ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๓๗๓
สรกานิสูตร (เจ้าสรกานิเสวยน้ำจันท์ ได้ไปเกิดเป็นโสดาบัน)
ไม่ไปสู่วินิบาตอย่างไรเล่า
[๑๕๒๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้นเจ้าศากยะ พระนามว่า สรกานิ สิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้วย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน.. เจ้าสรกานิศากยะถึงความเป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์
[๑๕๒๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิ ศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน ... ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกันมาประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียน บ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน ... เจ้าสรกานิศากยะถึงความ เป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์.
[๑๕๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน อย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต ก็บุคคล เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนานบุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะ เป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ตลอดกาลนาน อย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต
(คำตอบนัยยะที่ 1 เหตุแห่งการได้ความเป็นโสดาบันของเจ้าสรกานิ)
1 เข้าถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
2
สมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพะชนม์
[๑๕๓๐] ดูกรมหาบพิตร (1) บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุติ เขาย่อมกระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้(อรหันต์) เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป (อรหันต์) ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึง อยู่ บุคคลแม้นี้พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๑] ดูกรมหาบพิตร (2) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญา ร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป(อนาคามี) เขาเกิดเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับ จากโลก นั้น เป็นธรรมดา บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๒] ดูกรมหาบพิตร (3) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มี ปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป (และ) เพราะ ราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้ อีกคราวเดียว เท่านั้น จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๓] ดูกรมหาบพิตร(4) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มี ปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาได้เป็นพระ โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน เบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจาก นรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๔] ดูกรมหาบพิตร(5) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลาย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง)กว่าประมาณ(ธัมมานุสารี) บุคคลแม้นี้ ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบายทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๕] ดูกรมหาบพิตร (6) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มี ปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และ(1) เขามีศรัทธา มีความรัก ในพระตถาคต พอประมาณ บุคคลแม้นี้ ก็ไม่ไปสู่นรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๓๖] ดูกรมหาบพิตร ถ้าแม้ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ พึงรู้ทั่วถึงสุภาษิต ทุพภาษิต ไซร้ อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ว่า เป็นพระโสดาบัน ... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะ (2) สมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์ ขอถวายพระพร.
จบ สูตรที่ ๔
เหตุที่เจ้าสรกานิ ได้เป็นโสดาบัน (นัยยะที่1)
1 มีความรัก ศรัทธา ตถาคต
2 สมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์
สรกานิสูตร สูตรที่ ๕
ไปสู่วินิบาตอย่างไรเล่า
[๑๕๓๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิ ศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าสรกานิศากยะ มิได้กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[๑๕๓๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิ ศากยะสิ้นพระชนม์พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า ... เจ้าสรกานิศากยะมิได้กระทำ ให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[๑๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน จะพึงไปสู่วินิบาตอย่างไรเล่า ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนานเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสกผู้ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ตลอดกาลนาน เจ้าสรกานิศากยะนั้นจะพึงไปสู่วินิบาตอย่างไร?
[๑๕๔๐] ดูกรมหาบพิตร (1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ใน พระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม และ ประกอบด้วยวิมุติ เขาย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัยอบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๑] ดูกรมหาบพิตร (2) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง แน่วแน่ใน พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ ประกอบด้วยวิมุติเพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เขาเป็น พระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขาร ปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจากนรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๒] ดูกรมหาบพิตร (3) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ใน พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ไม่ประกอบด้วย วิมุติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระสกทาคามีจักมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุด แห่งทุกข์ ได้ บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจากนรก ... อบายทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๓] ดูกรมหาบพิตร (4) บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ใน พระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุติเพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาได้เป็นพระโสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ ก็พ้นจากนรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๔] ดูกรมหาบพิตร (5) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่ง ด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง) กว่าประมาณบุคคลแม้นี้ ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.
[๑๕๔๕] ดูกรมหาบพิตร (6) ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ และเขา มีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ ไม่ไปสู่นรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.
...............................................................................................................................
[๑๕๔๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ไม่ราบเรียบ มีพื้นไม่ดี ยังมิได้ ก่นหลักตอออก และพืชเล่าก็แตกร้าว เสีย ถูกลมและแดดกระทบแล้ว ไม่แข็ง (ลีบ) เก็บไว้ไม่ดีถึงฝนจะหลั่งสายน้ำลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์บ้างไหม? พระเจ้ามหานามศกยราชกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนี้ฉันใด ดูกรมหาบพิตร ในข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมที่กล่าวไม่ดี ประกาศไม่ดี ไม่เป็นนิยยานิกธรรม ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ใน เพราะนาที่ไม่ราบเรียบ และสาวก เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้น อาตมภาพ กล่าวเรื่องนี้ ในเพราะพืชที่ไม่ดี.
[๑๕๔๗] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ราบเรียบ มีพื้นดี ก่นหลักตอ ออกหมดแล้ว และพืชเล่าก็ไม่แตกร้าว ไม่เสีย ลมและแดดมิได้กระทบ แข็งแกร่ง เก็บไว้ดีแล้วฝนพึงหลั่งสายน้ำลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์บ้างไหม?
ม. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นฉันใด
ดูกรมหาบพิตร ในข้อนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมที่กล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็น นิยยานิกธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศไว้
อาตมภาพ กล่าวเรื่องนี้ในเพราะนาที่ราบเรียบ และสาวกเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้น (1)
อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ ในเพราะพืชที่ไม่ดี จะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะ ได้กระทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในเวลาจะสิ้นพระชนม์.(2)
จบ สูตรที่ ๕
เหตุที่เจ้าสรกานิ ได้เป็นโสดาบัน (นัยยะ2)
1 ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
2 กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในเวลาจะสิ้นพระชนม์
|