เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สุนทริกสูตรที่ ๔ พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมแก่ สุนทริก ภารทวาชพราหมณ์ 840
(เนื้อหาพอสังเขป)

พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมแก่ สุนทริก ภารทวาชพราหมณ์

พระตถาคต ละกามทั้งหลายได้แล้ว ครอบงำกามทั้งหลายเที่ยวไป รู้ที่สุดแห่งชาติ
พระตถาคต ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่ห่างไกลจากบุคคลผู้ไม่เสมอทั้งหลาย
พระตถาคต ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่มีมายา ไม่มีมานะ ปราศจากความโลภ
พระตถาคต ละตัณหาและทิฐิที่อยู่ประจำใจได้แล้ว ไม่มีตัณหา และทิฐิอะไรๆ
พระตถาคต มีจิตตั้งมั่นแล้ว ข้ามโอฆะได้แล้วและได้รู้ธรรมด้วยทิฐิอย่างยิ่ง
พระตถาคต ผู้ถึงเวท พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ย่อมควรเครื่องบูชา 
พระตถาคต ผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง ไม่มีธรรมเป็นเครื่องข้อง
พระตถาคต ไม่อาศัยตัณหา มีปรกติเห็นนิพพาน
พระตถาคต แทงตลอดแล้ว กำจัดได้แล้ว ถึงความสาปสูญ มิได้มี
พระตถาคต นั้นเป็นผู้สงบแล้ว น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปาทาน
พระตถาคต เห็นที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งชาติ บรรเทาสังโยชน์ อันเป็นทางแห่งราคะ
พระตถาคต ไม่พิจารณาเห็นตนโดยความเป็นตน มีจิตตั้งมั่น ปฏิบัติตรง ดำรงตนมั่น
พระตถาคต ไม่มีปัจจัยแห่งโมหะอะไรๆเห็นด้วยญาณในธรรมทั้งปวง


ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์ กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสำนักของ พระองค์เถิด สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ก็ท่านสุนทริกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนั้นแล ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๓๑๓- ๓๑๗



สุนทริกสูตรที่ ๔


          [๓๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา แคว้นโกศลชนบท ก็สมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ครั้นบูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟอยู่ ที่ฝั่งแม่น้ำ สุนทริกา ครั้งนั้นแลสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ครั้นบูชาไฟบำเรอไฟแล้ว ลุกขึ้นจาก อาสนะ เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบด้วยคิดว่า ใครหนอแล ควรบริโภค ข้าวปายาส ที่เหลือนี้

สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ทรงคลุมพระกายตลอด พระเศียรอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงถือเอาข้าวปายาสที่เหลือ ด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำ ด้วยมือข้างขวา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ลำดับนั้น พระผู้มี พระภาค ได้ทรงเปิดพระเศียรออก เพราะเสียงฝีเท้า ของสุนทริกภารทวาช พราหมณ์

          ครั้งนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์คิดว่า ท่านผู้นี้เป็นคนโล้นๆ ดังนี้แล้ว ปรารถนาจะกลับจากที่นั้น ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ดำริว่า แม้พราหมณ์ บางพวกในโลกนี้ก็เป็นคนโล้น ผิฉะนั้นเราพึงเข้าไปถามถึงชาติ ทีนั้นแล สุนทริก ภารทวาช พราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ท่านมีชาติอย่างไร ฯ

          ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบ สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ด้วยพระคาถาว่า

          [๓๕๙] เราไม่ใช่พราหมณ์ ไม่ใช่ราชโอรส ไม่ใช่แพศย์หรือใครๆ เรากำหนดรู้ โคตรของปุถุชนแล้ว ไม่มีความกังวล เที่ยวไปด้วยปัญญาในโลก เรานุ่งห่ม (ไตรจีวร) สังฆาฏิ ไม่มีเรือน ปลงผมแล้ว มีตนดับความเร่าร้อนแล้ว ไม่คลุกคลีกับด้วยมนุษย์ (มาณพ) ทั้งหลายในโลกนี้เที่ยวไปอยู่ ท่านถามถึงปัญหาเกี่ยวด้วยโคตร อันไม่สมควร กะเรา

          ดูกรพราหมณ์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ย่อมถามกับพวกพราหมณ์ด้วยกันว่า ท่านเป็นพราหมณ์หรือหนอ ถ้าว่าท่านกล่าวว่า เราเป็นพราหมณ์แต่ท่านกล่าวกะเรา ผู้มิใช่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราขอถามสาวิตรีซึ่งมีบท ๓ มีอักขระ ๒๔ กะท่านฯ

....................................................................................................

พราหมณ์ทูลถามว่า

พวกฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ และพราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้ อาศัยอะไรได้กำหนด ยัญ แก่เทวดาทั้งหลาย ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เราขอบอกว่าผู้ถึงที่สุดทุกข์ ถึงที่สุดเวท จะพึงได้เครื่องบูชา ในเมื่ออาหาร อย่างใด อย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปตั้งไว้ในกาลแห่งยัญ ยัญกรรมของผู้นั้นพึงสำเร็จ ฯ
.....................................................................................................

พราหมณ์ทูลว่า
การบูชาของข้าพเจ้านั้น พึงสำเร็จเป็นแน่แท้ เพราะข้าพเจ้าได้พบบุคคล ผู้ถึงเวท เช่นนั้น อันที่จริง คนอื่นย่อมได้บริโภคเครื่องบูชา เพราะไม่ได้พบบุคคลผู้เช่นท่าน ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์ ท่านผู้มีความต้องการด้วยประโยชน์ จงเข้าไปถามเถิด ท่านจะพบผู้มีปัญญาดีผู้สงบ ผู้ไม่มีความโกรธ ไม่มีทุกข์ไม่มีความหวัง ในศาสนานี้ แน่แท้ ฯ
.....................................................................................................

พราหมณ์ทูลว่า
(ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ) ข้าพเจ้ายินดีแล้วในยัญ ใคร่จะบูชายัญ แต่ข้าพเจ้า ยังไม่ ทราบชัด ขอท่านจงพร่ำสอนข้าพเจ้าเถิด ขอท่านจงบอกซึ่งที่เป็นที่สำเร็จ แห่งการ บูชาแก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นท่านจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านอย่า ถามถึงชาติ จงถามแต่ธรรม สำหรับประพฤติเถิด ไฟย่อมเกิดแต่ไม้แล แม้ผู้ที่เกิดใน สกุลต่ำเป็นมุนีมีปัญญา เป็นผู้เกียดกันอกุศลวิตกด้วยหิริ รู้เหตุการณ์ได้โดยฉับพลัน ก็มี พราหมณ์ผู้มุ่งบุญพึงบูชา พึงหลั่งไทยธรรมในทักขิไณยบุคคลผู้ที่ฝึกตนด้วยสัจจะ ผู้ประกอบด้วยการฝึกฝนอินทรีย์ ผู้ถึงที่สุดแห่งเวท ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ตามกาล

ชนเหล่าใดละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ยึดมั่นอะไรๆ เที่ยวไปมีตนสำรวมดีแล้ว เหมือน กระสวยที่ไปตรง ฉะนั้น พราหมณ์ผู้มุ่งบุญพึงบูชา พึงหลั่งไทยธรรมในชนเหล่านั้น ตามกาล ชนเหล่าใด ปราศจากราคะ มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้วจากการจับ ของกิเลสเปล่งปลั่งอยู่ เหมือนพระจันทร์ที่พ้นแล้วจากการเบียดเบียน ของราหู สว่างไสวอยู่ ฉะนั้น พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมในชนเหล่านั้น ตามกาลชนเหล่าใด ไม่เกี่ยวข้อง มีสติทุกเมื่อ ละนามรูป ที่คนพาลถือว่าเป็นของเราได้แล้ว เที่ยวไป ในโลก พราหมณ์พึงหลั่ง ไทยธรรม ในชนเหล่านั้นตามกาล

พระตถาคตละกามทั้งหลายได้แล้ว ครอบงำกามทั้งหลายเที่ยวไป รู้ที่สุดแห่งชาติ และมรณะ ดับความเร่าร้อนได้แล้ว เป็นผู้เยือกเย็นเหมือนห้วงน้ำ ย่อมควรเครื่องบูชา

พระตถาคตผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่ห่างไกลจากบุคคล ผู้ไม่เสมอ ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญาไม่มีที่สุด ผู้อันตัณหาทิฐิ ไม่ฉาบทาแล้วในโลกนี้ หรือ ในโลกอื่น ย่อมควรเครื่องบูชา

พระตถาคตผู้เป็นพราหมณ์ ไม่มีมายา
ไม่มีมานะ ปราศจากความโลภ ไม่ยึดถือ ในสัตว์ และสังขารว่าเป็นของเรา หาความหวังมิได้ บรรเทาความโกรธแล้วมีตน ดับความ เร่าร้อนได้แล้วละมลทิน คือ ความโศกเสียได้ ย่อมควรเครื่องบูชา

พระตถาคตละตัณหาและทิฐิที่อยู่ประจำใจได้แล้ว
ไม่มีตัณหาและทิฐิอะไรๆ ไม่ถือมั่น ในโลกนี้หรือในโลกอื่น ย่อมควรเครื่องบูชา

พระตถาคตมีจิตตั้งมั่นแล้ว ข้ามโอฆะได้แล้ว
และได้รู้ธรรมด้วยทิฐิอย่างยิ่ง มีอาสวะ สิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ย่อมควรเครื่องบูชา ภวาสวะและวาจา หยาบคาย อันพระตถาคตกำจัดได้แล้ว ทำให้สิ้นสูญ ไม่มีอยู่

พระตถาคตผู้ถึงเวท พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง
ย่อมควรเครื่องบูชา   

พระตถาคตผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง ไม่มีธรรมเป็นเครื่องข้อง ไม่เป็นสัตว์ผู้มีมานะ ในเหล่าสัตว์ผู้มีมานะ กำหนดรู้ทุกข์พร้อมทั้งไร่นาและที่ดิน ย่อมควรเครื่องบูชา

พระตถาคตไม่อาศัยตัณหา มีปรกติเห็นนิพพาน ก้าวล่วงทิฐิที่จะพึงให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีอารมณ์อะไรๆ ย่อมควรเครื่องบูชา ธรรมทั้งที่เป็นภายในและภายนอก

พระตถาคตแทงตลอดแล้ว กำจัดได้แล้ว ถึงความสาปสูญ มิได้มี

พระตถาคตนั้นเป็นผู้สงบแล้ว น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปาทาน ย่อมควรเครื่อง บูชา

พระตถาคตเห็นที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งชาติ บรรเทาสังโยชน์ อันเป็นทางแห่ง ราคะ เสียได้ไม่มีส่วนเหลือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีโทษ ปราศจากมลทิน ไม่มีความใคร่ ย่อมควรเครื่องบูชา

พระตถาคตไม่พิจารณาเห็นตนโดยความเป็นตน มีจิตตั้งมั่น ปฏิบัติตรง ดำรงตนมั่น ไม่หวั่นไหวไม่มีกิเลสดุจหลักตอ ไม่มีความสงสัย ย่อมควรเครื่องบูชา

พระตถาคตไม่มีปัจจัยแห่งโมหะอะไรๆเห็นด้วยญาณในธรรมทั้งปวง ทรงไว้ซึ่ง สรีระ มีในที่สุด และได้บรรลุสัมโพธิญาณที่ยอดเยี่ยม อันเกษม ความบริสุทธิ์ของบุรุษ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ (พระตถาคตย่อมควรเครื่องบูชา) ฯ
.....................................................................................................

พราหมณ์ทูลว่า
ก็การบูชาของข้าพระองค์ จะเป็นการบูชาจริง เพราะว่าข้าพระองค์ได้บุคคล ผู้ถึงเวท เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเป็นพรหม ผู้เห็นเองแท้ ขอได้โปรดทรงรับ ทรงบริโภคเครื่อง บูชา ของข้าพระองค์เถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรพราหมณ์ เราไม่พึงบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา ข้อนี้ไม่ใช่ธรรมเนียม ของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงเห็นอยู่โดยชอบ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงห้าม โภชนะ ที่ขับกล่อมได้มา ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ การแสวงหาเป็นความประพฤติ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ท่านจงบำรุงพระขีณาสพผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้มีความคนองสงบแล้ว ด้วยข้าวน้ำอย่างอื่นเถิด เพราะว่า เขตนั้น เป็นเขตของบุคคลผู้มุ่งบุญ ฯ
.....................................................................................................

พราหมณ์ทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ถึงคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว พึงรู้แจ่มแจ้งอย่างที่พระองค์ตรัสบอก ขอพระองค์จงทรงแสดงทักขิไณยบุคคล ผู้บริโภคทักขิณาของบุคคล ผู้เช่นด้วยข้าพระองค์ที่ข้าพระองค์จะพึงแสวงหาบำรุงอยู่ ในกาลแห่งยัญ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านจงกำจัดความสยิ้วหน้า จงประคองอัญชลีนอบน้อมผู้ที่ปราศจากความแข่งดี ผู้มีจิตไม่ขุ่นมัว หลุดพ้นแล้วจากกามทั้งหลาย บรรเทาความง่วงเหงาเสียแล้ว นำกิเลสออกเสียได้ ผู้ฉลาดในชาติและมรณะผู้นั้นเป็นมุนี สมบูรณ์ด้วยปัญญา ผู้มาแล้ว สู่ยัญเช่นนั้น จงบูชาด้วยข้าวและน้ำเถิด ทักขิณาย่อมสำเร็จได้ด้วยอาการ อย่างนี้ ฯ
.....................................................................................................

พราหมณ์ทูลว่า
พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่บุคคลควรบูชาในโลกทั้งปวง เป็นบุญเขตอย่าง ยอดเยี่ยม ย่อมควรเครื่องบูชา ทานที่บุคคลถวายแล้วแด่พระองค์ เป็นทานมีผลมาก ฯ

ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์ กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของ พระองค์เถิด สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ก็ท่านสุนทริกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนั้นแล ฯ

จบสุนทริกภารทวาชสูตรที่ ๔



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์