เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อนยากไร้ หลังฟังธรรมได้ทำกาละ ทรงพยากรณ์ว่า เป็นโสดาบัน 1724
  (ย่อ)

สุปปพุทธกุฏฐิสูตร (ทรงพยากรณ์บุรุษโรคเรื้อน ยากไร้ แต่หลังทำกาละได้เป็นโสดาบัน)

  - สุปปพุทธกุฏฐ เป็นโรคเรื้อน ขัดสน กำพร้า ยากไร้
  - พระผู้มีพระภาคกำหนดใจด้วยใจ ทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐ มีจิตอ่อนปราศจากนิวรณ์
  - ทรงตรัสอนุปุพพิกถาคือ ทานกถาศีลกถา สัคคกถาโทษแห่งกาม และเนกขัมมะ(ออกจากกาม)
  - ทรงแสดงธรรมด้วยอริยสัจสี่ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  - สุปปพุทธกุฏฐ เห็นแจ้ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
  - สุปปพุทธกุฏฐ มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
  - ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อน ชนสุปปพุทธกุฏฐิ ให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต
  - ทรงพยากรณ์ว่าสุปปพุทธกุฏฐ เป็นพระโสดาบัน สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม
  - มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า

  - เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายของ เหล่าเทวดา ชั้นดาวดึงส์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๔


สุปปพุทธะ ผู้ยากไร้ได้ทำกาละหลังฟังธรรม ทรงพยากรณ์ว่าเป็นโสดาบัน
สุปปพุทธกุฏฐิสูตร

            [๑๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้ พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์ มีบุรุษเป็นโรคเรื้อน ชื่อว่า สุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค แวดล้อม ไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิ ได้เห็นหมู่ มหาชน ประชุมกันแต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนจะแบ่งของ ควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้แน่แท้ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่ มหาชน เราพึงได้ของควรเคี้ยว หรือควรบริโภคในหมู่มหาชนนี้เป็นแน่

            ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิ ได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้น แล้วได้เห็น พระผู้มีพระภาค แวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ครั้นแล้วได้มี ความดำริว่า หมู่มหาชนคงไม่แบ่งของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้ พระสมณะโคดมนี้ ทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท ถ้ากระไร แม้เราก็พึงฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในบริษัทนั้นเอง ด้วยคิดว่าแม้เราก็จักฟังธรรม

            ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงกำหนดใจของบริษัททุกหมู่เหล่าใด ด้วยพระทัยแล้ว ได้ทรงกระทำไว้ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรจะรู้แจ้ง ธรรม พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็น สุปปพุทธกุฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้นแล้วได้ทรง พระดำริว่า ในบริษัทนี้ บุรุษนี้แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์ทรงปรารภสุปปพุทธกุฏฐิ ตรัสอนุปุพพิกถาคือ ทานกถาศีลกถา สัคคกถาโทษแห่งกาม อันต่ำทรามเศร้าหมอง และทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมม

            เมื่อใดพระผู้มีพระภาค ได้ทรงทราบว่า สุปปพุทธกุฏฐิมีจิตควรอ่อน ปราศจากนิวรณ์เฟื่องฟู ผ่องใส เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่ง นั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ เป็นธรรมดา เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น

            [๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความ เคลือบแคลงบรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศ โดยอเนกปริยายเปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้ง พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

            ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้งให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว หลีกไป

           ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อน ชนสุปปพุทธกุฏฐิผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสีย จากชีวิต ลำดับนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิ อันพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้ว กระทำกาละ คติของเขาเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะธรรม เป็นเหตุ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไป แห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า

            [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง ให้สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นมนุษย์ขัดสนกำพร้า ยากไร้ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นเศรษฐีบุตรอยู่ใน กรุงราชคฤห์ นี้แล เขาออกไปยังภูมิเป็นที่เล่นในสวน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านาม ว่า ตครสิขี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนคร

            ครั้นแล้วเขาดำริว่า ใครนี่เป็นโรคเรื้อนเที่ยวไปอยู่ เขาถ่มน้ำลาย แล้ว หลีกไป ข้างเบื้องซ้าย เขาหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก สิ้นร้อยปี สิ้นพันปี สิ้นแสนปีเป็นอันมาก เพราะผลแห่งกรรมนั้น ยังเหลืออยู่ เขาจึงได้เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้แล เขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว สมาทานศรัทธาศีล สุตะ จาคะ ปัญญา

            ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว สมาทานศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายของ เหล่าเทวดา ชั้นดาวดึงส์ เขาย่อมไพโรจน์ล่วงเทวดาเหล่าอื่น ในชั้นดาวดึงส์นั้น ด้วยวรรณะและด้วยยศ

(ผู้มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หลังทำกาละย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของ เทวดากามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมทั้งมนุษย์ หรือหลุดพ้น ทั้งนี้-ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของแต่ละคน P365 )

            ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์โลก เหมือนบุรุษ ผู้มีจักษุ เมื่อทางอื่นที่จะก้าวไปมีอยู่ ย่อมหลีกที่อันไม่ราบเรียบเสียฉะนั้น



 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์