน้าสนังกุมารพรหม ผู้กล่าวแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ในบริษัทของพระองค์ ชนวสภะยักษ์ กราบทูลความนี้ที่ตนสดับมาต่อหน้า รับมาต่อหน้า แห่งท้าวเวสส วรรณมหาราชผู้ตรัสใน บริษัท ของพระองค์ แก่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ทรงสดับความข้อนี้มาต่อหน้า ทรงรับความข้อนี้มาต่อหน้าชนวสภะยักษ์และทรง ทราบด้วยพระองค์เอง แล้วตรัสบอก แก่ท่านพระอานนท์
ท่านพระอานนท์ ได้ฟัง ความข้อนี้มาต่อพระพักตร์ รับความข้อนี้มาต่อพระพักตร์ พระผู้มี พระภาคแล้ว จึงบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา พรหมจรรย์นี้นั้น บริบูรณ์ แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากทราบชัดเป็นปึกแผ่น จนเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ประกาศดีแล้ว ดังนี้แล
จบชนวสภสูตร ที่ ๕ |